ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 9 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 161 - 180 จากข้อมูลทั้งหมด 252 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
161 | มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 | ทส. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
จำนวน ๙ เรื่อง ประกอบด้วย (๑) ผลการดำเนินงานด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ
ในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดผ่านกลไกการปรับลดอัตราการระบายมลพิษทางอากาศในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(๒) แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ (๓) การแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหลกลางทะเล
จังหวัดระยอง (๔) โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทา ระยะที่ ๑ วัชรพล-ทองหล่อ
ของสำนักงานการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (๕) โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า ๒๓๐
กิโลโวลต์ ตาก ๒-แม่สอด (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ ๑)
ของการไฟฟ้านครหลวง (๖) โครงการที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามา-ธนารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ
ของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (๗) โครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับขี่ ๒
สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ของกองทัพเรือ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (๘)
การกำหนดอัตราค่าบริการในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการจัดสรรเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม
ตามมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๓๕ และ (๙)
การกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
162 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2502 เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด เพื่อให้บริษัท ขนส่ง จำกัด มีภารกิจด้านการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ | คค. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๑ ตุลาคม ๒๕๐๒ เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด จากเดิมให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
(บขส.) รับภาระเดินเฉพาะรถโดยสาร เป็นให้ บขส. มีภารกิจด้านการขนส่งผู้โดยสาร
และการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคมและบริษัท
ขนส่ง จำกัด รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
เช่น
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นภารกิจหลักขององค์กรเป็นลำดับแรก
ควรทบทวนโครงสร้างอุตสาหกรรมการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง
ควรพิจารณาความเหมาะสมและความพร้อมของ บขส.
ในการเข้าไปดำเนินธุรกิจในลักษณะที่ต้องเข้าไปแข่งขันกับเอกชน
และพิจารณาความสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๕ (๔) ควรดำเนินการภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่และไม่ลงทุนเพิ่ม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
หารือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด อย่างละเอียดรอบคอบ
เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ร่วมกันอย่างเหมาะสมเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
โดยไม่เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนของขอบเขตภารกิจและการลงทุน แล้วให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
เร่งปรับปรุงแผนวิสาหกิจและแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
163 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลห้วยแย้ ตำบลวังตะเฆ่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองบัวระเหว และตำบลชีบน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. .... | กษ. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลห้วยแย้ ตำบลวังตะเฆ่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองบัวระเหว และตำบลชีบน
อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลห้วยแย้ ตำบลวังตะเฆ่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองบัวระเหว
และตำบลชีบน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ อาคารประกอบ
และสิ่งจำเป็นในการชลประทานอื่นตามโครงการอ่างเก็บน้ำลำชีวันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดชัยภูมิ
เพื่อประโยชน์แก่การชลประทานสำหรับพื้นที่การเกษตร การอุปโภคและบริโภค
ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
โดยให้แก้ไขระยะเวลาการใช้บังคับร่างพระราชกฤษฎีกา จาก “พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนด
๔ ปี” เป็น “พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนด ๓ ปี”
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
164 | โครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำเรียนฟรี มีอาชีพ) | ศธ. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการโครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน
เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ)
และให้กระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
ดำเนินโครงการนำร่องในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนว ๘๘
แห่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (ระยะที่ ๑) ก่อน แล้วให้กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการฯ
(ระยะที่ ๑) อย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินโครงการฯ เสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
และประกอบการพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการขยายผลการดำเนินโครงการฯ ในระยะต่อไป
อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการฯ ในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้กระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ให้กระทรวงศึกษาธิการ
(สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) รับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณารวบรวมข้อมูลและติดตามเยาวชนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาในลักษณะของภาคีเครือข่าย
ควรจัดทำหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมดิจิทัลในอนาคต
ควรพิจารณาความซ้ำซ้อนของสถานศึกษาอาชีวในโครงการฯ กับโครงการอาชีวพระดาบส
ทั้งด้านการก่อสร้างหอพัก และการจ้างและจ่ายค่าตอบแทนดูแลหอพัก
เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการและแบ่งปันการใช้ทรัพยากรเพื่อการดูแลผู้เรียนร่วมกัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
165 | รายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะ ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 | กค. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะ
ตามมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ วันที่ ๓๑
มีนาคม ๒๕๖๕ โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นจริง ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
ยังอยู่ในกรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
166 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 8/2565 | นร.04 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19)
(ศบค.) ครั้งที่ ๘/๒๕๖๕ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕
ซึ่งมีผลการประชุมที่สำคัญ ได้แก่ (๑)
รายงานสถานการณ์และแนวโน้มการแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อ (๒)
รับทราบความคืบหน้าการเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ (๓) รับทราบรายงานผลการดำเนินงานเปิดรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร
(๔) การปรับระดับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการป้องกันควบคุมโรคแบบบูรณาการ (๕) การปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรและการบริหารจัดการระบบ
(๖) แผนการให้บริการวัคซีนโควิด-19 และ (๗) ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ตามที่สำนักงานเลขาธิการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
167 | รายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | นร.12 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ยุบเลิกสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ขอให้มอบหมายคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
ดำเนินการเพื่อยุบเลิกหน่วยงานและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
พ.ศ. .... และการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวของคณะรัฐมนตรีให้นำรายงานการประเมินความคุ้มค่า
บทเรียน ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนไปประกอบการพิจารณาด้วย ๒.
ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความละเอียด รอบคอบ ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมาย
และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเกษตรกรและผู้ยากจนที่เข้าร่วมโครงการ
รวมทั้งบุคลากรและทรัพยากรของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ควรเข้ามาเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการแก้ปัญหาที่ดินทั้งประเทศโดยไม่ควรเป็นหน่วยงานที่สำนักงานในทุกจังหวัด
และไม่ควรซื้อที่ดินเอกชนมาดำเนินการเอง ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
168 | ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) | คค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ได้รับการผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้นที่ ๑ เอ เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
(ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ๒. ให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ ๖/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๒
ตุลาคม ๒๕๖๓ อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น กระทรวงคมนาคม
(การรถไฟแห่งประเทศไทย) ต้องปฏิบัติตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
และมติคณะกรรมการชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้
การดำเนินการระยะต่อไปของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
หากมีความจำเป็นต้องขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำหรือการดำเนินการอื่นใดตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วงและเกิดประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมทางรางของประเทศต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
169 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นให้ผู้นำของเข้ามาเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕
ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
โดยได้แก้ไขระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติพิธีการศุลกากรตามมาตรา ๑๐๒
วรรคสอง และมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐
จากเดิมที่กำหนดให้สิ้นสุดในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นให้สิ้นสุดในวันที่
๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
170 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) | สผ. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑.รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบงบการเงินดังกล่าวแล้วไม่สามารถแสดงความเห็นต่อรายงานการเงินดังกล่าวได้
เนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ และการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ เช่น การกำหนดรหัสสินทรัพย์ในระบบ GFMIS
และรหัสสินทรัพย์ตามทะเบียนคุมทรัพย์สินไม่สอดคล้องกัน จึงไม่สามารถอ้างอิงกันได้ วัสดุคงเหลือมียอดคงเหลือตามบัญชีต่ำกว่ายอดคงเหลือตามรายละเอียดวัสดุ
และที่ดินอาคาร อุปกรณ์ มีการรวบรวมรายการที่มีข้อคลาดเคลื่อน ๒. ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรรับความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินต่อรายงานการเงิน
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ เกี่ยวกับประเด็นที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ
และการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ไปดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ครบถ้วน
รวมทั้งนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำรายงานการเงินของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในปีต่อ
ๆ ไป ให้ถูกต้อง
ตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
171 | (ร่าง) แผนการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมระดับชาติ (พ.ศ. 2564 - 2580) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายใต้แผนฯ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 -2565) และระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | สธ. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบ (ร่าง) แผนการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมระดับชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๘๐) ตามที่คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมเสนอ และรับทราบแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายใต้แผนการเฝ้าระวัง การป้องกันระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๕) และระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖–๒๕๗๐) ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดย (ร่าง) แผนฯ และแผนปฏิบัติการ ภายใต้แผนฯ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานในการสื่อสารสร้างความเข้าใจระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน NGOs และภาคประชาชนในการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้ประกอบอาชีพและผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ด้วยการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงการให้บริการอาชีวเวชกรรมและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ๒.
มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนการเฝ้าระวังฯ และแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมเสนอ ทั้งนี้
ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และในปีต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๓.
ให้คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน
และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เช่น พิจารณาเพิ่มเติมแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกัน เฝ้าระวัง
และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือน ด้านนโยบาย/มาตรการทางการเงินการคลัง
โครงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคเชิงรุกในสถานประกอบการ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
172 | แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) | พม. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐)
มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท
เพิ่มคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้เพิ่มพูนศักยภาพของตนเองอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติ รองรับสังคมสูงวัยเชิงรุก ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นข้อเสนอแนะ
และข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณสำนักงาน ก.พ.
และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น ควรกำหนดบทบาทของหน่วยงานรับผิดชอบหลัก/หน่วยงานรับผิดชอบร่วมในรูปของผังกระบวนงานหรือ
Work Flow ให้ชัดเจน
ควรมีแนวทางในการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการที่ชัดเจน
อาจเพิ่มตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการเสริมสร้างพลังให้กับผู้สูงวัย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงสาธารณสุข
และกระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ที่เห็นว่าในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ
ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐) นั้น เห็นควรมอบหมายเพิ่มเติมให้กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อส่งเสริมการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยอาจร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย
เพื่อผลิตสิ่งอำนวยความสะดวก/อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
และให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม
รวมทั้งอาจพิจารณาผลิตสิ่งอำนวยความสะดวก/อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อการส่งออกอีกด้วย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
173 | (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2580) | นร.11 สศช | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
รับทราบข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรตาม (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว
(พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐) มีประเด็นสำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการไปพร้อมกันด้วย
ดังนี้ ๑.๑.
ปรับปรุงโครงสร้างระบบภาษีให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรที่แรงงานในระบบจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
โดยเฉพาะภาษีเงินได้ ๑.๒.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้กองทุนสวัสดิการสังคมต่าง ๆ
ที่มีอยู่และที่อาจจะตั้งขึ้นในอนาคตมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในขณะที่มีเงินกองทุนเท่าเดิมหรือน้อยลงซึ่งจะส่งผลต่อภาระด้านการเงินการคลังของรัฐในระยะยาว
จึงต้องปรับปรุงระบบสวัสดิการให้เหมาะสม ๑.๓.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อการรักษาความมั่นคงของชาติในภาพรวมเนื่องจากจำนวนกำลังพลจะน้อยลง
หน่วยงานด้านความมั่นคงและกองทัพจึงต้องพัฒนาให้ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ๒
เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ประกอบด้วยยุทธศาสตร์สำคัญ ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพ
และพัฒนาระบบที่เอื้อต่อการมีและเลี้ยงดูบุตร (๒) การพัฒนายกระดับผลิตภาพประชากร
(๓) การยกระดับความมั่นคงทางการเงิน (๔) การสร้างเสริมสุขภาวะ
เพื่อลดการตายก่อนวัยอันควรและมีระบบดูแลระยะยาวและช่วงท้ายของชีวิต (๕)
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพกับทุกกลุ่มวัย และ (๖)
การบริหารจัดการด้านการย้ายถิ่นฐาน ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และกระทรวงมหาดไทย เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดของการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่ ๗
การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ในประเด็นการปรับลดกำลังคนภาครัฐ
สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนางานให้มากขึ้น
ควรมุ่งเน้นประเด็นความเหมาะสมและสมดุลของโครงสร้างประชากรทุกกลุ่มวัยให้ชัดเจน เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
174 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565 | นร.11 สศช | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
175 | ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม
พ.ศ. ๒๕๓๓ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของคณะกรรมการประกันสังคม
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาและคณะกรรมการการแพทย์
แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการประกันสังคมมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการบริหารพนักงานและลูกจ้าง
รวมทั้งการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๙
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้ประกันตนเกี่ยวกับสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
การให้ผู้รับบำนาญสามารถกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน สิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรโดยเป็นการเหมาจ่าย รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราการได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ
ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ หลักเกณฑ์การรับเงินบำนาญชราภาพ
และหลักเกณฑ์การได้รับประโยชน์ทดแทน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงาน ก.พ. เช่น
มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ให้ความสำคัญกับประเด็นกลุ่มแรงงานนอกระบบให้ได้รับการคุ้มครองของระบบประกันสังคมเพิ่มมากขึ้น
กำหนดอายุทดแทนกรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนที่มีอายุห้าสิบปีบริบูรณ์แต่ไม่ถึงหกสิบห้าปีบริบูรณ์ให้สอดคล้องกับการจ้างงาน
และควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณา
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพทางการเงินการคลังของกองทุนประกันสังคมต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงบประมาณ
และสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว ควรคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางรายได้ยามชราภาพของผู้ประกันตน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
176 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | พณ. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ซึ่งได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยได้ดำเนินการพิจารณาแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลลิขสิทธิ์
การประชาสัมพันธ์ การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
การศึกษาแนวทางการให้ความคุ้มครองสิทธิของนักแสดง
การกำหนดแนวทางการดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์
โดยมีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานอย่างเคร่งครัด และได้ส่งเสริมให้เจ้าของลิขสิทธิ์เลือกใช้มาตรการทางเทคโนโลยีที่ไม่เป็นการปิดกั้นการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
177 | ร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล เรื่อง การตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา | กห. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล US-TH-AF-22-0001
สำหรับความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา
ว่าด้วยการตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพ
และให้เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ
โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Power) ให้เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าว
โดยร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนาอันเป็นความสนใจร่วมกันในด้านที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้จากระยะไกลและการประมวลผลสัญญาณ
ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล
US-TH-AF-22-0001 สำหรับความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา
ว่าด้วยการตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ที่ควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
178 | มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดในการซื้อทรัพย์สินคืน (มาตรการฯ REIT buy-back) | กค. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
179 | รายงานการเงินประจำปีพร้อมรายงานผลการตรวจสอบ | อส. | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการเงินประจำปีพร้อมรายงานผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ของสำนักงานอัยการสูงสุด ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วไม่สามารถแสดงความคิดเห็นต่อรายงานการเงินได้
เนื่องจากมีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญและไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ
ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ๒. ขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตามรายงานการเงินฯ
เกี่ยวกับประเด็นที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ
และการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ไปดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง
ครบถ้วน
รวมทั้งนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำรายงานการเงินของสำนักงานอัยการสูงสุดในปีต่อ
ๆ ไป ให้ถูกต้อง ครบถ้วน
ตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
180 | ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมีนาคม 2565 | นร.11 สศช | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ
เดือนมีนาคม ๒๕๖๕ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติผ่านการจัดทำโครงการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ
ประจำปี ๒๕๖๕ และปี ๒๕๖๖ ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ การติดตาม การตรวจสอบ
และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ การสร้างการตระหนักรู้
ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ
ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|