ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 252 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการซ่อมแซมแหล่งน้ำขนาดเล็กของส่วนราชการที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2565-2570 ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ | นร.14 | 01/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการโครงการซ่อมแซมแหล่งน้ำขนาดเล็กของส่วนราชการที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริในกรอบวงเงิน
๕๓๑.๓๕๙๗ ล้านบาท ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเลื่อนระยะเวลาโครงการจากปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ เป็น
ปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำหรับการดำเนินโครงการและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
และในปีต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมพัฒนาที่ดินและกรมชลประทาน)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมทรัพยากรน้ำ)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมพัฒนาที่ดินและกรมชลประทาน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(กรมทรัพยากรน้ำ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการกำกับดูแลโครงการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลให้ถูกต้องและครบถ้วนในทุกขั้นตอน
เร่งรัดการถ่ายโอนแหล่งน้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อดำเนินโครงการซ่อมแซมแล้วเสร็จ
คำนึงถึงความจำเป็นและภารกิจของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ควรวางระบบติดตามผลการดำเนินงานควบคู่ไปด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินโครงการในระยะต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
62 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | นร.01 | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน
ในไตรมาสที่ ๓ ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค เพื่อประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน
และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑)
สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ ๓ ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ ผ่านช่องทางการร้องทุกข์หมายเลขสายด่วน
๑๑๑๑ รวมทั้งสิ้น ๑๖,๗๔๒ เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ ๑๓,๙๘๑
เรื่อง โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับการประสานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนมากที่สุด
(๑,๒๕๕ เรื่อง) สำหรับเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด
คือ เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน (๑,๓๓๖ เรื่อง) และปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์
เช่น ปัญหาเดือดร้อนรำคาญจากเสียงดังรบกวน
แก้ไขยากเนื่องจากเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานและกฎหมายหลายฉบับ
และขาดหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการแก้ไขให้เกิดผลในภาพรวมอย่างเป็นรูปธรรม
และปัญหาผู้รับบริการไม่ได้รับการชี้แจงหรือรายงานผ่านการดำเนินการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระยะเวลาอันสมควร
และ ๒) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน เช่น
ขอให้กระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพหลักกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา
และขอให้หน่วยงานกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จในการแก้ไขปัญหาและปฏิบัติตามกระบวนการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์ให้เป็นตามมาตรฐานระยะเวลาการให้บริการอย่างเคร่งครัด
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
63 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก - ม่วงเจ็ดต้น จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... | มท. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก-ม่วงเจ็ดต้น
จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลบ้านม่วงเจ็ดต้น และตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ
และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชนบ้านโคก-ม่วงเจ็ดต้น
ให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง การค้าตามแนวชายแดน ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ
รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยได้มีการกำหนดแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดข้อบังคับลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึง กฎ ระเบียบ
ที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินกิจการโรงงานตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ
ของผังเมืองรวมดังกล่าวให้ได้มาตรฐานอย่างเคร่งครัด
เพื่อป้องกันผลกระทบต่อธรรมชาติ ระบบนิเวศ และสุขภาพของชุมชน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
64 | รายงานผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 55 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | กค. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย
(Asian Development Bank : ADB) ครั้งที่ ๕๕ และการประชุมอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๒๗-๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ณ สำนักงานใหญ่ ADB กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าคณะ
และผู้แทนกระทรวงการคลังเข้าร่วมประชุมฯ โดยในที่ประชุมฯ
ได้มีการมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการรับมือและแก้ไขปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
(COVID-19)
และผู้ว่าการของประเทศสมาชิกได้แลกเปลี่ยนความเห็นและแนวนโยบายการดำเนินงานของ ADB
ภายใต้แนวคิด “Positioning Climate Resilient Green Economy
for the Post COVID-19 World” ซึ่งได้เรียกร้องให้ ADB ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวจากผลกระทบของ
COVID-19 ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งเสนอให้
ADB สนับสนุนประเทศสมาชิกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสหภาพภูมิอากาศ
และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
65 | รายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย | นร.01 | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย
เพื่อสรุปข้อมูลการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยให้ทั่วถึงทุกพื้นที่โดยด่วน
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้วย ๒. มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เร่งสำรวจข้อมูลความเดือดร้อนเสียหายของประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยในทุกมิติให้ถูกต้อง
ครบถ้วน ตรงตามข้อเท็จจริง และพิจารณากำหนดมาตรการ หลักเกณฑ์
และเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ
โดยให้เทียบเคียงกับแนวทางการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่ได้เคยดำเนินการไปแล้วในปี
พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อแก้ไขหรือเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายในบางกรณี พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
66 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. .... | มท. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลข่วงเปา ตำบลบ้านหลวง ตำบลจอมทอง ตำบลดอยแก้ว และตำบลสบเตี๊ยะ
อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมือง
และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง ซึ่งกำหนดให้เป็น
“แหล่งโบราณพุทธศาสนา ล้ำค่าประเพณี สิ่งแวดล้อมดี สาธารณูปโภคพร้อม”
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๑๓
ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ
รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภทตลอดจนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึง กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์
สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
67 | ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ Community - based Poverty Reduction for Lancang - Mekong Cooperation Countries ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 | มท. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ
Community-based Poverty Reduction for
Lancang-Mekong Cooperation Countries ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ และเห็นชอบให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
กับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนฯ และกำหนดหลักการเบื้องต้น
การยืนยันเงินงบประมาณและโครงการ หน่วยงานดำเนินโครงการ
การจัดสรรและบริหารงบประมาณ การบริหารจัดการโครงการ การกำกับดูแลและการตรวจสอบ
การยอมรับโครงการและการประเมินผล การทบทวนและการแก้ไขเพิ่มเติม การประยุกต์ใช้
และระยะเวลา ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นควรปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
รวมทั้งจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและเปิดเผยต่อสาธารณชน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
68 | การยกเว้นการแสดงหลักฐานใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคต้องห้าม และการแสดงตัวตนเพื่อขอรับใบอนุญาตทำงานอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง สำหรับผู้ขอและผู้ถือ long-term resident visa (LTR Visa) [ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (ฉบับที่ ..)] | รง. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบเรื่อง
การยกเว้นการแสดงใบรับรองแพทย์และการต้องมารับใบอนุญาตทำงานที่นายทะเบียนออกให้ด้วยตนเอง
สำหรับคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ
ประเภทผู้พำนักระยะยาว (long-term resident visa : LTR Visa) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐให้กับคนต่างด้าวที่ประสงค์เข้ามาลงทุนหรืออยู่อาศัยในประเทศไทย
อันเป็นการตอบสนองต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทยของรัฐบาล
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ๒.
เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
(ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดยกเว้นการแสดงใบรับรองแพทย์
และการต้องมารับใบอนุญาตทำงานที่นายทะเบียนออกให้ด้วยตนเอง
สำหรับคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ
ประเภทผู้พำนักระยะยาว (LTR Visa) ที่ต้องการขออนุญาตทำงานในราชอาณาจักร
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
69 | การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งกองทุนพัฒนาวิสาหกิจและกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน | กค. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาการขอจัดตั้งกองทุนพัฒนาวิสาหกิจ
ตามร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาวิสาหกิจ พ.ศ. ....
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน
และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับวิสาหกิจที่มีศักยภาพ
โดยมุ่งเน้นการให้กู้ยืมและให้ความช่วยเหลือแก่ SMEs ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายและเป็นนิติบุคคลที่ไม่ใช่คนต่างด้าวให้มีประสิทธิภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
และกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ตามร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ ..
พ.ศ. .... มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม ศึกษา วิจัย และพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้เป็นไปตามนโยบายของประเทศในด้านเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมทั้งรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อย
โรงงาน และผู้บริโภค เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอ
และให้กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
รวมทั้งให้รับข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์และความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่เห็นว่ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้องค์การการค้าโลกด้วยงบประมาณจากภาครัฐ
และกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และกลุ่มเป้าหมายในการให้เงินทุนสนับสนุนให้ชัดเจน
ไปพิจารณาดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
70 | มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ปี 2565 ของกระทรวงการคลัง | กค. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย
ปี ๒๕๖๕ ของกระทรวงการคลัง จำนวน ๖ หน่วยงาน รวม ๑๔ มาตรการ ประกอบด้วย กรมสรรพากร
จำนวน ๕ มาตรการ กรมศุลกากร จำนวน ๒ มาตรการ กรมสรรพสามิต จำนวน ๑ มาตรการ กรมบัญชีกลาง
จำนวน ๒ มาตรการ กรมธนารักษ์ จำนวน ๒ มาตรการ และการยาสูบแห่งประเทศไทย จำนวน ๒
มาตรการ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
71 | มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ปี 2565 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | กค. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย
ปี ๒๕๖๕ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมจำนวน ๒๑ มาตรการ เช่น มาตรการพักชำระหนี้
มาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
มาตรการสินเชื่อเคหะแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ มาตรการขยายเวลาชำระหนี้ มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
สำหรับลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ มาตรการสินไหมเร่งด่วน สำหรับกรมธรรม์ประกันภัย
มาตรการสินเชื่อ SMEs Re-Start มาตรการเพิ่มวงเงินกู้ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ บสย. เป็นต้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
72 | การดำเนินการตามคำมั่นที่ให้กับสหภาพยุโรปในการเข้าเป็นภาคีในความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนรายงานข้อมูลรายประเทศ | กค. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
73 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. .... ) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย) | กค. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง
ฉบับที่ .. (พ.ศ. .... ) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้เงินได้ที่นักแสดงสาธารณะที่เป็นนักแสดงภาพยนตร์ต่างประเทศซึ่งดำเนินการสร้างโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและได้รับอนุญาตการสร้างตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ครบกำหนดเวลา ๕ ปี
นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. เห็นชอบการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้นักแสดงสาธารณะที่เป็นนักแสดงภาพยนตร์
ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับอันเนื่องมาจากการแสดงภาพยนตร์ต่างประเทศ
ซึ่งดำเนินการสร้างโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและได้รับอนุญาตการสร้างตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์
ทั้งนี้
สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่กำหนดเวลา
๕ ปี นับแต่วันที่กฎกกระทรวงมีผลใช้บังคับ และให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๑๘๐ วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และมอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
เพื่อให้การดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย เพื่อให้การดำเนินมาตรการบรรลุเป้าหมาย
รวมทั้งสำรวจข้อมูลจำนวนและเงินลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
และจำนวนและเงินได้ของนักแสดงชาวต่างชาติที่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการนี้เป็นรายปีจนสิ้นสุดมาตรการและนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กระทรวงการคลังทุกสิ้นปีเพื่อประกอบการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการต่อไป ๓. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์
ความจำเป็น และประโยชน์ที่จะได้รับให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโนโอกาสแรก รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
74 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายดนัย เจียรกูล และนายมนู ศุกลสกุล) | สธ. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
จำนวน ๒ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑. นายดนัย
เจียรกูล ผู้อำนวยการสำนักงาน [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) ระดับสูง] สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑๐ จังหวัดอุบลราชธานี กรมควบคุมโรค
ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่
๒๘ เมษายน ๒๕๖๕ ๒. นายมนู
ศุกลสกุล สาธารณสุขนิเทศก์
(นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์
(นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๕
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
75 | หลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ | นร.10 | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามมติคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมและสำนักงาน ก.พ.
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาประเด็นในหลักสูตรการอบรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่ได้จัดทำอยู่แล้ว
และกำหนดแนวทางการนำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับหน่วยงานแต่ละประเภทด้วย
จึงจะเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีมาตรฐานจริยธรรมในระดับเดียวกันได้
ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางดำเนินการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
แล้วให้แจ้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล
และองค์กรอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
76 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ (ครั้งที่ 3) | กษ. | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายหัวนา
จังหวัดศรีสะเกษ (ครั้งที่ ๓) ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินและค่าขนย้าย
(ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) ตามผลการตรวจสอบของคณะทำงานแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาระดับอำเภอ
ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบและลงนามรับรองจากคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาระดับจังหวัดศรีสะเกษแล้ว
จำนวน ๔๓๓ แปลง เนื้อที่ ๗๖๕-๓-๓๕.๑๐ ไร่ วงเงินจำนวน ๕๒,๓๔๐,๙๑๘.๗๕ บาท ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเสนอ
และให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรให้กรมชลประทานปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณจากโครงการที่หมดความจำเป็นแล้วหรือคาดว่าดำเนินการได้ไม่ทันในปีงบประมาณและขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
กรมชลประทานควรเร่งรัดแก้ไขปัญหาและจ่ายค่าทดแทนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมายให้ถูกต้อง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
77 | การประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน | นร.12 | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการให้องค์การทั้ง ๓ ประเภท ต้องได้รับการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี
และให้ปรับระยะเวลาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒
ได้แก่ องค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน ๒๔ แห่ง
รวมทั้งองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๕
แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยให้เริ่มประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒ เมื่อดำเนินการระยะที่
๑ ครบ ๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๙) ๒. เห็นชอบให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนดแนวทางการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและสำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับภารกิจ
บทบาท หน้าที่
และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการที่กำกับดูแลหน่วยงานนั้น
ควรสนับสนุนการพิจารณาความคุ้มค่าขององค์การมหาชนจากบทบาทและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานในระบบนิเวศที่องค์การมหาชนรับผิดชอบ
ควรให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามกรอบการประเมินความคุ้มค่าขององค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน
พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงาน ก.พ.ร. ควรระบุในข้อตกลงขอบเขตงาน (Term of Reference : TOR) ให้ที่ปรึกษามีกระบวนการบริหารจัดการความรู้เพื่อให้องค์การมหาชนมีองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้ประเมินตนเองในปีถัดไป
สำหรับการจัดตั้งองค์การมหาชนแห่งใหม่ขึ้นอีกในอนาคต
ควรพิจารณาเรื่องการเตรียมความพร้อมในการประเมินความคุ้มค่า
โดยให้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำคำขอจัดตั้งองค์การมหาชน
ควรมีการกำหนดแนวทางและขั้นตอนการดำเนินการ
เพื่อให้กรอบระยะเวลาดำเนินงานชัดเจนและใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในส่วนของการใช้งบประมาณจัดจ้างที่ปรึกษาอย่างน้อยทุกห้าปี
อาจส่งผลต่อภาระงบประมาณของภาครัฐในอนาคต ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย
แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ๓. ในส่วนขององค์การมหาชนสมทบงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดการจ้างที่ปรึกษาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
นั้น ให้สำนักงาน ก.พ.ร. หารือกับองค์การมหาชนที่เกี่ยวข้อง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงพลังงาน เช่น
ให้หน่วยงานสามารถเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปพลางก่อนจนกว่าจะมีเงินทุนสะสมหรือรายได้เพียงพอกับอัตราที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนด
พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การสมทบงบประมาณ
โดยแบ่งตามสัดส่วนเงินทุนสะสมหรือรายได้แต่ละองค์การมหาชน
พิจารณากำหนดมาตรการอื่นหรือสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้กับองค์การมหาชน
เพื่อใช้ในการจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
ควรเสนอของบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรงมากกว่ามาใช้งบสมทบจากองค์การมหาชนหากต้องการดำเนินการให้เป็นภาคบังคับ
และเสนอแนะให้มีการวิเคราะห์เพื่อกำหนดอัตราสมทบที่แตกต่างกันขึ้นกับชุดปัจจัยจำนวนหนึ่งที่สะท้อนการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน
และควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานและแหล่งที่มาของงบประมาณสำหรับองค์การมหาชนที่ไม่มีเงินทุนและรายได้ไว้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
78 | ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2560 | ทส. | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๖๐ มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไปอีกสองปีนับแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
และควรเร่งดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงฯ ฉบับใหม่โดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
79 | การรับรองร่างเอกสารวาระบาหลี 2022 : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy) | วธ. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างเอกสารวาระบาหลี ๒๐๒๒ : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali
Agenda 2022 : A Global Roadmap for Creative Economy) เพื่อให้ทันต่อกำหนดเวลาในการรับรองเอกสารวาระบาหลี
๒๐๒๒ : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali
Agenda 2022 : A Global Roadmap for Creative Economy)
ระหว่างการประชุม World Conference on Creative Economy
ครั้งที่ ๓ วันที่ ๕-๗ ตุลาคม ๒๕๖๕ ซึ่งจะจัดขึ้นในรูปแบบผสมผสาน ณ Bali
International Convention Center (BICC) เมืองบาหลี
สาธารณรัฐอินโนนีเซีย และอนุมัติให้ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างเอกสารวาระบาหลี
๒๐๒๒ : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali
Agenda 2022 : A Global Roadmap for Creative Economy) ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารวาระบาหลี ๒๐๒๒ : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022 :
A Global Roadmap for Creative Economy)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒. ให้กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
(องค์การมหาชน)
บูรณาการและขับเคลื่อนการดำเนินการด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยในภาพรวม
ให้สอดคล้องและเป็นไปตามแนวทางการประชุม World Conference on Creative Economy (WCCE) ครั้งที่
๓ และแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
(องค์การมหาชน) ต่อไป ๓.
ให้กระทรวงวัฒนธรรมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
80 | การยุบเลิกกิจการบริษัท เอ ซี ที โมบาย จำกัด | ดศ. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยุบเลิกกิจการบริษัท เอ ซี ที โมบาย จำกัด
และอนุมัติยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ
พ.ศ. ๒๕๐๔ (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง [บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด
(มหาชน) และบริษัท เอ ซี ที โมบาย จำกัด] และคณะกรรมการ บริษัท
โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ที่เห็นว่าภายหลังการได้รับอนุมัติยกเว้นหรือผ่อนผันระเบียบข้างต้นแล้วให้คณะกรรมการ
บมจ. เอ็นที กำหนดวิธีปฏิบัติในการจำหน่ายกิจการหรือหุ้น
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการ
โดยอย่างน้อยจะต้องครอบคลุมถึงกระบวนการกำหนดวิธีการจำหน่าย ราคาที่จำหน่าย เวลาที่จำหน่าย
และอำนาจในการอนุมัติการจำหน่าย และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |