ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 252 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | อว. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | ร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม | กต. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ในโอกาสประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
เพื่อกระทรวงการต่างประเทศสามารถเผยแพร่แถลงการณ์ร่วมฯ
ต่อสาธารณชนได้ภายหลังการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเวียดนามเสร็จสิ้น
โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
จะเป็นหนึ่งในเอกสารผลลัพธ์ที่สำคัญของการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีเวียดนาม
ทั้งในส่วนของกิจกรรมทางการร่วมกับนายกรัฐมนตรีและกิจกรรมทวิภาคีอื่น ๆ
ในห้วงการเยือน
รวมถึงแสดงเจตนารมณ์ความร่วมมือในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีที่ผู้นำทั้งสองประเทศจะผลักดันในระยะต่อไป
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานตามร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | แนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) | นร.12 | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ดังนี้ ๑. รับทราบแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น
(แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) และแนวทางการขับเคลื่อน ๒. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง
โดยคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด (คบจ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการ
ดังนี้ ๒.๑
นำแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น)
ไปใช้เป็นเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น
และให้ประเมินตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ในการประเมินและให้พิจารณาคัดเลือก อปท. ให้ครอบคลุมทุกประเภท ยกเว้น อปท.
รูปแบบพิเศษ ๒.๒ ในการณีที่ คบจ.
พบประเด็นที่ควรเพิ่มความเข้มแข็ง ปัญหา หรือข้อจำกัดจากการประเมิน
สามารถให้ความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติอย่างเหมาะสมโดยตรงหรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งเสนอแนะหน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.๓
นำข้อมูลเผยแพร่ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
รวมทั้งสาธารณชนภายในจังหวัดได้รับทราบเพื่อร่วมกันส่งเสริมและผลักดันให้ อปท.
มีศักยภาพในการบริหารการเงินและงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๓. ให้กระทรวงการคลังสรุปและรายงานผลการประเมินในภาพรวม
และแผนการดำเนินการในระยะต่อไปต่อ ก.พ.ร.
เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น
และให้ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความเข็มแข็งการให้บริการประชาชนในพื้นที่ โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
กระทรวงการคลัง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เห็นควรกำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนการดำเนินงานของ
อปท. เพื่อบรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดของผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำหนดไว้
ในปีถัดไปควรทำประเมิน อปท. ให้ครบทุกแห่งทั่วประเทศ
รวมทั้งควรมีการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในแนวทางประเมินให้กับท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
เพื่อให้การประเมินเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
และแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น ด้านรายได้
ควรที่จะกำหนดตัวชี้วัดให้ครอบคลุมทุกประเภทรายได้ของ อปท. ด้านงบประมาณรายจ่าย
เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายของ อปท.
จะมีความสัมพันธ์กับรายได้ที่เป็นภาษีที่รัฐจัดเก็บและแบ่งให้ อปท.
รวมทั้งเงินอุดหนุนทั่วไปซึ่งเป็นรายได้หลักที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาลโดยจัดสรรเป็นงวดและไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนในการจัดสรรทำให้ส่งผลต่อการประเมินประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของ
อปท. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
44 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย | พน. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
(Memorandum of Understanding between the
Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Energy of the
Kingdom of Saudi Arabia in the Field of Energy) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีด้านพลังงานระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
และเสริมสรางความสัมพันธ์ในมิติต่าง ๆ ได้แก่ (๑) ความร่วมมือด้านพลังงาน อาทิ
ปิโตรเลียม ก๊าซ ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
และปิโตรเคมี (๒) การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนและเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำเพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อาทิ เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน การนำกลับมาใช้ซ้ำ การแปรสภาพและการกักเก็บคาร์บอน
และเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (๓)
การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลและนวัตกรรมด้านพลังงาน (๔)
การดำเนินการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนเชิงคุณภาพระหว่างคู่ภาคี เพื่อใช้ประโยชน์วัสดุ
ผลิตภัณฑ์ และบริการในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่า
และเทคโนโลยีด้านพลังงาน (๕)
การเสริมสร้างความร่วมมือกับบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านพลังงาน (๖)
การดำเนินความร่วมมือในการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากวัสดุที่มีความยั่งยืนในภาคการก่อสร้างและภาคอื่น
ๆ (๗) การดำเนินการวิจัยด้านพลังงานร่วมกันกับมหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัย
และหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงการจัดประชุม การจัดอภิปราย งานสัมมนา
และการประชุมพหุภาคี (๘)
การเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรผ่านการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน
และ (๙) ด้านอื่น ๆ ที่ตกลงกันภายใต้กรอบของบันทึกความเข้าใจนี้ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๒. ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 | พณ. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | ร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวระหว่างไทยและญี่ปุ่น และข้อริเริ่มความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น | พน. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวระหว่างไทยและญี่ปุ่น
และข้อริเริ่มความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว
ระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม
ประเทศญี่ปุ่น (Memorandum of Cooperation on Thailand-Japan
LNG Upstream Investment and LNG Tank Cooperation Initiative between the
Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Economy,
Trade and Industry of Japan) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)
เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือฯ โดยร่างบันทึกความร่วมมือฯ มีสาระสำคัญเป็นการขยายความร่วมมือด้านการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวและความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวในประเทศไทย
เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานระหว่างคู่ภาคีและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความร่วมมือฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งคำนึงถึงแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ ๒
ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | ขอความเห็นชอบโครงการบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mainstreaming Biodiversity-based Tourism in Thailand to Support Sustainable Tourism Development) | ทส. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | การรับรองร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา | กต. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
(Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic
Coopertion Strategy : ACMECS) กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development
Partners : DPs) ของ ACMECS กลุ่มที่ ๑ ทั้ง ๖
ฉบับ คือ (๑) ร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับเครือรัฐออสเตรเลีย
(๒) ร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับสาธารณรัฐประชาชนจีน
(๓) ร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับสาธารณรัฐอินเดีย (๔)
ร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับญี่ปุ่น (๕)
ร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับสาธารณรัฐเกาหลี และ (๖)
ร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับสหรัฐอเมริกา
และให้เจ้าหน้าที่อาวุโสกรอบ ACMECS กระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้แทน ร่วมให้การรับรองแผนพัฒนาร่วมฯ ในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่าง ACMECS
กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ในวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
ตามที่ประเทศสมาชิก ACMECS และหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
รายประเทศ มีฉันทามติ โดยเป็นการประกาศรับรอง
และไม่มีการลงนามในร่างเอกสารดังกล่าว โดยสาระสำคัญของร่างแผนพัฒนาร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของความร่วมมือระหว่าง
ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา รายประเทศ กำหนดเป้าหมายของ
ACMECS กลไกความร่วมมือ บทบาทของหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
แนวทางการดำเนินความร่วมมือกับกรอบภูมิภาคและอนุภูมิภาคอื่น ๆ
และสาขาความร่วมมือที่แนะนำระหว่างทั้งสองฝ่าย
เพื่อหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาให้การสนับสนุนทั้งด้านการเงินและ/หรือด้านเทคนิคแก่กลไกและโครงการต่าง
ๆ ของ ACMECS ให้มีความก้าวหน้าเป็นรูปธรรม
โดยร่างแผนพัฒนาร่วมฯ
เป็นเอกสารที่ทั้งสองฝ่ายสามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ต่อไปในอนาคต
รวมทั้งกิจกรรมและความร่วมมือต่าง ๆ
อยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจและฉันทามติร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนพัฒนาร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานร่างแผนพัฒนาฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งระหว่างไทย-เวียดนาม พ.ศ. 2565–2570 | กต. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งระหว่างไทย-เวียดนาม
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ (Plan of Action on Implementing the
Thailand-Viet Nam Strengthened Strategic Partnership 2022-2027) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการลงนามแผนปฏิบัติการฯ ในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ โดยร่างแผนปฏิบัติการฯ
มีสาระสำคัญในการกำหนดแนวทางการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันอย่างรอบด้าน
ร่วมกันระบุถึงสาขาความร่วมมือทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง
และความสัมพันธ์ในระดับประชาชน ที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นส่งเสริมและต่อยอดความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง
ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือกับแผนงานความร่วมมือต่าง ๆ
ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
๖ ประเทศ (GMS) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนปฏิบัติการฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานตามร่างแผนปฏิบัติการฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | การเข้าร่วมกลุ่ม High Ambition Coalition (HAC) for Nature and People | ทส. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมกลุ่ม High
Ambition Coalition (HAC) for Nature and People โดยได้เสนอให้มีการลงนามแบบฟอร์มหนังสือการเข้าร่วมกลุ่มฯ
เพื่อนำส่งให้สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสาธารณรัฐคอสตาริกาตามขั้นตอนต่อไป
ซึ่งแบบฟอร์มหนังสือการเข้าร่วมกลุ่มฯ เป็นเพียงการแสดงความประสงค์ของประเทศไทยที่จะเข้าร่วมกลุ่มฯ
โดยยังไม่มีการทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างกัน และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ลงนามในเอกสารเข้าร่วมกลุ่มฯ
เพื่อนำส่งให้สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสาธารณรัฐคอสตาริกาต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาสาระของเอกสารเข้าร่วมกลุ่มฯ
ที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณา
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีใหม่อีกครั้ง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศเฉพาะประเด็นการจัดทำคำอธิบายในหนังสือนำส่งแบบฟอร์มการเข้าร่วมกลุ่มฯ
ว่าในบริบทของประเทศไทยไม่มีชนพื้นเมืองดั้งเดิม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลียว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ | พณ. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลียว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ
มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและทำให้ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของไทยและออสเตรเลียมีความหลากหลายยิ่งขึ้น
โดยกำหนดสาขาความร่วมมืออย่างน้อย ๘ สาขา เช่น (๑) เกษตร เทคโนโลยี
และระบบอาหารที่ยั่งยืน (๒) การท่องเที่ยว (๓) บริการสุขภาพ (๔) การศึกษา (๕) การค้าดิจิทัลและเศรษฐกิจดิจิทัล
(๖) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (๗) การลงทุนระหว่างกัน และ (๘) พลังงาน เศรษฐกิจสีเขียว
และการลดการปล่อยคาร์บอน เป็นต้น
และกำหนดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสประจำปีเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีผลใช้บังคับเป็นเวลา ๓ ปี ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
โดยกระทรวงการต่างประเทศไม่ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒. ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะ
เพื่อขยายไปสู่ความร่วมมือในมิติอื่น ๆ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนท่าแซะ-เนินสันติ จังหวัดชุมพร พ.ศ. .... | มท. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนท่าแซะ-เนินสันติ
จังหวัดชุมพร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลทรัพย์อนันต์ ตำบลคุริง และตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยกำหนดให้เป็นชุมชนศูนย์กลางที่มีบทบาทในด้านการค้า
การบริการ
และพาณิชยกรรมและศูนย์กลางบริการด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม
และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือขนส่งการสาธารณูปโภค
บริการสาธารณสามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมโดยมีนโยบายการอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติของผังเมืองรวมให้เป็นกลไกชี้นำแนวทางได้อย่างยั่งยืน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมให้เป็นกลไกชี้นำแนวทางได้อย่างยั่งยืน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
53 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางศิริมา ลีละวงศ์) | สธ. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางศิริมา ลีละวงศ์
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิชาการพยาบาล) ระดับสูง] กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพทรงคุณวุฒิ
(ด้านการพยาบาล) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
ตั้งแต่วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | การกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (เพิ่มเติม) | นร 05 | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติพิจารณาแล้วเห็นว่า
เพื่อให้การดำเนินการจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ ๒๙
และการประชุมที่เกี่ยวข้องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม
สอดคล้องกับบริบทของกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
จึงมีมติให้ปรับเปลี่ยนกำหนดการจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้นำเอเปค จากเดิม
ค่ำวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เป็นค่ำวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
และให้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ
รวมทั้งประชาชนทุกภาคส่วนทราบอย่างถูกต้อง และทั่วถึงโดยด่วนต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการลงนามหรือรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และครั้งที่ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 14 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT) และผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงาน IMT-GT | นร.11 สศช | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | โครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน | กค. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้เข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ให้มีสภาพคล่องที่เพียงพอในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ
รวมถึงสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนตามนโยบายรัฐบาล และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม
๖๐๐ ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน
พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ทางการเงินกับภาคครัวเรือน
ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของครัวเรือนในระยะยาว
รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนต่อไปด้วย ธนาคารควรติดตามและประเมินผลกระทบหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้
โดยกำหนดแนวทางและกลไกในการติดตามช่วยเหลือลูกหนี้
รวมถึงกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อลูกหนี้และธนาคารในระยะยาว ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | ผลการประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งของเอเปค ครั้งที่ 52 | คค. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
59 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สธ. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
ตามที่กระทรวงสาธารสุขเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
60 | การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะศึกษาด้านการบริหารและค้นคว้าทางภาษีอากรแห่งเอเชียแปซิฟิก (Study Group on Asia-Pacific Tax Administration and Research : SGATAR) ครั้งที่ 52 | กค. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณซึ่งเห็นชอบในหลักการให้กรมสรรพากรเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะศึกษาด้านการบริหารและค้นคว้าทางภาษีอากรแห่งเอเชียแปซิฟิก
(Study Group on Asia-Pacific Tax
Administration and Research : SGATAR) ครั้งที่ ๕๒ ณ จังหวัดภูเก็ต
และเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน ๑๔,๕๘๔,๙๐๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการประชุม SGATAR ครั้งที่ ๕๒
และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นขอให้กระทรวงการคลัง
โดยกรมสรรพากรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ |