ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การเปิดสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา และการปิดสถานกงสุลใหญ่ ณ กรุงอันตานานาริโว สาธารณรัฐมาดากัสการ์ เป็นการถาวร | กต. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศปิดสถานกงสุลใหญ่
ณ กรุงอันตานานาริโว สาธารณรัฐมาดากัสการ์ เป็นการถาวร และอนุมัติในหลักการให้เปิดสถานกงสุลใหญ่
ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีเขตกงสุลครอบคลุม ๘
จังหวัดของราชอาณาจักรกัมพูชา ประกอบด้วย (๑) จังหวัดเสียมราฐ (๒) จังหวัดพระตะบอง
(๓) จังหวัดไพลิน (๔) จังหวัดบันทายมีชัย (๕) จังหวัดอุดรมีชัย (๖)
จังหวัดพระวิหาร (๗) จังหวัดสตึงแตรง และ (๘) จังหวัดโพธิสัตว์ รวมทั้งเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการในรายละเอียดการเปิดสถานกงสุลใหญ่
ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ ขอให้กระทรวงการต่างประเทศและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๘/๒๐๗๗ ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๖) สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าควรกำหนดอัตรากำลังภายใต้กรอบอัตรากำลังที่มีอยู่เดิม
เพื่อมิให้เป็นภาระงบประมาณในระยะยาวต่อไป ควรดำเนินการบริหารอัตรากำลังในภาพรวมตามความจำเป็นของภารกิจ
โดยคำนึงถึงหลักการและแนวทางการบริหารจัดการอัตรากำลังตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ
กำหนดไว้ในมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่
๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ ด้วย และในประเด็นเรื่องการกำหนดตัวชี้วัดของการจัดตั้งสถานกงสุลใหญ่
ณ เมืองเสียมราฐเพื่อสะท้อนผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าในการจัดตั้งหน่วยงาน กระทรวงการต่างประเทศควรจัดเก็บสถิติข้อมูลและปริมาณงานในภารกิจแต่ละด้าน
เพื่อกำหนดตัวชี้วัดเชิงกระบวนการทำงานในระยะ ๑-๒ ปี และตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ในระยะ
๓-๕ ปี ข้างหน้า โดยการจัดเก็บสถิติข้อมูลของสถานกงสุลใหญ่ ณ
เมืองเสียมราฐควรแยกออกจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ
เพื่อให้มีข้อมูลที่ชัดเจน
ใช้ประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าของหน่วยงานที่มีการจัดตั้งขึ้นใหม่
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การดำเนินการด้านการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการดักจับการใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอนของประเทศ | พน. | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินการด้านการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการดักจับการใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอนของประเทศ
มีสาระสำคัญเป็นการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่ ๓ หมุดหมายที่ ๑๐
ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ และความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. ๒๕๙๓
และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. ๒๖๐๘
ตามแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ
ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ
ได้รับทราบแผนดังกล่าวเพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานระยะยาวของประเทศสำหรับทุกภาคส่วนในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโดยเทคโนโลยีด้านดักจับ
การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอนจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในปี ๒๕๘๓
อีกทั้งต้องดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานด้าน CCUS ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก ๔ ด้าน ประกอบด้วย ด้านเทคนิค (Technical
Framework) ด้านข้อกำหนดและกฎหมาย (Regulatory Framework) ด้านการค้าและมาตรการจูงใจ (Commercial and incentive) และด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder
Engagement)
กระทรวงพลังงานโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันศึกษา
สำรวจ วิจัยข้อมูลธรณีวิทยา กฎหมายและกฎระเบียบ
ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับการดักจับการใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน
รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
|