ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 10 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 181 - 200 จากข้อมูลทั้งหมด 252 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
181 | การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว | ทส. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
เพื่อดำเนินการสร้างสวนรุกขชาติ และอนุมัติให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้แก่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรคำนึงถึงความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ รวมทั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช
ควรประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศให้พิจารณาข้อกำหนดการดำเนินงานต่าง ๆ
ไม่ขัดต่อกฎระเบียบและกฎหมายด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
ทั้งในด้านการดำเนินโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว และการใช้งบประมาณ
เพื่อให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งสองประเทศต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
182 | การบันทึกเทปกล่าวอาเศียรวาทถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี | นร.04 | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการบันทึกเทปกล่าวอาเศียรวาทถวายพระพรชัยมงคล
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ ในวันจันทร์ที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕
เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.๕)
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
183 | การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายรุจิโรจน์ อนามบุตร) | มท. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายรุจิโรจน์ อนามบุตร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ด้านการผังเมือง) ในคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ แทนตำแหน่งที่ว่าง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
184 | การเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐซูดานประจำประเทศไทย และการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธาณรัฐซูดานประจำประเทศไทย (นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์) | กต. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐซูดานประจำประเทศไทย ๒. แต่งตั้ง นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐซูดานประจำประเทศไทย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
185 | เงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นสำหรับ COVID-19 Crisis Response Emergency Support Loan | กค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
186 | ขออนุมัติดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทย | คค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
ในกรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) ๒.
เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ยืมเงินตามนัยมาตรา ๓๙ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายใต้กรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้น ๓.
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขอปรับเพิ่มเงินลงทุน
(Cost Overrun) ในอนาคต
ซึ่งอาจกระทบต่อผลการดำเนินงานและผลตอบแทนการลงทุน รวมทั้งอาจเกิดความล่าช้าในการให้บริการและไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ๔.
ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้และจำเป็นต้องติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๕.
ให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับแนวโน้มการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจต่าง
ๆ ในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
187 | แต่งตั้งผู้ว่าการการประปานครหลวง (นายมานิต ปานเอม) | มท. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง
นายมานิต ปานเอม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการประปานครหลวง และให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในอัตราเดือนละ
๓๘๐,๐๐๐ บาท
และสิทธิประโยชน์อื่นตามที่กระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้นายมานิต ปานเอม
ลาออกจากการเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจก่อนลงนามในสัญญาจ้างด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
188 | การเพิ่มสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) | พม. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
189 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 เรื่อง ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Aquaculture Practice) และ CoC (Code of Conduct) | กษ. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๔๖ [เรื่อง ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
GAP (Good
Aquaculture Practice) และ CoC (Code
of Conduct)] เป็น ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบให้การสนับสนุนด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด
ที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และแจ้งประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
(จสค.)
และเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of
Conduct: CoC)
หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจากกรมประมงหรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ๑.๒ มอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน
และแจ้งให้สถาบันการเงินรับทราบว่าสถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และแจ้งประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จสค.)
และเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of
Conduct: CoC)
หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจากกรมประมงหรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติได้
โดยให้สถาบันการเงินพิจารณาการให้สินเชื่อเป็นกรณีพิเศษแก่ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองหรือมีแผนการปรับปรุงพัฒนาเพื่อขอรับการรับรองมาตรฐานที่สูงกว่ามาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) [ได้แก่ มาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด
ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC)
หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตร]
ด้วย ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานกับธนาคารแห่งประเทศไทยในส่วนของรายละเอียดการรับรองมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและมาตรฐานสินค้าเกษตรต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน และแจ้งให้สถาบันการเงิน
รวมทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินรับทราบถึงรายละเอียดของมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อได้อย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานดังกล่าวต่อไป
ควรมีแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๔๖ เพื่อให้อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
และให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่มีคุณสมบัติ
ให้ได้รับการบริการการตรวจรับรองมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
และควรต้องติดตามและกำกับดูแลให้การบริหารจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นไปตามพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
เพื่อป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งกระทบตามมาในวงกว้าง
พร้อมทั้งการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคระบาดในกุ้ง อย่างสม่ำเสมอ
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากโรคระบาดในกุ้งทั้งในระดับฟาร์มและระดับประเทศด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
190 | ขอปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 | พน. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า
(Transmission System Improvement
Project in Eastern Region to Enhance System Security : TIPE) (โครงการ TIPE) และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่
ระยะที่ ๓ (Independent Power Producer 3 : IPP3) (โครงการ IPP3) และอนุมัติวงเงินงบประมาณลงทุนในปี
พ.ศ. ๒๕๖๔ และปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สำหรับโครงการ TIPE และโครงการ IPP3
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๗/๑๘๙๓๙ ลงวันที่๑๕ กันยายน ๒๕๖๔)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่
สกพ ๕๕๐๑/๐๐๓๖ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔) เช่น
ควรศึกษาและพิจารณาแนวทางการดำเนินการไม่ให้มีผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าของประชาชนทั่วประเทศ
ควรกำหนดมาตรการบริหารจัดการเงินและการลงทุนให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และต้องดำเนินการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเร็วเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานได้ตามแผนงานที่วางไว้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานกำกับการดำเนินโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า
และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ระยะที่ ๓
ให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งบริหารความเสี่ยงของโครงการที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อมิให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการเพิ่มเติม
ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนของทั้งสองโครงการเพิ่มขึ้นในอนาคต |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
191 | ขอความเห็นชอบการจัดสวัสดิการรถจักรยานยนต์เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ให้แก่พนักงาน โดยให้พนักงานกู้เงินจากการประปานครหลวงแบบไม่คิดอัตราดอกเบี้ย ในวงเงินการจัดสวัสดิการ จำนวน 30 ล้านบาท | มท. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดสวัสดิการรถจักรยานยนต์เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ให้แก่พนักงานของการประปานครหลวง
(กปน.) โดยให้พนักงานกู้เงินจาก กปน. แบบไม่คิดอัตราดอกเบี้ย ในวงเงินจัดสวัสดิการ
จำนวน ๓๐ ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทย โดย กปน.
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ในการจัดสวัสดิการดังกล่าวควรพิจารณาค่าใช้จ่ายในภาพรวม
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงิน ผลการดำเนินงานของกิจการ มีการจัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานหรือเพิ่มรายได้อย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและไม่ก่อให้เกิดภาระแก่ประชาชน
และเห็นควรพิจารณาการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานที่จะได้รับสวัสดิการให้สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินงานขององค์กรในปัจจุบันที่บางส่วนได้ปรับปรุงรูปแบบเป็นการจ้างบุคคลภายนอกดำเนินงานแล้ว
ตลอดจนให้ความสำคัญสำหรับการใช้จ่ายเงินขององค์กรอย่างระมัดระวังด้วยความรอบคอบ
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดในภาพรวมขององค์กรประกอบด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
192 | ร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
193 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่กิจการของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน) | กค. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
(ฉบับที่ ๒๔๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยกำหนดเพิ่มเติมให้กิจการของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรกก่อน รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
194 | การปรับปรุงวัตถุประสงค์ในการใช้เงินกู้สำหรับการกู้เงินภายใต้ Euro Commercial Paper (ECP) Programme | กค. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการปรับปรุงวัตถุประสงค์ในการใช้เงินกู้สำหรับการกู้เงินภายใต้
Euro Commercial Paper (ECP) Programme วงเงิน ๒,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพื่อให้สามารถรองรับการกู้เงินภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และกฎหมายอื่นที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินตราต่างประเทศได้ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
195 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. .... | คค. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข
๗ และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑
นาฬิกา ของวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๑๘ เมษายน
๒๕๖๕ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางบนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลดังกล่าว
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรเร่งประชาสัมพันธ์การยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษดังกล่าวให้ประชาชนทราบ
เพื่อให้ประชาชนใช้เส้นทางดังกล่าวในช่วงวันหยุดราชการต่อเนื่องได้อย่างคล่องตัว
สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
196 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... [แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558] | มท. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี
พ.ศ. ๒๕๕๔ และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมรวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะห่างตามแนวขนานริมเขตทาง
ในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงงานริมทางหลวงแผ่นดิน และริมทางรถไฟ
ตลอดจนปรับปรุงบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. ๒๕๕๔
ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
เช่น ควรให้โรงงานมีระยะห่างริมทางหลวงแผ่นดินไม่น้อยกว่า ๕ เมตร คำนึงถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในกรณีใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมที่ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูง
องค์กรปกครองท้องถิ่น ควรควบคุมดูแลสุขลักษณะ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
197 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 5/2565 | นร.08 | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
198 | ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 | สธ. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
199 | โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง | กษ. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
โดยให้เกษตรกรฯ
ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิมโดยพักชำระเงินต้นครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ ๕๐)
และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน และให้เกษตรกรฯ ทำสัญญาผ่อนชำระหนี้เงินต้นครึ่งหนึ่ง
(ร้อยละ ๕๐) ตามระยะเวลาที่ตกลงกัน แต่ไม่เกิน ๑๕ ปี สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ
๕๐ ในส่วนที่เกษตรกรฯ ไม่ต้องรับภาระ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๕๐,๖๒๑ ราย รัฐจะรับภาระในการจัดสรรเมื่อเกษตรกรฯ
ได้ชำระหนี้คืนงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร)
ร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดรายละเอียดและแนวทางดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการข้างต้น
รวมถึงกำหนดกรอบวงเงินสำหรับดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสม
และดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
ในส่วนของการขอยกเว้นดอกเบี้ยค้างชำระของธนาคารรัฐ ๔ แห่ง
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร)
เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์
และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการดำเนินการให้ได้ข้อยุติที่เหมาะสมแล้วเสนคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ๓. รับทราบการยกเลิกหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร
สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ยั่งยืน
(ลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒
ตุลาคม ๒๕๖๑ [เรื่อง
โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ยั่งยืน
(ลูกหนี้ ธ.ก.ส.)] ๔. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร) ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย
คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เกษตรกร จำนวน ๕๐,๖๒๑ ราย ดังกล่าวข้างต้น
ได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของคนในกรอบการแก้ไขปัญหาความยกจนแบบพุ่งเป้าแต่ละครัวเรือนของ
คจพ. ด้วย ๕. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง
เช่น ประเมินผลการดำเนินการของกองทุนฯ ทบทวนและปรับปรุงรูปแบบการดำเนินโครงการ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างยั่งยืน
ควรให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลและการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ประกาศหลักเกณฑ์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ตลอดจนเงื่อนไขและวิธีดำเนินโครงการฯ อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
200 | ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลแขวงสระบุรี ขนาด 8 บัลลังก์ 1 หลัง พร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบ | ศย. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|