ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 248 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | การร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง | พน. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving
Terminal (แห่งที่ ๒) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง
จังหวัดระยอง ในสัดส่วนร้อยละ ๕๐ โดยมีมูลค่าเงินลงทุนตามสัดส่วนดังกล่าวไม่เกิน
๑๖,๓๕๐ ล้านบาท และ กฟผ. ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนตามแผนการประมาณการเบิกจ่ายประจำปี
๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงาน และ กฟผ.
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจที่เห็นควรให้ กฟผ.
กำหนดขอบเขตการดำเนินงานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้
และ กฟผ.
ควรกำกับดูแลบริษัทในเครือให้ดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งเป้าหมายการดำเนินงาน
สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และไม่เป็นภาระทางการเงินกับ กฟผ. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. อนุมัติในหลักการการยกเว้นภาษี
เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้าง
การจัดตั้งบริษัทฯ และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจากการร่วมทุนในบริษัทดังกล่าว
ทั้งนี้
ในส่วนของการลดหย่อนค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนการจำนองให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
และให้กระทรวงพลังงาน และ กฟผ. ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างเคร่งครัด
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | การดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ | กค. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบการขยายกรอบการดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ กรณีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
รูปแบบโครงการเช่าระยะสั้น (Rental) บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่
กท. ๕๐๕๐ และ ส.กท. ๘๒๗ (บางส่วน) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ออกไปอีก ๓
ปี ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลโดยเคร่งครัดต่อไป ควรติดตามและเร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ขยายกรอบในการดำเนินโครงการไว้เพื่อสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนมีความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย
และสามารถใช้ประโยชน์บนที่ดินราชพัสดุได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ควรมีกระบวนการคัดกรองลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม
บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด
และติดตามผลการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. เห็นชอบให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินแยกบัญชีโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ
เป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาล (PSA)
และไม่นับรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs)
ที่เกิดจากการดำเนินโครงการเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของธนาคาร
รวมทั้งให้สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐบวกกับกำไรสุทธิเพื่อการคำนวณโบนัสพนักงานได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | ร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ฉบับที่) พ.ศ.
.... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
พ.ศ. ๒๕๐๓
เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจการดำเนินการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้มีความเหมาะสมและปรับปรุงบทนิยาม
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการ กรรมการ และผู้ว่าการ แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปรับปรุงกรอบวงเงินกู้ยืมเงินและการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีให้เหมาะสม
รวมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับระบบบัญชีและการสอบบัญชีที่ล้าสมัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ๓.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงพลังงาน ที่เห็นว่าการให้กู้ยืมเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
แก่บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจัดตั้งหรือถือหุ้น
ต้องกระทำด้วยความรอบคอบ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 จังหวัด | ศธ. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดให้กรุงเทพมหานคร
จังหวัดจันทบุรี จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสงขลา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหัวดอุบลราชธานี
เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเสนอ
และให้คณะกรรมการนโยบายการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุนและผลประโยชน์
เสถียรภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ สำหรับการจัดสรรงบประมาณให้กับนวัตกรรมการศึกษา
ควรเร่งรัดการดำเนินการที่จะช่วยลดปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาร่วมกัน
อาทิ
การออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่สถานศึกษานำร่องถึงอำนาจตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๒
และการกำหนดบทบาทในการขับเคลื่อนของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาให้มีความชัดเจนมากขึ้น
สำหรับการขอรับจัดสรรงบประมาณให้นำผลประเมินผลการดำเนินงานในช่วง ๓ ปี ตามมาตรา ๔๐
มาประกอบการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
โดยคำนึงถึงศักยภาพและความพร้อมของสถานศึกษาแต่ละพื้นที่ ความคุ้มค่า ความซ้ำซ้อน ความครอบคลุมทุกแหล่งเงิน
รวมถึงการสร้างความรับรู้และความเข้าใจในทุกมิติถึงประโยชน์ที่ทุกภาคส่วนจะได้รับเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | วธ. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดย (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ
มีสาระสำคัญเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม/การทำความดีที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
เพื่อให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ พัฒนาระบบ และการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรม
และเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนและองค์กรเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน
ก.พ. และข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ควรเพิ่มเติมในเรื่องของนวัตกรรม
ในแนวทางการพัฒนาที่ ๓ ด้วย
เพื่อให้ครอบคลุมการส่งเสริมให้การวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
โดยปรับเป็น “ส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม และพัฒนา...” ให้กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดในการดำเนินการจัดทำแผนจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมในพื้นที่ ตามนโยบาย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร
หรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ให้ทุกหน่วยงานจัดกิจกรรมจิตอาสาส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) | คค. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ ๓ วงเงินลงทุน ๓๖,๘๒๙.๔๙๙ ล้านบาท (รวมสำรองราคาเปลี่ยนแปลงร้อยละ
๑๐ ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗ และดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง ๙๒๑.๖ ล้านบาท) ของบริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กองทัพเรือ และกรมท่าอากาศยานรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/๓๙๑๑
ลงวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคุ้มค่าในการลงทุน
รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับคนทั้งมวลควบคู่ไปกับการดำเนินการพัฒนา
ควรหาแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารจัดการท่าอากาศยาน
การพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการ การนำเทคโนโลยีมาช่วยการบริหารจัดการ การบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานต่าง
ๆ
เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นและรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นในอนาคต
ควรดำเนินการส่งแผนผังบริเวณ แบบแปลน
และรายการประกอบแบบแปลนที่ถูกต้องและเป็นไปตามกฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น
หรือประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. ๒๕๒๒ จำนวน ๒ ชุด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนทำการก่อสร้างไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้
ในส่วนของการออกแบบท่าอากาศยานดอนเมืองให้กระทรวงคมนาคม [บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)]
ให้ความสำคัญกับการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับอาคารผู้โดยสารหลังใหม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติด้านความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อยกระดับท่าอากาศยานดอนเมืองให้เป็นท่าอากาศยานชั้นนำของโลก (World
Class Airport) ที่สามารถสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคม [บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)] ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกบูรณาการการใช้ประโยชน์โครงข่ายท่าอากาศยานที่มีอยู่
ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง
และท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่พัฒนาแล้วและที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
เพื่อให้การกระจายตัวของเที่ยวบินและผู้โดยสารเป็นไปตามศักยภาพของแต่ละท่าอากาศยาน
ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมมาตรฐานของระดับการให้บริการ (Level of Service) ของท่าอากาศยานทุกแห่งได้อย่างเหมาะสมด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ด้านระบบราง | คค. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน
โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ด้านระบบราง (Memorandum of
Cooperation between the Ministry of Transport of the Kingdom of Thailand and
the Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism of Japan in the
field of Railways) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย
โดยร่างบันทึกความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจร่วมกันด้านนโยบาย
กฎหมายและระเบียบ
การพัฒนาและเตรียมการจัดตั้งสถาบันด้านระบบรางในราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่น
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีเฉพาะด้านที่มีความสนใจร่วมกัน
และสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความร่วมมือฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมอบหมายให้กรมการขนส่งทางรางร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง
(องค์การมหาชน)
พิจารณาแนวทางการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีเฉพาะด้านภายใต้ร่างบันทึกความร่วมมือฯ
เพื่อช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งของประเทศ
และการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องได้อย่างเป็นรูปธรรม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะและกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์) | กค. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะและกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์)
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์
โดยจัดเก็บในอัตราครึ่งหนึ่งของอัตราตามประมวลรัษฎากรในการจัดเก็บปีแรกแล้วจัดเก็บในอัตราตามประมวลรัษฎากรในการจัดเก็บปีต่อ
ๆ ไป
และคงการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์บางกลุ่ม
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามและประเมินผลกระทบของมาตรการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
และสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์
ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวม 2 ฉบับ | กค. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา
๑๐ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา
และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ และรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา ๘ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป ๒.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565)] | ปสส. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน
ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 22 | กต. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแถลงการณ์ธากา
(Dhaka Communique) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Rim Association Council of Ministers : IORA COM) ครั้งที่ ๒๒ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ กรุงธากา
สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างแถลงการณ์ฯ โดยร่างแถลงการณ์ฯ
มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิก ได้แก่
(๑) รับทราบผลการดำเนินงานของกลไกต่าง ๆ
ภายใต้สมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) และการแก้ไขปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (๒)
รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
ฉบับที่สอง (ค.ศ. ๒๐๒๒-๒๐๒๗) (๓)
รับทราบการรับรองคำมั่นว่าด้วยความเท่าเทียมทางเพศของสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียในวันสตรีสากล
(๔) รับรองซาอุดีอาระเบียเป็นหุ้นส่วนคู่เจรจา ลำดับที่ ๑๑ ของสมาคมฯ และ (๕)
เห็นชอบการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการประชุมคณะกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโสและสภารัฐมนตรีสมาคมฯ
และการปรับปรุงการบริหารจัดการของสมาคมฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | การปรับลดปริมาณงานภายใต้โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 3 (คพส.9.3) และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 1 (คพจ.1) | มท. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการปรับลดปริมาณงานภายใต้โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า
ระยะที่ ๙ ส่วนที่ ๓ (คพส.๙.๓) และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย
ระยะที่ ๑ (คพจ.๑) ในวงเงินลงทุนรวม ๑,๘๒๙.๖๐ ล้านบาท ได้แก่ ปรับลดแผนงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่ง ๑๑๕ kV
จำนวน ๕ แห่ง วงเงินลงทุนรวม ๑,๖๙๗.๗๑ ล้านบาท
และปรับลดปริมาณงานจัดซื้อที่ดินล่วงหน้าที่มีการอนุมัติยกเลิกจัดซื้อแล้ว จำนวน
๑๐ แห่ง วงเงินลงทุนรวม ๑๓๑.๘๙ ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทย
(การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) รับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงาน ที่เห็นควรพิจารณาปรับลดวงเงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศเป็นอันดับแรก
และเร่งการดำเนินโครงการทั้ง ๒ โครงการ ให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้
พร้อมทั้งติดตามและประเมินความต้องการการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อรักษาประสิทธิภาพและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศในระยะยาวต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการตอ่ไป ๒. ให้กระทรวงพลังงานและคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการเร่งจัดทำระเบียบ
และข้อบังคับที่ชัดเจน เพื่อให้ Prosumer รายงานข้อมูลการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองหรือขายให้แก่ลูกค้าโดยตรง
ซึ่งจะช่วยให้ภาครัฐมีข้อมูลในการกำกับและติดตามสถานการณ์ รวมถึงให้ทั้ง ๓
การไฟฟ้าสามารถเตรียมแผนรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบและรับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐ (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ ๒ จำนวน ๑๑ จังหวัด และให้หน่วยงานที่มีดินอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่ตามแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จ ภายใน ๓๖๐ วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ตามเหตุผลความจำเป็นแต่ไม่เกิน
๑๘๐ วัน หากมีผู้ใดได้รับผลกระทบดังกล่าว
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
รวดเร็ว เหมาะสม ตามควรแก่กรณี โดยเป็นไปตามกฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีราษฎรถือครองทำกิน พื้นที่ที่มีศักยภาพทำการเกษตรไม่คุ้มค่า
พื้นที่หล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ และพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกันนั้น
ขอให้กันไว้ใช้ในกิจกรรมของกรมป่าไม้ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม
๒๕๓๗ ในการเสนอออกกฎหมายของหน่วยงาน
ควรพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายที่จะให้การรับรองและความคุ้มครองหน่วยงานของรัฐ
เจ้าหน้าที่รัฐ
และผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ
และควรมีการกำกับและติดตามผลการดำเนินการเพื่อให้สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จเป็นไปตามแผนที่วางไว้และเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมพัฒนาที่ดิน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดพิจารณาแนวทางการดำเนินการ
กรณีพื้นที่กันออกจากป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ที่ทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ [เรื่อง
การจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดขอนแก่น (เฉพาะแห่ง)] ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน
ถูกต้อง ตรงกัน รวมทั้งให้เร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวให้แล้วเสร็จและเป็นรูปธรรมโดยเร็วด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี | ทส. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
สมัยที่ ๗ (The Seventh Session of the Committee on
Environment and Development : CED 7) ระดับรัฐมนตรี
เห็นชอบในหลักการต่อร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ และภาคผนวกของปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ (Annex) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙
พฤศจิกายน -๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
และผ่านระบบการประชุมทางไกล มีสาระสำคัญเป็นการสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านมลพิษทางอากาศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
ตามหลักการที่กำหนดไว้ในปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ และอนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ และภาคผนวกของปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการปกป้องโลกของเราผ่านความร่วมมือระดับภูมิภาคและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
และร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยมลพิษอากาศ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าร่างปฏิญญาฯ
แผนการดำเนินงานฯ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐
และให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และน้ำมันอื่น ๆ
ที่คล้ายกัน ในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่
๐๑.๐๕ รายการน้ำมันดีเซลที่มีกำมะถัน
และรายการน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลที่สะท้อนต้นทุนตามข้อเท็จจริง เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงภาระการชดเชยต้นทุนส่วนต่าง
ตลอดจนความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรเสนอมาตรการจัดหารายได้เพื่อชดเชยการสูญเสียรายได้ที่เกิดจากการลดภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่น
ๆ ที่คล้ายกันให้มีความชัดเจน หรืออาจทยอยผ่อนคลายการดำเนินมาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการช่วยเหลือประชาชนในมิติอื่น
เพื่อบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนที่จะปรับตัวสูงขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2565 | นร.11 สศช | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ในคราวประชุมครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ที่มีมติเกี่ยวกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ กรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ของกระทรวงมหาดไทย
ให้จังหวัดภูเก็ตเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ จำนวน ๖ โครงการ
ให้จังหวัดระนอง จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดกาฬสินธุ์
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
โดยการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปริมาณงานและรายละเอียดโครงการ จำนวน ๔ โครงการ
(จังหวัดละ ๑ โครงการ) ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่งกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น (๑)
ให้หน่วยงานเร่งรัดการดำเนินการแผนงาน/โครงการตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติไว้
(๒)
ให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการในการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
(๓) โครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบและส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | ร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวระหว่างไทยและญี่ปุ่น และข้อริเริ่มความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น | พน. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวระหว่างไทยและญี่ปุ่น
และข้อริเริ่มความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว
ระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม
ประเทศญี่ปุ่น (Memorandum of Cooperation on Thailand-Japan
LNG Upstream Investment and LNG Tank Cooperation Initiative between the
Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Economy,
Trade and Industry of Japan) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)
เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือฯ โดยร่างบันทึกความร่วมมือฯ มีสาระสำคัญเป็นการขยายความร่วมมือด้านการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวและความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวในประเทศไทย
เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานระหว่างคู่ภาคีและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความร่วมมือฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งคำนึงถึงแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ ๒
ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งระหว่างไทย-เวียดนาม พ.ศ. 2565–2570 | กต. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งระหว่างไทย-เวียดนาม
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ (Plan of Action on Implementing the
Thailand-Viet Nam Strengthened Strategic Partnership 2022-2027) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการลงนามแผนปฏิบัติการฯ ในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ โดยร่างแผนปฏิบัติการฯ
มีสาระสำคัญในการกำหนดแนวทางการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันอย่างรอบด้าน
ร่วมกันระบุถึงสาขาความร่วมมือทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง
และความสัมพันธ์ในระดับประชาชน ที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นส่งเสริมและต่อยอดความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง
ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือกับแผนงานความร่วมมือต่าง ๆ
ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
๖ ประเทศ (GMS) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนปฏิบัติการฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานตามร่างแผนปฏิบัติการฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | ร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นในระยะ 5 ปี และร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เรื่อง การยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน | กต. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นในระยะ
๕ ปี และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมฯ
ในห้วงวันที่ ๑๖-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ และเห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
เรื่อง การยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน และให้นายกรัฐมนตรีร่วมรับรองในร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
ในการหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในห้วงวันที่ ๑๗-๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นในระย
๕ ปี และร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เรื่อง
การยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
และจะต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานกรอบความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณสุขและภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | อว. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|