ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 15 จากข้อมูลทั้งหมด 15 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | โครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ) | สคทช | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๗ ให้แก่ประชาชน
(สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ) โดยได้จัดทำ “โครงการมอบหนังสืออนุญาตที่ดินทำกินให้ประชาชน
๑.๓๘ ล้านไร่”
เป็นการมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ใน ๕๐
จังหวัด ๒๑๒ พื้นที่ จำนวน ๑,๓๘๐,๘๔๘ ไร่ ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
เพื่อดำเนินการพัฒนาพื้นที่และส่งเสริมการประกอบอาชีพตามศักยภาพของพื้นที่ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | มาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย | กค. | 28/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย
มีสาระสำคัญเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้จากการใช้จ่ายในประเทศและจากต่างประเทศ
ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม
เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ธุรกิจบริการ สถานบันเทิง โรงแรมที่พัก ผู้ให้บริการขนส่ง
สายการบิน เป็นต้น ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้ในระยะเวลาอันสั้นและสร้างงานให้กับประชาชนได้เพิ่มขึ้น
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงคมนาคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่ากรณีการยกเลิกการอนุญาตให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายสำหรับร้านค้าปลอดอากรขาเข้า
รวมถึงการยกเว้นอากรของที่ซื้อจากร้านค้าปลอดอากรสำหรับผู้โดยสารขาเข้า
เพื่อส่งเสริมการบริโภคและการใช้สินค้าภายในประเทศ ควรพิจารณาเงื่อนไขของสินค้าประเภทต่าง
ๆ ในการยกเลิกให้เหมาะสม โดยเน้นการสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยและสนับสนุนชุมชนเป็นหลัก
เพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง และควรมีการประเมินผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบหลังการดำเนินมาตรการ
เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของการดำเนินมาตรการในระยะต่อไป ในการดำเนินการขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัดต่อไป ควรมีการดำเนินการการศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างและอัตราภาษีสรรพสามิตฯ
ทั้งระบบให้ครอบคลุมในทุกมิติเพื่อให้สามารถนำผลการศึกษาไปพัฒนาการจัดเก็บภาษีของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรบูรณาการประเด็นการศึกษามาตรการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันอุดมศึกษา | นร.09 | 14/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การขอยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นการชั่วคราว | กก. | 24/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
(แบบ ตม.๖) ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา
จังหวัดสงขลา เป็นการชั่วคราว ในช่วงระหว่างวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖-๓๐ เมษายน
๒๕๖๗ และให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้มีการจัดทำประเมินรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม
เพื่อสะท้อนให้เห็นประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจของการดำเนินมาตรการดังกล่าว
ตลอดจนอาจพิจารณาดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับชายแดนประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ
เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติด้วย
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามและประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน เช่น ผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจในฤดูท่องเที่ยวหรือสถิติที่เกี่ยวกับอาชญากรรมหรือความมั่นคง
โดยรายงานผลการดำเนินการเมื่อสิ้นสุดมาตรการ
และควรมีการประเมินความเสี่ยงจากการยกเลิกการยื่นรายการตามแบบ ตม.๖ เป็นระยะ
พร้อมทั้งควรส่งเสริมระบบการตรวจคนเข้าเมืองในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยผ่านช่องทางบกและทางน้ำสามารถยื่นแบบได้ก่อนการเดินทาง
โดยการมีระบบดังกล่าวจะช่วยส่งผลให้ประเทศไทยสามารถดูแลความมั่นคงในการเดินทางเข้าเมืองระหว่างประเทศได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | รัฐบาลสาธารณรัฐชิลีเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐชิลีประจำประเทศไทย (นายปาตริซิโอ เฟร์นันโด พาวเวลล์ โอโซริโอ) | กต. | 03/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายปาตริซิโอ เฟร์นันโด
พาวเวลล์ โอโซริโอ (Mr. Patricio Fernando Powell
Osorio) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐชิลีประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายอเล็กซ์ ไกเกอร์ ซอฟเฟีย (Mr.
Alex Geiger Soffia) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อชำระค่าวัสดุอาหาร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | ยธ. | 26/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อชำระค่าวัสดุอาหาร ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๖๗๔,๔๓๙,๔๐๐ บาท
ของกรมราชทัณฑ์ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ กรณีเป็นผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยเดินทางระหว่างประเทศโดยนำยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งจำเป็นต้องใช้รักษาโรคเฉพาะตัวติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. .... | สธ. | 29/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์
กรณีเป็นผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยเดินทางระหว่างประเทศโดยนำยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งจำเป็นต้องใช้รักษาโรคเฉพาะตัวติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ในการขออนุญาตนำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ และประเภท ๓
สำหรับบุคคล หรือวัตถุออกฤทธิ์ประเภท ๒ ประเภท ๓ และประเภท ๔ สำหรับบุคคลหรือสัตว์
ซึ่งจำเป็นต้องใช้รักษาโรคเฉพาะตัวติดตัวนำเข้าในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่เห็นว่าเมื่อร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้วจำเป็นต้องมีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยได้รับทราบข้อมูล
เพื่อให้เกิดความารู้ความเข้าใจ และถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | รายงานประจำปี 2565 ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และผลการสอบบัญชี สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 | สกพอ. | 25/04/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๕
ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โดยมีผลการดำเนินงานสำคัญ เช่น โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (EEC Project List) เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
การจัดทำแผนผังการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
การให้บริการศูนย์เบ็ดเสร็จครบวงจร (EEC-OSS) เป็นต้น
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป ๒. รับทราบผลการสอบบัญชี
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองแล้ว
เห็นว่าถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... | มท. | 04/04/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบางสะพาน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลร่อนทอง
ตำบลกำเนิดนพคุณ ตำบลแม่รำพึง และตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท
ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ
และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัย
การบริการด้านการคมนาคมและขนส่งให้เพียงพอ
และได้มาตรฐานโดยดำรงรักษาวัฒนธรรมและประเพณีซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชุมชน
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ
และรักษาดุลยภาพระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเดิมซึ่งเป็นชุมชนประมงชายฝั่งกับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของประจวบคีรีขันธ์
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้บางส่วนไม่สอดคล้องกับพื้นที่วนอุทยานแม่รำพึงและวนอุทยานป่ากลางอ่าว
ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ระหว่างเตรียมการกำหนดพื้นที่ให้เป็นอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม
จึงควรแก้ไขแผนผังให้ถูกต้องตรงกับแผนที่
จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และเป็นไปตามกฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดประเภทหรือขนาดของกิจการ และหลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไข ที่ผู้ขออนุญาตจะต้องดำเนินการก่อนการพิจารณาออกใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๖๑
และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
หลักเกณฑ์การรับฟังความคิดเห็นของประชาขนที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ๒๕๖๑
และเมื่อผังชุมชนเมืองนี้มีผลใช้บังคับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ขอขยายเวลาดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี 2565 และโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ออนทัวร์ ทั่วไทย | พณ. | 07/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการพาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน ปี ๒๕๖๕
สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
สำหรับดำเนินโครงการดังกล่าวไปจนถึงเดือนเมษายน ๒๕๖๖
เห็นควรดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
ตามที่กระทรวงการคลังกำพหนด โดยให้กระทรวงพาณิชย์ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
รวมทั้งรวบรวม ประมวลผล และประเมินความสำเร็จของโครงการ ปัญหาและอุปสรรค
ตลอดจนข้อเสนอแนะต่อการดำเนินโครงการลักษณะดังกล่าวข้างต้น
เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... | มท. | 07/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม
(ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ
โรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยแก้ไขเพิ่มเติมสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม
โดยกำหนดให้สถานที่พักที่มีจำนวนห้องพักในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกันไม่เกิน
๘ ห้อง และมีจำนวนผู้พักรวมกันทั้งหมดไม่เกิน ๓๐ คน
ซึ่งให้บริการเพื่อหารายได้เสริม
เมื่อได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบให้นายทะเบียนออกหนังสือรับแจ้งสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม
พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยกำหนดให้หนังสือรับแจ้งมีอายุ ๕ ปีนับแต่วันแจ้ง เพื่ออนุรักษ์อาคารที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ทรงคุณค่าเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น
และเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่น นอกจากนี้
ได้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับโรงแรม โดยเพิ่มเติมให้สามารถนำอาคารที่มีลักษณะเป็นแพ
และอาคารที่มีลักษณะพิเศษ เช่น เต็นท์ กระโจม มาประกอบธุรกิจโรงแรมได้ รวมทั้งกำหนดเพิ่มเติมเงื่อนไขต่าง
ๆ เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้พัก ทั้งนี้
เพื่อให้ผู้ประกอบการดังกล่าวสามารถดำเนินการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมได้
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงสาธารณสุข เช่น
ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการสถานที่พักดังกล่าว จำเป็นต้องคำนึงถึงสุขลักษณะ
ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวพร้อมการบริหารจัดการ
รวมถึงการลดผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว ควรพิจารณาเพิ่มเติมเรื่องสุขลักษณะการจัดการส้วมและสิ่งปฏิกูล
สำหรับโรงแรมที่มีลักษณะเป็นแพ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ ๗ และ ๘
ของกฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๑
และการจัดการน้ำเสียที่มีไขมันจากการประกอบอาหารและให้บริการอาหารบนแพ
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
อาคารที่ใช้เป็นโรงแรม ไม่อยู่ในพื้นที่ที่กฎหมายควบคุมอาคารใช้บังคับอาจเพิ่มเติมเรื่อง
การจัดสิ่งปฏิกูลให้เป็นไปตามกฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๑ ควรพิจารณาจัดทำประเภทและหลักเกณฑ์เงื่อนไขของที่พักแรมให้มีความหลากหลายตามประเภทของที่พักแรมและศักยภาพเบื้องต้นของผู้ประกอบการ
เช่น หลักเกณฑ์เงื่อนไขสำหรับที่พักแรมท้องถิ่น ที่พักแรมอาคารอนุรักษ์
ที่พักแรมวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การขยายระยะเวลาและรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 9 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 | สธ. | 28/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการขยายระยะเวลาและรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา
๙ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาในการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา
๙ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ออกไปอีก ๑ ปี
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขจัดให้มีการเผยแพร่รายการเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อสาธารณชนตามที่กฎหมายกำหนด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 25 (The 25th GMS Ministerial Conference) | นร.11 สศช | 07/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 | สธ. | 31/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา
พ.ศ.๒๕๑๐ มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงรายการและอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐
ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมาย และการดำเนินงานในปัจจุบัน ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่าเมื่อออกกฎกระทรวงที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับอนุญาต
ควรให้มีมาตรการในการควบคุมราคาเภสัชภัณฑ์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเภสัชภัณฑ์ในราคาที่สมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาสำหรับสัตว์ ซึ่งถือเป็นต้นทุนในการผลิตปศุสัตว์ ควรเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยพัฒนาตำรับยาและเป็นการต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยาใหม่เชิงอุตสาหกรรมในประเทศต่อไป
และควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติยา
พ.ศ. ๒๕๑๐ ดังกล่าว ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าภายใต้แผนงาน The Programme for COVID-19 Crisis Response Emergency Support จากรัฐบาลญี่ปุ่น | กต. | 10/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่าง Agent Agreement between Thailand international Cooperation
Agency (TICA) and Japan International Cooperation System (JICS) for Procurement
Services under Japanese Grant Assistance for the Programme for COVID 19 Crisis
Response Emergency Support FY2022 และอนุมัติให้อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ ลงนามในร่าง Agent Agreement ดังกล่าว
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด (หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ด่วนมาก
ที่ อส ๐๐๐๖/๑๗๘๓๐ ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เช่น
เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรงบประมาณ แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบวาระว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่าง Agent Agreement between
Thailand international Cooperation Agency (TICA) and Japan International
Cooperation System (JICS) for Procurement Services under Japanese Grant
Assistance for the Programme for COVID 19 Crisis Response Emergency Support
FY2022 ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|