ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 12 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 221 - 240 จากข้อมูลทั้งหมด 252 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
221 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ประเภทต่าง ๆ
รวม ๒๗ ประเภท และรถจักรยานยนต์ประเภทต่าง ๆ รวม ๔ ประเภท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รวมพิจารณาร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้กับร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
รวม ๒ ฉบับ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรมีมาตรการรองรับให้รัดกุมและไม่เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ควรเพิ่มหลักการควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศให้ครอบคลุมชนิดอื่นด้วย
เนื่องจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการปล่อยมลพิษทางอากาศของประเทศไทย
ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
และมาตรการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดเก็บรายได้เพื่อมาชดเชยกับรายได้ที่คาดว่าจะสูญหายไป
และให้ดำเนินการตามนัยของมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.
๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
222 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 - 2580 | ศธ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
(ร่าง)
แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
ปี พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๘๐ และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามยุทธศาสตร์ นำ (ร่าง)
แผนปฏิบัติการฯ ไปใช้เป็นกรอบแนวทางการบริหารเชิงนโยบายให้เป็นเอกภาพ และมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศในภาพรวมอย่างเป็นระบบ
เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ประเทศไทย ๔.๐ ยุทธศาสตร์ มาตรการ ที่กำหนดขึ้น และให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
เป็นหน่วยงานประสานหลักและให้อำนาจ (authority) ในการติดตามและสั่งการ เพื่อให้หน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องดำเนินงานให้เหมาะสม ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เช่น ควรเร่งพัฒนากลไกการบริหารจัดการการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษที่ชัดเจน
และตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเข้าสู่การปฏิบัติในระบบงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคส่วนต่าง
ๆ ของประเทศต่อไปให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณแบบบูรณาการ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
223 | มติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 และครั้งที่ 1/2565 | พน. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ
ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๔
มกราคม ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพลังงาน
ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติเสนอ
และให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปให้ถูกต้อง
เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ดำเนินการในเรื่องต่าง
ๆ เพื่อสนับสนุนแนวทางดังกล่าวด้วย เช่น
การกำหนดกลไกการกำกับดูแลและตรวจสอบติดตามการดำเนินงานตามมาตรการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของกิจการยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง
การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาดเพื่อนำมาใช้กับยานยนต์ไฟฟ้า
การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน
และการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาเพื่อให้มีบุคลากรที่เหมาะสมและเพียงพอรองรับอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนตามนโยบาย
30@30 เป็นต้น ๒.
ให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น ให้กรมสรรพาสมิต กระทรวงการคลัง
ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย งบกลาง
รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒
พิจารณาเสนอแนะแนวทางการจัดหาแหล่งงบประมาณที่เหมาะสม
รวมทั้งจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศในแต่ละปี
รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการปรับตัวทางธุรกิจ การพัฒนาทักษะ
และการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการและแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย ๓.
ในส่วนของกรอบวงเงินในการดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ขอใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในวงเงิน ๓,๐๐๐ ล้านบาท ให้กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ สำหรับการจัดหาแหล่งงบประมาณในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๘ ในวงเงิน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ให้กระทรวงการคลังร่วมกับสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งเงินและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
224 | ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... | ทส. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่
เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่
เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อประโยชน์
หรือสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงพลังงาน โดยเพิ่มข้อความ
“ประกาศฉบับนี้มิให้ใช้บังคับแก่การดำเนินการเพื่อประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือ”
เพื่อยกเว้นกับการใช้บังคับกับกองทัพเรือในกรณีที่มีการจำเป็นต้องดำเนินการใด ๆ
เกี่ยวกับกิจการด้านความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ
และกิจกรรมด้านพลังงานใดที่ต้องห้ามตามประกาศนี้
ถ้าได้รับอนุญาตก่อนวันประกาศนี้ให้ใช้บังคับในการดำเนินการต่อไป และการต่ออายุใบอนุญาตให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
โดยให้อนุญาตตามที่พื้นที่ที่ได้อนุญาตไว้เดิม ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ควรมีกระบวนการหารือกับภาคธุรกิจและภาคประชาชนในพื้นที่
เพื่อสร้างความเข้าใจและการรับรู้ร่วมกัน ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซักซ้อมความเข้าใจกับหน่วยงานในสังกัด
ซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายให้ชัดเจนถึงอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ
กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
และสร้างการรับรู้ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงทั้งประชาชน ชุมชน และภาคเอกชนที่ประกอบการด้านท่องเที่ยวและประมงในพื้นที่ให้เข้าใจแนวทางปฏิบัติ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
225 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2555) | มท. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมปากพนัก
จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๕๕
เพื่อปรับปรุงข้อห้ามการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับโรงงานในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
รวมทั้งเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับที่ว่างตามแนวขนานริมเขตของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๑๓ ช่วงนครศรีธรรมราช-ปากพนัง และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๓ (ตอนเลี่ยงเมือง)
ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
ตลอดจนปรับปรุงบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้เหมาะกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าควรใช้เนื้อความเดิมตามข้อ
๑๓ วรรคสี่
แห่งกฎกระทรวงดังกล่าวเนื่องจากมีความเหมาะสมกับทางหลวงแผ่นดินสายดังกล่าว ควรคำนึงถึงกฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องการใช้ที่ดินด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย ประเภทหรือชนิดของโรงงานในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยส่วนใหญ่เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม คำนึงถึงจำนวนสถานประกอบกิจการต่อพื้นที่
ให้โรงงานลำดับที่ ๕๐ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
ถ่านหินหรือลิกไนต์อย่างหนึ่งอย่างใด เฉพาะ (๔)
การผสมผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมเข้าด้วยกันหรือการผสมผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมกับวัสดุอื่นแต่ไม่รวมถึงการผสมผลิตภัณฑ์จากก๊าซธรรมชาติกับวัสดุอื่นไว้ท้ายประกาศกระทรวงดังกล่าว
กรมโยธาธิการและผังเมืองควรให้เจ้าพนักงานควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อกำหนด
และให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๑ ที่ระบุถึง “บัญชีท้ายกฎกระทรวง”
เป็น “บัญชีท้ายประกาศ” ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
226 | การปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) | ศธ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาและโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
สำหรับการขอรับจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
เห็นควรให้กระทรวงศึกษาธิการตรวจสอบสถานะจำนวนนักเรียนโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา
และอัตราการจ่ายเงินอุดหนุน ค่าจัดการเรียนการสอน
ในส่วนที่เป็นเงินสมทบเงินเดือนครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
ให้คำนวณเป็นอัตราต่อหัวนักเรียนต่อปี โดยใช้จำนวนครูหนึ่งคนต่อนักเรียน ๑๐
คนสำหรับระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา และจำนวนครูหนึ่งคนต่อนักเรียน ๑๕ คน
สำหรับระดับมัธยมศึกษา เป็นฐานในการคำนวณ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับเงินสมทบเงินเดือนครูในโรงเรียนเอกชน
ประเภทอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรมีการติดตามประเมินผลการดำเนินการและการเบิกจ่ายการสมทบเงินเดือนครูและผู้ช่วยครู
เพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณของโรงเรียนเอกชนเป็นไปตามแนวทางการอุดหนุนค่าใช้จ่ายตามที่เสนอ
และควรเร่งบูรณาการฐานข้อมูลการอุดหนุนเงินนักเรียนพิการในภาพรวมทั้งประเทศ
เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการการศึกษาแก่นักเรียนพิการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
227 | ผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับนางเอลิซาเบท ทรัสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ | กต. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(นายดอน ปรมัตถ์วินัย) กับนางเอลิซาเบท ทรัสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร
ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๘-๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องติดตามและเร่งรัดการดำเนินการตามผลการหารือฯ
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป โดยมีประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น
การเข้าร่วมหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-สหราชอาณาจักร การทำ MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ
การจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า ไทย-สหราชอาณาจักร
การปรับมาตรการการเดินทางและให้การรับรองวัคซีนโควิด-๑๙ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างกัน
การเข้าร่วม CPTPP กระบวนการ UPR สถานการณ์ในเมียนมา
และประเด็นบบาทของจีนและอินเดีย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม เช่น ควรพิจารณาให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน
ทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักในการประสานงานความร่วมมือระหว่างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของไทยและสหราชอาณาจักร
พิจารณาให้มีการใช้ประโยชน์จากการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านการค้า
การลงทุน และการวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ BCG
ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของไทย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
228 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2570 | อว. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู
จัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและวัฒนธรรม การสร้างคุณค่า (Value Chain) จากทรัพยากรชีวภาพและวัฒนธรรม
และการสร้างความสามารถในการพึ่งตนเอง ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ทั้งนี้
ในส่วนของการขับเคลื่อนกิจการเกี่ยวกับเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน
และเศรษฐกิจสีเขียว ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นกับการส่งเสริมกิจการสมุนไพรไทยทั้งระบบ
ตั้งแต่การเพาะปลูก การแปรรูป การวิจัยและพัฒนา (R & D)
และการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการแพทย์ สุขภาพ
และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศและธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น
ควรพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของกิจการ โดยอาจเน้นการขับเคลื่อนกิจการเกี่ยวกับ BCG โดยตรงก่อน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมเป็นหน่วยงานในการดำเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ
BCG พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐ เพิ่มเติมด้วย ๔.
มอบหมายให้สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรีติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ
BCG พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐ อย่างต่อเนื่อง
และรายงานผลให้นายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ ด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
229 | ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 4 | กต. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี
(Joint Commission on Bilateral
Cooperation : JCBC) ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ ๔
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
(นายบุ่ย แทงห์ เซิน) เป็นประธานร่วมกัน โดยการประชุมจัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลัก
“การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ชาติที่เข้มแข็ง
เพื่อการฟื้นฟูและเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน” และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ
ต่อไป โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ (๑) ความร่วมมือด้านการเมือง/ความมั่นคง
เช่น การต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย การแก้ไขสถานการณ์ในเมียนมา (๒)
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เช่น การลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ความร่วมมือด้านสาธารณสุข
เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ และ (๓) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
เช่น การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ด้านวิชาการ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
230 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสิน ( 1. นายประภาศ คงเอียด ฯลฯ รวม 10 คน) | กค. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสิน รวม ๑๐ คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายประภาศ คงเอียด ประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ๒. นางสาวปิยวรรณ ล่ามกิจจา กรรมการผู้ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ๓. นางวรนุช ภู่อิ่ม กรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ๔. นางสาวเยาวนุช วิยาภรณ์ กรรมการ ๕. นางสาวธิดารัธ ธนภรรคภวิน กรรมการ ๖. นางสาวสุปรียา พิพัฒน์มโนมัย กรรมการ ๗. นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ กรรมการ ๘. นางรัชดาภรณ์ ราชเทวินทร์ กรรมการ ๙. รองศาสตราจารย์ธนวรรธน์ พลวิชัย กรรมการ ๑๐. นางธิดา พัทธธรรม กรรมการ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
231 | รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีกรณีหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 | สผผ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานกรณีหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด
๕หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
เรื่องคุณภาพและการคุ้มครองอาชีพมัคคุเทศก์ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในประเด็นปัญหา
เช่น กรณีการใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพรางหรือนอมินีเข้ามาประกอบธุรกิจนำเที่ยว
เนื่องจากช่องว่างและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอ ๒. ให้กระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) กระทรวงแรงงาน
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินและความเห็นของกระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ที่เห็นว่า หากร่างพระราชบัญญัติการข้อมูลผู้ที่ได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง พ.ศ.
....
มีผลใช้บังคับจะสามารถช่วยแก้ปัญหาที่คนต่างด้าวใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพรางหรือนอมินีประกอบธุรกิจนำเที่ยว
เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจนำเที่ยวของคนต่างด้าว พ.ศ.
๒๕๔๒ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากจะมีการกำหนดบทลงโทษผู้ที่แจ้งขอข้อมูลอันเป็นเท็จเพิ่มขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตามหน้าที่และอำนาจให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วภายในปี ๒๕๖๕ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
232 | ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | สปสช. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ภายในวงเงิน ๒๐๔,๑๔๐,๐๒๗,๘๐๐ บาท ประกอบด้วย ค่าบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายรายหัว
ค่าบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน
ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นต้น สำหรับงบประมาณบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
วงเงิน ๑,๙๕๐,๘๓๘,๙๐๐ บาท นั้น
เห็นควรให้คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ให้ตามความจำเป็นเหมาะสม
ประหยัดและสอดคล้องกับภารกิจการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
(มติคณะกรรมการควบคุมคุณภาพฯ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๕
พฤศจิกายน ๒๕๖๔) และข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรเร่งประชาสัมพันธ์การให้บริการดังกล่าวให้แก่ประชากรไทยทุกคน
โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานอื่น เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างทั่วถึง
และควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของวงเงินที่เสนอขอ
โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการงบประมาณให้มีความคุ้มค่าและคำนึงถึงความจำเป็นของการใช้จ่ายงบประมาณ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
233 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการ (จำนวน 13 ราย) | นร 05 | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
(ปคร.) ของส่วนราชการ จำนวน ๑๓ ราย ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๒. นายพาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ๓. นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๔. นายกีรติ รัชโน รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๕. นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ๖. นายปรีดี ภูสีน้ำ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ๗. นายมงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๘. นางอุดมพร เอกเอี่ยม รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๙. นายยุทธา สาโยชนกร รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๑๐. นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๑๑. นายปวัตร์ นวะมะรัตน รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๑๒. พลตำรวจโท
ธนาศักดิ์ ฤทธิเดชไพบูลย์ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่นายตำรวจประสานงานรัฐสภา)
๑๓. นางรวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
234 | ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 10 | พณ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา
ครั้งที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
(นายสินิตย์ เลิศไกร) เข้าร่วมประชุม ซึ่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม ในฐานะประธานอาเซียน
ปี ๒๕๖๔ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม สรุปได้ ดังนี้ (๑) การแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไขผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับการเปิดตลาดการค้าและการลงทุน ทั้งนี้
ไทยได้เน้นย้ำความสำคัญของระบบการค้าที่เปิดกว้างและสนับสนุนบทบาทขององค์การการค้าโลก
เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับวัคซีนและยาที่จำเป็น (๒)
รับทราบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของสภาธุรกิจแคนาดา-อาเซียน ที่ให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีทางการค้า
โดยเฉพาะการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
การเปิดพรมแดนให้นักธุรกิจสามารถเดินทางระหว่างกัน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
การส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าดิจิทัล
และการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (๓) เห็นชอบการเปิดเจรจาการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
โดยกำหนดเป้าหมายให้สรุปผลการเจรจาภายใน ๒ ปี
และเห็นชอบเอกสารขอบเขตสาระที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
(๔) กระทรวงพาณิชย์คาดว่าอาเซียนและแคนาดาจะสามารถสรุปแผนงานเจรจาและเริ่มการเจรจารอบแรกในช่วงไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๕ ทั้งนี้
ได้จัดทำขอบเขตสาระเบื้องต้นที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น
ภาพรวมการเจรจา มาตรการป้องกันและเยียวยาทางการค้า และนโยบายแข่งขันทางการค้า และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเตรียมการเจรจาในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยให้คำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และเตรียมมาตรการบรรเทาผลกระทบในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนยึดท่าทีตามกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดาของประเทศไทย
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงวัฒนธรรม
ที่ควรคำนึงถึงหลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง
ซึ่งแต่ละประเทศต่างดำเนินการตามพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้าร่วมเป็นภาคี
โดยคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละประเทศ
และไม่ควรใช้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมืดกีดกันทางการค้าต่อไปในอนาคต
ควรคำนึงถึงข้อดีและผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนผลประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
235 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การเลื่อนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) | กก. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เรื่อง
การเลื่อนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์
ครั้งที่ ๖ ค.ศ. ๒๐๒๑ จากเดิม
เห็นชอบการเลื่อนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์
ครั้งที่ ๖ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ (ค.ศ. ๒๐๒๒) เป็น ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ (ค.ศ. ๒๐๒๓) และเห็นชอบหลักการในการดำเนินงานการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์
ครั้งที่ ๖ หากจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาจัดการแข่งขันฯ เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19)
หรือสถานการณ์ที่ไม่กระทบกับด้านงบประมาณ และกรอบดำเนินงานการจัดแข่งขันฯ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สามารถดำเนินการตามขั้นตอน และแจ้งคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษกิจและสังคมแห่งชาติและศูนย์ปฏิบัติการ
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ที่ควรพิจารณาทบทวนการจัดทำแผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ต้องใช้ในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันใหม่ให้ชัดเจน
รวมทั้งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการแข่งขัน
และให้มีการพิจารณาติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ในห้วงปี พ.ศ. ๒๕๖๖
อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและกำหนดมาตรการที่เหมาะสมสำหรับการจัดการแข่งขันต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป รวมทั้งให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพิจารณาทบทวนและปรับปรุงแผนบริหารความต่อเนื่องของการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์
ครั้งที่ ๖ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ (ค.ศ. ๒๐๒๒)
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ให้เหมาะสม
โดยให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคทั้งในและต่างประเทศในทุกมิติด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
236 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 | นร.11 สศช | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา
และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑)
อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการทัวร์เที่ยวไทย
โดยปรับลดจำนวนสิทธิโครงการฯ จากเดิม ๑,๐๐๐,๐๐๐ สิทธิ เป็น ๒๐๐,๐๐๐
สิทธิ ทำให้กรอบวงเงินลดลงจาก ๕,๐๐๐ ล้านบาท เป็น ๑,๐๐๐ ล้านบาท และขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิม
สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เป็น สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ พร้อมทั้งเห็นควรมอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
พิจารณากำหนดแนวทางในการบริการจัดการเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทางท่องเที่ยวภายใต้โครงการฯ
อย่างเคร่งครัด
(๒) อนุมัติให้จังหวัดน่านและจังหวัดสตูลเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการฯ
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการพัฒนาอัตลักษณ์น่าน มุ่งสู่เมืองสร้างสรรค์ (Creative City) และโครงการการฝึกอบรมราษฎร
(ชาวเล) เกาะหลีเป๊ะ หมู่ ๗, ๘
ในการเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพไลฟ์การ์ดเพื่อยกระดับความปลอดภัยเกาะหลีเป๊ะ
จากเดิม สิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เพื่อให้หน่วยงานสามารถเบิกจ่ายงบประมาณเงินกู้ของโครงการฯ
ได้แล้วเสร็จ (๓) อนุมัติให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) โดยปรับลดกรอบวงเงินในกิจกรรมการพัฒนา Platform การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล จากเดิม ๒๐
ล้านบาท เป็น ๑๙,๐๒๗,๔๒๐ บาท และขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
จากเดิม สิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ (๔) อนุมัติให้กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า
และพันธุ์พืชเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า
โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น
สิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ (๕) อนุมัติให้วิทยาลัยสารพัดช่างตรังเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการส่งเสริมการฝึกอาชีพระยะสั้นเพื่อเพิ่มทักษะและการประกอบอาชีพเสริม
ของวิทยาลัยสารพัดช่างตรัง วงเงิน ๕ ล้านบาท โดยขยายระยะเวลาโครงการฯ จากเดิม
สิ้นสุดเดือนกันยายน ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนมกราคม ๒๕๖๕ (๖)
อนุมัติให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น
เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จากเดิม
สิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ (๗)
อนุมัติให้จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดยโสธร จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
และจังหวัดสกลนครเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ และ (๘)
มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ (๑)-(๗) เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการฯ ให้แล้วเสร็จ และปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และ ๒๐
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ พ.ศ. ๒๕๖๓
รวมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ไปดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ
และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรกำกับ ติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
ให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด และในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ให้เร่งปฏิบัติตามขั้นตอนข้อ
๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒. ให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
237 | การปรับปรุงชื่อสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในต่างประเทศ | อว. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการปรับปรุงชื่อหน่วยงาน จากเดิม สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เป็น สำนักงานที่ปรึกษาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงาน ก.พ.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
โดยให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอเรื่องการปรับภารกิจของสำนักงานที่ปรึกษาฯ
รวมถึงในประเด็นเกี่ยวกับคุณลักษณะและสมรรถนะของบุคลากรประจำสำนักงานดังกล่าว ให้คณะอนุกรรมการและคณะทำงานโครงสร้างบุคลากรของไทยที่ประจำการในต่างประเทศพิจารณาด้วย
และควรพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนและกำหนดแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจน
ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น ๆ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
238 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายถาวร สกุลพาณิชย์) | สธ. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายถาวร สกุลพาณิชย์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านควบคุมป้องกันโรค [นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ
(ด้านวิจัย)] สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
239 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส และนางบุปผา พันธุ์เพ็ง) | รง. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้ ๑. นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
240 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายโกวิท ผกามาส ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | วธ. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ดังนี้ ๑. นายโกวิท ผกามาศ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ๒. นายกฤษฎา คงคะจันทร์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นายประสพ เรียงเงิน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|