ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 12 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 221 - 240 จากข้อมูลทั้งหมด 249 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
221 | ขออนุมัติดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 1/2564 | กษ. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง
(ยางแห้ง) เพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง อนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๒ เกี่ยวกับการมอบหมายหน่วยงานขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชดเชยดอกเบี้ยของผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง
(ยางแห้ง) วงเงินสินเชื่อ ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท อนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์
และอนุมัติเพิ่มองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
(หนังสือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด่วนที่สุด ที่ กษ ๒๙๐๘.๐๒/๔๕๔๖ ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม
๒๕๖๔ และหนังสือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด่วนที่สุด ที่ กษ ๒๙๐๘.๐๒/๕๘๑ ลงวันที่ ๗
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) ทั้งนี้
ในส่วนค่าชดเชยดอกเบี้ยและค่าบริหารโครงการของโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง)
เพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
ให้การยางแห่งประเทศไทยดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การยางแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (การยางแห่งประเทศไทย) กำกับดูแล
และติดตามการดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
รวมทั้งพิจารณาจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยอย่างถูกต้องโปร่งใส และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาการปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
222 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ประเภทต่าง ๆ
รวม ๒๗ ประเภท และรถจักรยานยนต์ประเภทต่าง ๆ รวม ๔ ประเภท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รวมพิจารณาร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้กับร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
รวม ๒ ฉบับ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรมีมาตรการรองรับให้รัดกุมและไม่เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ควรเพิ่มหลักการควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศให้ครอบคลุมชนิดอื่นด้วย
เนื่องจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการปล่อยมลพิษทางอากาศของประเทศไทย
ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
และมาตรการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดเก็บรายได้เพื่อมาชดเชยกับรายได้ที่คาดว่าจะสูญหายไป
และให้ดำเนินการตามนัยของมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.
๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
223 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2555) | มท. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมปากพนัก
จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๕๕
เพื่อปรับปรุงข้อห้ามการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับโรงงานในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
รวมทั้งเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับที่ว่างตามแนวขนานริมเขตของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๑๓ ช่วงนครศรีธรรมราช-ปากพนัง และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๓ (ตอนเลี่ยงเมือง)
ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
ตลอดจนปรับปรุงบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้เหมาะกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าควรใช้เนื้อความเดิมตามข้อ
๑๓ วรรคสี่
แห่งกฎกระทรวงดังกล่าวเนื่องจากมีความเหมาะสมกับทางหลวงแผ่นดินสายดังกล่าว ควรคำนึงถึงกฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องการใช้ที่ดินด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย ประเภทหรือชนิดของโรงงานในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยส่วนใหญ่เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม คำนึงถึงจำนวนสถานประกอบกิจการต่อพื้นที่
ให้โรงงานลำดับที่ ๕๐ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
ถ่านหินหรือลิกไนต์อย่างหนึ่งอย่างใด เฉพาะ (๔)
การผสมผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมเข้าด้วยกันหรือการผสมผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมกับวัสดุอื่นแต่ไม่รวมถึงการผสมผลิตภัณฑ์จากก๊าซธรรมชาติกับวัสดุอื่นไว้ท้ายประกาศกระทรวงดังกล่าว
กรมโยธาธิการและผังเมืองควรให้เจ้าพนักงานควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อกำหนด
และให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๑ ที่ระบุถึง “บัญชีท้ายกฎกระทรวง”
เป็น “บัญชีท้ายประกาศ” ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
224 | ผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับนางเอลิซาเบท ทรัสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ | กต. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(นายดอน ปรมัตถ์วินัย) กับนางเอลิซาเบท ทรัสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร
ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๘-๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องติดตามและเร่งรัดการดำเนินการตามผลการหารือฯ
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป โดยมีประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น
การเข้าร่วมหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-สหราชอาณาจักร การทำ MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ
การจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า ไทย-สหราชอาณาจักร
การปรับมาตรการการเดินทางและให้การรับรองวัคซีนโควิด-๑๙ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างกัน
การเข้าร่วม CPTPP กระบวนการ UPR สถานการณ์ในเมียนมา
และประเด็นบบาทของจีนและอินเดีย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม เช่น ควรพิจารณาให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน
ทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักในการประสานงานความร่วมมือระหว่างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของไทยและสหราชอาณาจักร
พิจารณาให้มีการใช้ประโยชน์จากการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านการค้า
การลงทุน และการวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ BCG
ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของไทย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
225 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 - 2580 | ศธ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
(ร่าง)
แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
ปี พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๘๐ และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามยุทธศาสตร์ นำ (ร่าง)
แผนปฏิบัติการฯ ไปใช้เป็นกรอบแนวทางการบริหารเชิงนโยบายให้เป็นเอกภาพ และมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศในภาพรวมอย่างเป็นระบบ
เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ประเทศไทย ๔.๐ ยุทธศาสตร์ มาตรการ ที่กำหนดขึ้น และให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
เป็นหน่วยงานประสานหลักและให้อำนาจ (authority) ในการติดตามและสั่งการ เพื่อให้หน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องดำเนินงานให้เหมาะสม ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เช่น ควรเร่งพัฒนากลไกการบริหารจัดการการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษที่ชัดเจน
และตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเข้าสู่การปฏิบัติในระบบงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคส่วนต่าง
ๆ ของประเทศต่อไปให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณแบบบูรณาการ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
226 | รายงานผลการวิเคราะห์ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ประจำปี พ.ศ. 2564 | ปปท. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานผลการวิเคราะห์ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ๒.
รับทราบแนวทางการขับเคลื่อนมาตรการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) และมอบหมายให้กระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ๓.
ให้หน่วยงานที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณโครงการขนาดใหญ่ (รายการในงบลงทุน วงเงินตั้งแต่
๕๐๐ ล้านบาทขึ้นไป ที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง)
จัดทำการประเมินตามเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงเชิงนโยบาย ส่งพร้อมคำขอไปยังสำนักงบประมาณ
เพื่อให้สำนักงบประมาณใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบ ติดตาม
และประเมินผลตามคู่มือแนวทางการประเมินความเสี่ยงการทุจริตเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ต่อไป ๔.
ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
227 | การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/2565 | อก. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น
ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ ทั้ง ๙ เขตคำนวณราคาอ้อย
เป็นราคาเดียวทั่วประเทศ ดังนี้ (๑) ราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี
๒๕๖๔/๒๕๖๕
ในอัตราตันอ้อยละ ๑,๐๗๐ บาท ณ ระดับความหวานที่ ๑๐
ซี.ซี.เอส. หรือเท่ากับร้อยละ ๙๖.๓๔
ของประมาณการราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ ๑,๑๑๐.๖๖ บาทต่อตันอ้อย
และกำหนดอัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อยเท่ากับ ๖๔.๒๐ บาท ต่อ ๑ หน่วย ซี.ซี.เอส. และ (๒)
ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ เท่ากับ
๔๕๘.๕๗ บาทต่อตันอ้อย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรดำเนินการทบทวนระเบียบมาตรการต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง
และแนวทางการจัดเก็บรายได้เพื่อให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงพอในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
และควรเร่งรัดมาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ลดต้นทุนและสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
228 | ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 4 | กต. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี
(Joint Commission on Bilateral
Cooperation : JCBC) ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ ๔
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
(นายบุ่ย แทงห์ เซิน) เป็นประธานร่วมกัน โดยการประชุมจัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลัก
“การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ชาติที่เข้มแข็ง
เพื่อการฟื้นฟูและเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน” และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ
ต่อไป โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ (๑) ความร่วมมือด้านการเมือง/ความมั่นคง
เช่น การต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย การแก้ไขสถานการณ์ในเมียนมา (๒)
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เช่น การลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ความร่วมมือด้านสาธารณสุข
เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ และ (๓) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
เช่น การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ด้านวิชาการ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
229 | ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ของนายประสาน ยุวานนท์ ที่จังหวัดนครราชสีมา | อก. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมถอนเรื่อง ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่
๑ เอ เพื่อทำเหมืองแร่ของนายประสาน ยุวานนท์ ที่จังหวัดนครราชสีมา คืนไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
230 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 1 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบการเพิ่มเติม “วนอุทยาน” “สวนพฤกษศาสตร์” “สวนรุกขชาติ”
ในหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙
ธันวาคม ๒๕๕๘ (เรื่อง หลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ) ๒.
เห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน ๑ :
๔๐๐๐ (One Map)
และรับรองเส้นแนวเขตที่ดินของรัฐ กลุ่มจังหวัดที่ ๑ จำนวน ๑๑ จังหวัด และให้หน่วยงานที่มีที่ดินของรัฐอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) โดยใช้แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วแทนแผนที่แนบท้ายกฎหมาย
และใช้เป็นแนวเขตที่ดินของรัฐตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวัน
โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ตามเหตุผล ความจำเป็น
แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ รวมทั้งให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้อง
หรือให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้รวดเร็ว เหมาะสมตามแต่กรณี
โดยดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ การคุ้มครองและรับรองการดำเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
231 | การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) | อว. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการการมอบอำนาจให้สภานโยบายฯ
ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา
และมีคำสั่งให้สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาแทนคณะรัฐมนตรี
โดยให้ถือว่าการอนุมัติและความเห็นชอบดังกล่าวเป็นมติของคณะรัฐมนตรี
และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ตามนัยมาตรา ๖๙
แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ในกรณีที่เป็นการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาในเรื่องที่เป็นเชิงนโยบาย
มีความสำคัญสูง มีผลกระทบกับระบบการอุดมศึกษาในภาพรวม
หรือก่อให้เกิดภาระงบประมาณในระยะยาว ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาตินำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบเป็นกรณี
ๆ ไป ก่อนดำเนินการต่อไป ๒. ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ กำหนดมาตรการส่งเสริมเชิงนโยบายในส่วนของการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกับภารกิจหน่วยงานของภาครัฐ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงศึกษาธิการรับเรื่องนี้ไปพิจารณาและหารือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงการจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการให้เหมาะสมและเป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
232 | ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 10 | พณ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา
ครั้งที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
(นายสินิตย์ เลิศไกร) เข้าร่วมประชุม ซึ่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม ในฐานะประธานอาเซียน
ปี ๒๕๖๔ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม สรุปได้ ดังนี้ (๑) การแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไขผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับการเปิดตลาดการค้าและการลงทุน ทั้งนี้
ไทยได้เน้นย้ำความสำคัญของระบบการค้าที่เปิดกว้างและสนับสนุนบทบาทขององค์การการค้าโลก
เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับวัคซีนและยาที่จำเป็น (๒)
รับทราบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของสภาธุรกิจแคนาดา-อาเซียน ที่ให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีทางการค้า
โดยเฉพาะการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
การเปิดพรมแดนให้นักธุรกิจสามารถเดินทางระหว่างกัน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
การส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าดิจิทัล
และการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (๓) เห็นชอบการเปิดเจรจาการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
โดยกำหนดเป้าหมายให้สรุปผลการเจรจาภายใน ๒ ปี
และเห็นชอบเอกสารขอบเขตสาระที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา
(๔) กระทรวงพาณิชย์คาดว่าอาเซียนและแคนาดาจะสามารถสรุปแผนงานเจรจาและเริ่มการเจรจารอบแรกในช่วงไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๕ ทั้งนี้
ได้จัดทำขอบเขตสาระเบื้องต้นที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น
ภาพรวมการเจรจา มาตรการป้องกันและเยียวยาทางการค้า และนโยบายแข่งขันทางการค้า และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเตรียมการเจรจาในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยให้คำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และเตรียมมาตรการบรรเทาผลกระทบในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนยึดท่าทีตามกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดาของประเทศไทย
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงวัฒนธรรม
ที่ควรคำนึงถึงหลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง
ซึ่งแต่ละประเทศต่างดำเนินการตามพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้าร่วมเป็นภาคี
โดยคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละประเทศ
และไม่ควรใช้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมืดกีดกันทางการค้าต่อไปในอนาคต
ควรคำนึงถึงข้อดีและผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนผลประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
233 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการ (จำนวน 13 ราย) | นร 05 | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
(ปคร.) ของส่วนราชการ จำนวน ๑๓ ราย ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๒. นายพาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ๓. นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๔. นายกีรติ รัชโน รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๕. นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ๖. นายปรีดี ภูสีน้ำ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ๗. นายมงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๘. นางอุดมพร เอกเอี่ยม รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๙. นายยุทธา สาโยชนกร รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๑๐. นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๑๑. นายปวัตร์ นวะมะรัตน รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๑๒. พลตำรวจโท
ธนาศักดิ์ ฤทธิเดชไพบูลย์ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่นายตำรวจประสานงานรัฐสภา)
๑๓. นางรวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
234 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง บทบาทตลาดทุน (Capital Market) ต่อเศรษฐกิจประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา | สว. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
บทบาทตลาดทุน (Capital Market) ต่อเศรษฐกิจประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงการคลังได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ
การเงิน และการคลัง วุฒิสภา เรื่อง บทบาทตลาดทุน (Capital Market) ต่อเศรษฐกิจประเทศไทยแล้ว โดยผลการพิจารณาสรุปได้ว่าปัจจุบันการดำเนินการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับบทบาทตลาดทุน
(Capital Market) ต่อเศรษฐกิจประเทศไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว เช่น
ผลักดันให้ภาคธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์มีระบบดิจิทัลเป็นความปกติใหม่ตลอดกระบวนทางธุรกิจ
ส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงิน (Financial Literacy)
ผลักดันให้ภาคประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการออมที่มีภาคปฏิบัติอย่างจริงจังและผลักดันให้ภาครัฐระดมทุนผ่าน
Infrastructure Fund และทรัสต์ เพื่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
235 | การขอขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 – 2564) | กก. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการขอขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) ออกไปอีก ๑ ปี โดยให้ยังคงใช้ได้ต่อจนถึงวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๕ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติเสนอ ๒. ให้คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าในช่วงระยะเวลา ๑ ปีที่มีการขยายระยะเวลาบังคับใช้แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๖ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ควรเร่งดำเนินการปรับ (ร่าง)
แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ให้สามารถประกาศใช้ต่อจากแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ ๖ ได้อย่างราบรื่น
ก่อให้เกิดการพัฒนาการกีฬาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
รวมทั้งให้คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณานำแนวทางของสมาคมกีฬามวลชนนานาชาติมาเป็นส่วนหนึ่งในแผนการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๖ ด้วย เพื่อให้การพัฒนากีฬามวลชนในประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณในการดำเนินงาน รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้และความร่วมมือจากเครือข่ายของสมาชิกสมาคมกีฬามวลชนนานาชาติมาปรับใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๖ ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
236 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 | นร.11 สศช | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา
และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑)
อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการทัวร์เที่ยวไทย
โดยปรับลดจำนวนสิทธิโครงการฯ จากเดิม ๑,๐๐๐,๐๐๐ สิทธิ เป็น ๒๐๐,๐๐๐
สิทธิ ทำให้กรอบวงเงินลดลงจาก ๕,๐๐๐ ล้านบาท เป็น ๑,๐๐๐ ล้านบาท และขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิม
สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เป็น สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ พร้อมทั้งเห็นควรมอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
พิจารณากำหนดแนวทางในการบริการจัดการเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทางท่องเที่ยวภายใต้โครงการฯ
อย่างเคร่งครัด
(๒) อนุมัติให้จังหวัดน่านและจังหวัดสตูลเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการฯ
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการพัฒนาอัตลักษณ์น่าน มุ่งสู่เมืองสร้างสรรค์ (Creative City) และโครงการการฝึกอบรมราษฎร
(ชาวเล) เกาะหลีเป๊ะ หมู่ ๗, ๘
ในการเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพไลฟ์การ์ดเพื่อยกระดับความปลอดภัยเกาะหลีเป๊ะ
จากเดิม สิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เพื่อให้หน่วยงานสามารถเบิกจ่ายงบประมาณเงินกู้ของโครงการฯ
ได้แล้วเสร็จ (๓) อนุมัติให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) โดยปรับลดกรอบวงเงินในกิจกรรมการพัฒนา Platform การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล จากเดิม ๒๐
ล้านบาท เป็น ๑๙,๐๒๗,๔๒๐ บาท และขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
จากเดิม สิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ (๔) อนุมัติให้กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า
และพันธุ์พืชเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า
โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น
สิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ (๕) อนุมัติให้วิทยาลัยสารพัดช่างตรังเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการส่งเสริมการฝึกอาชีพระยะสั้นเพื่อเพิ่มทักษะและการประกอบอาชีพเสริม
ของวิทยาลัยสารพัดช่างตรัง วงเงิน ๕ ล้านบาท โดยขยายระยะเวลาโครงการฯ จากเดิม
สิ้นสุดเดือนกันยายน ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนมกราคม ๒๕๖๕ (๖)
อนุมัติให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น
เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จากเดิม
สิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ (๗)
อนุมัติให้จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดยโสธร จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
และจังหวัดสกลนครเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ และ (๘)
มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ (๑)-(๗) เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการฯ ให้แล้วเสร็จ และปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และ ๒๐
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ พ.ศ. ๒๕๖๓
รวมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ไปดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ
และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรกำกับ ติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
ให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด และในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ให้เร่งปฏิบัติตามขั้นตอนข้อ
๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒. ให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
237 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดให้กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การกำหนดให้กิจการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้) | กค. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดให้กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การกำหนดให้กิจการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร
หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้)
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้กิจการให้บริการหนังสือพิมพ์
นิตยสาร
หรือตำราเรียนที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
238 | การนำที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะมาใช้ในโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกบริเวณหนองตาเหี่ยม ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก | มท. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยถอนเรื่อง การนำที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะมาใช้ในโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกบริเวณหนองตาเหี่ยม
ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก คืนไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
239 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 7/2564 | นร.04 | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
(กตน.) ครั้งที่ ๗/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล
และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุมฯ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยผลการประชุมฯ ประกอบด้วย (๑) การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควันไฟป่าอย่างยั่งยืน
(๒) การพัฒนาความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพระดับโลก (๓) รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๕ และงบประมาณที่เกินกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท ขึ้นไป และ (๔)
รายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการใน กตน. ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
240 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนจัดการซากดึกดำบรรพ์ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 | ทส. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนจัดการซากดึกดำบรรพ์
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรายงานการเงินดังกล่าวแล้ว โดยเห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|