ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 15 จากข้อมูลทั้งหมด 15 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. .... | สธ. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท
๒ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ พ..ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้จำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท
๒ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ กำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาต และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒
วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด
ที่เห็นว่าร่างข้อ ๑๕ วรรคหนึ่ง
หากผู้อนุญาตไม่สามารถพิจารณาคำขอและอนุญาตให้เสร็จสิ้นได้ภายในกำหนด ๔๕ วัน
จะมีมาตรการอย่างไรในระหว่างที่พิจารณาคำขอ ควรกำหนดมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าวด้วย
และร่างข้อ ๑๕ วรรคสอง กำหนดให้ผู้ขออนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต เห็นว่า
กำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิดควรเพิ่มระยะเวลาอุทธรณ์จาก ๑๕
วันเป็น ๓๐
วันนับตั้งแต่วันที่ผู้ขออนุญาตได้รับหรือถือว่าได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมมากกว่า ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน | กค. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (1. นายเกรียงศักดิ์ ปิยกุลมาลา ฯลฯ จำนวน 29 ราย) | สธ. | 19/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๙ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
จำนวน ๒๘ ราย และวันที่มีคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่งที่ได้รับการเสนอแต่งตั้ง
จำนวน ๑ ราย ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑. นายเกรียงศักดิ์
ปิยกุลมาลา ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ ๒. นายจรัญ จันทมัตตุการ ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒o มิถุนายน ๒๕๖๕ ๓. นายพิสิษฐ์ เวชกามา ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรกรรม
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๔. นางสาวสมบัติ ชุติมานุกูล ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่
๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ (วันที่มีคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่ง) ๕. นายประดิษฐ์ ไชยบุตร ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลราชบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๕ ๖. นายชิโนรส ลี้สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์
(นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๗
กันยายน ๒๕๖๕ ๗. นายพรณรงค์ ศรีม่วง ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม) โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๕ ๘. นางสาวหทัยรัตน์ อัจจิมานนท์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ๙. นายชัยวัฒน์
สิงห์หิรัญนุสรณ์ ดำรงตำแหน่งนักวิชาการอาหารและยาทรงคุณวุฒิ
(ด้านอาหารและยา) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ๑๐. นางสาวพินทุสร
เหมพิสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ
(ด้านกำลังคนสาธารณสุข) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ๑๑. นางสุอร ชัยนันท์สมิตย์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม
สาขากุมารเวชกรรม) โรงพยาบาลขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖ ๑๒. นายมงคล ภัทรทิวานนท์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๖ ๑๓. นายปรเมษฐ์ กิ่งโก้ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม) โรงพยาบาลศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๖ ๑๔. นายพิพัฒน์ คงทรัพย์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา) กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลพระปกเกล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๖ ๑๕. นายปรีชา เปรมปรี ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์
(นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๑
พฤษภาคม ๒๕๖๖ ๑๖. นางสายสมร สบู่แก้ว ดำรงตำแหน่งทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านทันตกรรม) กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ ๑๗. นายปราโมทย์ ปรปักษ์ขาม ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) สถาบันโรคทรวงอก
กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๑๘. นายพรภวิษญ์ ศรีภิรมย์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์)
โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ๑๙. นางอดิศร์สุดา เฟื่องฟู ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม)
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๕ ๒๐. นางวีรนันท์ วิชาไทย ดำรงตำแหน่งทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านทันตกรรม) สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๗ มีนาคม
๒๕๖๖ ๒๑. นางสาววรางคณา พิชัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี
กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ ๒๒. นางประภาวรรณ เชาวะวณิช ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม
สาขาตจวิทยา) สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๖ ๒๓. นายมนต์ชัย
ศิริบำรุงวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์
ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ๒๔. นางพู่กลิ่น ตรีสุโกศล ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม) กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๓๑
พฤษภาคม ๒๕๖๖ ๒๕. นางสาวศิริลักษณ์
ไทยเจริญ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค
ตั้งแต่วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ๒๖. นางเบญจมาภรณ์ ภิญโญพรพาณิชย์ ดำรงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ
(ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัย) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ๒๗. นางสุภาพร ภูมิอมร ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เทคโนโลยีชีวภาพ)
(นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๙
มีนาคม ๒๕๖๖ ๒๘. นายบุรินทร์
สุรอรุณสัมฤทธิ์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ตั้งแต่วันที่
๑๗ มกราคม ๒๕๖๖ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 | พณ. | 28/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกปีการผลิต
๒๕๖๖/๖๗ และอนุมัติกรอบวงเงิน จำนวน ๗๘๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
โดยให้ใช้จ่ายจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในโอกาสแรกก่อน
หากไม่เพียงพอให้กระทรวงพาณิชย์
โดยกรมการค้าภายในเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่เห็นควรติดตามและกำกับดูแลให้ผู้ประกอบการค้าข้าวดำเนินการรับซื้อและเก็บสต็อกข้าวให้เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการฯ
อย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวและรายได้ของเกษตรกรชาวนาในช่วงสงกรานต์ดังกล่าวจากการดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในปีการผลิต
๒๕๖๖/๖๗ และการขอรับชดเชยดอกเบี้ยสำหรับสัญญาเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ควรกำหนดว่าเป็นการชดเชยสำหรับสัญญาเงินกู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อข้าวเท่านั้น
และควรมีการตรวจสอบคุณภาพสต็อกข้าวเป็นประจำตลอดระยะเวลาที่เก็บรักษา ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ในการจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและภาคเกษตรต่อจากนี้ไป
ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินมาตรการ/โครงการในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนการเพิ่มระดับผลิตภาพ
(Productivity) ของภาคการเกษตร การพัฒนาภาคเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทานหรือเป็นการยกระดับกระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร
ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ (เรื่อง
การจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกร) อย่างเคร่งครัดด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2566 - 2570 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 | สธ. | 14/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง)
แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นแผนต่อเนื่องฉบับที่ ๓
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบการดำเนินงาน ป้องกัน
และควบคุมโรคติดต่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งในระดับประเทศและในระดับพื้นที่
โดย (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย (๑) การพัฒนานโยบาย มาตรการกฎหมาย
และกลไกการบริหารจัดการการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ (๒) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
และยกระดับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ (๓) การยกระดับการจัดการภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อ
(๔) การพัฒนากำลังคนและเครือข่ายความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ และ (๕)
การพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงและระบบสนับสนุนการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเสนอ
และให้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงศึกษาธิการ เช่น ขอให้พิจารณาแก้ไขข้อมูลหน้า
๓๕ หัวข้อนโยบายการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ข้อ ๓. และหน้า ๑๐๕
ข้อ ๓๑. โดยแก้ไขจากคำว่า “โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน” เป็น “โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน”
เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่กล่าวถึงโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนในส่วนอื่น ๆ ของ
(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจความจำเป็นและเหมาะสม
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และ/หรือพิจารณาเงินนอกงบประมาณ รวมถึงรายได้ หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่
หรือสามารถนำมาใช้จ่ายสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ระยะต่อไป ควรพิจารณาผนวกรวมกับแผนปฏิบัติการด้านเตรียมความพร้อม
ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ และแผนต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดไว้เป็นแผนเดียวกัน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือ ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน
รวมทั้งอาจพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของระบบการเฝ้าระวังโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
(vaccine preventable diseases) ในประเทศไทย
รวมถึงการเคลื่อนย้ายของแรงงานจากประเทศใกล้เคียงปกติ และในสถานการณ์การระบาด
เนื่องจากการติดตามประวัติการฉีดวัคซีน และสถานะสุขภาพอาจจะต้องมีระบบเพื่อรองรับ
และควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy)
เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อหรือโรคระบาดในภาคประชาชนและในภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
โดยเฉพาะภาคการศึกษา เน้นพัฒนาเครื่องมือและสารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสารที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน) | สผผ. | 10/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน ๙๗๐,๓๘๓,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินรับความเห็นของกระทรวงการคลัง ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 | นร.14 | 09/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี ๒๕๖๖
เพื่อเป็นการป้องกันและลดผลกระทบที่จะเกิดจากปัญหาอุทกภัยที่อาจส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนให้กับสถานการณ์
รวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำ ๑๒ มาตรการรับมือฤดูฝน
มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี ๒๕๖๖ ได้ทันตามปฏิทิน ซึ่งจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนในวันที่
๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปให้ถูกต้อง
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวกรนภา ชัยวัฒน์) | กษ. | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาวกรนภา ชัยวัฒน์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้ตรวจราชการกรม
(ผู้ตรวจราชการกรมระดับสูง) กรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสหกรณ์
(นักวิชาการสหกรณ์ทรงคุณวุฒิ) กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2565 - 2567 และร่างแผนปฏิบัติการด้านการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2566 - 2570 รวม 2 ฉบับ | นร.08 | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗
และตารางประสานสอดคล้องแสดงแนวทางดำเนินงานและความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์/แผนหลักที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
และเสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป ๒.
เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.
๒๕๖๖-๒๕๗๐ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
รวมทั้งเป็นกรอบในการจัดทำโครงการ กิจกรรม และงบประมาณรองรับในการขับเคลื่อนงานตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๕๓ ๔.
กรณีที่นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗
สิ้นสุดห้วงเวลาบังคับใช้ และแนวทางนโยบายดังกล่าวยังสอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว
ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติดำเนินการตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่งและวรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๕.
ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงยุติธรรมที่เห็นควรปรับวัตถุประสงค์และเป้าหมายให้สอดคล้องกับร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และชื่อแผนของกระทรวงยุติธรรมให้เป็นปัจจุบัน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๖.
ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และสำนักงาน
ก.พ. เช่น ควรให้ความสำคัญกับการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชามาใช้เป็นกรอบในการแก้ไขปัญหา
ควรดำเนินการตามกฎหมายและหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติความเชื่อของประชาชนในพื้นที่
ควรยึดหลักความเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา
ลดความหวาดกลัวในชุมชนเดียวกัน เพื่อสร้างแรงกดดันให้กลุ่มผู้ก่อเหตุไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน
และเมื่อร่างนโยบายการบริหารฯ และร่างแผนปฏิบัติการฯ ได้ประกาศใช้แล้ว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้ทันต่อสภาวการณ์
รวมทั้งควรพัฒนาขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐให้มีความรู้ ความเข้าใจ
และทักษะที่จำเป็น เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้เป็นต้นแบบต่อไป เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ขอขยายเวลาดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี 2565 และโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ออนทัวร์ ทั่วไทย | พณ. | 07/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี ๒๕๖๕
สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
สำหรับดำเนินโครงการดังกล่าวไปจนถึงเดือนเมษายน ๒๕๖๖
เห็นควรดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
ตามที่กระทรวงการคลังกำพหนด โดยให้กระทรวงพาณิชย์ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
รวมทั้งรวบรวม ประมวลผล และประเมินความสำเร็จของโครงการ ปัญหาและอุปสรรค
ตลอดจนข้อเสนอแนะต่อการดำเนินโครงการลักษณะดังกล่าวข้างต้น
เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การกู้เงินเพื่อใช้ในกิจการของสำนักงานธนานุเคราะห์ ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 300,000,000.00 บาท (สามร้อยล้านบาทถ้วน) | พม. | 07/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการกู้เงินเพื่อใช้ในกิจการของสำนักงานธนานุเคราะห์
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ จำนวน ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (สำนักงานธนานุเคราะห์)
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันตามนัยมาตรา
๙ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
โดยกู้เงินตามความจำเป็นและพิจารณาเงื่อนไขการกู้เงินให้สอดคล้องกับภาวะตลาด
รวมทั้งการกู้เงินดังกล่าวต้องกระทำด้วยความรอบคอบ และคำนึงถึงความคุ้มค่า
ความสามารถในการชำระหนี้ รวมทั้งการกระจายภาระการชำระหนี้
เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.
๒๕๖๑ และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกมิติ
ตลอดจนความสามรถในการชำระหนี้ รวมถึงการกระจายภาระชำระหนี้ที่เหมาะสม ตามนัยมาตรา
๔๙ ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2564/2565 | อก. | 07/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย
ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ เป็นรายเขต ๙ เขต โดยมีราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี
๒๕๖๔/๒๕๖๕ เฉลี่ยทั่วประเทศในอัตราตันอ้อยละ ๑,๑๐๖.๔๐ บาท ณ ระดับความหวานที่ ๑๐ ซี.ซี.เอส.
อัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อย เฉลี่ยทั่วประเทศ เท่ากับ ๖๖.๓๘ บาท ต่อ ๑ หน่วย
ซี.ซี.เอส. และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี
๒๕๖๔/๒๕๖๕ เฉลี่ยทั่วประเทศ เท่ากับ ๔๗๔.๑๗ บาทต่อตันอ้อย
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ให้กระทรวงอุตสาหกรรม
โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
ดำเนินการให้โรงงานน้ำตาลนำส่งเงินเข้ากองทุนตามส่วนต่างระหว่างรายได้สุทธิและราคาอ้อยขั้นสุดท้าย
ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ ให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
เพื่อรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อประโยชน์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในภาพรวม
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | แต่งตั้งอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ) ประจำปี พ.ศ. 2566 (ฮ.ค. 1444) | มท. | 28/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งให้
นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล เป็นอะมีรุ้ลฮัจย์
หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ (ฮ.ค. ๑๔๔๔)
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | นร.01 | 17/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
(ก.ธ.จ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (๑) คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
ทั้ง ๗๖ คณะ/จังหวัด ได้มีการประชุมเพื่อติดตามสอดส่องการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกจังหวัด
๒๕๓ ครั้ง ๒,๓๒๐
เรื่อง และมีข้อเสนอแนะใน ๔ เรื่อง ได้แก่ แผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
แผนงาน/โครงการของส่วนราชการในจังหวัด แผนงาน/โครงการของหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ
และเรื่องร้องเรียน
รวมถึงเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนมากที่สุดคือด้านการสาธารณูปโภค จำนวน ๑,๕๗๗ เรื่อง และรองลงมาคือด้านเศรษฐกิจ จำนวน ๓๕๙ เรื่อง (๒)
ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญและแนวทางการแก้ไขของ ก.ธ.จ. เช่น การปฏิบัติหน้าที่ของ
ก.ธ.จ. การขอรับการสนับสนุนงบประมาณ การจัดสัมมนา ฝึกอบรม และการประชาสัมพันธ์
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ผลการประชุมกรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสิงคโปร์ (Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship: STEER) ครั้งที่ 6 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 10/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมกรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสิงคโปร์
(Singapore-Thailand
Enhanced Economic Relationship: STEER) ครั้งที่ ๖ และกิจกรรมอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีรองนายกรัฐมนตรี
(นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมคนที่สองของสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นประธานร่วม โดยมีผลการประชุมฯ
และประเด็นที่ต้องติดตาม เช่น ด้านการเกษตร ด้านการลงทุน ด้านการท่องเที่ยว ด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัตกรรม และด้านพลังงาน
เป็นต้น และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุม STEER
ครั้งที่ ๖
เพื่อให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสิงคโปร์เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม ตามตารางติดตามการดำเนินการตามผลการประชุมฯ
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ที่เห็นควรให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ไปดำเนินการต่อไป
|