ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 12 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 222 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | สรุปผลการพิจารณามาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ | รง. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 [เรื่อง การลงทุนโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดลำพูน และเรื่อง การลงทุนโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)] | อก. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การแต่งตั้งผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน วาระปี 2568-2570 | กต. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาณุภัทร
จิตเที่ยง ดำรงตำแหน่งผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
สำหรับวาระปี ๒๕๖๘ - ๒๕๗๐ โดยให้ทำหน้าที่ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๘ ถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๐ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือแจ้งให้เลขาธิการอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียนทราบ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ขอความเห็นชอบการร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมืองว่าด้วยการเสริมสร้างการปกป้องพลเรือนจากผลกระทบด้านมนุษยธรรมอันเกิดจากการใช้อาวุธระเบิดในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น | กต. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ขออนุมัติเป็นหลักการให้จ่ายเงินอุดหนุนสำนักเลขาธิการอาเซียนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยงานสนับสนุนความตกลง RCEP | พณ. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ขออนุมัติในหลักการเพื่อจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษแก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ | พน. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการเพื่อจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษในรูปค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปะทาว
จังหวัดชัยภูมิ โดยอนุมัติจ่ายเงินค่าชดเชยฯ ไร่ละ ๓๒,๐๐๐ บาท
ตามมติคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปะทาว
จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งประกอบด้วยบัญชีรายชื่อราษฎรที่ได้รับผลกระทบฯ จำนวน ๔ บัญชี
(บัญชีที่ ๓, ๔, ๕ และ ๖) จำนวน ๑๓๑
ราย เนื้อที่รวม ๑,๖๙๑.๔๗ ไร่ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น ๔๘,๘๘๗,๘๔๐ บาท ปรับเนื้อที่ผลการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศของผู้ที่ครอบครองและทำประโยชน์ของราษฎรที่มีเนื้อที่ไม่ถึง
๑ ไร่ ให้ปรับเป็น ๑ ไร่ หากมีเนื้อที่เกิน ๑ ไร่ ให้คิดตามความเป็นจริง และให้กระทรวงพลังงานใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษในรูปค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปะทาว
จังหวัดชัยภูมิ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น ๔๘,๘๘๗,๘๔๐ บาท ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้กระทรวงพลังงาน
(กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน) ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงาน
(กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นว่าหากพื้นที่ดำเนินโครงการอยู่ในเขตพื้นที่ป่า
ขอให้ดำเนินการยื่นขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด พ.ศ. .... | มท. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
ในท้องที่ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
แปลง “ตะกาดคลองเจดีย์สาธารณประโยชน์” ในท้องที่ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่
จังหวัดตราด เนื้อที่ประมาณ ๓๖ ไร่ ๑ งาน ๖๑ ตารางวา เพื่อมอบหมายให้องค์การบริหารส่วนตำบลไม้รูดใช้เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการระบบจัดการขยะ
เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงและปุ๋ยอินทรีย์ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ดังนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นควรจัดเตรียมสถานที่แหล่งรับซื้อเชื้อเพลิงขยะบริเวณใกล้เคียงไว้ด้วย
เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิตและห้ามใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต พ.ศ. .... | อก. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง
ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิตและห้ามใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิต
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการห้ามตั้งหรือขยายโรงงานที่ใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิตและห้ามใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอทในกระบวนการผลิตในโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานเพื่อเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยกำหนดให้ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงผลิตน้ำประปาและโรงผลิตน้ำประปา
รวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการผลิตน้ำประปา
ได้รับลดภาษีในอัตราร้อยละ ๕๐ ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย
และใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๘ เป็นต้นไป
เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) ที่ต้องเริ่มดำเนินการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.
๒๕๖๘ อันจะทำให้ อปท.
สามารถจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปาให้แก่กิจการผลิตน้ำประปาซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้อง ครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) พ.ศ. .... | รง. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Payment) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายกำหนดเวลา
กรณีนายจ้างยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบตามมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม
พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Payment) ออกไปอีก ๗
วันทำการนับแต่วันที่พ้นกำหนดวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้
สำหรับค่าจ้างตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๖๘ ถึงเดือนธันวาคม ๒๕๗๒ เป็นระยะเวลา ๖๐ เดือน
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปไปได้ ๒. ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นควรเร่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างและสถานประกอบการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Payment) เพิ่มมากขึ้น
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (1. นายฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ฯลฯ รวม 6 คน) | กก. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
รวม ๖ คน
เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
ดังนี้ ๑. นายฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ประธานกรรมการ ๒. นายพณิชย์ วิทยาภัทร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหาร) ๓. นายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านผังเมือง) ๔. นางสาวสมฤดี จิตรจง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการท่องเที่ยว) ๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุดสันต์
สุทธิพิศาล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการเพิ่มอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน ในกรณีสงเคราะห์บุตร
เพื่อช่วยบรรเทาภาระในการเลี้ยงดูบุตรของผู้ประกันตนจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
และเพื่อให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ผู้ประกันตนในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๘ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นควรประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง
รวมทั้งวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง
และระยะยาว
โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบและเหมาะสมในทุกมิติ
เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อสภาพคล่องและเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคม รวมถึงภาระการเงินการคลังที่อาจเกิดขึ้นแก่รัฐในอนาคต
ตามนัยของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | มาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ปี 2567/68 | พณ. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง
ปี ๒๕๖๖/๖๗ การดำเนินโครงการเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าพืชโร่ ปีการผลิต ๒๕๖๗/๖๘
และแนวทางมาตรการในการขยายตลาดส่งออกสินค้ามันสำปะหลัง
ปี ๒๕๖๗/๖๘ และอนุมัติในหลักการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ปี
๒๕๖๗/๖๘ จำนวน ๔ โครงการ ภายในกรอบวงเงิน ๓๖๘,๙๐๐,๐๐๐ บาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ภายใต้มาตรการฯ ดังกล่าว
เพื่อให้การดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ปี ๒๕๖๗/๖๘
บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.)
ควรกำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันเพื่อลดความเสี่ยงกรณีที่หลักประกันมีคุณภาพเสื่อมลง
และมีการควบคุมและตรวจสอบสต็อกของหลักประกัน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดแนวทางชดเชยความเสียหายให้
ธ.ก.ส. เพิ่มเติม หากโครงการเกิดความเสียหายมากกว่าที่ประมาณการไว้
รวมทั้งควรประเมินผลการดำเนินของมาตรการ
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการออกแบบมาตรการในระยะต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสนับสนุนและส่งเสริมการนำมันสำปะหลังมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าของมันสำปะหลัง
และเพื่อช่วยระบายสต๊อกในช่วงที่ผลผลิตมันสำปะหลังภายในประเทศมีแนวโน้มกระจุกตัวอันเนื่องมาจากการส่งออกมันสำปะหลังไปยังต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม ลด และยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาต พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | ยธ. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม
ลด และยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาต พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตนำเข้า
ใบอนุญาตส่งออก การออกใบแทนใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต รวมทั้งลดและยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม
และร่างกฎกระทรวงการขออนุญาต และการอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต และการอนุญาตนำเข้า หรือส่งออกใบกระท่อม ซึ่งจะเป็นมาตรการในการกำกับดูแลการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม
รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไป
เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นว่าร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม
ลด และยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาต พ.ศ.
.... ควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในข้อ ๔ โดยตัดคำว่า “ผู้ส่งออกใบกระท่อมซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา
๑๑ (๓)” ซึ่ง การลดค่าธรรมเนียม และการยกเว้นค่าธรรมเนียม
อาจส่งผลให้เกิดการปลูกพืชกระท่อมเพิ่มมากขึ้น
หากไม่สามารถควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานได้อาจส่งผลเสียต่อตลาดส่งออกพืชกระท่อมในอนาคต สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรพิจารณาทบทวนความตามข้อ
๓ ในร่างกฎกระทรวงฯ ที่ระบุให้มีการลดค่าธรรมเนียมกึ่งหนึ่งแก่ผู้ส่งออกที่เป็นวิสาหกิจชุมชน
ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศ และความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าในเรื่องค่าธรรมเนียมและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออก ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์
เห็นควรดำเนินการให้สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade : GATT) ที่กำหนดให้การกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าภาระต่าง
ๆ จะต้องจำกัดอยู่เพียงต้นทุนโดยประมาณในการให้บริการ
และไม่เป็นการคุ้มครองทางอ้อมแก่ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ และควรดำเนินการให้สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าที่ระบุให้การปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าของคู่ค้าต้องมีความเท่าเทียมกับการปฏิบัติต่อสินค้าภายในประเทศทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับ
กฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขาย ภายในประเทศ การเสนอขาย
การซื้อ การขนส่ง การจำหน่าย หรือการใช้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคมและใบแทนบัตรประกันสังคม พ.ศ. .... | รง. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคมและใบแทนบัตรประกันสังคม
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคม
และค่าธรรมเนียมใบแทนบัตรประกันสังคมตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๓๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นระยะเวลา
๒ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๘ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๙ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น สำนักงบประมาณ เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ที่นายจ้างและผู้ประกันตนจะได้รับ
รวมทั้งวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
รวมถึงภาระการเงินการคลังที่อาจเกิดขึ้นแก่รัฐในอนาคต ตามนัยของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรเร่งพัฒนาบริการออกใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและเชื่อมโยงข้อมูลผู้ประกันตนที่เป็นคนต่างด้าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการออกใบแทนบัตรประกันสังคม
และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานต่างด้าวในการเข้าถึงสิทธิ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยองเพิ่มเติม
จำนวน ๒,๖๖๒ ไร่ ในพื้นที่เมืองการบินภาคตะวันออก
(EECa) เพื่อให้การตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยองในการรองรับผู้เดินทางและนักท่องเที่ยวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยอันจะเป็นประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สอดรับกับนโยบายสำคัญของรัฐบาลและคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)
ในการกำหนดสิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เมืองการบินภาคตะวันออก ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขชื่อผู้มีอำนาจลงนามในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ให้เป็นปัจจุบันด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงสาธารณสุข เห็นว่าหากสถานบริการดังกล่าวเข้าข่ายกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
การพิจารณาอนุญาตกิจการควรคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และควรดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2566 | สช. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาววรนัดดา ศรีสุพรรณ) | สธ. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาววรนัดดา ศรีสุพรรณ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งเภสัชกรเชี่ยวชาญ (ด้านเภสัชกรรม)
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการอาหารและยาทรงคุณวุฒิ
(ด้านอาหารและยา) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๗
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การเสนอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน World Championships for Marching Show Bands ในปี พ.ศ. 2570 และ ปี พ.ศ. 2571 | วธ. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ | นร 05 | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
(ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการ รวมทั้งหมด ๔๐ ราย
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายธิติวัฐ อดิศรพันธ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๒. นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๓. นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๔. นายสยาม บางกุลธรรม ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ๕. นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสณ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๖. นายขจรศักดิ์ ธนนาทธนะชน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ในการสนับสนุนภารกิจของรองนายกรัฐมนตรี
(นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) ๗. นายธเนศ กิตติธเนศวร เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ๘. นายกฤช เอื้อวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ๙. พลเอก ธราพงษ์ มะละคำ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๑๐. นายอัครุตม์ สนธยานนท์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ๑๑. นายมงคล วิมลรัตน์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ๑๒. นางสาวสนธยา บุณยภูษิต ผู้ตรวจราชการกระทรวง ๑๓. นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง ๑๔. นายวิทยา ยาม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม ๑๕. นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๑๖. นายสมภพ พัฒนอริยางกูล รองปลัดกระทรวงพลังงาน ๑๗. นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๑๘. นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ๑๙. นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๒๐. นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ๒๑. นายมณเฑียร คณาสวัสดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๒๒.นายสุรพงษ์ มาลี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ด้านยุทธศาสตร์และการวางแผน ๒๓. นางสาวสาวิตรี ชำนาญกิจ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๔. นายวีรศักดิ์ ทิพย์มณเฑียร รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๒๕. นายอภิชาติ รัตนราศรี รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๒๖. นายกิติพงษ์ มหารัตนวงศ์ รองเลขาธิการ ก.พ. ๒๗. นายวิชญ์พิพล ติวะตันสกุล ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน ๒๘. นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ๒๙. นายสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ๓๐. ว่าที่ร้อยตรี พีรพล มั่นจิตต์ รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ๓๑. พลตรี ชัยวัฒน์ สาน้อย รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ๓๒. พลเรือตรี จุมพล นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ๓๓. นางพิชญดา หัศภาค รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๓๔. พลตำรวจโท
กฤษฎา กาญจนอลงกรณ์ ผู้บัญชาการ
ประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ๓๕. นายเอกชัย เกษมสุขธวัช รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ๓๖. นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๓๗. พลตำรวจโท ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ๓๘. นายทศพร แย้มวงษ์ รองเลขาธิการวุฒิสภา ๓๙. นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |