ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 35 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | แผนปฏิบัติการการกำกับกิจการพลังงาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน | พน. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนปฏิบัติการกำกับกิจการพลังงาน ระยะ ๕ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ประกอบด้วย ๕ วัตถุประสงค์หลัก เช่น ส่งเสริมให้มีบริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ
มีความมั่นคง ทั่วถึง และมีเป็นธรรมต่อผู้ใช้พลังงานและผู้รับใบอนุญาต
โดยมีระยะเวลาการดำเนิน ๕ ปี กรอบวงเงินรวม ๕,๒๘๖.๐๔๒ ล้านบาท และเห็นชอบแผนการดำเนินงาน
งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ของสำนักงาน กกพ.
วงเงินงบประมาณรายจ่าย ๑,๐๐๐.๒๕๖ ล้านบาท และประมาณการายได้ ๑,๐๐๐.๘๑๘ ล้านบาท ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน
พ.ศ. ๒๕๕๐ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน
(สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/๖๕๑๖
ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เช่น ควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังประกอบการพิจารณาเรื่องดังกล่าวด้วย ควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
ควรรายงานผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการตามแผนฯ
ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและเป้าหมายของแผนย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในแต่ละระดับตามที่กำหนดด้วย
ให้ความสำคัญกับการจัดทำฐานข้อมูล แบบจำลองพยากรณ์
รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับกิจการพลังงานรูปแบบใหม่ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
พร้อมทั้งควรติดตามสถานการการเปลี่ยนแปลงตลาดพลังงานอย่างใกล้ชิด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น | พน. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๓๐๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท
ให้กรมธุรกิจพลังงาน โดยให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้อนุมัติและดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน
ผ่านวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณแทนกัน
และให้กระทรวงพลังงานดำเนินมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน (กรมธุรกิจพลังงาน)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร
๐๗๐๘/๒๑๔๐ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕) โดยให้กรมธุรกิจพลังงานดำเนินการใช้จ่ายจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและมีเหลือจ่ายในลำดับแรกก่อน
โดยเบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป
ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ
ปี ๒๕๖๕ ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๖
ให้โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่จะเริ่มใช้สิทธิ ต่อไป ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรเร่งรัดการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐปี
๒๕๖๕ เพื่อให้รัฐสามารถจัดสวัสดิการให้ความช่วยเหลือประชาชนแบบมุ่งเป้า
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๓.
ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การจัดทำโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) | พม. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการบ้านพักข้าราชการ
(บ้านหลวง) ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙)
ดำเนินการโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน ๕ โครงการ รวม ๕๕
หน่วย ภายในวงเงินงบประมาณ ๖๒,๒๘๓,๑๐๐ บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดที่อยู่อาศัยในรูปแบบรัฐสวัสดิการ
โดยมุ่งเน้นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับข้าราชการเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยของหน่วยงานของรัฐที่ได้เสียสละไปปฏิบัติหน้าที่นอกภูมิลำเนาของตน
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และการเคหะแห่งชาติดำเนินการต่อไปให้ถูกต้อง
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และควรกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าพักอาศัยในโครงการฯ
บ้านหลวงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ โดยเคร่งครัด เป็นต้น
ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาผลกระทบราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ | พน. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ขยายระยะเวลาโครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย
ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่อไปในเดือนมกราคม ๒๕๖๖ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ทั้งนี้
ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี
๒๕๖๕ ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๖
ให้โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่จะเริ่มให้สิทธิ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
พิจารณากำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากราคาพลังงานอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปในภาพรวม
รวมถึงเร่งศึกษาการกำหนดมาตรการระยะยาว และพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการราคา LNG ในประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Startup) | ดศ. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital
Startup) ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นหน่วยงานจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล
และเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัลและบริการดิจิทัลที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีดิจิทัล
และมอบหมายให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาผลักดันบัญชีบริการดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
และเป็นหนึ่งในหมวดพัสดุที่รัฐต้องส่งเสริมหรือสนับสนุน
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดิจิทัลร่วมพัฒนาระบบราชการไทย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เช่น
ควรคำนึงถึงการลดต้นทุนของการจัดทำบริการดิจิทัลผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น
(Digital Startup) และช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ควรมีผู้แทนของกรมต่าง
ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนร่วม คำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ควรพิจารณากำหนดให้มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลที่ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
อาทิ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดการบูรณาการและประโยชน์จากองค์ความรู้ ฐานข้อมูล
และความเชี่ยวชาญของบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 | ดศ. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙
สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐
เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายการดำเนินงานด้าวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
และรับทราบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศของประเทศ ตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอ ๒. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง)
นโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ มีสาระสำคัญเพื่อเป็นกรอบนโยบายในการจัดสร้างหรือการบริหารจัดการดาวเทียม
และการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมของรัฐ เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานรัฐ และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติที่เหมาะสมที่สุดและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดยให้รับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางประกอบการพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายและพันธกรณีต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
(๑) ให้เร่งรัดดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเกิดผลสำเร็จ
เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป (๒) เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
หากไม่เพียงพอเห็นควรให้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ แล้วแต่กรณี
โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน | กษ. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม
โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน เพิ่มขึ้นถุงหรือกล่องละ ๐.๓๑ บาท ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๖ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
สำหรับภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
หากยังมีงบประมาณไม่เพียงพอให้เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดการดำเนินการตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕
การพิจารณาทบทวนการกำหนดราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบให้สอดคล้องกับสถานการณ์
และหากจะมีการปรับเพิ่มหรือลดราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมและคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน)
พิจารณาผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นให้รอบคอบ ครบถ้วน
แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป ๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น
ควรมุ่งเน้นการพัฒนายกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
และผู้ที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางการปรับราคากลางนมโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม
เร่งขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านโคนมและผลิตภัณฑ์โคนม ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐)
ที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งให้พิจารณาเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความต้องการบริโภคนมโรงเรียนที่มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากนักเรียนเข้าใหม่มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง
เช่น การทยอยปรับลดกำลังการผลิต นมโรงเรียน การแปรรูปนมโคเป็นผลิตภัณฑ์อื่นให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
เป็นต้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | รายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ | ดศ. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ทั้งนี้
ในส่วนของข้อเสนอที่ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรายงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
(Digital Infrastructure)
ในส่วนของการพัฒนาระบบ Digital ID
ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๒. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในแผนที่ปฏิบัติการของกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗)
จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากสำนักงบประมาณ
และดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบการขับเคลื่อนที่กำหนด
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
โครงการที่ขอการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะต้องอยู่ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | รายงานผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว | อก. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
เพื่อให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ กับเอกชน
ผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอร่วมลงทุนต่อไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ให้กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานอัยการสูงสุด และประธานกรรมการนโยบายร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เช่น
จะต้องกำกับการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สอดคล้องกับระยะเวลาของสัญญาฉบับเดิมที่จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ๒๕๖๕
ควรคำนึงถึงการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลด้วย
ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำกับติดตามให้คู่สัญญาตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามที่เสนอไว้ในรายงาน
EIA อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม
(การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วย ๑.๑ พิจารณาปรับแก้ร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเรือสาธารณะ
เพื่อขนถ่ายสินค้าเหลวให้ถูกต้อง สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น ร่างสัญญาร่วมทุนฯ
ข้อ ๓.๑.๒)ก. เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๕ (เรื่อง
การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว)
ซึ่งเป็นการอนุมัติให้ใช้วิธีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยใช้วิธีประมูล ตามมาตรา
๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ เท่านั้น เป็นต้น ๑.๒
พิจารณากำหนดแนวทางดำเนินการในกรณีที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือการถมทะเลเพื่อขยายพื้นที่สำหรับก่อสร้างถังเก็บบรรจุสินค้าเหลว
(Tank
Farm) เพิ่มเติม
เพื่อป้องกันมิให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือเป็นเหตุให้เอกชนคู่สัญญาใช้เป็นข้ออ้างในการบอกเลิกสัญญาหรือเรียกร้องค่าเสียหายในภายหลัง ๑.๓ พิจารณากำหนดมาตรการรองรับในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาใช้สิทธิตามสัญญาในการขยายระยะเวลาการก่อสร้างถังบรรจุสินค้าเหลวหรือการถมทะเล
ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าและสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้จากการให้บริการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ๒.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลพิจารณาทบทวนมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุน้ำมันหรือสารเคมีรั่วไหลลงทะเล
โดยให้พิจารณานำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ ชดเชย
เยียวยาแก่ผู้ประสบภัยหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น
ให้เหมาะสม ชัดเจน และเป็นรูปธรรม เพื่อให้การดำเนินการช่วยเหลือฯ
เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และถึงมือผู้ประสบภัยฯ อย่างแท้จริง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | สว. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซี่งสำนักงานศาลปกครอง
โดยคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้พิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎร
ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพิจารณาดำเนินการให้ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
และพนักงานราชการและลูกจ้างของสำนักงานศาลปกครองซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่พิเศษในศาลปกครองยะลา
ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินสวัสดิการ เงินรางวัลหรือค่าตอบแทนอื่นใด
ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกัน
ตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวเริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่ศาลปกครองยะลาร่วมกับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีแล้ว
เห็นว่าเนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๔
มิได้บัญญัติให้คณะกรรมการบริหารศาลปกครองมีอำนาจออกระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยค่าตอบแทนพิเศษในพื้นที่เสี่ยงภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานในศาลปกครองยะลา พ.ศ. ๒๕๖๔
โดยให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ศาลปกครองยะลาเปิดทำการได้
หากจะดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ดังกล่าว
อาจจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจยังไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการในขณะนี้
สำหรับในประเด็นข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของวุฒิสภา
ที่เกี่ยวกับระเบียบเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนพิเศษรวมทั้งสิทธิและประโยชน์อื่นที่จะออกตามมาตรา
๔๑/๘ (๘)
ควรมีเนื้อหาและกลไกที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ศาลปกครองสามารถพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สำนักงานศาลปกครองได้รายงานว่าปัจจุบันได้มีระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยการปฏิบัติงานในวันหยุดราชการเพื่อเร่งรัดคดีของศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๖๕
เพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว
ซึ่งคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้มีมติให้รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตดังกล่าวไปยังสภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | สผ. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซี่งสำนักงานศาลปกครอง
โดยคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้พิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎร
ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพิจารณาดำเนินการให้ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
และพนักงานราชการและลูกจ้างของสำนักงานศาลปกครองซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่พิเศษในศาลปกครองยะลา
ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินสวัสดิการ เงินรางวัลหรือค่าตอบแทนอื่นใด
ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกัน
ตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวเริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่ศาลปกครองยะลาร่วมกับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีแล้ว
เห็นว่าเนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๔
มิได้บัญญัติให้คณะกรรมการบริหารศาลปกครองมีอำนาจออกระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยค่าตอบแทนพิเศษในพื้นที่เสี่ยงภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานในศาลปกครองยะลา พ.ศ. ๒๕๖๔
โดยให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ศาลปกครองยะลาเปิดทำการได้
หากจะดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ดังกล่าว
อาจจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจยังไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการในขณะนี้
สำหรับในประเด็นข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของวุฒิสภา
ที่เกี่ยวกับระเบียบเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนพิเศษรวมทั้งสิทธิและประโยชน์อื่นที่จะออกตามมาตรา
๔๑/๘ (๘)
ควรมีเนื้อหาและกลไกที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ศาลปกครองสามารถพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สำนักงานศาลปกครองได้รายงานว่าปัจจุบันได้มีระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยการปฏิบัติงานในวันหยุดราชการเพื่อเร่งรัดคดีของศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๖๕
เพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว
ซึ่งคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้มีมติให้รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตดังกล่าวไปยังสภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | รายงานสรุปคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี | อส. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี
มีสาระสำคัญเป็นการรายงานผลการพิจารณาชี้ขาดการดำเนินคดีระหว่างส่วนราชการกับเอกชน
และข้อพิพาทระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจด้วยกันเอง รวม ๕๒
เรื่อง
ตามที่คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การดำเนินการตามหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง | พน. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท
อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด จากภารกิจหลักที่ได้รับอนุมัติในคราวจัดตั้งบริษัทตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ เพื่อให้บริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด
สามารถขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจ
ภายใต้หลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนในบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ (๑) Maintenance Service Center : การให้บริการบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น
ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง (๒) Parts Manufacturing การผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น
ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง และ (๓) Operation Services : การให้บริการรับเดินเครื่องโรงไฟฟ้าซึ่งบริษัท
Mitsubishi Heavy Industries, Ltd. หรือบริษัท Mitsubishi Power, Ltd. หรือบริษัท Mitsubishi Corporation ได้รับสิทธิในงานดังกล่าว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน
(การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสากิจ
(หนังสือคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๗๒๓/๑๘๓๐ ลงวันที่ ๑๒
เมษายน ๒๕๖๕) เช่น ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตรับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๕
ไปพิจารณาดำเนินการกำกับดูแล EDS ให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ให้มีแผนการลงทุนและแผนการดำเนินงานอันสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
จัดทำแผนความเสี่ยงในกรณีที่มีผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้
เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินในอนาคต ควรกำกับและติดตามการประกอบกิจการของบริษัทในเครือดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนและกำกับดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจด้วย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การกำหนดตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้น จำนวน 1 ตำแหน่ง | นร.12 | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติกำหนดตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้น
จำนวน ๑ ตำแหน่ง ตามมติที่ประชุมร่วมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ เพื่อรับผิดชอบการบริหารและกำกับดูแลงานในภารกิจที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งเป็นภารกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์
นโยบายและแผนระดับชาติ และภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการตามกฎหมาย ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรกำหนดให้ตำแหน่งดังกล่าวรับผิดชอบกลุ่มภารกิจที่ชัดเจน
ตามเงื่อนไขที่ประชุมร่วมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
กำหนดโดยเร็ว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | โครงการอาคารรักษาพยาบาลศิริราชและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | อว. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | (ร่าง) นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565-2570) | สกมช. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... | รง. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ.. ๒๕๖๕ เป็นระยะเวลา ๓
เดือน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนมาตรา
๓๓ จากเดิมฝ่ายละร้อยละ ๕ ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือฝ่ายละร้อยละ ๓
ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับฝ่ายรัฐบาลส่งเงินสมทบอัตราเดิมร้อยละ ๒.๗๕
ของค่าจ้างผู้ประกันตน และสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ปรับลดจากอัตราเดือนละ ๔๓๒
บาท เป็น ๒๔๐ บาท ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงแรงงาน
รับความเห็นของสำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจถึงสถานการณ์ของกองทุนประกันสังคมที่จะมีการเพิ่มอัตราเงินสมทบและปรับเพิ่มเพดานค่าจ้างแก่นายจ้างและผู้ประกันตน
รวมทั้งวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
และควรเร่งดำเนินมาตรการรองรับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพกองทุนและลดภาระทางการคลังของภาครัฐในระยะยาว อาทิ
การปรับเพิ่มอัตราเงินสมทบ การปรับเพดานค่าจ้างสำหรับคำนวณเงินสมทบ
เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับกองทุนประกันสังคมในระยะยาว รวมทั้งการขยายอายุที่มีสิทธิรับบำนาญอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการเช่ารถยนต์ประจำตำแหน่งเป็นค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่ง และขออนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 เรื่อง ขออนุมัติการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเพื่อเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการ | พน. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายการค่าเช่ารถยนต์ประจำตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน
เป็นค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่ง สำหรับประเด็นการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ กรณีสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานได้จัดทำหนังสือสัญญาเช่ารถประจำตำแหน่งมีระยะเวลาน้อยกว่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบไว้แล้ว
เห็นว่า เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ ได้อนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
กรณีเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการต่ำกว่า ๕ ปี ด้วย
หากการเช่ารถยนต์ประจำตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงานดังกล่าวมีระยะเวลาต่ำกว่า
๕ ปี เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า สำนักนโยบายและแผนพลังงานได้ทำสัญญาเช่ารถยนต์ประจำตำแหน่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา
๔ ปี ๔ เดือน อีกทั้งปัจจุบันได้ยกเลิกสัญญาเช่ารถยนต์ดังกล่าวแล้ว
กรณีนี้จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาแต่อย่างใด ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
และให้กระทรวงพลังงาน (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน) รับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน | พน. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบและรับทราบมาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน
มีสาระสำคัญเป็นการขยายมาตรการที่กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ๒๕๖๕
เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
ทั้งประชาชนทั่วไปและประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงาน
และมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านไฟฟ้า ได้แก่
การช่วยเหลือค่าไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน ๕๐๐
หน่วยต่อเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของค่า Ft ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องการเตรียมความพร้อมของโครงการ
วิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ และเร่งศึกษาการกำหนดมาตรการระยะยาว
เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการ
รวมทั้งเร่งสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และให้มีการรายงานผลการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้การดำเนินมาตรการดังกล่าวบรรลุผลสัมฤทธิ์และมีความคุ้มค่าอย่างแท้จริง
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในท้องที่ 13 จังหวัดชายฝั่งทะเล | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓
กรกฎาคม ๒๕๓๔ (เรื่อง
รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศไทย) วันที่ ๒๒
สิงหาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง
มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๔๓ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
เพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ในท้องที่ ๑๓ จังหวัดชายฝั่งทะเล
เพื่อนำที่ดินที่เป็นป่าชายเลน เนื้อที่รวม ๕๗๓-๓-๗๘ ไร่
ไปดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และข้อเสนอแนะของกระทรวงคมนาคม
เช่น ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่
และการคัดกรองคุณสมบัติของราษฎรว่าเป็นผู้ยากไร้หรือไม่มีที่ดินทำกิน
ตลอดจนการสงวนพื้นที่ที่ยังคงสภาพความเป็นพื้นที่ป่าชายเลนหรือป่าชายหาด
รวมถึงการกำหนดให้มีมาตรการป้องกันและคุ้มครองการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มเติมภายหลังจากที่ได้ดำเนินการตามเป้าหมายการจัดการที่ดินทำกินให้ชุมชนดังกล่าว
ควรกำหนดให้ชุมชนที่ได้รับอนุญาตให้ทำกินในป่าชายเลนดังกล่าวมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้มากยิ่งขึ้นจากที่เป็นอยู่ด้วย
เพื่อให้การใช้ประโยชน์ป่าชายเลนเป็นไปอย่างยั่งยืน หน่วยงานดำเนินการตามมาตรา ๖๒
ห้ามมิให้ผู้ใดทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ผิดไปจากสภาพที่เป็นอยู่เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่
เพื่อให้การจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนเป็นไปอย่างถูกต้องตามพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |