ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 13 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 241 - 248 จากข้อมูลทั้งหมด 248 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
241 | ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 20 | พณ. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ ๒๐ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล
ซึ่งมีเนการาบรูไนดารุสซาลาม เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยรองนายกรัฐมนตรี
(นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้มอบหมายให้รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
(นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย) เข้าร่วมการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้ (๑) การประชุมระหว่าง AEC Council
และรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล
ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการร่วมมือระหว่างเสาประชาคมและองค์กรรายสาขา
โดยเน้นย้ำการสนับสนุนวิสาหกิจขาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อยให้สามารถใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัลและตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์
(๒) การประชุมระหว่าง AEC Council
ครั้งที่ ๒๐ เช่น ๑) รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการในประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่บรูไนจะผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี
๒๕๖๔ รวม ๑๓ ประเด็น ดำเนินการแล้วเสร็จ ๗ ประเด็น เช่น
การจัดทำกรอบการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนของอาเซียน ๒) รับทราบความคืบหน้าการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนหลังปี
ค.ศ. ๒๐๒๕ เช่น การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นดิจิทัล เทคโนโลยี และนวัตกรรม
สถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และความขาดแคลนทรัพยากร ๓) เห็นชอบข้อเสนอแนะและของคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อผู้นำอาเซียน
เช่น มุ่งเน้นข้อริเริ่มที่มีคุณภาพและพร้อมรับความท้าทายใหม่ ๆ
และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลไกการดำเนินการ ติดตาม และประเมินผล ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
242 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. .... | อก. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร
รวม ๓ รายการ ได้แก่ ๑) ค่าจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร ๒)
ค่าเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนซึ่งเจ้าพนักงานได้ประทับหรือทำไว้ที่เครื่องจักร
และ ๓) ค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง ให้แก่เจ้าของเครื่องจักร
ออกไปอีก ๑ ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒๑
มกราคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรเร่งสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนการรายงาน ติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินมาตรการดังกล่าว
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณายกเว้นค่าธรรมเนียมรายการค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง
หรือค่าธรรมเนียมอื่นซึ่งมีลักษณะเป็นค่าบริการในพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร
พ.ศ. ๒๕๑๔
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ ในโอกาสต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
243 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 7 และครั้งที่ 8 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 พฤศจิกายน 2564) | นร.04 | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๗ (ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม-๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๔) และครั้งที่ ๘ (ระหว่างวันที่
๑ มกราคม-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔)
ซึ่งสรุปรายงานดังกล่าวเป็นการรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายหลัก เช่น
การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ
การทะนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย
การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เป็นต้น
และนโยบายเร่งด่วน เช่น การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน
การปรับปรุงระบบสวัสดิการคุณภาพชีวิตของประชาชน
มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม
การยกระดับศักยภาพของแรงงาน การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต
การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ ๒๑
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
244 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 | นร.11 สศช | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุมครั้งที่
๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๕ ประกอบด้วย (๑) อนุมัติให้กรมควบคุมโรค
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ดังนี้ (๑)
โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) สำหรับบริการประชาชนในประเทศไทย
เพิ่มเติม จำนวน ๒๐,๐๐๑,๑๕๐ โดส (Pfizer) โดยขยายระยะเวลาดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงิน จากเดิม
สิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดภายในเดือนมกราคม ๒๕๖๕ และ (๒)
โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด ๑๙ (COVID-๑๙) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย
เพิ่มเติม จำนวน ๙,๙๙๘,๘๒๐ โดส (Pfizer) โดยขยายระยะเวลาดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงิน จากเดิม
สิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจรับวัคซีน
และรวบรวมเอกสารสำหรับประกอบการเบิกจ่าย
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้
เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดให้กรมควบคุมโรค เร่งรัดการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่ขอขยายอย่างเคร่งครัด รวมถึงดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการฯ
ในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการฯ
โดยเร็วต่อไป และ (๒) อนุมัติให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ
SMEs โดยปรับปรุงเงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุนตามโครงการฯ ในเดือนธันวาคม
๒๕๖๔-มกราคม ๒๕๖๕
ภายใต้เงื่อนไขการลงทะเบียนและนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์
(ระบบ e-Service)
เพื่อให้กลุ่มนายจ้างเป้าหมายของโครงการฯ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด
๑๙ ได้รับความช่วยเหลือตามโครงการฯ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
ทั้งนี้ เห็นควรให้กรมการจัดหางานเร่งดำเนินโครงการฯ ให้แล้วเสร็จในกรอบระยะเวลาที่กำหนด
และเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ แล้ว
ให้กรมการจัดหางานเร่งปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดโครงการฯ ในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการฯ โดยเร็ว ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ
และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กระทรวงต้นสังกัดกำกับดูแลให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้ถูกต้องครบถ้วน
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม
พ.ศ. ๒๕๖๔ เร่งดำเนินการและเบิกจ่ายเงินกู้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
และในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้
เห็นควรให้เร่งเสนอยกเลิกโครงการต่อคณะกรรมการฯ พิจารณาตามขั้นตอนของข้อ ๑๙
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อให้การบริหารเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
245 | คำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น ๘,๙๕๖,๙๗๙,๔๐๐ บาท จำแนกเป็น
งบประมาณของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๘,๖๘๕,๓๘๕,๘๐๐ บาท
และงบประมาณของกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา จำนวน ๒๗๑,๕๙๓,๖๐๐ บาท ทั้งนี้
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
และให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
246 | การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 1 | กค. | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ครั้งที่ ๑
ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ตามมติที่ประชุม
ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เช่น การปรับปรุงแผนการก่อหนี้ใหม่
การบรรจุโครงการพัฒนา โครงการ
และรายการเพิ่มเติมในการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕
ครั้งที่ ๑ จำนวน ๘ โครงการ/รายการ เป็นต้น
และการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อ
การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ
ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
รวมทั้งอนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา
และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ
๒๕๖๕ ปรับปรุงครั้งที่ ๑ และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน
เงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
ตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะเสนอ และให้คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
(การรถไฟแห่งประเทศไทย) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่เห็นว่าควรกำกับ ติดตาม
และเร่งรัดการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินกู้ของหน่วยงานในสังกัดให้สอดคล้องและบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนดไว้
การรถไฟแห่งประเทศไทยควรเร่งดำเนินการหารายได้จากแหล่งอื่นเพิ่มเติม
การกู้เงินควรพิจารณาให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพคล่องทางการเงินในแต่ละช่วงเวลา
ควรติดตามสถานการณ์พลังงานในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด
รวมถึงพิจารณาประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการตรึงราคาพลังงาน เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
247 | ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) พ.ศ. .... | รง. | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Payment)
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายกำหนดเวลากรณีนายจ้างยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและนำส่งเงินสมทบ
โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)
ออกไปอีก ๗ วันทำการ นับแต่วันที่พ้นกำหนดวันที่ ๑๕
ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้ โดยมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา ๒๔ เดือน
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าสำนักงานประกันสังคมควรเพิ่มหน่วยให้บริการรับชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
โดยเพิ่มจำนวนธนาคารพาณิชย์และขยายหน่วยบริการรับชำระเงิน (Non-Bank) นอกจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน
รวมทั้งเร่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และเชิญชวนให้นายจ้างและสถานประกอบการยื่นแบบแสดงรายการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Payment) เพิ่มมากขึ้น
และควรหาแนวทาง/มาตรการอื่น ๆ ในการจัดหาผลประโยชน์ให้กองทุนประกันสังคมเพิ่มเติม
โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความมั่นคงของกองทุนเป็นหลัก ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
248 | ขออนุมัติกรอบงบประมาณและผู้มีอานาจลงนามโครงการประมูลสิทธิ์งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 | กษ. | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติกรอบงบประมาณและผู้มีอำนาจลงนามโครงการประมูลสิทธิ์งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. ๒๕๖๙ วงเงินงบประมาณ ๒,๕๐๐
ล้านบาท และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ๒๕๗๒ วงเงินงบประมาณ ๔,๒๘๑
ล้านบาท และเห็นชอบผู้ลงนามการยื่นเสนอตัวประมูลสิทธิ์ ตามข้อกำหนดของ AIPH
โดยมีรายละเอียดเอกสาร จำนวน ๕ ฉบับ ดังนี้ ๑.๑ หนังสือแสดงเจตจำนงการเป็นเจ้าภาพการจัดงาน
(Formal Letter requesting approval from the
organization or authority making the application) ของ ๒ จังหวัด
ได้แก่ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๑.๒ แบบสอบถาม International Horticultural Exhibitions Questionnarie จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร (AIPH Member) จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา อธิบดีกรมวิชาการเกษตร (AIPH Member) ๑.๓
หนังสือยืนยันการสนับสนุนการจัดงานและงบประมาณจัดงานจากรัฐบาลไทย (Formal Letter of Support from National
Govermment & Financial Confirmation) จังหวัดอุดรธานี ได้แก่
ปลัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ นายกรัฐมนตรี ๑.๔ หนังสือสนับสนุนการจัดงานจากสมาชิก AIPH (Formal
Letter of Support from (AIPH Member) ของทั้ง ๒ จังหวัด ได้แก่
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ๑.๕
หนังสือยืนยันการสนับสนุนค่าประกันสิทธิ์และค่าลิขสิทธิ์การจัดงานการจัดงาน ( Financial Guarantee and License Fee) ของทั้ง ๒
จังหวัด ได้แก่ ผู้อำนวยการ สสปน. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ยกเว้นในส่วนของผู้ลงนามในเอกสารการยื่นเสนอตัวประมูลสิทธิ์ฯ จำนวน ๒ ฉบับ
ให้เป็นไปตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ควรพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือโอนจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงภารกิจความจำเป็น
ความคุ้มค่า ความประหยัด
และสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการและสนับสนุนค่าใช้จ่ายร่วมกับภาครัฐด้วย
ควรจัดทำข้อมูลและขั้นตอนแสดงถึงการเตรียมความพร้อมในการเข้าใช้พื้นที่ป่าสาธารณประโยชน์โคกหนองรังกา
ตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา และควรมีแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวหลังจากเสร็จสิ้นการจัดงานพืชสวนโลกด้วย
ควรพิจารณาหัวข้อด้าน BCG ในการจัดสัมมนาวิชาการ
สัมมนาเชิงปฏิบัติการด้วย โดยอาจสอดแทรกหัวข้อสัมมนาต่าง ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสม
เพื่อสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|