ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 248 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2565 | กค. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สรุปได้ ดังนี้ (๑) เป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับปี
๒๕๖๕ คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔)
อนุมัติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ ๑-๓ เป็นเป้าหมายนโยบายการเงิน (๒)
การประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและแนวโน้ม โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ ๑ ปี ๒๕๖๕
ขยายตัวร้อยละ ๒.๒ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และในไตรมาสที่ ๒ ปี ๒๕๖๕
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี ๒๕๖๕ และปี ๒๕๖๖
มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจะขยายตัวที่ร้อยละ ๓.๓ และ ๔.๒ ตามลำดับ
และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี ๒๕๖๕ เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ ๕.๖
ซึ่งสูงกว่ากรอบเป้าหมายและคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยลดลงและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี
๒๕๖๖ ที่ร้อยละ ๒.๕ และเสถียรภาพทางระบบการเงินในช่วงครึ่งแรกของปี ๒๕๖๕
โดยรวมมีเสถียรภาพแต่ยังมีความเปราะบางในบางจุด โดยเฉพาะภาคครัวเรือนและบางภาคธุรกิจที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่
(๓) การดำเนินนโยบายการเงิน ในช่วงไตรมาสที่ ๑ ของปี ๒๕๖๕
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ ๐.๕ ต่อปี
เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง
และเห็นควรผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้มีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และ (๔)
การสื่อสารนโยบายการเงิน ในช่วงครึ่งแรกของปี ๒๕๖๕ กนง.
ได้เน้นการสื่อสารเกี่ยวกับเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลาง
และประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินนโยบายการเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ
เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อนโยบายการเงิน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
82 | มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน | มท. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในวงเงิน ๒,๒๕๗,๙๘๙,๖๐๐ บาท ให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
ใช้จ่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานสูงขึ้น
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๕/๑๖๘๓๐
ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๕) และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพลังงาน
และหน่วยงานรับผิดชอบรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรเร่งรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
83 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ ฯลฯ จำนวน 7 ราย) | กษ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๖ ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ
สับเปลี่ยนหมุนเวียน และทดแทนตำแหน่งที่จะว่าง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม
๒๕๖๕ เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑. นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมปศุสัตว์ ๒. นายปราโมทย์ ยาใจ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ๓. นายประกอบ เผ่าพงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมม่อนไหม ๔. นายอภัย สุทธิสังข์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๕. นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๖. นายสุรเดช สมิเปรม ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
84 | การดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 2610 (ค.ศ. 2021) เรื่อง การต่อต้านการก่อการร้าย | กต. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและการดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Security Council : UNSC) ที่ ๒๖๑๐ (ค.ศ. ๒๐๒๑) เรื่อง
การต่อต้านการก่อการร้าย และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ
และแจ้งผลการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
หรือข้อขัดข้องหรืออุปสรรคในการปฏิบัติตามข้อมติดังกล่าวให้กระทรวงการต่างประเทศทราบ
เพื่อประโยชน์ในการรายงานต่อ UN ต่อไป โดยข้อยุติ UNSC ที่ ๒๖๑๐ (ค.ศ. ๒๐๒๑)
เป็นการกำหนดให้ประเทศสมาชิกของ UN ดำเนินการตามมาตรการในด้านต่าง
ๆ
เพื่อเป็นการป้องกันและตอบสนองต่อสถานการณ์การก่อการร้ายระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปต่อกลุ่มอัลกออิดะห์
(AL-Oaida) และกลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนท์ (ISIL) และบุคคลหรือกลุ่มก่อการร้ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
การดำเนินการด้านการเงิน การคว่ำบาตรทางอาวุธและการดำเนินการด้านเทคโนโลยี
การห้ามเดินทาง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงคมนาคม
ที่เห็นควรให้เพิ่มการเฝ้าระวังเพื่อการป้องปราบการกระทำที่เกี่ยวกับการก่อการร้าย
และยึดหลักการส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชนของทุกคน และให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
85 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายอัครุตม์ สนธยานนท์) | กค. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายอัครุตม์ สนธยานนท์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพสามิต
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่
๓๐ มีนาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
86 | แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ | นร.10 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
87 | กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2566 | นร.11 สศช | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ วงเงินดำเนินการจำนวน ๑,๓๖๓,๙๓๘ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน
จำนวน ๒๗๖,๒๗๔ ล้านบาท ประกอบด้วย (๑)
กรอบการลงทุนสำหรับงานตามภารกิจปกติและโครงการต่อเนื่อง วงเงินดำเนินการ จำนวน ๑,๑๖๓,๙๓๘ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน ๒๒๖,๒๗๔ ล้านบาท และ (๒) กรอบการลงทุนสำหรับการเพิ่มเติมระหว่างปี วงเงินดำเนินการ
จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท เห็นชอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปรับวงเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ
๒๕๖๖ ให้สอดคล้องกับผลการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.
๒๕๖๖ รวมถึงงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบกลาง
หรืองบประมาณที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการงบประมาณหรือได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณแล้ว
และปรับเพิ่มกรอบวงเงินดำเนินการและกรอบวงเงินเบิกจ่ายลงทุนให้สอดคล้องกับการอนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี
เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้ทันทีภายในปีงบประมาณ เห็นชอบมอบหมายให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยประธานสภาพัฒนาฯ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนแปลงงบลงทุนระหว่างปีในส่วนงบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติและโครงการต่อเนื่องที่การเปลี่ยนแปลงไม่มีผลกระทบต่อสาระสำคัญและกรอบวงเงินโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว
เห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ระดับกระทรวง
และระดับรัฐวิสาหกิจโดยให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจรับข้อเสนอแนะในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการและเห็นควรให้รัฐวิสาหกิจรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและการลงทุนปี
๒๕๖๖ให้ สศช. ทราบภายในทุกวันที่ ๕ ของเดือนอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะและความก้าวหน้าการดำเนินโครงการลงทุนทุกไตรมาส
เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้อย่างต่อเนื่อง
และรับทราบประมาณการงบทำการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ ๖๗,๖๙๒ ล้านบาท และประมาณการแนวโน้มการดำเนินงานช่วงปี ๒๕๖๗-๒๕๖๙ ของรัฐวิสาหกิจในเบื้องต้นที่คาดว่าจะมีการลงทุนเฉลี่ยประมาณปีละ
๓๘๓,๙๗๐ ล้านบาท และผลประกอบการจะมีกำไรสุทธิเฉลี่ยประมาณปีละ
๘๐,๔๘๗ ล้านบาท ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงต้นสังกัด รัฐวิสาหกิจ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
รัฐมนตรีเจ้าสังกัดกำกับดูแลและคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
ให้ความสำคัญในการติดตามผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินงานและการเบิกจ่ายกรณีที่มีความล่าช้า
และพิจารณาการดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงให้คณะรัฐมนตรีทราบในโอกาสแรก ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
เพื่อให้การดำเนินโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ
เป็นไปอย่างรวดเร็วตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้
ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นต้องหารือแนวทางปฏิบัติในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างหรือหารือประเด็นข้อกฎหมายไปยังกระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) หรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามแต่กรณี ให้กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง)
และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเร่งพิจารณาและตอบข้อหารือดังกล่าวโดยเร็ว
เพื่อให้รัฐวิสาหกิจนั้น
ๆสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้โดยไม่เกิดความล่าช้าและเสียประโยชน์จากการดำเนินโครงการ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
88 | โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565 | อก. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น
PM 2.5 ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเป็นกรณีเฉพาะเป็นการชั่วคราว
ภายในกรอบวงเงินโครงการ ๘,๓๑๙,๒๓๙,๐๑๐.๐๙ บาท
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงาน
และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป
และเพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเห็นควรให้มีระบบกลไกในการตรวจสอบให้มีมาตรฐาน
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และครบถ้วน รวมทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๗๖๒ ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำกับดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ให้เร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยให้ได้รับเงินโดยด่วน
และขอให้มีการกำกับดูแลการตรวจสอบการจ่ายเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ถูกต้อง ครบถ้วน โดยเคร่งครัด ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนการลดพื้นที่เผาอ้อย
หาแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) อย่างยั่งยืน
เพื่อลดการใช้เงินงบประมาณจากภาครัฐ
บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้
รวมถึงส่งเสริมและหนุนเสริมให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัด
“อ้อยสดคุณภาพดี” ส่งโรงงาน เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๓/๑๓๘ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕)
ที่เห็นควรมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังภาครัฐ
ได้กำหนดให้มีการประชุมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาความจำเป็นของโครงการ
ประกอบด้วย โครงการประกันรายได้ของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา
มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย
โครงการที่เกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร โครงการประกันภัยพืชผล เป็นต้น
และพิจารณาถึงความสามารถของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะต้องตั้งงบประมาณรองรับ
รวมถึงภาระทางการคลัง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนพิจารณาถึงความคุ้มค่า
ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
89 | ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... | ยธ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับเพิ่มและยกเลิกคดีความผิดทางอาญาที่ต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
จากร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยให้ ๑) คงคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๓ ฉบับ
เป็นคดีพเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา
และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร ๒) เพิ่มเติมคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๓
ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
และคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก และ ๓)
ยกเลิกคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๒ ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่
คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นควรให้กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณาเพิ่มเติมความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทางทะเลและชายฝั่ง
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ในร่างกฎกระทรวงนี้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
90 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (1. นางสุพร ตรีนรินทร์ ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | กปร. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(สำนักงาน กปร.) ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๓ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่สำนักงาน กปร. เสนอ ดังนี้ ๑. นางสุพร ตรีนรินทร์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ ๒. นางพิชญดา หัศภาค ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนา
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ ๓. นายหทัย วสุนันต์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๕
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
91 | ร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง | พน. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบต่อร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ ๔๐ และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
จำนวน ๔ ฉบับ ได้แก่ (๑) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน
ครั้งที่ ๔๐ (๒) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนบวกสาม ครั้งที่
๑๙ (๓) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก
ครั้งที่ ๑๖ และ (๔) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง
สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ครั้งที่ ๓ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)
เป็นผู้ให้การรับรองในเอกสารสำหรับการประชุมดังกล่าวกับรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่มประเทศสมาชิกได้
โดยร่างถ้อยแถลงร่วมฯ มีสาระสำคัญ เช่น
ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงการอภิปรายสถานการณ์และแนวทางที่เป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายด้านความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในระยะยาว
ส่งเสริมการสนับสนุนความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศ
เพื่อพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนและข้อตกลงความร่วมมือด้านพลังงานที่เป็นประโยชน์ส่วนรวม
ส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามในด้านการพัฒนาพลังงานสะอาด
พลังงานหมุนเวียน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การแลกเปลี่ยนแนวทางการสำรองน้ำมันและก๊าซ และการเสริมสร้างความยืดหยุ่นของระบบ
เพื่อความมั่นคงทางพลังงานร่วมกันในภูมิภาค เป็นต้น ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารทั้ง ๔ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
92 | ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการเช่ารถยนต์ประจำตำแหน่งเป็นค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่ง และขออนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 เรื่อง ขออนุมัติการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเพื่อเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการ | พน. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายการค่าเช่ารถยนต์ประจำตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน
เป็นค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่ง สำหรับประเด็นการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ กรณีสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานได้จัดทำหนังสือสัญญาเช่ารถประจำตำแหน่งมีระยะเวลาน้อยกว่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบไว้แล้ว
เห็นว่า เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ ได้อนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
กรณีเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการต่ำกว่า ๕ ปี ด้วย
หากการเช่ารถยนต์ประจำตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงานดังกล่าวมีระยะเวลาต่ำกว่า
๕ ปี เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า สำนักนโยบายและแผนพลังงานได้ทำสัญญาเช่ารถยนต์ประจำตำแหน่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา
๔ ปี ๔ เดือน อีกทั้งปัจจุบันได้ยกเลิกสัญญาเช่ารถยนต์ดังกล่าวแล้ว
กรณีนี้จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาแต่อย่างใด ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
และให้กระทรวงพลังงาน (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน) รับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
93 | แถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence (PREZODE) | สธ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence
(PREZODE) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามในแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม PREZODE
มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตจำนงที่จะทำงานร่วมกันของประเทศผู้เข้าร่วมริเริม PREZODE เพื่อป้องกันการเกิดโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากสัตว์
ตามแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ เช่น
การพัฒนาและส่งเสริมการประยุกต์ใช้ที่สอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐
การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสุขภาพหนึ่งเดียว
การส่งเสริมการเปิดตัวโครงการวิจัย นวัตกรรม การศึกษา และการพัฒนา
และการใช้ประโยชน์จากข้อเสนอแนะจากการบริหารจัดการเหตุการณ์ระบาดของโรคก่อนหน้านี้
เพื่อเสริมสร้างเกณฑ์และวิธีการในการเตรียมความพร้อมใหม่ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence
(PREZODE)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นภายใต้แถลงการณ์แสดงเจตจำนงดังกล่าวให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรก
โดยพิจารณาใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามภารกิจเท่าที่จำเป็น คำนึงถึงความประหยัด
และประโยชน์ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
94 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. .... | มท. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการวางแผนและจัดทำผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ
อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อให้ชุมชนเกษตรกรรมที่น่าอยู่
มีความเป็นระเบียบ เป็นศูนย์กลางการผลิต การซื้อขายและบริการทางการเกษตร
ศูนย์บริการท่องเที่ยวเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติด้านตะวันตกของจังหวัด
ศูนย์การค้าและบริการระดับท้องถิ่นที่มีความพร้อมทางสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
และบริการสาธารณะได้มาตรฐานทางผังเมือง โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น
๑๐ ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าควรให้ที่ดินประเภทที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและการพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม มีความเห็นว่าการปรับเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อการจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๗๒ ที่อยู่ติดกับพื้นที่ดังกล่าว
ทั้งในประเด็นประสิทธิภาพการให้บริการของทางหลวง และความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ
จึงต้องมีมาตรการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันผลกระทบดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้
ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ คำนึงถึง กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ
มาตรการการใช้ที่ดินในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ เป็นต้น และควรกำกับดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศดังกล่าวอย่างเข้มงวดต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
95 | ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2565 เพื่อใช้ในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2563 | กษ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.อนุมัติใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๕
ในวงเงิน ๑,๗๔๗,๙๐๓,๒๐๐ บาท (เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทอุดหนุนทั่วไป)
สำหรับเป็นเงินอุดหนุนเกษตรกรของโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี ๒๕๖๓
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๗/๑๑๘๖๔ ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๕)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรกำกับ ติดตาม การดำเนินโครงการให้เป็นไปอย่างโปร่งใส
มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ซ้ำซ้อน
และบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เกิดความยั่งยืน
และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร
ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลของเกษตรกรที่ผ่านการรับรองการผลิตข้าวอินทรีย์ (Organic
Thailand) เพื่อติดตาม
ตรวจสอบความต้องการการทำนาข้าวอินทรีย์และตรวจรับรองระบบมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ได้อย่างต่อเนื่อง
ติดตามและประเมินผลโครงการในทุกมิติ ทั้งด้านคุณภาพชีวิตเกษตรกร ราคาขาย รายได้
และต้นทุนการผลิตของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโดยเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินโครงการ
รวมถึงความยั่งยืนของเกษตรกรที่ยังคงเพาะปลูกข้าวอินทรีย์อย่างต่อเนื่องภายหลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการ
และเร่งปรับปรุงขั้นตอนในการรับรองพันธุ์ข้าวให้รวดเร็วขึ้น
ตลอดจนความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการพัฒนาการผลิตให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกไปยังต่างประเทศ
และการนำผลผลิตมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงในอนาคต ไปดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
96 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในท้องที่ 13 จังหวัดชายฝั่งทะเล | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓
กรกฎาคม ๒๕๓๔ (เรื่อง
รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศไทย) วันที่ ๒๒
สิงหาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง
มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๔๓ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
เพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ในท้องที่ ๑๓ จังหวัดชายฝั่งทะเล
เพื่อนำที่ดินที่เป็นป่าชายเลน เนื้อที่รวม ๕๗๓-๓-๗๘ ไร่
ไปดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และข้อเสนอแนะของกระทรวงคมนาคม
เช่น ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่
และการคัดกรองคุณสมบัติของราษฎรว่าเป็นผู้ยากไร้หรือไม่มีที่ดินทำกิน
ตลอดจนการสงวนพื้นที่ที่ยังคงสภาพความเป็นพื้นที่ป่าชายเลนหรือป่าชายหาด
รวมถึงการกำหนดให้มีมาตรการป้องกันและคุ้มครองการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มเติมภายหลังจากที่ได้ดำเนินการตามเป้าหมายการจัดการที่ดินทำกินให้ชุมชนดังกล่าว
ควรกำหนดให้ชุมชนที่ได้รับอนุญาตให้ทำกินในป่าชายเลนดังกล่าวมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้มากยิ่งขึ้นจากที่เป็นอยู่ด้วย
เพื่อให้การใช้ประโยชน์ป่าชายเลนเป็นไปอย่างยั่งยืน หน่วยงานดำเนินการตามมาตรา ๖๒
ห้ามมิให้ผู้ใดทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ผิดไปจากสภาพที่เป็นอยู่เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่
เพื่อให้การจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนเป็นไปอย่างถูกต้องตามพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
97 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 | ตช. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน
๑๔๑.๔๒ ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม
ระหว่างวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการอย่างสุจริต โปร่งใส มีประสิทธิภาพ
ตรวจสอบได้
รวมทั้งให้พิจารณาจัดอัตรากำลังพลในการปฏิบัติภารกิจดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุมให้มีความเหมาะสม
ประหยัด และสอดคล้องกับสถานการณ์การชุมนุมสาธารณะที่มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและศูนย์ปฏิบัติการ
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ที่เห็นว่าหากมีการพิจารณาตรวจสอบรายการ
กลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด จะทำให้การสนับสนุนงบประมาณเกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องอยู่บนพื้นฐานการกระทำที่ได้สัดส่วนและการกระทำเท่าที่จำเป็น
โดยคำนึงถึงความสมดุลในการรักษาความมั่นคงของประเทศควบคู่กับการรักษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้เหมาะสมตามหลักนิติรัฐ
ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
98 | ผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2565 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2022) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค
ประจำปี ๒๕๖๕ (Ministers
Responsible for Trade Meeting 2022) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่
๑๙-๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน
และมอบหมายหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นและดำเนินการในประเด็นสำคัญ เช่น (๑)
การหารือภาครัฐ-ภาคเอกชนระหว่างรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC
Business Advisory Council : ABAC) เกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก
(Free Trade Area of the Asia-Pacific : FTAAP) จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องในประเด็นต่าง ๆ เช่น การใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
(Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) และความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก
(Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership : CPTPP)
เป็นแนวทางในการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free
Trade Area of the Asia-Pacific : FTAAP) และ (๒)
วาระการอยู่ร่วมกับโควิด-๑๙ และอนาคต
โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นสำคัญที่จะเป็นแนวนโยบาย/มาตรการเพื่อส่งเสริมให้เขตเศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวจากโควิด-๑๙
เป็นต้น ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เห็นควรพิจารณาปรับแก้ถ้อยคำภาษาไทยของแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปคในบางถ้อยคำ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
๒. ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับประเด็นการขจัดการอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่มีประสิทธิภาพในปี
๒๕๖๕ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสมต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
99 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี | พม. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นเงินทั้งสิ้น
๒๗๙,๓๘๑,๐๐๐ บาท
เพื่อเป็นเงินอุดหนุนสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี
ที่ค้างจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวนทั้งสิ้น ๙๓,๑๒๗ ราย
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
100 | ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร พ.ศ. .... | ศย. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร วันจันทร์ที่
๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕
ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.
.... ต่อรัฐสภาเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|