ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 248 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การดำเนินการตามข้อสังเกต (Concluding Observations) ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ต่อรายงานประเทศฉบับที่ 4-8 ของประเทศไทย | ยธ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบข้อสังเกต
(Concluding Observations)
ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
ต่อรายงานประเทศฉบับที่ ๔-๘ ของประเทศไทย
และตารางหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ
และพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและข้อเสนอแนะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นว่าการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สามารถเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันคนในสังคมให้หลีกเลี่ยงการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์และโซเซียลมีเดียในทางที่ผิด
หรือนำมาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ Hate Speech และ Hate
Crime ทางเชื้อชาติได้ และในประเด็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบ จำนวน ๓ ประเด็น ประกอบด้วย ๑)
ประเด็นที่ดิน อาณาเขต และทรัพยากรของกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ๒)
ประเด็นการค้ามนุษย์ และ ๓) ประเด็นย่อหน้าที่มีความสำคัญเป็นการเฉพาะ
พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นแรงงานข้ามชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ | สช. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
โดยมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น การบูรณาการแรงงานข้ามชาติเข้าสู่นโยบายพัฒนาประเทศ
การพัฒนาหลักประกันสุขภาพที่มีเสถียรภาพครอบคลุมแรงงานข้ามชาติทุกกลุ่ม
โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการพำนักอยู่ในไทย และการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิครอบคลุมแรงงานข้ามชาติ
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น การพัฒนาปรับปรุงมาตรการ หลักเกณฑ์
แนวปฏิบัติการรับรองการเกิดและมาตรการเชิงรุก
การจดทะเบียนครบขั้นตอนทันทีหลังการเกิดเพื่อรองรับสิทธิในสัญชาติ
และการปรับปรุงกฎหมาย และพัฒนาบริการสาธารณสุข
สิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาและออกแบบแหล่งที่มาของเงินสนับสนุนการคุ้มครองและส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ
และระดับความสามารถในการร่วมจ่ายเงินของนายจ้างและกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวตามสมควร ให้หน่วยรับประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
มาดำเนินการในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน
ควรคำนึงถึงการวางแนวทางรองรับผลกระทบที่อาจมีต่อความเสี่ยงทางการคลังของประเทศในระยะยาว
ควรมีการบูรณาการการทำงานและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อมิให้ขัดกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
กฎหมายว่าด้วยการกำหนดสัญชาติ
รวมทั้งควรมีการบูรณาการวางแผนการบริหารจัดการการเงินการคลังด้านสุขภาพภาครัฐให้มีความสมดุล
เพียงพอรองรับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของกลุ่มคนดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และมีความยั่งยืนในอนาคต มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น ประเด็น “การบูรณาการแรงงานข้ามชาติสู่นโยบายพัฒนาประเทศ”
ควรเน้นการวางแผนการจัดการและการบูรณาการในนโยบายพัฒนาประเทศ “ในระยะยาว ระยะกลาง
และระยะสั้น” ภายใต้บริบทที่สังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น ควรพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
รวมถึงระบบสนับสนุนการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 1/2565 | อก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
(กอช.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ในฐานะรองประธาน กอช. เป็นประธานการประชุม
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติที่ประชุม กอช. ดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๑) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน
และมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองภายในปี ๒๕๗๐ โดยมีแนวทางดำเนินงาน ๓ มาตรการหลัก
ได้แก่ ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดิม
กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ และสร้างและพัฒนาระบบนิเวศสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ๒)
(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรมแห่งอาเซียนภายใน ๕ ปี
มีแนวทางดำเนินงาน ๔ มาตรการหลัก ได้แก่
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่กัญชง
ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมด้านการตลาด
และสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการประกอบการ และ ๓)
การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
มีแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ
๕ ปี (๒๕๖๖-๒๕๗๐)
จัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เข่น ควรคำนึงถึงความยั่งยืนในการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงพาณิชย์
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานอย่างครบวงจรเพื่อเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชนทั้งในภาคเกษตร
อุตสาหกรรมและบริการ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ และกฎระเบียบอย่างอื่นอย่างเคร่งครัด
ควรติดตามผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กอช. เพื่อเสนอต่อ กอช.
และคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ การพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ควรให้ความสำคัญกับความต้องการของตลาดเป็นหลักจึงจะสามารถรองรับความผันผวนของราคาได้
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา | กก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มทะเลทราบสงขลาขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา [องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)]
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าในการดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ขอให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ควรมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของงบประมาณแผ่นดิน
และคำนึงถึงภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานเป็นหลัก
และการดำเนินงานด้านงบประมาณต้องพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบ
และเป็นไปตามกฎหมายของทางราชการ รวมทั้ง
ไม่ส่งผลต่อวงเงินงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่เป็นสำคัญ
ควรกำหนดเพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาว่า
กรณีเป็นแผนหรือโครงการที่ต้องดำเนินการในเขตโบราณสถาน
จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ก่อนดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการดังกล่าว
และควรกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนฯ ให้มีความชัดเจน
รวมทั้งควรพิจารณาถึงกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
อย่างเคร่งครัดในการจัดตั้งสำนักงานการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของงบประมาณในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอแผนงานยุทธศาสตร์ชาติการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
และดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับการจัดสรรงบประมาณ ๓.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วยว่า
เมื่อการพิจารณาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาตามลำดับในลักษณะ
Bottom Up จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องไปสู่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติแล้ว
ยังสมควรที่จะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการประกาศกำหนดพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่
ประการใด เพื่อพิจารณาทบทวนและแก้ไขพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายพีรพันธ์ คอทอง ฯลฯ จำนวน 12 ราย) | กษ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๑๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑. นายพีรพันธ์ คอทอง ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นางสาวอิงอร ปัญญากิจ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๔. นายชัยวัฒน์ โยธคล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๕. นายชูชาติ รักจิตร ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๖. นายนวนิตย์ พลเคน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๗. นางสาวเสาวลักษณ์ ศุภกมลเสนีย์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๘. นายปรีชา พันธุ์วา ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๙. นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๑๐. นางสาวภัทราภรณ์ โสเจยยะ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๑๑. นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ๑๒. นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา | สว. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental
Assessment : SEA) ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วุฒิสภา ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้ (๑)
ปัญหานโยบายและการดำเนินการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้นำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อทราบถึงความก้าวหน้าในการดำเนินการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
รวมทั้งได้ยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. .... เพื่อเป็นแนวทางและกำหนดแผนในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(๒)
ปัญหากฎหมายและระเบียบที่รองรับหรือบังคับให้หน่วยงานหรือเจ้าของแผนงานต้องจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. ....
เสนอคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนพิจารณาและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป (๓)
ปัญหาหน่วยงานรับผิดชอบหลักการดำเนินการและพัฒนาระบบการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้พัฒนาความรู้และประสบการณ์ด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านการจัดทำโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(๔) ปัญหากระบวนการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และจัดทำคู่มือเพื่อการสื่อสารสาธารณะ
เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ และ
(๕)
ปัญหาขีดความสามารถของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้เตรียมการรองรับภารกิจและสร้างความพร้อมของหน่วยงานในการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
โดยจัดฝึกอบรมทางวิชาการด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565 | ดศ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
พ.ศ. ๒๕๖๕ สรุปได้ ดังนี้ (๑) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พบเห็นและไม่ทราบว่ามีปัญหายาเสพติดในชุมชน/หมู่บ้าน
(ร้อยละ ๕๖.๐) (๒) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พบเห็นแต่ทราบว่ามีการซื้อขายยาเสพติด
(ร้อยละ ๗๓.๙) ไม่พบเห็นแต่ทราบว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ในชุมชน/หมู่บ้าน
(ร้อยละ ๘๔.๑) ยาบ้าเป็นยาเสพติดที่แพร่ระบาดมากที่สุดในชุมชน/หมู่บ้าน (ร้อยละ
๘๒.๔) และผู้ที่มีอายุ ๒๐-๒๔ ปี เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากที่สุด (ร้อยละ ๔๙.๔) (๓)
ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการดำเนินงานในการป้องกัน ปราบปราม
และบำบัดยาเสพติดในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ ๔๙.๓)
มีความเชื่อมั่นต่อนโยบายการป้องกัน ปราบปราม
และบำบัดยาเสพติดในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ ๔๘.๑)
มีความเชื่อมั่นต่อนโยบายยึดทรัพย์ผู้ค้ายาเสพติดสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือลดจำนวนผู้ค้ายาเสพติด
(ร้อยละ ๔๘.๘)
และให้คะแนนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดมาก-มากที่สุด
(ร้อยละ ๖๘.๑) และ (๔) ประชาชนเห็นควรปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง/ต่อเนื่อง
และควรให้กฎหมายลงโทษผู้เกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
เช่น การประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้
และสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถป้องกันตนเองและครอบครัวจากยาเสพติด ผ่านสื่อต่าง ๆ
โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์
สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้แจ้งเบาะแส และติดตามและแก้ไขปัญหาการร้องเรียนอย่างจริงจัง
ตามที่กระทรวงดิจทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย (ระยะที่ 2) | กค. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย
ออกไปอีก ๓ ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๘ ภายใต้กรอบงบประมาณการชดเชยดอกเบี้ยที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๙ มกราคม ๒๕๖๑ และเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ จำนวน ๕,๒๕๐ ล้านบาท ขยายระยะเวลาการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีจากรัฐบาลเพื่อชดเชยดอกเบี้ยออกไปอีก
๓ ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๘ เป็นวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๗๑
และเห็นชอบการปรับชื่อโครงการจาก โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย เป็น
โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย (ระยะที่ ๒) โดยขยายขอบเขต วัตถุประสงค์
เพิ่มกลุ่มเป้าหมาย และการดำเนินการตามแนวทาง BCG Model ภายใต้หลัก
SDGs และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือโครงการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งน้ำ
เพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืนภายใต้ความร่วมมือภาครัฐหรือเอกชน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ ให้ความสำคัญกับการประเมินเพื่อหารูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
และทำการขยายผลเพื่อสนับสนุนให้การปรับโครงสร้างการผลิตและบริการภาคเกษตรของไทยไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืนต่อไป
ควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการให้สินเชื่อที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของโครงการ โดยใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณามากขึ้น
เพื่อกำหนดกลุ่มลูกหนี้ที่ควรได้รับสินเชื่อให้ชัดเจน
กำหนดเงื่อนไขการให้สินเชื่อตามวัตถุประสงค์ของลูกหนี้แต่ละกลุ่มที่สามารถวัดผลได้ชัดเจน
และมีกระบวนการในการติดตามผลสัมฤทธิ์
ให้ความสำคัญและกำหนดแนวทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งโดยรวมของลูกหนี้อย่างยั่งยืน
ควบคู่ไปกับการให้สินเชื่อ
ควรประชาสัมพันธ์และสื่อสารทำความเข้าใจกับลูกหนี้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการและเร่งสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่กลุ่มลูกหนี้เป้าหมายตามศักยภาพ
เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว และควรพัฒนาระบบการขอสินเชื่อให้ทันสมัย
และปรับลดระยะเวลาการพิจารณาสินเชื่อให้รวดเร็วขึ้น
โดยให้บริการสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล
และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการขอสินเชื่อ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (1. นายอนุชา เศรษฐเสถียร และนางจันทิรา บุรุษพัฒน์) | คค. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
จำนวน ๒ คน เนื่องกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ ๑. นายอนุชา เศรษฐเสถียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๒. นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย
ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (เรื่อง
การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายวัลลพ สงวนนาม) | ศธ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติมติอนุมัติแต่งตั้ง นายวัลลพ สงวนนาม ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชนของกระทรวงอุตสาหกรรม | อก. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชนของกระทรวงอุตสาหกรรม
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้ ๑.
สร้างความสำเร็จให้กับภาคธุรกิจ เช่น
ขยายเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ต่อเนื่องจากปี
๒๕๖๕ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๕-๙ มิถุนายน ๒๕๖๖ ๒.
ดูแลประชาชนรอบโรงงานอุตสาหกรรม โดยให้บริการตรวจสุขภาพประชาชนรอบสถานประกอบการเหมืองแร่ ๓.
รักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดี
เพื่อลดฝุ่น PM2.5 ฤดูการผลิต ปี
๒๕๖๕/๒๕๖๖ ๔.
กระจายรายได้ให้กับประชาชนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผ่านโครงการพัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม
ภายใต้กลไก “คนชุมชนดีพร้อม”
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | พณ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพาณิชย์
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอ
ดังนี้ ๑. นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นางสาวโชติมา เอี่อมสวัสดิกุล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (ร้อยโท พรหเมศ พหลพลพยุหเสนา และนางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม) | กต. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๒ ราย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๑. ร้อยโท พรหเมศ พหลพลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์) | นร.14 | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย พ.ศ. 2551 (1. นางกนกวลี กันไทยราษฎร์ ฯลฯ จำนวน 12 คน) | วธ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย จำนวน ๑๒ คน
เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ดังนี้ ๑. ผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านศิลปะร่วมสมัย ๑.๑ นางกนกวลี
กันไทยราษฎร์ สาขาวรรณศิลป์ ๑.๒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภาวรรณ
บุญนิมิตร สาขาภาพยนตร์ ๑.๓ นายพิชิต วีรังคบุตร สาขาเรขศิลป์ ๑.๔
นายศิริชัย ทหรานนท์ สาขาออกแบบเครื่องแต่งกาย ๑.๕
นายสมเถา สุจริตกุล สาขาดนตรี ๑.๖
นางมาริษา เจียวรานนท์ สาขาทัศนศิลป์ ๑.๗
นางเยาวณี นิรันดร สาขาทัศนศิลป์
(จิตรกรรม ประติมากรรม) ๑.๘
นายณรงค์ ปรางค์เจริญ สาขาดนตรี ๒.
ผู้ทรงคุณวุฒิจากนักวิชาการด้านศิลปะร่วมสมัยจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ๒.๑
ศาสตราจารย์พรรัตน์ ดำรุง สาขาศิลปะการแสดง ๒.๒
ศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์ สาขามัณฑนศิลป์ ๒.๓
ศาสตราจารย์ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ สาขาทัศนศิลป์
(มีเดียอาร์ตและสื่อผสม)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Startup) | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital
Startup) ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นหน่วยงานจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล
และเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัลและบริการดิจิทัลที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีดิจิทัล
และมอบหมายให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาผลักดันบัญชีบริการดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
และเป็นหนึ่งในหมวดพัสดุที่รัฐต้องส่งเสริมหรือสนับสนุน
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดิจิทัลร่วมพัฒนาระบบราชการไทย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เช่น
ควรคำนึงถึงการลดต้นทุนของการจัดทำบริการดิจิทัลผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น
(Digital Startup) และช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ควรมีผู้แทนของกรมต่าง
ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนร่วม คำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ควรพิจารณากำหนดให้มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลที่ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
อาทิ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดการบูรณาการและประโยชน์จากองค์ความรู้ ฐานข้อมูล
และความเชี่ยวชาญของบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙
สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐
เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายการดำเนินงานด้าวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
และรับทราบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศของประเทศ ตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอ ๒. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง)
นโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ มีสาระสำคัญเพื่อเป็นกรอบนโยบายในการจัดสร้างหรือการบริหารจัดการดาวเทียม
และการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมของรัฐ เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานรัฐ และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติที่เหมาะสมที่สุดและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดยให้รับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางประกอบการพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายและพันธกรณีต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
(๑) ให้เร่งรัดดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเกิดผลสำเร็จ
เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป (๒) เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
หากไม่เพียงพอเห็นควรให้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ แล้วแต่กรณี
โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง | คค. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข ๘๒ สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว
สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
โดยโครงการร่วมลงทุน O&M
มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาสภาพการจราจรที่ติดขัดบนทางหลวงหมายเลข ๓๕
(ถนนพระราม ๒) โดยเฉพาะช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็น
เพิ่มโครงการถนนสายหลักในพื้นที่ตอนล่างของกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง
ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม
กรมทางหลวง และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒
รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่ กค
๐๘๒๐.๑/๔๗๗๐ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๕) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง เช่น ให้กรมทางหลวงพิจารณาแนวทางการเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันและกำหนดเงื่อนไขการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน
และให้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....] | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการยกฐานะของสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ
(Government Big Data Institute : GBDI)
หน่วยงานภายในภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ให้เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (National Big
Data Institute : NBDI) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน
เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อน วิเคราะห์
และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศโดยตรง ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้แก้ไขชื่อหน่วยงาน ตัดคำว่า
“คลัง” และ “แห่งชาติ” ออก เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
ตลอดจนมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่กำหนดว่า
“ไม่ควรใช้คำว่า “แห่งชาติ”
ในการกำหนดชื่อหน่วยงานของรัฐเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเอกรัฐ
และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งทำหน้าที่ในฐานะ “แห่งชาติ” อยู่แล้ว” และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ เช่น การกู้ยืมเงินของ NDBI ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
รอบคอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
โดยจะต้องยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ตลอดจนระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรให้ผู้บริหารหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับมิติด้านเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นกรรมการด้วย
ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาปรับเปลี่ยนองค์กรรูปแบบใหม่
เมื่อได้ดำเนินการจัดตั้ง NDBI ครบ ๒ ปี เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 | อว. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงบประมาณ เช่น เห็นควรมุ่งเน้นให้มีการปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลกมีมาตรฐานและรับรองคุณภาพผลงานวิจัย
พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถครอบคลุมในทุกมิติ
เน้นการขับเคลื่อนให้ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มุ่งผลสัมฤทธิ์ ลดช่องว่างของการเข้าถึงโอกาส
ด้านการพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยี นวัตกรรม
สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ
และความไม่เสมอภาคทางสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงความต้องการจำเป็นต่อระบบบริการสาธารณสุขไทยในปัจจุบันและอนาคต
การยกระดับระบบบริการของสังคมสูงวัย การลดอัตราการตายโรคสำคัญ
การเสริมความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ
ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการ โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |