ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 252 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565 | ดศ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
พ.ศ. ๒๕๖๕ สรุปได้ ดังนี้ (๑) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พบเห็นและไม่ทราบว่ามีปัญหายาเสพติดในชุมชน/หมู่บ้าน
(ร้อยละ ๕๖.๐) (๒) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พบเห็นแต่ทราบว่ามีการซื้อขายยาเสพติด
(ร้อยละ ๗๓.๙) ไม่พบเห็นแต่ทราบว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ในชุมชน/หมู่บ้าน
(ร้อยละ ๘๔.๑) ยาบ้าเป็นยาเสพติดที่แพร่ระบาดมากที่สุดในชุมชน/หมู่บ้าน (ร้อยละ
๘๒.๔) และผู้ที่มีอายุ ๒๐-๒๔ ปี เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากที่สุด (ร้อยละ ๔๙.๔) (๓)
ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการดำเนินงานในการป้องกัน ปราบปราม
และบำบัดยาเสพติดในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ ๔๙.๓)
มีความเชื่อมั่นต่อนโยบายการป้องกัน ปราบปราม
และบำบัดยาเสพติดในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ ๔๘.๑)
มีความเชื่อมั่นต่อนโยบายยึดทรัพย์ผู้ค้ายาเสพติดสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือลดจำนวนผู้ค้ายาเสพติด
(ร้อยละ ๔๘.๘)
และให้คะแนนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดมาก-มากที่สุด
(ร้อยละ ๖๘.๑) และ (๔) ประชาชนเห็นควรปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง/ต่อเนื่อง
และควรให้กฎหมายลงโทษผู้เกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
เช่น การประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้
และสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถป้องกันตนเองและครอบครัวจากยาเสพติด ผ่านสื่อต่าง ๆ
โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์
สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้แจ้งเบาะแส และติดตามและแก้ไขปัญหาการร้องเรียนอย่างจริงจัง
ตามที่กระทรวงดิจทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การดำเนินการตามข้อสังเกต (Concluding Observations) ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ต่อรายงานประเทศฉบับที่ 4-8 ของประเทศไทย | ยธ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบข้อสังเกต
(Concluding Observations)
ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
ต่อรายงานประเทศฉบับที่ ๔-๘ ของประเทศไทย
และตารางหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ
และพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและข้อเสนอแนะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นว่าการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สามารถเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันคนในสังคมให้หลีกเลี่ยงการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์และโซเซียลมีเดียในทางที่ผิด
หรือนำมาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ Hate Speech และ Hate
Crime ทางเชื้อชาติได้ และในประเด็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบ จำนวน ๓ ประเด็น ประกอบด้วย ๑)
ประเด็นที่ดิน อาณาเขต และทรัพยากรของกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ๒)
ประเด็นการค้ามนุษย์ และ ๓) ประเด็นย่อหน้าที่มีความสำคัญเป็นการเฉพาะ
พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นแรงงานข้ามชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2567-2570) | กค. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ ๒๕๖๗-๒๕๗๐) เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บ
หรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านรายรับและรายจ่าย
เพื่อรักษาฐานะด้านการคลังให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ.๒๕๖๑ และในระยะปานกลางควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่าย
ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้
เพื่อให้มีกรอบงบประมาณที่เพียงพอสำหรับการลงทุนและพัฒนาประเทศ
และควรมีการพิจารณากำหนดกรอบงบประมาณรายจ่ายตามโครงสร้างงบประมาณที่จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ
รายจ่ายลงทุน รายจ่ายเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และรายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลัง
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาแนวโน้มการใช้จ่ายภาครัฐในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา | กก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มทะเลทราบสงขลาขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา [องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)]
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าในการดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ขอให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ควรมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของงบประมาณแผ่นดิน
และคำนึงถึงภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานเป็นหลัก
และการดำเนินงานด้านงบประมาณต้องพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบ
และเป็นไปตามกฎหมายของทางราชการ รวมทั้ง
ไม่ส่งผลต่อวงเงินงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่เป็นสำคัญ
ควรกำหนดเพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาว่า
กรณีเป็นแผนหรือโครงการที่ต้องดำเนินการในเขตโบราณสถาน
จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ก่อนดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการดังกล่าว
และควรกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนฯ ให้มีความชัดเจน
รวมทั้งควรพิจารณาถึงกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
อย่างเคร่งครัดในการจัดตั้งสำนักงานการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของงบประมาณในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอแผนงานยุทธศาสตร์ชาติการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
และดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับการจัดสรรงบประมาณ ๓.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วยว่า
เมื่อการพิจารณาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาตามลำดับในลักษณะ
Bottom Up จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องไปสู่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติแล้ว
ยังสมควรที่จะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการประกาศกำหนดพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่
ประการใด เพื่อพิจารณาทบทวนและแก้ไขพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงสาธารณรัฐคาซัคสถาน | กต. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงของสาธารณรัฐคาซัคสถาน จาก
กรุงนูร์-ซุลตัน (Nur-Sultan) กลับไปเป็น กรุงอัสตานา (Astana) และการดำเนินการที่จำเป็นในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศเพื่อเปลี่ยนชื่อเป็นสถานเอกอัครราชทูต
ณ กรุงนูร์-ซุลตัน เป็นสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัสตานา
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของการเปลี่ยนแปลงชื่อเมืองหลวงของสาธารณรัฐคาซัคสถานดังกล่าว
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | นร.12 | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนงาน/โครงการที่ได้ดำเนินการเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๖๖ให้แก่ประชาชนในหัวข้อ “บริการภาครัฐโฉมใหม่ ทันสมัย เข้าใจทุกความต้องการ”
เพื่อเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาระบบราชการ
และเป็นช่องทางอำนวยความสะดวกให้ประชาชนรับบริการออนไลน์ของรัฐ ๓ แนวทาง
ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ดังนี้ ๑. ช่องทางรับฟังเสียงประชาชนสู่การพัฒนาระบบราชการเพื่อประชาชน
ผ่านเว็บไซต์ www.opengovernment.go.th
และ Facebook Fanpage Opengovthailand รวมทั้ง Line @GoodGov4U ๒. ศูนย์รวมข้อมูลภาครัฐเพื่อการติดต่อราชการโฉมใหม่
ไฉไลกว่าเดิม ผ่านเว็บไซต์ www.info.go.th ที่ปรับปรุงใหม่ด้วยการนำประสบการณ์ของผู้ใช้งานมาออกแบบให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ๓. Government
e-Service Directory เว็บไซต์รวมงานบริการออนไลน์ของรัฐกว่า ๑,๐๐๐ งานบริการ
เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้บริการได้ภายในจุดเดียวผ่านเว็บไซต์ของสำนักงาน
ก.พ.ร
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | นร16 | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน จำนวน ๒ โครงการ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ ดังนี้ ๑.
โครงการที่ ๑ : การดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน
๑ : ๔,๐๐๐ (One Map) และแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการที่ปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | นร.01 | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะได้ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน
และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑)
สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่ยื่นผ่านช่องทางการร้องทุกข์ ๑๑๑๑ รวมทั้งสิ้น ๖๗,๙๑๙ เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ ๖๒,๑๑๒ เรื่อง โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับการประสานเรื่องร้องทุกข์ฯ
มากที่สุด (๔,๔๐๕ เรื่อง) (๒)
การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีการติดต่อแจ้งเรื่องร้องทุกข์ ๑๓๔,๕๗๕ ครั้ง ซึ่งน้อยกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๓๓,๑๒๙ ครั้ง (มีการติดต่อแจ้งเรื่องร้องทุกข์ ๑๖๗,๗๐๔
ครั้ง ) ทั้งนี้ ประเด็นที่ประชาชนยื่นเรื่องร้องทุกข์มากที่สุด คือ
การรักษาพยาบาล ๔,๘๙๓ เรื่อง (๓) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์
เช่น ประชาชนยังคงมีความกังวลและต้องการทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนภายใต้แนวทางการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ที่ถูกต้องตามสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไป และเรื่องร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับระบบออนไลน์
ซึ่งเกิดจากการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จหรือข้อมูลที่บิดเบือนไม่เป็นความจริง และ
(๔) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการการปฏิบัติงาน เช่น
ขอให้หน่วยงานประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
ข้อมูลผลการดำเนินงานและข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างทั่งถึง
และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการแก้ไขปัญหาร่วมกับทุกภาคส่วน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การดำเนินโครงการเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | นร15 | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่
ปี ๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ได้จัดทำ LINE
Chatbot (ไลน์แชทบอท) ในชื่อว่า “เสนอแนะข้างทำเนียบ”
ซึ่งเป็นการใช้ระบบพูดคุยอัตโนมัติ (Chatbot)
เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชนได้ตลอดเวลา และเป็นช่องทางให้สามารถนำเสนอข้อเสนอแนะเข้าสู่การพิจารณาของภาครัฐได้ง่าย
สะดวก อันจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของทุกภาคส่วน
และเกิดการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสำหรับประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้
ประชาชนสามารถเข้าสู่ LINE Chatbot ดังกล่าว ด้วยการเพิ่มเพื่อนในระบบ LINE
และสามารถนำข้อเสนอแนะผ่านระบบได้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดองเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | นร.01 | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนงาน/ดำเนินโครงการ
เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ.
๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) เสนอ
ดังนี้ ๑.
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เสนอการเปิดช่องทางใหม่ “ไลน์สร้างสุข” (@PSC1111)
เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถส่งเรื่องร้องทุกข์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
ด้วยการบริหารจัดการระบบ Traffy Fondue ซึ่งเป็นระบบที่สามารถส่งข้อมูลคำร้องทุกข์ถึงหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ได้ทันที
เป็นช่องทางที่ทันสมัย ใช้งานได้ง่าย และปลอดภัย
สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการส่งเรื่องร้องทุกข์ได้จากทุกที่ ทุกเวลา
สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันของประชาชนที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานของรัฐมากขึ้น ๒.
กรมประชาสัมพันธ์ เสนอการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “ดนตรีในสวน เพื่อสร้างความสุข”
ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกรมประชาสัมพันธ์ โดย
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร และสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา
๑๗.๐๐ น. ณ สวนลุมพินี เป็นการแสดงดนตรี โดยวงดนตรี กรมประชาสัมพันธ์
เพื่อสร้างความสุข
ความบันเทิงให้กับประชาชนสอดแทรกความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในนโยบายรัฐบาล
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายเสกสรร สุขแสง และนางสาวพัชรศรี ศรีเมือง) | ยธ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
ดังนี้ ๑. นายเสกสรร สุขแสง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2565)] | ปสส. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางสาวบุปผา เรืองสุด และนายประทีป ทรงลำยอง) | รง. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๒ ราย
เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้ ๑. นางสาวบุปผา เรืองสุด ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาจังหวัดนนบุรีให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย
มีคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดีมีการพัฒนาบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐาน
และมีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการผลิต การค้า การบริการและการลงทุน
ตลอดจนดำรงรักษาพื้นที่เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น
และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
โดยมีแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาจังหวัดนนทบุรีให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวม จำแนกออกเป็น ๑๔
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไห้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติกฎหมาย
กฎ หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึงกฎ ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการตั้งสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
ประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... ฉบับนี้ ลำดับที่ ๓๔ (๒)
ให้พิจารณากำหนดให้ตั้งในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขาพของประชาชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 | อว. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงบประมาณ เช่น เห็นควรมุ่งเน้นให้มีการปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลกมีมาตรฐานและรับรองคุณภาพผลงานวิจัย
พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถครอบคลุมในทุกมิติ
เน้นการขับเคลื่อนให้ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มุ่งผลสัมฤทธิ์ ลดช่องว่างของการเข้าถึงโอกาส
ด้านการพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยี นวัตกรรม
สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ
และความไม่เสมอภาคทางสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงความต้องการจำเป็นต่อระบบบริการสาธารณสุขไทยในปัจจุบันและอนาคต
การยกระดับระบบบริการของสังคมสูงวัย การลดอัตราการตายโรคสำคัญ
การเสริมความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ
ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการ โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙
สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐
เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายการดำเนินงานด้าวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
และรับทราบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศของประเทศ ตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอ ๒. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง)
นโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ มีสาระสำคัญเพื่อเป็นกรอบนโยบายในการจัดสร้างหรือการบริหารจัดการดาวเทียม
และการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมของรัฐ เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานรัฐ และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติที่เหมาะสมที่สุดและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดยให้รับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางประกอบการพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายและพันธกรณีต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
(๑) ให้เร่งรัดดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเกิดผลสำเร็จ
เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป (๒) เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
หากไม่เพียงพอเห็นควรให้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ แล้วแต่กรณี
โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง | พน. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving
Terminal (แห่งที่ ๒) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง
จังหวัดระยอง ในสัดส่วนร้อยละ ๕๐ โดยมีมูลค่าเงินลงทุนตามสัดส่วนดังกล่าวไม่เกิน
๑๖,๓๕๐ ล้านบาท และ กฟผ. ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนตามแผนการประมาณการเบิกจ่ายประจำปี
๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงาน และ กฟผ.
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจที่เห็นควรให้ กฟผ.
กำหนดขอบเขตการดำเนินงานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้
และ กฟผ.
ควรกำกับดูแลบริษัทในเครือให้ดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งเป้าหมายการดำเนินงาน
สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และไม่เป็นภาระทางการเงินกับ กฟผ. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. อนุมัติในหลักการการยกเว้นภาษี
เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้าง
การจัดตั้งบริษัทฯ และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจากการร่วมทุนในบริษัทดังกล่าว
ทั้งนี้
ในส่วนของการลดหย่อนค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนการจำนองให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
และให้กระทรวงพลังงาน และ กฟผ. ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างเคร่งครัด
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม | ปช. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น
(๑) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานจัดเก็บภาษี
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออก และหน่วยงานด้านการจดทะเบียนพาณิชย์ (๒)
ควรมีระบบการแจ้งเบาะแสที่มีประสิทธิผล (๓)
ควรกำหนดมาตรการให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (๔)
ควรเพิ่มกลไก การตรวจสอบ ถ่วงดุล สอบยันในหน่วยจัดเก็บภาษี (๕)
ควรให้มีการส่งเรื่องให้ตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งออก (๖)
ควรเพิ่มกลไกการตรวจสอบเพิ่มเติมจากมาตรฐานที่มีอยู่ และ (๗)
ควรมีการตรวจสอบเกี่ยวกับผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ ๒. รับทราบผลการพิจารณาต่อมาตรการดังกล่าวของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้แจ้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | รายงานผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว | อก. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
เพื่อให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ กับเอกชน
ผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอร่วมลงทุนต่อไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ให้กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานอัยการสูงสุด และประธานกรรมการนโยบายร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เช่น
จะต้องกำกับการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สอดคล้องกับระยะเวลาของสัญญาฉบับเดิมที่จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ๒๕๖๕
ควรคำนึงถึงการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลด้วย
ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำกับติดตามให้คู่สัญญาตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามที่เสนอไว้ในรายงาน
EIA อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม
(การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วย ๑.๑ พิจารณาปรับแก้ร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเรือสาธารณะ
เพื่อขนถ่ายสินค้าเหลวให้ถูกต้อง สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น ร่างสัญญาร่วมทุนฯ
ข้อ ๓.๑.๒)ก. เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๕ (เรื่อง
การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว)
ซึ่งเป็นการอนุมัติให้ใช้วิธีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยใช้วิธีประมูล ตามมาตรา
๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ เท่านั้น เป็นต้น ๑.๒
พิจารณากำหนดแนวทางดำเนินการในกรณีที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือการถมทะเลเพื่อขยายพื้นที่สำหรับก่อสร้างถังเก็บบรรจุสินค้าเหลว
(Tank
Farm) เพิ่มเติม
เพื่อป้องกันมิให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือเป็นเหตุให้เอกชนคู่สัญญาใช้เป็นข้ออ้างในการบอกเลิกสัญญาหรือเรียกร้องค่าเสียหายในภายหลัง ๑.๓ พิจารณากำหนดมาตรการรองรับในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาใช้สิทธิตามสัญญาในการขยายระยะเวลาการก่อสร้างถังบรรจุสินค้าเหลวหรือการถมทะเล
ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าและสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้จากการให้บริการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ๒.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลพิจารณาทบทวนมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุน้ำมันหรือสารเคมีรั่วไหลลงทะเล
โดยให้พิจารณานำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ ชดเชย
เยียวยาแก่ผู้ประสบภัยหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น
ให้เหมาะสม ชัดเจน และเป็นรูปธรรม เพื่อให้การดำเนินการช่วยเหลือฯ
เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และถึงมือผู้ประสบภัยฯ อย่างแท้จริง |