ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 248 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน (นายกิตติพงศ์ บุญยิ่ง) | กค. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายกิตติพงศ์ บุญยิ่ง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหารความเสี่ยงหรือการประกันภัย)
ในคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงการคลังดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชนให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย
ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (เรื่อง
การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)
|
|||||||||||||||||||||||||||
62 | ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. .... (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) | สผ. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓
เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ พ.ศ. .... โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภาผู้แทนราษฎร
เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักการของร่างพระราชบัญญัติฯ บางประการ และคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบและการเร่งรัดการให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา
การพิจารณากำหนดกลไกการกระจายอำนาจการบริหารจัดการการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาให้สมบูรณ์และครบถ้วน
การกำหนดกลไกและมาตรการในการกำกับและติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา
การศึกษาความจำเป็นถึงการมีอยู่ของศึกษาธิการภาค
และการพิจารณาทบทวนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ ๒.
ให้กระทรวงศึกษาธิการรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||
63 | ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. .... (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา) | สว. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓
เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ พ.ศ. .... โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภาผู้แทนราษฎร
เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักการของร่างพระราชบัญญัติฯ บางประการ และคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบและการเร่งรัดการให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา
การพิจารณากำหนดกลไกการกระจายอำนาจการบริหารจัดการการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาให้สมบูรณ์และครบถ้วน
การกำหนดกลไกและมาตรการในการกำกับและติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา
การศึกษาความจำเป็นถึงการมีอยู่ของศึกษาธิการภาค
และการพิจารณาทบทวนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ ๒.
ให้กระทรวงศึกษาธิการรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||
64 | หลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ | นร.10 | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามมติคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมและสำนักงาน ก.พ.
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาประเด็นในหลักสูตรการอบรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่ได้จัดทำอยู่แล้ว
และกำหนดแนวทางการนำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับหน่วยงานแต่ละประเภทด้วย
จึงจะเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีมาตรฐานจริยธรรมในระดับเดียวกันได้
ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางดำเนินการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
แล้วให้แจ้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล
และองค์กรอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||
65 | ร่างถ้อยแถลงผู้นำอาเซียนว่าด้วยปีแห่งเยาวชนอาเซียน พ.ศ. 2565 เพื่อเสริมสร้างบทบาทของเยาวชนในการสร้างประชาคมอาเซียน | พม. | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||
66 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนเกาะสุกร จังหวัดตรัง พ.ศ. .... | มท. | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนเกาะสุกร จังหวัดตรัง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลเกาะสุกร อำเภอบางปะเหลียน จังหวัดตรัง
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค การบริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับการส่งเสริมให้เกาะสุกรเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของจังหวัดตรัง
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๑๑
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎ
หรือระเบียบและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และควรคำนึงถึงกฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ และมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในการพิจารณาอนุญาตกิจการต้องคำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับ
และติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังมืองรวมชุมชนเกาะสุกรให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
67 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นางวรวรรณ ชิตอรุณ ฯลฯ จำนวน 4 ราย) | อก. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๔ ราย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้ ๑. นางวรวรรณ ชิตอรุณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ๒. นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ๓. นายจุลพงษ์ ทวีศรี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ๔. นายวันชัย พนมชัย ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
|||||||||||||||||||||||||||
68 | การรับรองร่างเอกสารวาระบาหลี 2022 : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy) | วธ. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างเอกสารวาระบาหลี ๒๐๒๒ : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali
Agenda 2022 : A Global Roadmap for Creative Economy) เพื่อให้ทันต่อกำหนดเวลาในการรับรองเอกสารวาระบาหลี
๒๐๒๒ : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali
Agenda 2022 : A Global Roadmap for Creative Economy)
ระหว่างการประชุม World Conference on Creative Economy
ครั้งที่ ๓ วันที่ ๕-๗ ตุลาคม ๒๕๖๕ ซึ่งจะจัดขึ้นในรูปแบบผสมผสาน ณ Bali
International Convention Center (BICC) เมืองบาหลี
สาธารณรัฐอินโนนีเซีย และอนุมัติให้ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างเอกสารวาระบาหลี
๒๐๒๒ : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali
Agenda 2022 : A Global Roadmap for Creative Economy) ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารวาระบาหลี ๒๐๒๒ : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022 :
A Global Roadmap for Creative Economy)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒. ให้กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
(องค์การมหาชน)
บูรณาการและขับเคลื่อนการดำเนินการด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยในภาพรวม
ให้สอดคล้องและเป็นไปตามแนวทางการประชุม World Conference on Creative Economy (WCCE) ครั้งที่
๓ และแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
(องค์การมหาชน) ต่อไป ๓.
ให้กระทรวงวัฒนธรรมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||
69 | ขอความเห็นชอบการจัดทำและลงนามร่างความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศที่ครอบคลุมระหว่างรัฐสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกและร่างเอกสารบันทึกการหารือ | คค. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||
70 | รายงานสรุปผลการพิจารณาการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2564 | สม. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
กรณีการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๔
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๒๔๗ วรรค ๒
และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ซึ่งได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเมื่อวันที่ ๒๑
เมษายน ๒๕๖๕ โดยมีผลสรุปในภาพรวมว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นข้อยกเว้น
เพื่อใช้ควบคุมสถานการณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่ง
ซึ่งมีกลไกทางกฎหมายที่จะเข้ามามีการควบคุม ดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม
โดยผ่านกระบวนการพิจารณาและกลั่นกรองตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทุกขั้นตอนแล้ว
และจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่รัฐบาลจะใช้เพื่อควบคุมสถานการณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น
สำหรับการเร่งรัดจัดทำกฎหมายหรือระเบียบกลางในการช่วยเหลือเยียวยาที่ครอบคลุมทุกกรณี
กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำกฎหมายกลางดังกล่าว
รวมทั้งเห็นควรให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(กรุงเทพมหานคร) ร่วมกันกำหนดแนวทางในการหารือกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนและแสวงหาทางออกร่วมกันและลดแรงกดดันต่าง
ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||
71 | การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) | กก. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
72 | ร่างถ้อยแถลงร่วมการหารือระดับรัฐมนตรีอาเซียน - สหรัฐอเมริกาว่าด้วยความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรี (Joint Statement of the ASEAN – U.S. Ministerial Dialogue on Gender Equality and Women’s Empowerment) | พม. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||
73 | ขออนุมัติเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันรายการค่าเช่าที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (แห่งใหม่) | ตผ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๕
ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการกรณีหน่วยงานของรัฐผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้จัดให้ส่วนราชการเช่าใช้ประโยชน์
โดยปรับปรุงอัตราค่าเช่าเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ ๓ ต่อปี
โดยขอกำหนดอัตราเช่าที่ดินต่อตารางเมตรในอัตราเดียวกับสัญญาเช่าที่ดินเดิมที่กำหนดให้ปรับเพิ่มอัตราค่าเช่าร้อยละ
๕ ต่อปี และเพิ่มวงเงินค่าเช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทสไทยย่านพหลโยธิน
จากเดิมวงเงิน ๕๘๒,๘๐๖,๑๗๔.๑๒ บาท เป็นวงเงิน ๗๖๔,๑๙๒,๙๙๖ บาท ตามนัยข้อ ๗ (๓) ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอ โดยภาระค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖
เห็นควรให้สำนักงานการตรวจแผ่นดินปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรร เปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร
หรือใช้จ่ายจากเงินรายได้ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้วแต่กรณี
ส่วนภาระงบประมาณในปีต่อไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายในแต่ละปีให้ครบถ้วนตามวงเงินในสัญญาเช่าที่ดิน
ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๕/๙๐๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๕)
ทั้งนี้ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงมหาดไทย ที่เห็นควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การใช้จ่ายเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
74 | ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. .... | สผ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||
75 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง
นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง
นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง
และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นมีสิทธิขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
(Smart Visa) เพื่อให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมของ
Smart Visa
และอุตสาหกรรมเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๐ พร้อมทั้งเพิ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีศักยภาพสูงในอนาคต (เดิมจาก ๑๓
อุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็น ๑๘ อุตสาหกรรมเป้าหมาย) ทั้งนี้
เพื่อให้สอดล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
76 | ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. .... | สว. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||
77 | การแต่งตั้งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (นายก้องศักด ยอดมณี) | กก. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายก้องศักด
ยอดมณี ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ตามมติคณะกรรมการ
กกท. ครั้งที่ ๗/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม
๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๙ ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
78 | แนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม | นร.08 | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม
โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานการจัดทำแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้อง
เพื่อส่งเสริมสังคมไทยอยู่ร่วมกันโดยเคารพความแตกต่างหลากหลาย
โดยให้ความสำคัญกับหลักการอดทนอดกลั้นและยึดมั่นแนวทางสายกลาง
อันจะเป็นการป้องกันและรับมือกับการบ่มเพาะแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงทุกรูปแบบ
โดยมียุทธศาสตร์หลัก ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การป้องกัน (Pervention)
มุ่งเน้นการเฝ้าระวังความขัดแย้งและการเผยแพร่อุดมการณ์/แนวคิดที่นิยมความรุนแรง
(๒) การยับยั้ง (Deterring) มุ่งเน้นลดปัจจัยทางการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม และขจัดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การมีแนวคิดที่นิยมความรุนแรง และ (๓)
การฟื้นฟูเยียวยา (Rehabilitation)
การนำผู้ที่มีแนวคิดที่นิยมความรุนแรงให้กลับเข้าสู่สังคม ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ปรับแนวทางในส่วนที่มอบหมาย
เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง
การยับยั้งปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง และการฟื้นฟูเยียวยากลุ่มเสี่ยงเพื่อเตรียมพร้อมกลับคืนสู่สังคม
อาทิ จำนวนสถานการณ์การชุมนุมที่มีการใช้ความรุนแรง
จำนวนเยาวชนและบุคคลทั่วไปที่เป็นผู้กระทำความผิดให้กลับคืนสู่สังคม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
79 | ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และการสมัครเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ภายใต้กรรมสารเจนีวา ค.ศ. 1999 | พณ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
80 | ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.12 | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน
(Joint
KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยมีกรอบแนวทางและเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
รวมทั้งกำหนดการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพิ่มเติมจากปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ ใน ๓ ประเด็น ได้แก่ (๑) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (๒)
การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และ ๓) การท่องเที่ยว
และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนตัวชี้วัดดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายต่อไป
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกับสำนักงาน
ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.
รวมทั้งข้อสังเกตและความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ให้ครอบคลุมภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
และควรมีการทบทวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวชี้วัดเป็นระยะ
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |