ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 9 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 161 - 180 จากข้อมูลทั้งหมด 249 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
161 | รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน | นร.01 | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทานประจำเดือน
มกราคม-มีนาคม ๒๕๖๕ โดยมีผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น (๑) การรายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน
(มท.) (๒) การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ ๒๐ หน่วยงาน และ (๓) การติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
162 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2502 เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด เพื่อให้บริษัท ขนส่ง จำกัด มีภารกิจด้านการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ | คค. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๑ ตุลาคม ๒๕๐๒ เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด จากเดิมให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
(บขส.) รับภาระเดินเฉพาะรถโดยสาร เป็นให้ บขส. มีภารกิจด้านการขนส่งผู้โดยสาร
และการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคมและบริษัท
ขนส่ง จำกัด รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
เช่น
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นภารกิจหลักขององค์กรเป็นลำดับแรก
ควรทบทวนโครงสร้างอุตสาหกรรมการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง
ควรพิจารณาความเหมาะสมและความพร้อมของ บขส.
ในการเข้าไปดำเนินธุรกิจในลักษณะที่ต้องเข้าไปแข่งขันกับเอกชน
และพิจารณาความสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๕ (๔) ควรดำเนินการภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่และไม่ลงทุนเพิ่ม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
หารือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด อย่างละเอียดรอบคอบ
เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ร่วมกันอย่างเหมาะสมเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
โดยไม่เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนของขอบเขตภารกิจและการลงทุน แล้วให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
เร่งปรับปรุงแผนวิสาหกิจและแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
163 | การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (นายศักดา เนติพัฒน์ และนายจักร บุญ-หลง) | สธ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายศักดา เนติพัฒน์ เป็นกรรมการผู้แทนชุมชน
และ นายจักร บุญ-หลง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว แทนกรรมการผู้แทนชุมชนเดิมที่ขอลาออก และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
ตามลำดับ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
164 | การดำเนินโครงการ “ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์”บนที่ดินราชพัสดุ จังหวัดสมุทรปราการ โดยบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด | กค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมธนารักษ์ และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ดำเนินโครงการ
“ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์” บนที่ดินราชพัสดุ จังหวัดสมุทรปราการ
โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล
(คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน) กรอบงบลงทุนของโครงการฯ ประมาณ ๑,๓๔๕.๙๓๔ ล้านบาท และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ
บนเงื่อนไขที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดเท่านั้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามมติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมเมื่อวันที่
๑ กันยายน ๒๕๖๔ (ตามหนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/ว ๕๕๙๘ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔) รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรเพิ่มกิจกรรมการจ้างงานผู้สูงอายุให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อการสร้างรายได้และพึ่งตนเอง
ควรกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้สามารถนำไปปรับแผนการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและทันต่อบริบทของสังคมผู้สูงอายุ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
165 | ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) | คค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ได้รับการผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้นที่ ๑ เอ เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
(ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ๒. ให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ ๖/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๒
ตุลาคม ๒๕๖๓ อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น กระทรวงคมนาคม
(การรถไฟแห่งประเทศไทย) ต้องปฏิบัติตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
และมติคณะกรรมการชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้
การดำเนินการระยะต่อไปของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
หากมีความจำเป็นต้องขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำหรือการดำเนินการอื่นใดตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วงและเกิดประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมทางรางของประเทศต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
166 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นให้ผู้นำของเข้ามาเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕
ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
โดยได้แก้ไขระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติพิธีการศุลกากรตามมาตรา ๑๐๒
วรรคสอง และมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐
จากเดิมที่กำหนดให้สิ้นสุดในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นให้สิ้นสุดในวันที่
๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
167 | รายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | นร.12 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ยุบเลิกสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ขอให้มอบหมายคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
ดำเนินการเพื่อยุบเลิกหน่วยงานและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
พ.ศ. .... และการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวของคณะรัฐมนตรีให้นำรายงานการประเมินความคุ้มค่า
บทเรียน ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนไปประกอบการพิจารณาด้วย ๒.
ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความละเอียด รอบคอบ ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมาย
และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเกษตรกรและผู้ยากจนที่เข้าร่วมโครงการ
รวมทั้งบุคลากรและทรัพยากรของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ควรเข้ามาเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการแก้ปัญหาที่ดินทั้งประเทศโดยไม่ควรเป็นหน่วยงานที่สำนักงานในทุกจังหวัด
และไม่ควรซื้อที่ดินเอกชนมาดำเนินการเอง ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
168 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2565 | นร.11 สศช | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
169 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 2/2565 | นร.11 สศช | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
170 | (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2580) | นร.11 สศช | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
รับทราบข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรตาม (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว
(พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐) มีประเด็นสำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการไปพร้อมกันด้วย
ดังนี้ ๑.๑.
ปรับปรุงโครงสร้างระบบภาษีให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรที่แรงงานในระบบจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
โดยเฉพาะภาษีเงินได้ ๑.๒.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้กองทุนสวัสดิการสังคมต่าง ๆ
ที่มีอยู่และที่อาจจะตั้งขึ้นในอนาคตมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในขณะที่มีเงินกองทุนเท่าเดิมหรือน้อยลงซึ่งจะส่งผลต่อภาระด้านการเงินการคลังของรัฐในระยะยาว
จึงต้องปรับปรุงระบบสวัสดิการให้เหมาะสม ๑.๓.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อการรักษาความมั่นคงของชาติในภาพรวมเนื่องจากจำนวนกำลังพลจะน้อยลง
หน่วยงานด้านความมั่นคงและกองทัพจึงต้องพัฒนาให้ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ๒
เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ประกอบด้วยยุทธศาสตร์สำคัญ ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพ
และพัฒนาระบบที่เอื้อต่อการมีและเลี้ยงดูบุตร (๒) การพัฒนายกระดับผลิตภาพประชากร
(๓) การยกระดับความมั่นคงทางการเงิน (๔) การสร้างเสริมสุขภาวะ
เพื่อลดการตายก่อนวัยอันควรและมีระบบดูแลระยะยาวและช่วงท้ายของชีวิต (๕)
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพกับทุกกลุ่มวัย และ (๖)
การบริหารจัดการด้านการย้ายถิ่นฐาน ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และกระทรวงมหาดไทย เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดของการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่ ๗
การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ในประเด็นการปรับลดกำลังคนภาครัฐ
สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนางานให้มากขึ้น
ควรมุ่งเน้นประเด็นความเหมาะสมและสมดุลของโครงสร้างประชากรทุกกลุ่มวัยให้ชัดเจน เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
171 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเชล
และน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกัน ตั้งแต่วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม
๒๕๖๕
เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผ่านราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ลดลงโดยตรง
และสะท้อนไปยังราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จะลดลงตามไปด้วย
อันเนื่องมาจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เป็นต้นทุนทางอ้อมลดราคาลง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าว
ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก ตลอดจนรายงาน
ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินมาตรการเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
172 | การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน | นร. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีพิจารณาเห็นว่า
เพื่อเป็นการยกระดับการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้นและสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐
ที่บัญญัติให้ปรับปรุงการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัด
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งพิจารณาทบทวนและปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมและมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ
๕ ประการ (๑ ความสามารถในการสื่อสาร ๒. การคิด ๓. การแก้ปัญหา ๔. การใช้ทักษะชีวิต
และ ๕. การใช้เทคโนโลยี) เช่น
การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นกระบวนการ ทักษะ
คุณลักษณะของผู้เรียนด้วยการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) การมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข
การพัฒนาสมรรถนะของครูในการถ่ายทอดความรู้และการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย
เหมาะสมกับนักเรียน และบริบทของท้องถิ่น
ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาที่เหมาะสมและทันสมัยเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
173 | การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มสาขาอาชีพ 16 สาขา | รง. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง
อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ ๑๑) ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
ซึ่งได้กำหนดค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ๓ กลุ่มสาขาอาชีพ ๑๖ สาขา เช่น
สาขาช่างติดตั้งยิปซัม สาขาช่างเครื่องประดับ (รูปพรรณ) สาขาประกอบขนมอบ
สาขาการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป
โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ ที่เห็นควรมีการพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงานให้ตรงตามความต้องการของตลาดมีการกำหนดมาตรฐานการอบรมให้ความรู้ที่เข็มข้น
มีการทดสอบฝีมือแรงงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้แรงงานได้รับค่าจ้างในอัตราที่เหมาะสมและเสมอภาค
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
174 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | พณ. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ซึ่งได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยได้ดำเนินการพิจารณาแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลลิขสิทธิ์
การประชาสัมพันธ์ การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
การศึกษาแนวทางการให้ความคุ้มครองสิทธิของนักแสดง
การกำหนดแนวทางการดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์
โดยมีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานอย่างเคร่งครัด และได้ส่งเสริมให้เจ้าของลิขสิทธิ์เลือกใช้มาตรการทางเทคโนโลยีที่ไม่เป็นการปิดกั้นการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
175 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 | นร.11 สศช | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑) อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.)
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ
รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โรคโควิด ๑๙) (A001) ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค
สป.สธ.โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ เป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน
๒๕๖๕ (๒) อนุมัติให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการตลาดวิถีอินทรีย์โรงพยาบาลอุตรดิตถ์สู่การสร้างสุขภาวะที่ดีให้ประชาชนโดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ (๓) อนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการคนละครึ่ง โครงการคนละครึ่ง
ระยะที่ ๒ และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ ๓ โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนกันยายน ๒๕๖๕ (๔) อนุมัติให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการฯ จากเดิม
สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕เป็น สิ้นสุดเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ (๕) อนุมัติให้จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดราชบุรี จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดสกลนคร จังหวัดชัยนาท
และจังหวัดสุพรรณบุรี เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญและยกเลิกโครงการภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
โดยในกลุ่มโครงการที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จแต่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ
จำนวน ๓ โครงการ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินการเบิกจ่ายโครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม
๒๕๖๕ และกลุ่มโครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคา ก่อสร้างหรือส่งมอบวัสดุครุภัณฑ์
จำนวน ๖๓ โครงการ
เห็นควรให้กำหนดเงื่อนไขว่าในกรณีที่จังหวัดไม่สามารถลงนามและผูกพันสัญญาได้ภายในเดือนพฤษภาคม
๒๕๖๕ ให้จังหวัดเสนอขอยกเลิกการดำเนินโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน
เพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถบริหารเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓
(พระราชกำหนดฯ พ.ศ. ๒๕๖๓) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๖)
มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ ๑-.๕ เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ และปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ พ.ศ. ๒๕๖๓
(ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯพ.ศ. ๒๕๖๓ พ.ศ. ๒๕๖๓) รวมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ไปดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป
(๗) มอบหมายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาหารือถึงแนวทางการจัดหาแหล่งเงินสำหรับรองรับการปฏิบัติตามกระบวนการตรวจสอบ/การติดตามผู้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
และวินิจฉัยการกระทำที่ผิดเงื่อนไขของโครงการ
รวมถึงโครงการใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ พ.ศ. ๒๕๖๓
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการคนละครึ่งเพื่อให้สามารถกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินการเกี่ยวกับการกู้เงินตามพระราชกำหนดฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ และ (๘) มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย กำกับให้จังหวัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ เร่งดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าของโครงการเศรษฐกิจฐานรากเหลืออีกประมาณ
๔๐๗ โครงการ
พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยเคร่งครัด
ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้หน่วยงานต้นสังกัดกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และ ข้อ ๒๐
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้อีก หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากคลังโดยเร็ว
รวมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ให้ทันต่อสถานการณ์
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
ที่ไม่สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้
เร่งปฏิบัติตามข้อ ๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
176 | ผลการพิจารณาญัตติด่วนขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษากรณีการไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงผลการเจรจาปัญหาระหว่างกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นกับผู้แทนรัฐบาลและตรวจสอบกรณีการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการสลายการชุมนุมต่อกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ของสภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีรับทราบผลการพิจารณาญัตติด่วนขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษากรณีการไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงผลการเจรจาปัญหาระหว่างกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นกับผู้แทนรัฐบาลและตรวจสอบกรณีการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการสลายการชุมนุมต่อกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
ของสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สรุปผลการพิจารณาได้ว่า (๑)
ประเด็นด้านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการดำเนินงานของโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการที่สำคัญโดยเฉพาะการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ริเริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน
ภายใต้การบริหารจัดการของหน่วยงานและกลไกทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (๒)
ประเด็นกรณีที่รัฐบาลไม่ได้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลง หรือ MOU กับผู้ชุมนุมเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น (๓) ประเด็นการสลายการชุมนุม
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบังคับการตำรวจนครบาล ๑ ชี้แจงว่า
การชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘ นั้น
ไม่สามารถกระทำการได้เนื่องจากในขณะนั้นมีการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนแล้ว ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
177 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นางสาวณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ) | นร.04 | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นางสาวณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ
เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีต่ออีกวาระหนึ่ง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๑ มิถุนายน
๒๕๖๕ เป็นต้นไป ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
178 | รัฐบาลญี่ปุ่นเสนอขอแต่งตั้งกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ จังหวัดเชียงใหม่ (นายฮิกูจิ เคอิจิ) | กต. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายฮิกูจิ เคอิจิ (Mr. HIGUCHI Keiichi) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ
จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา แพร่
แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และอุตรดิตถ์
สืบแทน นายฮิโรชิ มัตสึโมโตะ (Mr. Hiroshi Matsumoto) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
179 | ร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล เรื่อง การตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา | กห. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล US-TH-AF-22-0001
สำหรับความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา
ว่าด้วยการตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพ
และให้เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ
โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Power) ให้เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าว
โดยร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนาอันเป็นความสนใจร่วมกันในด้านที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้จากระยะไกลและการประมวลผลสัญญาณ
ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล
US-TH-AF-22-0001 สำหรับความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา
ว่าด้วยการตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ที่ควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
180 | มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดในการซื้อทรัพย์สินคืน (มาตรการฯ REIT buy-back) | กค. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|