ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 252 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | การแต่งตั้งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (นายก้องศักด ยอดมณี) | กก. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายก้องศักด
ยอดมณี ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ตามมติคณะกรรมการ
กกท. ครั้งที่ ๗/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม
๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๙ ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
82 | การรับรองร่างปฏิญญาฉบับสุดท้ายของการประชุมระดับโลกว่าด้วยนโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเนสโก (Mondiacult 2022) | วธ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||
83 | การจ่ายเงินสวัสดิการพิเศษให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ | กษ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
84 | ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.12 | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน
(Joint
KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยมีกรอบแนวทางและเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
รวมทั้งกำหนดการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพิ่มเติมจากปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ ใน ๓ ประเด็น ได้แก่ (๑) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (๒)
การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และ ๓) การท่องเที่ยว
และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนตัวชี้วัดดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายต่อไป
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกับสำนักงาน
ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.
รวมทั้งข้อสังเกตและความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ให้ครอบคลุมภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
และควรมีการทบทวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวชี้วัดเป็นระยะ
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||
85 | การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) | กก. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
86 | ร่างถ้อยแถลงร่วมการหารือระดับรัฐมนตรีอาเซียน - สหรัฐอเมริกาว่าด้วยความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรี (Joint Statement of the ASEAN – U.S. Ministerial Dialogue on Gender Equality and Women’s Empowerment) | พม. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||
87 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวลักษณวดี ธนามี และนายชาครีย์ บำรุงวงศ์) | คค. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงคมนาคม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ ราย
ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอ
ดังนี้ ๑. นางสาวลักษณวดี ธนามี ดำรงตำแหน่งนักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
ตั้งแต่ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ๒.
นายชาครีย์ บำรุงวงศ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก
(นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัด กระทรวง ตั้งแต่วันที่
๒๐พฤษภาคม ๒๕๖๕
|
|||||||||||||||||||||||||||
88 | ขออนุมัติโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 2 | กษ. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ ๒ เพื่อชดเชยเยียวยาและบรรเทาผลกระทบให้กับเจ้าของเรือประมงจากมาตรการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของภาครัฐ
และรักษาความสมดุลของจำนวนเรือประมงพาณิชย์กับปริมาณสัตว์น้ำที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการโครงการ
โดยมีงบประมาณค่าใช้จ่ายในการชดเชยเรือประมง จำนวน ๕๙ ลำ เป็นเงิน ๒๘๗,๑๘๑,๘๐๐ บาท โดยขอใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี
๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำหนดมาตรการและกำกับดูแลให้เรือออกนอกระบบได้อย่างแท้จริง ควรดูแลและสนับสนุนให้ผู้ที่ไม่ประสงค์จะทำการประมงได้มีโอกาสในการประกอบอาชีพอื่น
ควรพิจารณาทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากเรือประมงที่นำออกนอกระบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||
89 | การดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 2610 (ค.ศ. 2021) เรื่อง การต่อต้านการก่อการร้าย | กต. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและการดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Security Council : UNSC) ที่ ๒๖๑๐ (ค.ศ. ๒๐๒๑) เรื่อง
การต่อต้านการก่อการร้าย และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ
และแจ้งผลการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
หรือข้อขัดข้องหรืออุปสรรคในการปฏิบัติตามข้อมติดังกล่าวให้กระทรวงการต่างประเทศทราบ
เพื่อประโยชน์ในการรายงานต่อ UN ต่อไป โดยข้อยุติ UNSC ที่ ๒๖๑๐ (ค.ศ. ๒๐๒๑)
เป็นการกำหนดให้ประเทศสมาชิกของ UN ดำเนินการตามมาตรการในด้านต่าง
ๆ
เพื่อเป็นการป้องกันและตอบสนองต่อสถานการณ์การก่อการร้ายระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปต่อกลุ่มอัลกออิดะห์
(AL-Oaida) และกลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนท์ (ISIL) และบุคคลหรือกลุ่มก่อการร้ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
การดำเนินการด้านการเงิน การคว่ำบาตรทางอาวุธและการดำเนินการด้านเทคโนโลยี
การห้ามเดินทาง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงคมนาคม
ที่เห็นควรให้เพิ่มการเฝ้าระวังเพื่อการป้องปราบการกระทำที่เกี่ยวกับการก่อการร้าย
และยึดหลักการส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชนของทุกคน และให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
90 | แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ | นร.10 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
91 | แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570) | นร.53 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
92 | กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2566 | นร.11 สศช | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ วงเงินดำเนินการจำนวน ๑,๓๖๓,๙๓๘ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน
จำนวน ๒๗๖,๒๗๔ ล้านบาท ประกอบด้วย (๑)
กรอบการลงทุนสำหรับงานตามภารกิจปกติและโครงการต่อเนื่อง วงเงินดำเนินการ จำนวน ๑,๑๖๓,๙๓๘ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน ๒๒๖,๒๗๔ ล้านบาท และ (๒) กรอบการลงทุนสำหรับการเพิ่มเติมระหว่างปี วงเงินดำเนินการ
จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท เห็นชอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปรับวงเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ
๒๕๖๖ ให้สอดคล้องกับผลการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.
๒๕๖๖ รวมถึงงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบกลาง
หรืองบประมาณที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการงบประมาณหรือได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณแล้ว
และปรับเพิ่มกรอบวงเงินดำเนินการและกรอบวงเงินเบิกจ่ายลงทุนให้สอดคล้องกับการอนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี
เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้ทันทีภายในปีงบประมาณ เห็นชอบมอบหมายให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยประธานสภาพัฒนาฯ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนแปลงงบลงทุนระหว่างปีในส่วนงบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติและโครงการต่อเนื่องที่การเปลี่ยนแปลงไม่มีผลกระทบต่อสาระสำคัญและกรอบวงเงินโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว
เห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ระดับกระทรวง
และระดับรัฐวิสาหกิจโดยให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจรับข้อเสนอแนะในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการและเห็นควรให้รัฐวิสาหกิจรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและการลงทุนปี
๒๕๖๖ให้ สศช. ทราบภายในทุกวันที่ ๕ ของเดือนอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะและความก้าวหน้าการดำเนินโครงการลงทุนทุกไตรมาส
เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้อย่างต่อเนื่อง
และรับทราบประมาณการงบทำการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ ๖๗,๖๙๒ ล้านบาท และประมาณการแนวโน้มการดำเนินงานช่วงปี ๒๕๖๗-๒๕๖๙ ของรัฐวิสาหกิจในเบื้องต้นที่คาดว่าจะมีการลงทุนเฉลี่ยประมาณปีละ
๓๘๓,๙๗๐ ล้านบาท และผลประกอบการจะมีกำไรสุทธิเฉลี่ยประมาณปีละ
๘๐,๔๘๗ ล้านบาท ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงต้นสังกัด รัฐวิสาหกิจ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
รัฐมนตรีเจ้าสังกัดกำกับดูแลและคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
ให้ความสำคัญในการติดตามผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินงานและการเบิกจ่ายกรณีที่มีความล่าช้า
และพิจารณาการดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงให้คณะรัฐมนตรีทราบในโอกาสแรก ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
เพื่อให้การดำเนินโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ
เป็นไปอย่างรวดเร็วตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้
ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นต้องหารือแนวทางปฏิบัติในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างหรือหารือประเด็นข้อกฎหมายไปยังกระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) หรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามแต่กรณี ให้กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง)
และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเร่งพิจารณาและตอบข้อหารือดังกล่าวโดยเร็ว
เพื่อให้รัฐวิสาหกิจนั้น
ๆสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้โดยไม่เกิดความล่าช้าและเสียประโยชน์จากการดำเนินโครงการ |
|||||||||||||||||||||||||||
93 | ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... | ยธ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับเพิ่มและยกเลิกคดีความผิดทางอาญาที่ต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
จากร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยให้ ๑) คงคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๓ ฉบับ
เป็นคดีพเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา
และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร ๒) เพิ่มเติมคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๓
ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
และคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก และ ๓)
ยกเลิกคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๒ ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่
คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นควรให้กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณาเพิ่มเติมความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทางทะเลและชายฝั่ง
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ในร่างกฎกระทรวงนี้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
94 | ร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ | ทส. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้และทรัพยากรป่าไม้
ตลอดจนพัฒนาระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ
มีเป้าหมายคือเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศอย่างน้อยร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ประเทศ
ประกอบด้วย ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ
๒๕ ระยะเวลาของแผนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐ โดยร่างแผนแม่บทฯ ได้กำหนดมาตรการไว้ ๓
ด้าน ตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ได้แก่ ด้านการจัดการป่าไม้
ด้านการใช้ประโยชน์ผลิตผลและการบริการจากป่าไม้และอุตสาหกรรมป่าไม้
และด้านการพัฒนาระบบบริหารและองค์กรเกี่ยวกับการป่าไม้ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น
ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรใช้ประโยชน์จากการจัดทำและการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ ต่อยอดมิติเศรษฐกิจด้านภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของไทยที่ได้มาตรฐาน
มีธรรมาภิบาล ตอบโจทย์ความยั่งยืนทั้งห่วงโซ่อุปทาน
เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในภาวะตลาดโลกที่มีเงื่อนไขและการแข่งขันสูงในปัจจุบัน
การดำเนินบทบาทตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ
ควรกำหนดหน่วยงานหรือคณะบุคคลผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และเหมาะสม
รวมถึงควรบูรณาการฐานข้อมูลสารสนเทศในภาพรวมทั้งในระดับประเทศ และระดับพื้นที่
ตลอดจนการดำเนินการระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้ประสานสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
ควรเพิ่มการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในประเด็นเรื่องของ
“การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” เพิ่มเติมนอกจากการอนุรักษ์
การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน ในส่วนที่ ๕ ข้อ ๕.๑ ประการที่ ๖
และควรคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่ครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่เดิม
โดยอาจมีมาตรการเยียวยาหรือช่วยเหลือที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อภาคประชาชน ในส่วนที่
๕ ข้อ ๕.๑ ประการที่ ๙ ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้แต่ละประเภทให้มีความเหมาะสม
ชัดเจน สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
และเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
แล้วให้จัดทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน (Handbook)
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการขอทบทวน
ปรับปรุงหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องที่อาจมีความซ้ำซ้อนหรือไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
95 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา | สว. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง แนวทางป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส
วุฒิสภา
ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว
สรุปได้ ดังนี้ (๑) แนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์
โดยปัจจุบันได้มีการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนไทยในศตวรรษที่
๒๑ เช่น การอบรมหลักสูตร ID-Sign เพื่อเป็น “ผู้พิทักษ์สิทธิทางเพศวัยรุ่น”
และ (๒) แนวทางแก้ไขการตั้งครรภ์ เช่น ยกระดับให้เป็นวาระสำคัญเร่งด่วน
โดยมีการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กในรูปแบบ Day Care Night Care เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว พ่อแม่วัยรุ่น
ระบบความช่วยเหลือในรูปแบบผู้จัดการรายกรณี โดยระบบสามารถระบุพื้นที่เกิดเหตุ
ภาพถ่าย
และติดตามให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานได้ข้อมูลจะถูกส่งต่อไปยังระบบการจัดการรายกรณี
การให้คำปรึกษาทางเลือกที่จะท้องต่อหรือทำแท้ง โดยมีศูนย์รับแจ้งเรื่องราวข่าวสาร
และให้คำปรึกษาแนะนำตลอด ๒๔ ชั่วโมง การบังคับใช้กฎหมาย
ดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจ สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้วัยรุ่นและประชาชนทั่วไปรับรู้เรื่องกฎหมายและสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนครอบครัว
การให้คำปรึกษาทางเลือก และยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
การปรับปรุงข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์
การดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิในระดับชุมชน เป็นต้น ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||
96 | ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร พ.ศ. .... | ศย. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร วันจันทร์ที่
๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕
ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.
.... ต่อรัฐสภาเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
97 | ขอความเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยอนุญาตให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเช่าพื้นที่บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงห้วยขวางของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างอาคารและสนามฝึกซ้อมกีฬาสำหรับเด็กและเยาวชน | คค. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
98 | การร่วมรับรองเอกสารชุดเครื่องมือการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสตรีวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ในระดับชาติ (Strengthening Women's Entrepreneurship in National MSME Policies and Action Plans Toolkit for Policymakers) | นร.53 | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||
99 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในท้องที่ 13 จังหวัดชายฝั่งทะเล | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓
กรกฎาคม ๒๕๓๔ (เรื่อง
รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศไทย) วันที่ ๒๒
สิงหาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง
มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๔๓ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
เพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ในท้องที่ ๑๓ จังหวัดชายฝั่งทะเล
เพื่อนำที่ดินที่เป็นป่าชายเลน เนื้อที่รวม ๕๗๓-๓-๗๘ ไร่
ไปดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และข้อเสนอแนะของกระทรวงคมนาคม
เช่น ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่
และการคัดกรองคุณสมบัติของราษฎรว่าเป็นผู้ยากไร้หรือไม่มีที่ดินทำกิน
ตลอดจนการสงวนพื้นที่ที่ยังคงสภาพความเป็นพื้นที่ป่าชายเลนหรือป่าชายหาด
รวมถึงการกำหนดให้มีมาตรการป้องกันและคุ้มครองการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มเติมภายหลังจากที่ได้ดำเนินการตามเป้าหมายการจัดการที่ดินทำกินให้ชุมชนดังกล่าว
ควรกำหนดให้ชุมชนที่ได้รับอนุญาตให้ทำกินในป่าชายเลนดังกล่าวมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้มากยิ่งขึ้นจากที่เป็นอยู่ด้วย
เพื่อให้การใช้ประโยชน์ป่าชายเลนเป็นไปอย่างยั่งยืน หน่วยงานดำเนินการตามมาตรา ๖๒
ห้ามมิให้ผู้ใดทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ผิดไปจากสภาพที่เป็นอยู่เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่
เพื่อให้การจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนเป็นไปอย่างถูกต้องตามพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
100 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 | ตช. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน
๑๔๑.๔๒ ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม
ระหว่างวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการอย่างสุจริต โปร่งใส มีประสิทธิภาพ
ตรวจสอบได้
รวมทั้งให้พิจารณาจัดอัตรากำลังพลในการปฏิบัติภารกิจดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุมให้มีความเหมาะสม
ประหยัด และสอดคล้องกับสถานการณ์การชุมนุมสาธารณะที่มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและศูนย์ปฏิบัติการ
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ที่เห็นว่าหากมีการพิจารณาตรวจสอบรายการ
กลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด จะทำให้การสนับสนุนงบประมาณเกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องอยู่บนพื้นฐานการกระทำที่ได้สัดส่วนและการกระทำเท่าที่จำเป็น
โดยคำนึงถึงความสมดุลในการรักษาความมั่นคงของประเทศควบคู่กับการรักษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้เหมาะสมตามหลักนิติรัฐ
ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย |