ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 13 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 241 - 252 จากข้อมูลทั้งหมด 252 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
241 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง บทบาทตลาดทุน (Capital Market) ต่อเศรษฐกิจประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา | สว. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
บทบาทตลาดทุน (Capital Market) ต่อเศรษฐกิจประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงการคลังได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ
การเงิน และการคลัง วุฒิสภา เรื่อง บทบาทตลาดทุน (Capital Market) ต่อเศรษฐกิจประเทศไทยแล้ว โดยผลการพิจารณาสรุปได้ว่าปัจจุบันการดำเนินการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับบทบาทตลาดทุน
(Capital Market) ต่อเศรษฐกิจประเทศไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว เช่น
ผลักดันให้ภาคธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์มีระบบดิจิทัลเป็นความปกติใหม่ตลอดกระบวนทางธุรกิจ
ส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงิน (Financial Literacy)
ผลักดันให้ภาคประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการออมที่มีภาคปฏิบัติอย่างจริงจังและผลักดันให้ภาครัฐระดมทุนผ่าน
Infrastructure Fund และทรัสต์ เพื่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
242 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ รวม ๒ คน แทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมที่ขอลาออก โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๘ มกราคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งตนแทน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายพชร อนันตศิลป์ ประธานกรรมการ ๒. นายบุญชัย
จรัสแสงสมบูรณ์ กรรมการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
243 | รายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 | รง. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง
พ.ศ. ๒๕๖๒ ระหว่างวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๓-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
(๑) ด้านนโยบาย (Policy) เช่น
แต่งตั้งคณะทำงานกำกับและติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมง
และคณะทำงานกำกับและติดตามการป้องกันปัญหาการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
(๒) ด้านการป้องกัน (Prevention) เช่น
บริหารจัดการแรงงานในกิจการประมง เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
และได้กำหนดให้นายจ้างจัดทำสัญญาจ้าง ๓ ภาษา (เมียนมา ลาว และกัมพูชา) (๓)
ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Prosecution) เช่น
ดำเนินการตรวจเรือประมง ๖๐,๒๘๘ ลำ พบการกระทำความผิด ๒๐ ลำ
และดำเนินคดีกับนายจ้างที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ๗ คดี (๔) ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ (Protection) เช่น ดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานประมง
(๕) ด้านการมีส่วนร่วม (Partnership) เช่น
ดำเนินโครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง (Ship to Shore Rights Project) ร่วมกับสหภาพยุโรปและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
244 | การนำที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะมาใช้ในโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกบริเวณหนองตาเหี่ยม ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก | มท. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยถอนเรื่อง การนำที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะมาใช้ในโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกบริเวณหนองตาเหี่ยม
ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก คืนไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
245 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 7/2564 | นร.04 | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
(กตน.) ครั้งที่ ๗/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล
และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุมฯ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยผลการประชุมฯ ประกอบด้วย (๑) การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควันไฟป่าอย่างยั่งยืน
(๒) การพัฒนาความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพระดับโลก (๓) รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๕ และงบประมาณที่เกินกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท ขึ้นไป และ (๔)
รายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการใน กตน. ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
246 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 | นร.11 สศช | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุมครั้งที่
๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๕ ประกอบด้วย (๑) อนุมัติให้กรมควบคุมโรค
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ดังนี้ (๑)
โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) สำหรับบริการประชาชนในประเทศไทย
เพิ่มเติม จำนวน ๒๐,๐๐๑,๑๕๐ โดส (Pfizer) โดยขยายระยะเวลาดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงิน จากเดิม
สิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดภายในเดือนมกราคม ๒๕๖๕ และ (๒)
โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด ๑๙ (COVID-๑๙) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย
เพิ่มเติม จำนวน ๙,๙๙๘,๘๒๐ โดส (Pfizer) โดยขยายระยะเวลาดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงิน จากเดิม
สิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจรับวัคซีน
และรวบรวมเอกสารสำหรับประกอบการเบิกจ่าย
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้
เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดให้กรมควบคุมโรค เร่งรัดการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่ขอขยายอย่างเคร่งครัด รวมถึงดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการฯ
ในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการฯ
โดยเร็วต่อไป และ (๒) อนุมัติให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ
SMEs โดยปรับปรุงเงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุนตามโครงการฯ ในเดือนธันวาคม
๒๕๖๔-มกราคม ๒๕๖๕
ภายใต้เงื่อนไขการลงทะเบียนและนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์
(ระบบ e-Service)
เพื่อให้กลุ่มนายจ้างเป้าหมายของโครงการฯ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด
๑๙ ได้รับความช่วยเหลือตามโครงการฯ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
ทั้งนี้ เห็นควรให้กรมการจัดหางานเร่งดำเนินโครงการฯ ให้แล้วเสร็จในกรอบระยะเวลาที่กำหนด
และเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ แล้ว
ให้กรมการจัดหางานเร่งปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดโครงการฯ ในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการฯ โดยเร็ว ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ
และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กระทรวงต้นสังกัดกำกับดูแลให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้ถูกต้องครบถ้วน
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม
พ.ศ. ๒๕๖๔ เร่งดำเนินการและเบิกจ่ายเงินกู้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
และในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้
เห็นควรให้เร่งเสนอยกเลิกโครงการต่อคณะกรรมการฯ พิจารณาตามขั้นตอนของข้อ ๑๙
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อให้การบริหารเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
247 | คำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น ๘,๙๕๖,๙๗๙,๔๐๐ บาท จำแนกเป็น
งบประมาณของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๘,๖๘๕,๓๘๕,๘๐๐ บาท
และงบประมาณของกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา จำนวน ๒๗๑,๕๙๓,๖๐๐ บาท ทั้งนี้
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
และให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
248 | ขอยื่นคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (สำนักงานอัยการสูงสุด) | อส. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ของสำนักงานอัยการสูงสุด
จำนวน ๑๙,๖๘๗,๔๑๙,๒๐๐ บาท ทั้งนี้
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
และให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
249 | การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน | กค. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาการขอจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
ตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอ
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังที่เห็นว่า ให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับเงื่อนไขของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนไปดำเนินการต่อไป
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า การกำหนดระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล
งบประมาณ การพัสดุ รวมถึงค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘
หรือกฎหมายอื่นใดที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกองทุนฯ
มีความคุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ และข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ ๑) กรณีจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและส่งเสริมการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ
จะต้องเป็นไปตามความจำเป็นในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ
ก่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคม และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินของกองทุนดังกล่าวจะต้องไม่มีความซ้ำซ้อนกับภารกิจในลักษณะเดียวกับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๒) สำหรับแหล่งเงินจากภาครัฐที่จะนำมาใช้จ่ายจะต้องเป็นไปเท่าที่จำเป็น
โดยสถาบันอุดมศึกษาพึงจัดสรรงบประมาณเงินรายได้ทั้งภาครัฐและเอกชน
เพื่อการบริหารจัดการกองทุนเป็นลำดับแรก รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนเป็นสำคัญ
ตลอดจนจะต้องไม่กำหนดวงเงินทุนประเดิมไว้เป็นการเฉพาะในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว
ทั้งนี้ ควรใช้มาตรการหรือกลไกทางภาษี
และกำหนดให้บุคคลผู้บริจาคทรัพย์ส่งเข้ากองทุนได้รับประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี
อันจะนำไปสู่การแบ่งเบาภาระของภาครัฐในภาพรวมยิ่งขึ้น และ ๓)
ควรจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของกองทุน
โดยกำหนดรอบการประเมินอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
โดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์สูงสุดที่ภาครัฐและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
250 | ร่างมาตรการสนับสนุนให้สตรีเป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ | พม. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นซอบในหลักการของมาตรการสนับสนุนสตรีให้เป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ
ประกอบด้วยมาตรการย่อย ๓ มาตรการ ได้แก่ จัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นำมาตรการดังกล่าวไปพิจารณาในรายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยให้นำความเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วยเพื่อให้ได้ข้อยุติในประเด็นต่าง
ๆ ที่ชัดเจน เหมาะสม ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ดังนี้ ๑)
กระทรวงการคลังเห็นว่า ในการพิจารณาจะต้องคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๒)
กระทรวงแรงงานเห็นว่า หากจะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมสิทธิการลาคลอด
ให้สามีของแรงงานสตรีสามารถลาเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ นายจ้าง
เจ้าของสถานประกอบกิจการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคธุรกิจ
เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวด้วย ๓)
กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่า เพื่อให้การแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมและครอบคลุมข้าราชการทุกประเภท
จึงเห็นควรพิจารณาในรายละเอียดด้วยความรอบคอบ ๔)
กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า ควรมีการทบทวนข้อมูลอย่างรอบด้าน
โดยคำนึงถึงหลักความเหลื่อมล้ำในกลุ่มแม่ที่ใช้สิทธิอื่น
หรือกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีบุตร เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติหรือความเป็นธรรมในการจ้างงานด้วย ๕)
สำนักงบประมาณเห็นว่า สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕
เห็นควรให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ
ๆ ไป
เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ๖)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีความเห็นประกอบการพิจารณาในแต่ละมาตรการ
ดังนี้ ๖.๑) การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี โดยขยายบริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กให้รับเด็กอายุ ๐ ถึง
๓ ปี และขยายเวลาเบิดและปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนทำงาน นั้น
เป็นมาตรการเพื่อแบ่งเบาภาระของสตรีในการเลี้ยงดูบุตรโดยกำหนดอายุของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง
๓ ปี
แต่การกำหนดอายุขั้นต่ำของเด็กดังกล่าวหากเป็นกรณีผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นหญิงที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน
จะต้องคำนึงถึงมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
ที่กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๘
วัน และมาตรการที่กำหนดให้ขยายวันลาคลอดของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ซึ่งเป็นการกำหนดเพื่อให้สิทธิแก่สตรีในการใช้วันลาคลอดเพื่อเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง ๖.๒) การส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
โดยให้ข้าราชการชายสามารถลาไปช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร นั้น
ควรกำหนดให้ลูกจ้างขายสามารถลาเพื่อช่วยเหลือภรรยาดูแลบุตรได้
เพื่อให้การกำหนดมาตรการดังกล่าวครอบคลุมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งจะทำให้เกิดความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ
แต่ในรายละเอียดอาจจะต้องกำหนดเพื่อไม่ให้นายจ้างได้รับผลกระทบจนเกินสมควร ๖.๓) การขยายวันลาคลอดของข้าราชการ
โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น
ในส่วนของการแก้ไขวันลาคลอดของข้าราชการ เป็น ๙๘ วัน เป็นการกำหนดที่สอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(ILO)
ฉบับที่ ๑๘๓
ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดาซึ่งได้กำหนดให้ภาครัฐต้องดูแลผู้หญิงตั้งครรภ์
ระหว่าง และหลังคลอด และต้องให้วันหยุดมารดาหลังคลอด ๑๔ สับดาห์
ซึ่งสตรีในภาคเอกชนได้รับสิทธิดังกล่าวแล้วตามมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
สำหรับการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ลาได้อีก ๙๐ วัน
และให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น จะต้องพิจารณาว่า การแก้ไขดังกล่าวกระทบกับการการลาบระเภทอื่นหรือไม่
ได้แก่ การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ส่วนการกำหนดให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐
ของเงินเดือนปกติ จะต้องพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเดือน ได้แก่
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบด้วย ๗)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า
มาตรการส่งเสริมการลาของสามี และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง
มีผลบังคับใช้กับกลุ่มข้าราชการเท่านั้น เพื่อให้ร่างมาตรการดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
จึงควรเร่งศึกษาแนวทางเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายสู่แรงงานกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างเอกชน
ซึ่งมีสัดส่วนถึง ๒ ใน ๕ ของผู้มีงานทำทั้งหมด ๘)
สำนักงาน ก.พ. เห็นว่า เห็นควรมอบหมายสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาปรับปรุงระเบียบฯ ดังกล่าว
และโดยที่ข้อเสนอการปรับปรุงวันลาของข้าราชการชายเพื่อช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร
และการขยายวันลาคลอดบุตรของข้าราชการหญิง
มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา
และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น อาทิ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ
บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายอื่นให้สอดคล้องกันต่อไปด้วย ๙)
กระทรวงมหาดไทยมีข้อเสนอแนะว่า ๙.๑) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ได้จัดบริการให้กับเด็กเล็กครอบคลุมช่วงอายุ ๒ - ๓ ปี ซึ่งในการขยายบริการเด็กเล็ก
โดยให้รับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๒ ปีลงไปนั้น
ควรกำหนดแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พิจารณาดำเนินการตามความพร้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รวมถึงความต้องการของชุมชนในพื้นที่โดยรัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ
อัตรากำลังครู/ผู้ดูแลเด็กในแต่ละช่วงอายุ รวมถึงการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กอย่างถูกต้องตามหลักวิซาการ ๙.๒) สำหรับการขยายเวลาเปิด -
ปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หากจะขยายเวลาเปิด - ปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนทำงาน
ต้องคำนึงถึงความพร้อม สภาพบริบท ที่ตั้ง
การประกอบอาชีพของผู้ปกครองและความต้องการของผู้ปกครองในท้องถิ่นนั้น ๆ
รวมถึงงบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ในการดำเนินการดังกล่าว ๑๐)
สำนักงาน ก.พ.ร. มีข้อเสนอแนะว่า
๑๐.๑) กรณีมาตรการจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า
๓ ปี ควรกำหนดให้อายุเด็กที่จะเข้ารับบริการ จาก ๐ - ๓ ปี เป็น ตั้งแต่ ๓
เดือนขึ้นไป - ๓ ปี เนื่องจากจะสอดคล้องกับมาตรการขยายวันลาคลอดของแม่
และช่วยให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจากแม่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อพัฒนาการของเด็ก
ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี
สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติและสามารถให้บริการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรพิจารณาประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของบุคลากร และศักยภาพของศูนย์
พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่ง รวมทั้งต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอ
ตลอดจนคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของผู้ปกครองหรือผู้รับบริการในแต่ละพื้นที่สำหรับการขยายเวลาให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่งด้วย ๑๐.๒) กรณีการส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
ซึ่งกำหนดให้ลาได้ ๑๕ วัน โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกันนั้น
ควรพิจารณารับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุม เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำไปกำหนดรายละเอียดและกรอบระยะเวลาการลาของสามีดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของทุกภาคส่วนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ๑๐.๓) กรณีการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรสามารถลาเพิ่มได้อีกไม่เกิน
๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ควรพิจารณาผลกระทบทั้งในประเด็นการปฏิบัติงานและการบริหารงานขององค์กรและภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่จะเพิ่มขึ้น
รวมทั้งคำนึงถึงความคุ้มค่าของประโยชน์โดยรวมที่สังคมและประเทศจะได้รับด้วย ๑๑)
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า ๑๑.๑) มาตรการข้อ ๒
ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด ที่เสนอว่า “...ให้ลาได้ ๑๕
วันทำการ เป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันจนครบวันลา” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน”
ไว้หน้า ๑๕ วันทำการด้วย
เพื่อให้มีความคล่องตัวในการลาและสอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
ที่กำหนดไว้ให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างลาได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ ๑๑.๒) มาตรการข้อ ๓
ขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง ที่เสนอว่า “...โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิม
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน” ไว้หน้า ๙๘ วัน ด้วยเหตุผลผลเดียวกับข้อ
๑๑.๑) แต่สำหรับการได้รับเงินเดือนระหว่างลา กฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ได้กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน ๙๐ วัน
ในส่วนของประเด็นที่เสนอว่า “...โดยให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘
วัน สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ”
นั้น ประเด็นดังกล่าวน่าจะมีจุดมุ่งหมายในการลาเพื่อการเลี้ยงดูบุตร
ซึ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕
ได้กำหนดให้เป็นประเภทของการลากิจสวนตัว ตามข้อ ๒๒ ที่กำหนดไว้ว่า “ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ
๑๙ แล้ว หากประสงค์จะลากิจสวนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน
๑๕๐ วันทำการ”
แต่การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรดังกล่าวกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
กำหนดไว้ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
251 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. .... | อก. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร
รวม ๓ รายการ ได้แก่ ๑) ค่าจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร ๒)
ค่าเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนซึ่งเจ้าพนักงานได้ประทับหรือทำไว้ที่เครื่องจักร
และ ๓) ค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง ให้แก่เจ้าของเครื่องจักร
ออกไปอีก ๑ ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒๑
มกราคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรเร่งสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนการรายงาน ติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินมาตรการดังกล่าว
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณายกเว้นค่าธรรมเนียมรายการค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง
หรือค่าธรรมเนียมอื่นซึ่งมีลักษณะเป็นค่าบริการในพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร
พ.ศ. ๒๕๑๔
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ ในโอกาสต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
252 | รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | ปช. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และเห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาคุณธรรมความโปร่งใสของภาครัฐ
เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปพิจารณาปรับปรุง พัฒนา และยกระดับ
ตลอดจนเตรียมความพร้อมรับการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ในส่วนของการมอบหมายให้หน่วยงานที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐดำเนินการกำกับติดตามการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Monitoring) และผลักดันให้หน่วยงานภายใต้กำกับดูแลดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการประเมินที่กำหนด
ในส่วนของข้อ ๕.๘ (หนังสือสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ ปช ๐๐๐๙/๐๔๔๓ ลงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน
๒๕๖๔ หน้า ๘) นั้น ควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ตรงตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยกรจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทจากเดิม
“๕.๘) มอบหมายให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ...”เป็น “๕.๘)
มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ ...” ข้างต้น
ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ ๒. ให้ส่งความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงาน ก.พ.ร.
ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไปพิจารณาต่อไป
|