ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 17 จากข้อมูลทั้งหมด 17 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา | สว. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental
Assessment : SEA) ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วุฒิสภา ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้ (๑)
ปัญหานโยบายและการดำเนินการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้นำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อทราบถึงความก้าวหน้าในการดำเนินการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
รวมทั้งได้ยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. .... เพื่อเป็นแนวทางและกำหนดแผนในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(๒)
ปัญหากฎหมายและระเบียบที่รองรับหรือบังคับให้หน่วยงานหรือเจ้าของแผนงานต้องจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. ....
เสนอคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนพิจารณาและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป (๓)
ปัญหาหน่วยงานรับผิดชอบหลักการดำเนินการและพัฒนาระบบการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้พัฒนาความรู้และประสบการณ์ด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านการจัดทำโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(๔) ปัญหากระบวนการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และจัดทำคู่มือเพื่อการสื่อสารสาธารณะ
เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ และ
(๕)
ปัญหาขีดความสามารถของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้เตรียมการรองรับภารกิจและสร้างความพร้อมของหน่วยงานในการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
โดยจัดฝึกอบรมทางวิชาการด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||
2 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | พณ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพาณิชย์
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอ
ดังนี้ ๑. นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นางสาวโชติมา เอี่อมสวัสดิกุล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||
3 | ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 33 และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 | กต. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||
4 | โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565 | อก. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น
PM 2.5 ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเป็นกรณีเฉพาะเป็นการชั่วคราว
ภายในกรอบวงเงินโครงการ ๘,๓๑๙,๒๓๙,๐๑๐.๐๙ บาท
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงาน
และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป
และเพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเห็นควรให้มีระบบกลไกในการตรวจสอบให้มีมาตรฐาน
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และครบถ้วน รวมทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๗๖๒ ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำกับดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ให้เร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยให้ได้รับเงินโดยด่วน
และขอให้มีการกำกับดูแลการตรวจสอบการจ่ายเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ถูกต้อง ครบถ้วน โดยเคร่งครัด ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนการลดพื้นที่เผาอ้อย
หาแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) อย่างยั่งยืน
เพื่อลดการใช้เงินงบประมาณจากภาครัฐ
บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้
รวมถึงส่งเสริมและหนุนเสริมให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัด
“อ้อยสดคุณภาพดี” ส่งโรงงาน เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๓/๑๓๘ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕)
ที่เห็นควรมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังภาครัฐ
ได้กำหนดให้มีการประชุมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาความจำเป็นของโครงการ
ประกอบด้วย โครงการประกันรายได้ของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา
มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย
โครงการที่เกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร โครงการประกันภัยพืชผล เป็นต้น
และพิจารณาถึงความสามารถของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะต้องตั้งงบประมาณรองรับ
รวมถึงภาระทางการคลัง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนพิจารณาถึงความคุ้มค่า
ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||
5 | การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ยธ. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ในอัตราไม่เกิน ๑๒,๓๐๙ อัตรา
โดยแบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง
และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ดังนี้ ๑)
ให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ระดับดีเด่นไม่เกินร้อยละ ๒.๕
ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง ๓๔๓,๙๖๘
อัตรา คิดเป็นอัตราไม่เกิน ๘,๕๙๙ อัตรา ๒) ให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ระดับดีเด่นไม่เกินร้อยละ ๑.๕
ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน ๒๔๗,๓๒๗ อัตรา คิดเป็นอัตราไม่เกิน ๓,๗๑๐ อัตรา และ ๓)
สำหรับงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการต้นสังกัดเป็นลำดับแรกก่อน
หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้เบิกจ่ายจากงบกลางรายการเงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการเป็นลำดับต่อไป ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรพิจารณากำหนดกรอบอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษฯ
อย่างเคร่งครัด โดยการทบทวนปรับลดการพิจารณาบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดประเภทเกื้อกูลเท่าที่จำเป็น
รวมทั้งควรมีการพิจารณาคัดเลือก และจัดสรรอัตราบำเหน็จความชอบที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||
6 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ ของสำนักงาน ป.ป.ช. เพิ่มเติม | ปช. | 30/08/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการการขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยให้สำนักงาน ป.ป.ช. ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ภายใต้แผนงานบุคลากรภาครัฐ รายการค่าใช้จ่ายดำเนินงาน
จำนวน ๔,๖๖๔,๘๐๐ บาท และใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๖๖,๓๒๖,๙๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๗๐,๙๙๑,๗๐๐ บาท เพื่อสมทบเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากรในส่วนที่ไม่เพียงพอต่อไป
ตามนัยข้อม ๘ และข้อ ๙ (๒) ของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒
ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการแล้ว ทั้งนี้ ขอให้สำนักงาน ป.ป.ช. ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||
7 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 เรื่อง การดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า | ทส. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||
8 | ขออนุมัติดำเนินโครงการลงทุนรายการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ | ทส. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||
9 | ขออนุมัติดำเนินโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าทั่วไป | อก. | 18/07/2565 | |||||||||||||||||||||
10 | การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมปศุสัตว์ (ครั้งที่ 1) (นายสรวิศ ธานีโต) | กษ. | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายสรวิศ ธานีโต
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งอธิบดีกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ ๔ ปี เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๕ ต่อไปอีก (
ครั้งที่ ๑) ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
11 | แจังผลคำพิพากษาศาลปกครองสูงสูด ในคดีหมายเลขดำที่ อ.836-863/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1330-1357/2564 ระหว่างนางสาวสุกัญญา คำเพชรดี กับพวก 29 คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และความรับผิดอย่างอื่น ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย | อส. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
ในคดีหมายเลขดำที่ อ.๘๓๖-๘๖๓/๒๕๕๘ คดีหมายเลขแดงที่ อ.๑๓๓๐-๑๓๕๗/๒๕๖๔ ระหว่างนางสาวสุกัญญา คำเพชรดี กับพวก ๒๙ คน
ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน
ผู้ถูกฟ้องคดี (คณะรัฐมนตรีผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๖) เรื่อง
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นให้ยกฟ้องคดี ทำให้คดีนี้ถึงที่สุดแล้ว
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
12 | (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2580) | นร.11 สศช | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
รับทราบข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรตาม (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว
(พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐) มีประเด็นสำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการไปพร้อมกันด้วย
ดังนี้ ๑.๑.
ปรับปรุงโครงสร้างระบบภาษีให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรที่แรงงานในระบบจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
โดยเฉพาะภาษีเงินได้ ๑.๒.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้กองทุนสวัสดิการสังคมต่าง ๆ
ที่มีอยู่และที่อาจจะตั้งขึ้นในอนาคตมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในขณะที่มีเงินกองทุนเท่าเดิมหรือน้อยลงซึ่งจะส่งผลต่อภาระด้านการเงินการคลังของรัฐในระยะยาว
จึงต้องปรับปรุงระบบสวัสดิการให้เหมาะสม ๑.๓.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อการรักษาความมั่นคงของชาติในภาพรวมเนื่องจากจำนวนกำลังพลจะน้อยลง
หน่วยงานด้านความมั่นคงและกองทัพจึงต้องพัฒนาให้ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ๒
เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ประกอบด้วยยุทธศาสตร์สำคัญ ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพ
และพัฒนาระบบที่เอื้อต่อการมีและเลี้ยงดูบุตร (๒) การพัฒนายกระดับผลิตภาพประชากร
(๓) การยกระดับความมั่นคงทางการเงิน (๔) การสร้างเสริมสุขภาวะ
เพื่อลดการตายก่อนวัยอันควรและมีระบบดูแลระยะยาวและช่วงท้ายของชีวิต (๕)
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพกับทุกกลุ่มวัย และ (๖)
การบริหารจัดการด้านการย้ายถิ่นฐาน ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และกระทรวงมหาดไทย เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดของการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่ ๗
การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ในประเด็นการปรับลดกำลังคนภาครัฐ
สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนางานให้มากขึ้น
ควรมุ่งเน้นประเด็นความเหมาะสมและสมดุลของโครงสร้างประชากรทุกกลุ่มวัยให้ชัดเจน เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
13 | รัฐบาลราชรัฐลักเซมเบิร์กเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชรัฐลักเซมเบิร์กประจำประเทศไทย (นายแพทริก เฮมเมอร์) | กต. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายแพทริก เฮมเมอร์ (Mr. Patrick Hemmer) ให้ดำรงตำแหน่ง
เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชรัฐลักเซมเบิร์กประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายฌ็อง-ปอล
เซนนิงเกอร์ (Mr. Jean-Paul
Senninger) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
14 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan : เงินกู้ DPL) สำหรับโครงการจัดทำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) | กค. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
(Development Policy Loan : เงินกู้ DPL) สำหรับโครงการจัดทำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่
(New GFMIS Thai) ของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ออกไปอีก ๖
เดือน จากเดิมที่จะสิ้นสุดภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๕
เป็นสิ้นสุดระยะเวลาการเบิกจ่ายภายในเดือนกันยายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรติดตามเร่งรัดสำนักงานปลัดกระทรวงการคลังให้ดำเนินโครงการและเบิกจ่ายเงินกู้
ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยเคร่งครัดด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||
15 | ผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับนางเอลิซาเบท ทรัสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ | กต. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(นายดอน ปรมัตถ์วินัย) กับนางเอลิซาเบท ทรัสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร
ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๘-๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องติดตามและเร่งรัดการดำเนินการตามผลการหารือฯ
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป โดยมีประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น
การเข้าร่วมหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-สหราชอาณาจักร การทำ MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ
การจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า ไทย-สหราชอาณาจักร
การปรับมาตรการการเดินทางและให้การรับรองวัคซีนโควิด-๑๙ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างกัน
การเข้าร่วม CPTPP กระบวนการ UPR สถานการณ์ในเมียนมา
และประเด็นบบาทของจีนและอินเดีย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม เช่น ควรพิจารณาให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน
ทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักในการประสานงานความร่วมมือระหว่างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของไทยและสหราชอาณาจักร
พิจารณาให้มีการใช้ประโยชน์จากการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านการค้า
การลงทุน และการวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ BCG
ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของไทย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
16 | ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 20 | พณ. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ ๒๐ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล
ซึ่งมีเนการาบรูไนดารุสซาลาม เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยรองนายกรัฐมนตรี
(นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้มอบหมายให้รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
(นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย) เข้าร่วมการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้ (๑) การประชุมระหว่าง AEC Council
และรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล
ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการร่วมมือระหว่างเสาประชาคมและองค์กรรายสาขา
โดยเน้นย้ำการสนับสนุนวิสาหกิจขาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อยให้สามารถใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัลและตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์
(๒) การประชุมระหว่าง AEC Council
ครั้งที่ ๒๐ เช่น ๑) รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการในประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่บรูไนจะผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี
๒๕๖๔ รวม ๑๓ ประเด็น ดำเนินการแล้วเสร็จ ๗ ประเด็น เช่น
การจัดทำกรอบการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนของอาเซียน ๒) รับทราบความคืบหน้าการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนหลังปี
ค.ศ. ๒๐๒๕ เช่น การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นดิจิทัล เทคโนโลยี และนวัตกรรม
สถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และความขาดแคลนทรัพยากร ๓) เห็นชอบข้อเสนอแนะและของคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อผู้นำอาเซียน
เช่น มุ่งเน้นข้อริเริ่มที่มีคุณภาพและพร้อมรับความท้าทายใหม่ ๆ
และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลไกการดำเนินการ ติดตาม และประเมินผล ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
17 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 7 และครั้งที่ 8 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 พฤศจิกายน 2564) | นร.04 | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๗ (ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม-๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๔) และครั้งที่ ๘ (ระหว่างวันที่
๑ มกราคม-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔)
ซึ่งสรุปรายงานดังกล่าวเป็นการรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายหลัก เช่น
การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ
การทะนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย
การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เป็นต้น
และนโยบายเร่งด่วน เช่น การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน
การปรับปรุงระบบสวัสดิการคุณภาพชีวิตของประชาชน
มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม
การยกระดับศักยภาพของแรงงาน การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต
การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ ๒๑
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|