ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 13 จากข้อมูลทั้งหมด 13 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ
พ.ศ. ๒๕๔๗
เพื่อกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการทุกประเภทที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ
เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค
COVID ๑๙
จึงจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการขยายเวลาเปิดสถานบริการที่อยู่ในสถานที่ตั้งโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
และสถานบริการที่ตั้งอยู่ในท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดภูเก็ต จังหวัดชลบุรี
จังหวัดเชียงใหม่ และท้องที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ซึ่งจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
ผู้ประกอบธุรกิจ และประชาชนในพื้นที่
สมควรกำหนดเป็นท้องที่นำร่องขยายเวลาเปิดสถานบริการถึง ๐๔.๐๐ นาฬิกา
ของวันรุ่งขึ้น ส่วนท้องที่อื่นที่ประสงค์จะขยายเวลาเปิดสถานบริการถึง ๐๔.๐๐
นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น
ให้เป็นไปตามประกาศจังหวัดภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย กำหนด ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย) | กค. | 21/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้เงินได้ของบุคคลธรรมดาที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนใน “กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน
(Thailand ESG Fund หรือ TESG)
“ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๓๐ ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทสำหรับปีภาษีนั้น
เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๕ และกำหนดให้ผู้มีเงินได้ไม่ต้องนำเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ
ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เฉพาะกรณีที่เงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่กล่าวมา
ทั้งนี้ ต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า ๘
ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การขอยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นการชั่วคราว | กก. | 24/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
(แบบ ตม.๖) ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา
จังหวัดสงขลา เป็นการชั่วคราว ในช่วงระหว่างวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖-๓๐ เมษายน
๒๕๖๗ และให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้มีการจัดทำประเมินรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม
เพื่อสะท้อนให้เห็นประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจของการดำเนินมาตรการดังกล่าว
ตลอดจนอาจพิจารณาดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับชายแดนประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ
เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติด้วย
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามและประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน เช่น ผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจในฤดูท่องเที่ยวหรือสถิติที่เกี่ยวกับอาชญากรรมหรือความมั่นคง
โดยรายงานผลการดำเนินการเมื่อสิ้นสุดมาตรการ
และควรมีการประเมินความเสี่ยงจากการยกเลิกการยื่นรายการตามแบบ ตม.๖ เป็นระยะ
พร้อมทั้งควรส่งเสริมระบบการตรวจคนเข้าเมืองในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยผ่านช่องทางบกและทางน้ำสามารถยื่นแบบได้ก่อนการเดินทาง
โดยการมีระบบดังกล่าวจะช่วยส่งผลให้ประเทศไทยสามารถดูแลความมั่นคงในการเดินทางเข้าเมืองระหว่างประเทศได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2569 | กค. | 10/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ปี ๒๕๖๙ ณ กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ ๑๒-๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๙
ร่างบันทึกความเข้าใจการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศปี
พ.ศ. ๒๕๖๙ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทน
และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
โดยมอบให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)
เพื่อลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว และเห็นชอบในหลักการให้ยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับคนต่างด้าวทุกกลุ่มที่ปรากฎในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา
๑๒ (๑) และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น
และการเปลี่ยนแปลงการตรวจลงตรา พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๑๓
และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนามในร่างหนังสือถึงธนาคารโลกเพื่อแจ้งถึงเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของกลุ่มธนาคารโลกภายใต้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ
โดยศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุน (ICSID) บุคลากรและผู้แทนประเทศสมาชิกของ ICSID
จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ ของพระราชบัญญัติเอกสิทธิ์และความคุ้มครองกันฯ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของธนาคารแห่งประเทศไทย
(หนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.ฝรร. ๓๙๕/๒๕๖๖ ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖) ที่เห็นว่ากระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย
ควรหารือกับธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศเกี่ยวกับเหตุผลและกรณีที่อาจนำไปสู่การยกเลิกการจัดประชุมให้ชัดเจน
เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจนำไปสู่การยกเลิกการจัดประชุม เนื่องใน ARTICLE
XII ให้สิทธิองค์กรข้างต้นในการยกเลิกการจัดประชุมฝ่ายเดียวโดยไม่ได้ระบุเหตุผล
และให้กระทรวงการคลังประสานเสนอแก้ไขถ้อยคำที่ผิดพลาด ARTICLE IX หัวข้อ Safety and Health Measures ที่ระบุว่ารัฐบาลไทยต้องจัดเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมในช่วงที่อยู่ที่เมืองมาราเกซ
ประเทศโมร็อกโก เป็นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ปี ๒๕๖๙
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การรับรองร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเป็นภูมิภาคที่มีภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืน (ASEAN Leaders' Declaration on Sustainable Resilience) | มท. | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเป็นภูมิภาคที่มีภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืน
(ASEAN Leaders' Declaration on Sustainable
Resilience) และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๔๓ (43rd ASEAN Summit) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๔-๗ กันยายน ๒๕๖๖ ณ กรุงจาการ์ตา
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำอาเซียนในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของประชาคมอาเซียนต่อความไม่แน่นอน
ความซับซ้อน
และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบทั้งจากภัยพิบัติและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
รวมถึงการใช้ทรัพยากรที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เป็นต้น
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงบประมาณในกรณีหากมีค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มาดำเนินการ
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติ
รวมทั้งจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและเปิดเผยต่อสาธารณชน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2541 พ.ศ. .... | พณ. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์
ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๘๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์
ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๘๖) พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าวกำหนดให้ถ่านหินทุกชนิดที่เป็นก้อน ผง
หรืออัดเป็นก้อน เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออก
แต่เนื่องจากปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง
กำหนดชนิดและสภาพแร่ที่ห้ามส่งออกกนอกราชอาณาจักรหรือเขตไหล่ทวีป พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งกำหนดมาตรการห้ามส่งออกถ่านหินที่มีถิ่นกำเนิดในราชอาณาจักรและเขตไหล่ทวีปออกนอกราชอาณาจักรหรือเขตไหล่ทวีปไว้เป็นการเฉพาะแล้ว
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | รัฐบาลสาธารณรัฐนิการากัวเสนอขอเปลี่ยนแปลงเขตอาณาให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐนิการากัวประจำญี่ปุ่นมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย แทนสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐนิการากัวประจำสาธารณรัฐเกาหลี | กต. | 15/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอเปลี่ยนแปลงเขตอาณาให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐนิการากัวประจำญี่ปุ่นมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
แทนสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐนิการากัวประจำสาธารณรัฐเกาหลี
โดยหากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เสนอแล้ว
กระทรวงการต่างประเทศจะแจ้งรัฐบาลสาธารณรัฐนิการากัวว่า
ฝ่ายไทยไม่ขัดข้องต่อการเปลี่ยนแปลงเขตอาณา
เพื่อดำเนินกระบวนการเกี่ยวกับการขอความเห็นชอบ (agreement)
การเสนอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐนิการากัวประจำประเทศไทย
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (1. นางถวิลวดี บุรีกุล ฯลฯ จำนวน 9 คน) | พม. | 25/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
จำนวน ๙ คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตีรีมีมติ (๒๕ เมษายน ๒๕๖๖) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
ดังนี้ ๑. ผู้แทนองค์กรสตรีและองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ
จำนวน ๖ คน ๑.๑
นางถวิลวดี บุรีกุล ๑.๒
นางสาวศุธาฎา เมฆาวงศกุล ๑.๓
นางสาวสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง ๑.๔
นายรณภูมิ สามัคคีคารมย์ ๑.๕
นางสาวเสาวลักษณ์ ทองก๊วย ๑.๖
นางสาวศิริพร ไชยสุต ๒. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านสิทธิมนุษยชน
ด้านสังคมศาสตร์ หรือด้านจิตวิทยา จำนวน ๓ คน ๒.๑
นางปารีณา ศรีวนิชย์ ๒.๒
นายสมศักดิ์ ชลาชล ๒.๓
นางสาวชมพูนุท นาครทรรพ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ความก้าวหน้าของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนมกราคม 2566 | นร.11 สศช | 21/03/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ
เดือนธันวาคม ๒๕๖๕ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (๑)
ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติ (๒) การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
(๓) การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และ (๔)
ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่ และเพื่อประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมือง ตั้งอาคารสำนักงาน อู่ซ่อม โรงงานโม่และย่อยหิน โรงงานคอนกรีต พื้นที่ทำการขึ้น-ลง เพื่อทำเหมืองตามแผนผังโครงการทำเหมือง ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงรายธนะวงศ์ ที่จังหวัดเชียงราย | อก. | 07/03/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอผ่อนผันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด
เชียงรายธนะวงศ์ ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ บี
เพื่อต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง
ตามคำขอต่ออายุประทานบัตรที่ ๒/๒๕๖๑ (ประทานบัตรที่ ๓๑๑๑๘/๑๕๘๒๕) เนื้อที่ ๒๘ ไร่
๒ งาน ๔๕ ตารางวา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓ และวันที่ ๒๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
และขอผ่อนผันพื้นที่เพื่อประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองฯ เนื้อที่ ๑๐๕
ไร่ ๑ งาน ๕๗ ตารางวา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓ และวันที่ ๒๑
กุมภาพันธ์ ๒๔๓๘ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ห้างเชียงรายฯ
ขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่า เพื่อประกอบกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองฯ
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้กระทรวงอุตสาหกรรม
(กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่)
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม เช่น ให้กระทรวงอุตสาหกรรม
โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำอย่างเคร่งครัด
เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ บี
ที่ยังไม่ผ่านการทำเหมืองและพื้นที่ใกล้เคียงก่อนการพิจารณาอนุญาตประทานบัตร
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการอย่างเคร่งครัดต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 25 (The 25th GMS Ministerial Conference) | นร.11 สศช | 07/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 | สธ. | 31/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา
พ.ศ.๒๕๑๐ มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงรายการและอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐
ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมาย และการดำเนินงานในปัจจุบัน ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่าเมื่อออกกฎกระทรวงที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับอนุญาต
ควรให้มีมาตรการในการควบคุมราคาเภสัชภัณฑ์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเภสัชภัณฑ์ในราคาที่สมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาสำหรับสัตว์ ซึ่งถือเป็นต้นทุนในการผลิตปศุสัตว์ ควรเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยพัฒนาตำรับยาและเป็นการต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยาใหม่เชิงอุตสาหกรรมในประเทศต่อไป
และควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติยา
พ.ศ. ๒๕๑๐ ดังกล่าว ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ขอความเห็นชอบการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ CTBTO On - site Inspection Regional Introductory Course (OSI-RIC24) | อว. | 10/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติในฐานะตัวแทนของประเทศไทยซึ่งเป็นสมาชิกของ CTBTO On-site Inspection Regional
Introductory Course (OSI-RIC24) ณ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่
๑๕-๒๑ มกราคม ๒๕๖๖ ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการประชุมดังกล่าว
และอนุมัติให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้ลงนามในหนังสือตอบรับการเป็นเจ้าภาพการประชุมดังกล่าวไปยัง CTBTO PrepCom ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
CTBTO On-site Inspection Regional Introductory Course (OSI-RIC24) ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นสมควรให้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอนด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|