ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. .... | ดศ. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ
หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ มาใช้บังคับ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเก็บ
รวบรวม ใช้ เปิดเผย ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันประเทศ
การรักษาความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ การจัดเก็บภาษีของหน่วยงานรัฐ
การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ การดำเนินการของหน่วยงาน ศาล อัยการ
และผู้บังคับใช้กฎหมาย โดยมิให้นำบทบัญญัติในหมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๕ หมวด ๖ และหมวด
๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
ทั้งหมดมาใช้บังคับกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด
เช่น ให้เพิ่มภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ
การควบคุมป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคไว้ในมาตราดังกล่าว
กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผย
ประมวลข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีเรื่องดังกล่าวด้วย และตามร่างมาตรา ๓ (๓) คำว่า
“ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย” นั้น มีความครอบคลุมเพียงใด
เนื่องจากเป็นถ้อยคำที่อาจมีการตีความได้หลายนัย
จึงพึงระมัดระวังเพื่อไม่ให้ขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๒ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน [Financial Action Task Force (FATF)] | ปปง. | 15/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (Financial Action Task Force : FATF) และให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ซึ่งกำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก
FATF
ตามร่างหนังสือแสดงเจตจำนง ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
และให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงบประมาณ
ที่ควรพิจารณาปรับแก้หน้า ๒ วรรคแรก บรรทัดที่ ๗ จาก “ including development of UN Sanctions 1373 ASEAN Guidelines” เป็น “including
development of ASEAN guidelines to implement the United Nations Security
Council (UNSC) Resolution 1373 (2001)”
และจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ความจำเป็นเร่งด่วน ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
รวมทั้งผลสัมฤทธิ์จากการใช้จ่ายงบประมาณเป็นสำคัญ ไปดำเนินการต่อไป
|