ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 10 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 181 - 200 จากข้อมูลทั้งหมด 249 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
181 | ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม
พ.ศ. ๒๕๓๓ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของคณะกรรมการประกันสังคม
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาและคณะกรรมการการแพทย์
แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการประกันสังคมมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการบริหารพนักงานและลูกจ้าง
รวมทั้งการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๙
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้ประกันตนเกี่ยวกับสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
การให้ผู้รับบำนาญสามารถกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน สิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรโดยเป็นการเหมาจ่าย รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราการได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ
ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ หลักเกณฑ์การรับเงินบำนาญชราภาพ
และหลักเกณฑ์การได้รับประโยชน์ทดแทน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงาน ก.พ. เช่น
มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ให้ความสำคัญกับประเด็นกลุ่มแรงงานนอกระบบให้ได้รับการคุ้มครองของระบบประกันสังคมเพิ่มมากขึ้น
กำหนดอายุทดแทนกรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนที่มีอายุห้าสิบปีบริบูรณ์แต่ไม่ถึงหกสิบห้าปีบริบูรณ์ให้สอดคล้องกับการจ้างงาน
และควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณา
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพทางการเงินการคลังของกองทุนประกันสังคมต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงบประมาณ
และสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว ควรคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางรายได้ยามชราภาพของผู้ประกันตน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
182 | การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว | ทส. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
เพื่อดำเนินการสร้างสวนรุกขชาติ และอนุมัติให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้แก่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรคำนึงถึงความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ รวมทั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช
ควรประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศให้พิจารณาข้อกำหนดการดำเนินงานต่าง ๆ
ไม่ขัดต่อกฎระเบียบและกฎหมายด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
ทั้งในด้านการดำเนินโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว และการใช้งบประมาณ
เพื่อให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งสองประเทศต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
183 | รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 14 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา
๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ ๑๔ (เดือนตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๔) สรุปได้ ดังนี้ (๑) ความคืบหน้าตามแผนการปฏิรูปประเทศระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม
๒๕๖๔ เช่น รายงานความคืบหน้าของกิจกรรม Big Rock ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งมีความคืบหน้าทั้ง ๑๓ ด้าน
โดยมีสถานะการดำเนินการกิจกรรม Big Rock รวมทั้งสิ้น ๖๒
กิจกรรม ประกอบด้วย ๑) กิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผน รวม ๕๕ กิจกรรม และ ๒)
กิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน รวม ๗ กิจกรรม (๒)
ความคืบหน้ากฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ณ สิ้นเดือนธันวาคม
๒๕๖๔ รวมทั้งสิ้น ๔๕ กิจกรรม ประกอบด้วย กฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ๒ ฉบับ
และกฎหมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ๔๓ ฉบับ (๓) ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ
เช่น การจัดทำคู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี
และแผนปฏิบัติราชการด้านต่าง ๆ
การจัดทำคู่มือโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ และ (๔)
การดำเนินการระยะต่อไป สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะบูรณาการร่วมกับคณะกรรมการการปฏิรูปประเทศ
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานร่วมดำเนินการกิจกรรม Big Rock เพื่อเร่งรัดขับการเคลื่อนการดำเนินการ การกำกับ
ติดตามการดำเนินโครงการภายใต้กิจกรรม Big Rock โดยหน่วยรับผิดชอบโครงการต้องนำเข้าข้อมูลแผนงาน/โครงการในระบบ
eMENSCR ให้ครบถ้วน ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
184 | ขอความเห็นชอบแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2565 | กษ. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๖๓-๒๕๖๕ ตามความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการประมงทะเลต่อเนื่องจากแผนฉบับเดิม ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน
กระทรวงอุตสาหกรรมสำนักงบประมาณ และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เช่น
ควรเพิ่มประเด็นการปรับปรุงห่วงโซ่มูลค่าสู่การประมงพื้นบ้าน
และพิจารณาการแก้ไขปรับปรุงพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
ควรมีแผนป้องกันกรณีมีการปนเปื้อนมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
ควรเพิ่มกิจกรรมการตรวจหาสารเสพติดในแรงงานประมงผ่านศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงในแผนการบริหารจัดการฯ
ระยะต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งจัดทำแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของไทยในระยะต่อไปเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ทันในปี
๒๕๖๖ โดยให้นำข้อสังเกตของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ไปพิจารณาประกอบการจัดทำแผนดังกล่าวด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
185 | รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | กค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ดังนี้ ๑.๑ รับทราบรายงานการเงินรวมภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และรายงานการเงินรวมภาครัฐ (บทวิเคราะห์) ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ ๑.๒ ให้หน่วยงานของรัฐตามบัญชีชื่อหน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ พร้อมทั้งรายงานเหตุผล หรือปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขให้กระทรวงเจ้าสังกัดและกระทรวงการคลังภายใน
๖๐ วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
และให้หน่วยงานของรัฐส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณถัดไปให้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด
เพื่อให้การจัดทำรายงานการเงินรวมภาครัฐมีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ๒. ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
186 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข) | กค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข) มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ ๒
เท่าของจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค
สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร ให้แก่มูลนิธิต่าง ๆ
รวม ๖ แห่ง ได้แก่ (๑) มูลนิธิโรคมะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช (๒) มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี
(๓) มูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า (๔) มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (๕)
มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ (๖)
มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กองทัพเรือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์
และยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า
หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่มูลนิธิดังกล่าวที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์
ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการ ๒๗
ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และกฎหมายอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
187 | การเพิ่มสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) | พม. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
188 | รัฐบาลราชรัฐลักเซมเบิร์กเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชรัฐลักเซมเบิร์กประจำประเทศไทย (นายแพทริก เฮมเมอร์) | กต. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายแพทริก เฮมเมอร์ (Mr. Patrick Hemmer) ให้ดำรงตำแหน่ง
เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชรัฐลักเซมเบิร์กประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายฌ็อง-ปอล
เซนนิงเกอร์ (Mr. Jean-Paul
Senninger) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
189 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. .... | ดศ. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่
ให้สอดคล้องกับกิจการไปรษณีย์ในปัจจุบัน และเพื่อมิให้เกิดการขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นว่า การกำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่สามารถทำได้
และการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขกรณีส่วนลดสำหรับไปรษณียภัณฑ์เป็นการมอบอำนาจช่วงไม่อาจทำได้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย
จำกัด ควรยกระดับคุณภาพการให้บริการ
โดยอาจนำเทคโนโลยีหรือรูปแบบการบริการอื่นมาสนับสนุน และประชาสัมพันธ์การปรับอัตราค่าบริการขั้นสูงสุดและยังคงมีส่วนลดค่าบริการให้แก่ลูกค้า
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้รับความเห็นของรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอขอให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ลดอัตราค่าบริการฝากส่งสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และเกษตรกร ไปพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
190 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นายสัญญา มิตรเอม) | สพร. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายสัญญา มิตรเอม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล) ในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากได้ถึงแก่กรรม ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๒๖ เมษายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
191 | แต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงานและรองโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายข้าราชการประจำ) | รง. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงาน
และรองโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายข้าราชการประจำ) ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้ ๑.
ยกเลิกการแต่งตั้งนายประทีป ทรงลำยอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เป็นโฆษกกระทรวงแรงงาน
(ฝ่ายข้าราชการประจำ) ๒. แต่งตั้งนายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายข้าราชการประจำ)
และนางบุปผา พันธุ์เพ็ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นรองโฆษกกระทรวงแรงงาน
(ฝ่ายข้าราชการประจำ)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
192 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 | นร16 | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
(คทช.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม
๒๕๖๕ ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบและพิจารณาผลการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ เช่น (๑)
ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ คทช. และคณะอนุกรรมการภายใต้ คทช. (๒) ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนชุมชนเมืองระนอง
(๓) ร่างนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐)
(๔) การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน ๑:๔๐๐๐ (One Map) และแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐของพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่
๒ จำนวน ๑๑ จังหวัด และ (๕) การรับเรื่องร้องเรียนและรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
193 | ขอปรับปรุงรายละเอียดของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 เรื่องมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป | นร.11 สศช | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕
เรื่องมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป
โดยปรับปรุงถ้อยคำในมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
โดยการให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน ๓๐๐ หน่วยต่อเดือน
และลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบอาชีพในภาคขนส่ง
โดยการให้ส่วนลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินแก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ
(รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง) ที่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะที่จดทะเบียนเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างกับกรมการขนส่งทางบก
พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน
พิจารณาดำเนินการจัดทำรายละเอียดโครงการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และให้มีการรายงานผลการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้การดำเนินมาตรการดังกล่าวบรรลุผลสัมฤทธิ์และมีความคุ้มค่าอย่างแท้จริง
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
194 | ขอปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 | พน. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า
(Transmission System Improvement
Project in Eastern Region to Enhance System Security : TIPE) (โครงการ TIPE) และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่
ระยะที่ ๓ (Independent Power Producer 3 : IPP3) (โครงการ IPP3) และอนุมัติวงเงินงบประมาณลงทุนในปี
พ.ศ. ๒๕๖๔ และปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สำหรับโครงการ TIPE และโครงการ IPP3
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๗/๑๘๙๓๙ ลงวันที่๑๕ กันยายน ๒๕๖๔)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่
สกพ ๕๕๐๑/๐๐๓๖ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔) เช่น
ควรศึกษาและพิจารณาแนวทางการดำเนินการไม่ให้มีผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าของประชาชนทั่วประเทศ
ควรกำหนดมาตรการบริหารจัดการเงินและการลงทุนให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และต้องดำเนินการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเร็วเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานได้ตามแผนงานที่วางไว้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานกำกับการดำเนินโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า
และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ระยะที่ ๓
ให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งบริหารความเสี่ยงของโครงการที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อมิให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการเพิ่มเติม
ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนของทั้งสองโครงการเพิ่มขึ้นในอนาคต |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
195 | ร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
196 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง | กษ. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง จากเดิม
๑๗ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘-พ.ศ. ๒๕๖๔) เป็น ๑๙ ปี ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘-พ.ศ.
๒๕๖๖) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม ๓,๖๗๐,๕๐๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงวเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น การขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการโดยไม่เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันต้องเสนอขออนุมัติต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และรายงานให้สำนักงบประมาณทราบภายในกำหนดเวลาตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๗ (๒)
ควรเร่งรัดการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
คำนึงถึงประโยชน์ ความคุ้มค่าที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
197 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... [แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558] | มท. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี
พ.ศ. ๒๕๕๔ และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมรวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะห่างตามแนวขนานริมเขตทาง
ในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงงานริมทางหลวงแผ่นดิน และริมทางรถไฟ
ตลอดจนปรับปรุงบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. ๒๕๕๔
ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
เช่น ควรให้โรงงานมีระยะห่างริมทางหลวงแผ่นดินไม่น้อยกว่า ๕ เมตร คำนึงถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในกรณีใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมที่ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูง
องค์กรปกครองท้องถิ่น ควรควบคุมดูแลสุขลักษณะ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
198 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่กิจการของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน) | กค. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
(ฉบับที่ ๒๔๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยกำหนดเพิ่มเติมให้กิจการของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรกก่อน รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
199 | มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับสินเชื่อภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 | กค. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
200 | ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 | สธ. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||