ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 9 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 161 - 180 จากข้อมูลทั้งหมด 243 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
161 | วันผ้าไทยแห่งชาติ | วธ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ “วันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันผ้าไทยแห่งชาติ”
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจัดกิจกรรมในการรณรงค์
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของผ้าไทยและการสร้างการรับรู้ถึงคำนิยามของผ้าไทยที่ชัดเจนอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนารูปแบบให้ดูทันสมัย
เหมาะกับประชาชนทุกเพศทุกวัย และไม่เป็นภาระค่าใช้จ่าย
เพื่อให้สามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้โดยยังคงสะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทยของแต่ละท้องถิ่น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
162 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 12 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 256 - 31 มีนาคม 2565) | นร.04 | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๑๒ (ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๔-๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕)
ซึ่งสรุปรายงานดังกล่าวเป็นการรายงานผลการดำเนินงานตาม (๑) นโยบายหลัก ๙ ด้าน เช่น
การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ
การทะนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก
การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย
การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม เป็นต้น และ (๒) นโยบายเร่งด่วน ๘
เรื่อง เช่น การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน
การปรับปรุงระบบสวัสดิการคุณภาพชีวิตของประชาชน
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม การยกระดับศักยภาพของแรงงาน
การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เป็นต้น ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
163 | การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 15 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 10 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 10 ในรูปแบบ face-to-face | ทส. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
164 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นให้ผู้นำของเข้ามาเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕
ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
โดยได้แก้ไขระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติพิธีการศุลกากรตามมาตรา ๑๐๒
วรรคสอง และมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐
จากเดิมที่กำหนดให้สิ้นสุดในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นให้สิ้นสุดในวันที่
๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
165 | รายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | นร.12 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ยุบเลิกสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ขอให้มอบหมายคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
ดำเนินการเพื่อยุบเลิกหน่วยงานและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
พ.ศ. .... และการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวของคณะรัฐมนตรีให้นำรายงานการประเมินความคุ้มค่า
บทเรียน ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนไปประกอบการพิจารณาด้วย ๒.
ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความละเอียด รอบคอบ ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมาย
และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเกษตรกรและผู้ยากจนที่เข้าร่วมโครงการ
รวมทั้งบุคลากรและทรัพยากรของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ควรเข้ามาเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการแก้ปัญหาที่ดินทั้งประเทศโดยไม่ควรเป็นหน่วยงานที่สำนักงานในทุกจังหวัด
และไม่ควรซื้อที่ดินเอกชนมาดำเนินการเอง ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
166 | แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ (1. นายประกิต วาทีสาธกกิจ ฯลฯ จำนวน 9 ราย) | สธ. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ
จำนวน ๙ คน ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณาสุขเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ดังนี้ ๑. นายประกิต วาทีสาธกกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการแพทย์ ๒. นางนันทวรรณ วิจิตรวาทการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ด้านการสาธารณสุข ๓. นายปกป้อง ศรีสนิท กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมาย ๔. นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการคุ้มครองสิทธิสตรีหรือสิทธิเด็ก ๕. นางสาวปนัดดา วงศ์ผู้ดี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ในการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ๖. นางสมศรี เผ่าสวัสดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
จากองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์มิใช่เป็นการแสวงหากำไรและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับด้านการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชน ๗. นายสมพงษ์ จิตระดับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์มิใช่เป็นการแสวงหากำไรและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับด้านการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชน ๘. นายอิสรา ศานติศาสน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
จากองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์มิใช่เป็นการแสวงหากำไรและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับด้านการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชน ๙. นางฐาณิษา สุขเกษม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
จากองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์มิใช่เป็นการแสวงหากำไรและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับด้านการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
167 | รัฐบาลสาธารณรัฐฟิจิเสนอขอให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟิจิประจำสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีเขตอาณาครอบครุมประเทศไทย และแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐฟิจิประจำประเทศไทย (นายอะเมนาตาเว วากาซาวูวังกา เยาโวลี) | กต. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ดังนี้ ๑.ให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟิจิประจำสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ๒. แต่งตั้ง นายอะเมนาตาเว วากาซาวูวังกา เยาโววี (Mr. Amenatave Vakasavuwaqa Yauvoli) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐฟิจิประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สืบแทน นายโกลีนีโอ กาตา
ตากาลี (Mr. Kolinio Gata Takali)
ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
168 | ร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ในโอกาสครบรอบ 75 ปี ของการก่อตั้งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก : วาระร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอเชียและแปซิฟิก | กต. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ในโอกาสครบรอบ ๗๕ ปี
ของการก่อตั้งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก
: วาระร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอเชียและแปซิฟิก และเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมฯ
หรือผู้แทน ร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกเอสแคปในการจัดการกับความท้าทายด้านการพัฒนา
เพื่อเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
การฟื้นฟูอย่างเท่าเทียม ยั่งยืน และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
รวมทั้งย้ำความสำคัญของการระดมทุนเพื่อการพัฒนาในการช่วยบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยเฉพาะการระดมทรัพยากรทางการเงินจากทุกแหล่ง
การส่งเสริมการให้และถ่ายทอดเทคโนโลยี ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญากรุงเทพฯ
ในโอกาสครบรอบ ๗๕ ปี ของการก่อตั้งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก
: วาระร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอเชียและแปซิฟิก ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
169 | รายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2564 (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2564) | มท. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง
(กฟน.) ปี ๒๕๖๔ (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม ๒๕๖๔) โดย
กฟน. มีแผนดำเนินการฯ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ มีกรอบระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๒๗-๒๕๗๐
มีสาระสำคัญ เช่น (๑) ผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าฯ
แผนงาน/โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ระยะทาง ๑๘๐.๔ กิโลเมตร ๔ แผนงาน
ประกอบด้วย แผนงานฯ ปี ๒๕๕๑-๒๕๕๖ (ฉบับปรับปรุง) ๒๕.๒ กิโลเมตร แผนงานฯ รัชดาภิเษก
(ฉบับปรับปรุง) ๒๒.๕ กิโลเมตร แผนงานฯ รองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน ๑๒๗.๓
กิโลเมตร และแผนงานฯ ฉบับปฏิบัติการเร่งรัด ๒๐.๕ กิโลเมตร (๒)
การเบิกจ่ายงบประมาณของ กฟน. ณ เดือนธันวาคม ๒๕๖๔ มีการเบิกจ่ายแล้ว ๒,๒๗๖.๕๗ ล้านบาท จากเป้าหมายการเบิกจ่ายในปี ๒๕๖๔ จำนวน ๔,๑๖๑.๒๓ ล้านบาล และ (๓) แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป
เป็นการติดตามเร่งรัดการดำเนินการตามแผนฯ ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
170 | การทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ | กษ. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีพิจารณาเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความต่อเนื่อง
ทำให้เกษตรกรมีการรวมตัวกันเพาะพืชเศรษฐกิจชนิดเดียวกัน
โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัยมาใช้ในกระบวนการเพาะปลูก เพื่อลดต้นทุนการผลิต
และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากยิ่งขึ้น
รวมทั้งมีอำนาจต่อรองทางการตลาดได้อย่างเป็นเอกภาพ
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
กำกับ ติดตามการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รวบรวมข้อมูลและรายงานผลการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้คณะรัฐมนตรีทราบทุก
๓ เดือน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
171 | มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดในการซื้อทรัพย์สินคืน (มาตรการฯ REIT buy-back) | กค. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดในการซื้อทรัพย์สินคืน
(มาตรการฯ REIT buy-back)
เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการและลดภาระให้แก่ภาคธุรกิจและสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้อย่างต่อเนื่อง ๒.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับการขายทรัพย์สินให้แก่ทรัสตีของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดขายคืน
ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓.
อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายที่ดิน
สำหรับกรณีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มีสาระสำคัญเป็นการลดหย่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
สำหรับกรณีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน
โดยให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๔.
อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยอาคาชุด
สำหรับกรณีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มีสาระสำคัญเป็นการลดหย่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
สำหรับกรณีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน
โดยให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๕.
การจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดในการซื้อทรัพย์สินคืน
(มาตรการฯ REIT buy-back)
ให้พิจารณาถึงแหล่งเงินรายได้อื่นและเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยยึดหลักความร่วมมือและรับผิดชอบร่วมกันระหว่างรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๖.
ให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรพิจารณาแนวทางลดผลกระทบต่อฐานะการคลังอันเนื่องมาจากการดำเนินมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมทั้งดำเนินการตามนัยของมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๗.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก รวมทั้งจัดทำงบประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วนและใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๘.
ให้สำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ตามที่เห็นสมควร
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
172 | การดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย | นร.13 | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
173 | ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม
พ.ศ. ๒๕๓๓ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของคณะกรรมการประกันสังคม
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาและคณะกรรมการการแพทย์
แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการประกันสังคมมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการบริหารพนักงานและลูกจ้าง
รวมทั้งการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๙
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้ประกันตนเกี่ยวกับสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
การให้ผู้รับบำนาญสามารถกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน สิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรโดยเป็นการเหมาจ่าย รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราการได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ
ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ หลักเกณฑ์การรับเงินบำนาญชราภาพ
และหลักเกณฑ์การได้รับประโยชน์ทดแทน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงาน ก.พ. เช่น
มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ให้ความสำคัญกับประเด็นกลุ่มแรงงานนอกระบบให้ได้รับการคุ้มครองของระบบประกันสังคมเพิ่มมากขึ้น
กำหนดอายุทดแทนกรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนที่มีอายุห้าสิบปีบริบูรณ์แต่ไม่ถึงหกสิบห้าปีบริบูรณ์ให้สอดคล้องกับการจ้างงาน
และควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณา
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพทางการเงินการคลังของกองทุนประกันสังคมต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงบประมาณ
และสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว ควรคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางรายได้ยามชราภาพของผู้ประกันตน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
174 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | พณ. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ซึ่งได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยได้ดำเนินการพิจารณาแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลลิขสิทธิ์
การประชาสัมพันธ์ การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
การศึกษาแนวทางการให้ความคุ้มครองสิทธิของนักแสดง
การกำหนดแนวทางการดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์
โดยมีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานอย่างเคร่งครัด และได้ส่งเสริมให้เจ้าของลิขสิทธิ์เลือกใช้มาตรการทางเทคโนโลยีที่ไม่เป็นการปิดกั้นการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
175 | แนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ | นร.11 สศช | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติแนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เรื่อง แนวทาง
หลักการ และการดำเนินการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ ๒
โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาทบทวนยุทธศาสตร์ชาติ
ตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ เห็นว่าสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ชาติ
จึงจะยังคง “เป้าหมาย” ตามยุทธศาสตร์ชาติไว้เช่นเดิม แต่จะมีการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
จำนวน ๒๓ ฉบับ ในส่วนของ “ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา”
เนื่องจากตัวชีวัดเดิมไม่สามารถสะท้อนต่อเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เช่น มีการหารือกับหน่วยงานเจ้าภาพแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และสามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาล
ควรกำหนดแนวทางรองรับกรณีตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่มีการปรับเปลี่ยน
เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อแผนระดับ ๓ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ
และจัดทำแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
176 | รัฐบาลไอร์แลนด์เสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย (นายแพทริก เบิร์น) | กต. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายแพทริก เบิร์น (Mr. Patrick Bourne) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งไอร์แลนด์ประจำประเทศไทยคนใหม่
สืบแทน โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายโจเซฟ แอนโทนี คอตเตอร์ (Mr.
Joseph Anthony Cotter) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
177 | ร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล เรื่อง การตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา | กห. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล US-TH-AF-22-0001
สำหรับความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา
ว่าด้วยการตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพ
และให้เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ
โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Power) ให้เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าว
โดยร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนาอันเป็นความสนใจร่วมกันในด้านที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้จากระยะไกลและการประมวลผลสัญญาณ
ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล
US-TH-AF-22-0001 สำหรับความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา
ว่าด้วยการตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ที่ควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
178 | การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายรุจิโรจน์ อนามบุตร) | มท. | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายรุจิโรจน์ อนามบุตร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ด้านการผังเมือง) ในคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ แทนตำแหน่งที่ว่าง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
179 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สว. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยกระทรวงการคลังได้ดำเนินการ เช่น
จัดทำกฎหมายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านภาษีของประเทศสมาชิกโดยเป็นไปตามมาตรฐานสากล
จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตามพันธกรณีระหว่างประเทศเพื่อปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับภารกิจระหว่างประเทศโดยเฉพาะ
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
โดยมีอธิบดีกรมสรรพากรเป็นประธาน เพื่อเตรียมการด้านต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความลับของข้อมูลในการแลกเปลี่ยนให้เป็นมาตรฐานสากล
และจัดอบรมสัมมนาเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติที่ต้องดำเนินการเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์สูงสุดในการบริหารการจัดเก็บภาษี
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
180 | ขออนุมัติดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทย | คค. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
ในกรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) ๒.
เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ยืมเงินตามนัยมาตรา ๓๙ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายใต้กรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้น ๓.
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขอปรับเพิ่มเงินลงทุน
(Cost Overrun) ในอนาคต
ซึ่งอาจกระทบต่อผลการดำเนินงานและผลตอบแทนการลงทุน รวมทั้งอาจเกิดความล่าช้าในการให้บริการและไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ๔.
ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้และจำเป็นต้องติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๕.
ให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับแนวโน้มการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจต่าง
ๆ ในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |