ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 160 จากข้อมูลทั้งหมด 243 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน | กค. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบผลการพิจารณาขอจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าตามร่างพระราชบัญญัติกองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า
พ.ศ. .... โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับช่วยเหลือ เยียวยา
และบรรเทาผู้ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าในภาคการผลิตทั้งเกษตร
อุตสาหกรรม และภาคบริการ
ตลอดจนพัฒนาศักยภาพการแข่งขันให้สามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าได้
ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๔
เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๔
มีมติเห็นชอบในหลักการการขอจัดตั้งกองทุนฯ
และให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศรับข้อสังเกตของที่ประชุมไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่ การดำเนินการในระยะแรกของกองทุนฯ
รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณเป็นทุนประเดิมครั้งแรก จำนวน ๑,๐๐๐ ล้านบาท และกองทุนฯ
ต้องจัดทำหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ชัดเจน ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอ ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เช่น (๑)
ควรให้ความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันอย่างยั่งยืนสำหรับประกอบการต่อไป
(๒)
ควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือที่มิให้เกิดความซ้ำซ้อนกับกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงกองทุนอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบันของหน่วยงานต่าง ๆ
(๓) ควรทบทวนสัดส่วนของวงเงินทุนประเดิม
เนื่องจากเป็นวงเงินที่สูงและเป็นการกำหนดที่ไม่สอดคล้องกับหลักการและวิธีการจัดทำงบประมาณประจำปีและวินัยการเงินการคลังของประเทศ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||
142 | ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. .... | นร. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ....
ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
143 | การโอนข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายภูมินทร ปลั่งสมบัติ) | นร.04 | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติรับโอน นายภูมินทร ปลั่งสมบัติ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รองนายกรัฐมนตรี
(นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ
|
|||||||||||||||||||||
144 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2565 และครั้งที่ 2/2565 | นร.52 | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
(กพต.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๕ และครั้งที่ ๒/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑.
เรื่องเพื่อทราบ เช่น (๑) รายงานการตรวจติดตามงานด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของ
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี/ประธาน กพต. (๒)
รายงานความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน (อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา)
ผ่านโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากน้ำเทพา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา
จังหวัดสงขลา และ (๓) การขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
รองรับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย ๒.
เรื่องที่ประชุมรับทราบรายงานการติดตามข้อสั่งการประธาน กพต. เช่น (๑)
การขับเคลื่อนโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
เพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผ่านโครงการนำร่อง “๑ ข้าราชการ ๑ ครัวเรือนยากจน” และ (๒)
ความคืบหน้าการช่วยเหลือและพัฒนาแรงงานไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กลุ่มที่เดินทางกลับจากต่างประเทศภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ๓.
เรื่องเพื่อพิจารณา เช่น (๑)
โครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์หลักสูตรเข้มข้นและเตรียมการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และ (๒) ขออนุมัติหลักการโครงการเสริมสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนาเพื่อสืบสานและรักษาสังคมพหุวัฒนธรรมที่ดีงามของจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐
|
|||||||||||||||||||||
145 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2569 | อว. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการแผนอัตรากำลังของโรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๙
จำนวน ๔๖๗ อัตรา สำหรับงบประมาณรองรับแผนอัตรากำลังดังกล่าว
ให้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ขอรับการจัดสรรงบประมาณโดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงิน
โดยใช้จ่ายจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์เป็นลำดับแรก
ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. และข้อเสนอแนะของสำนกงาน ก.พ.ร. เช่น
ควรพิจารณารูปแบบการจ้างงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ควรวางแผนการบูรณาการความร่วมมือด้านการพัฒนาทางการแพทย์ควรวางแผนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนการพัฒนาการทางวิชาการ
บุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข ร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลของเอกชนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้าน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||
146 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 9/2565 | นร. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||
147 | (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างศักยภาพเชิงสถาบันและเชิงเทคนิคเพื่อดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานด้านความโปร่งใสภายใต้ความตกลงปารีส | ทส. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||
148 | ผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น | กต. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในฐานะแขกของรัฐบาล
ระหว่างวันที่ ๑-๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ โดยนายกรัฐมนตรีได้หารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นทั้งในประเด็นทวิภาคีความร่วมมือในกรอบภูมิภาคและอนุภูมิภาค
ประเด็นสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ
รวมทั้งนายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้เป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงและหนังสือแลกเปลี่ยน
๓ ฉบับ ได้แก่ (๑) ความตกลงว่าด้วยการมอบโอนยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศระหว่างรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
(๒)
หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
และ (๓) หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความช่วยเหลือแบบให้เปล่าของรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้โครงการ
The Programme for COVID-19 Crisis
Response Emergency Support ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามตารางติดตามผลการเยือนไทยฯ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เช่น
การแลกเปลี่ยนข่าวกรองและองค์ความรู้ทางเทคนิค
เพื่อเสริมความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศ
ความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานหลัก
การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงและการรักษาความปลอดภัยเทคโนโลยีที่อ่อนไหวต่อความมั่นคงแห่งชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||
149 | มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2564 | สช. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑๔ พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ๓ มิติ ได้แก่
มิติ ๑ การสร้างเสริมสุขภาวะสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) มติ ๒
การคุ้มครองการเข้าถึงบริการสุขภาพของกลุ่มประชากรเฉพาะในภาวะวิกฤตอย่างเป็นธรรม
มิติ ๓ การจัดการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤติสุขภาพ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติฯ
ที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (กรมประชาสัมพันธ์)
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณ เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ
ควรมุ่งเน้นให้เกิดเครือข่ายพลเมืองตื่นรู้และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบูรณาการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ปรับห้วงเวลาของแผนปฏิบัติการฯ จาก พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๙ เป็น พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐
เพื่อให้สอดคล้องกับที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ
ไปแล้วเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ และให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ แล้วแต่กรณี
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||
150 | มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย | กก. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19) อาทิ (๑)
ควรจัดเก็บข้อมูลนักแสดงชาวต่างชาติที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย
และจัดส่งให้กรมสรรพากรเป็นระยะ และ (๒)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจด้านอื่น ๆ
ให้มากขึ้นควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการลดข้อจำกัดและกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่เป็นอุปสรรคต่อการถ่ายทำภาพยนตร์
การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนดำเนินการผลักดันมาตรการสร้างแรงจูงใจในด้านอื่น
ๆ
ที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติในครั้งนี้ให้เหมาะสมและครอบคลุม
รวมทั้งให้พิจารณาแนวทางการดำเนินการส่งเสริมและยกระดับจังหวัดเมืองรองต่าง ๆ
ให้สามารถใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้นด้วย |
|||||||||||||||||||||
151 | ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... | ยธ. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.
๒๕๓๔ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น
และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนและพึงกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง
ตามบทบัญญัติมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อ ๑๑
ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่กำหนดให้บุคคลจะถูกจำคุกเพียงเพราะเหตุว่าไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญามิได้
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เห็นว่าการออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
พ.ศ. ๒๕๓๔ ต้องเข้าองค์ประกอบตามมาตรา ๔
ซึ่งต้องพิจารณาองค์ประกอบในส่วนของผู้กระทำด้วย และคำนึงถึงมาตรการที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในการใช้เช็ค
เพื่อมิให้กระทบต่อความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจด้วย ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด และสมาคมธนาคารไทย เช่น
สมควรที่ภาครัฐจะมีมาตรการหรือกฎหมายที่จะสามารถสร้างความเชื่อถือในการใช้เช็ค
อันเป็นตราสารที่มีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจการค้าของประเทศ
ควรมีการพิจารณาศึกษาการกำหนดมาตรการอื่นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการรับชำระหนี้โดยเช็คด้วย
ควรที่จะมีกฎหมายกำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้มีเจตนาออกเช็คโดยไม่สุจริต เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||
152 | มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 | ทส. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
จำนวน ๙ เรื่อง ประกอบด้วย (๑) ผลการดำเนินงานด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ
ในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดผ่านกลไกการปรับลดอัตราการระบายมลพิษทางอากาศในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(๒) แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ (๓) การแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหลกลางทะเล
จังหวัดระยอง (๔) โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทา ระยะที่ ๑ วัชรพล-ทองหล่อ
ของสำนักงานการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (๕) โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า ๒๓๐
กิโลโวลต์ ตาก ๒-แม่สอด (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ ๑)
ของการไฟฟ้านครหลวง (๖) โครงการที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามา-ธนารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ
ของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (๗) โครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับขี่ ๒
สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ของกองทัพเรือ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (๘)
การกำหนดอัตราค่าบริการในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการจัดสรรเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม
ตามมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๓๕ และ (๙)
การกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
153 | รายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2564 ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ | กค. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี
๒๕๖๔ ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ สรุปได้ ดังนี้ (๑) การจัดเก็บ รวบรวม
และประมวลผลข้อมูล ด้านอุปทาน อุปสงค์ และราคาของกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และใน
๒๑ จังหวัดที่สำคัญในภูมิภาค เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และภูเก็ต โดยมีข้อมูล
เช่น โครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขาย ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ
และข้อมูลสถิติและรายการดัชนีของที่อยู่อาศัย (๒) การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลและข่าวสาร
ด้านอสังหาริมทรัพย์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น www.reic.or.th และวารสารศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ และ (๓) การจัดทำโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์มือสองและประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งตลาดอสังหาริมทรัพย์มือสองได้ง่ายขึ้น
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
154 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรี | มท. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๖๔ จำนวน ๖ โครงการ งบประมาณ ๓๓๘,๗๙๘,๐๐๐ บาท ให้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยจะได้แจ้งให้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
ในฐานะหน่วยรับงบประมาณจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
รวมถึงประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงศักยภาพและความสามารถในการใช้จ่าย
ความคุ้มค่า ประหยัด เป้าหมาย และประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
ตลอดจนปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาดำเนินการ และความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในทุกมิติต่อไป
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทยและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้ความสำคัญในการควบคุม
กำกับ ดูแลการดำเนินการของหน่วยรับงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรจัดทำแผนบริหารจัดการเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์โครงการได้สูงสุดและยั่งยืนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันทั้ง
๖ โครงการ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วในกรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด |
|||||||||||||||||||||
155 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการ (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่) | กษ. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่
จำนวน ๒ โครงการ ประกอบด้วย โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดปราจีนบุรี จากเดิม ๑๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๕ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๗) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๙,๐๗๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา
จังหวัดเชียงใหม่ จากเดิม ๑๑ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๖ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๗๐) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๑๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐
บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
เร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
ควรรายงานให้สำนักงบประมาณทราบภายในกำหนดระยะเวลา ตามนัยข้อ ๗ (๒)
ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรพิจารณาผลกระทบสุขภาพที่เกิดขึ้นกับชุมชนที่เป็นผลมาจากการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ
ควรรายงานความคืบหน้าในการก่อสร้างเสนอคณะลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองและเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเพื่อทราบทุก
๖ เดือน ต่อไป ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างการรับรู้
และการมีส่วนร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการอยู่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. มอหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ประสานงานกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
(องค์การมหาชน)
ศึกษาและพัฒนาเทคนิควิธีการสำรวจพื้นที่สำหรับการดำเนินโครงการชลประทานต่าง ๆ
ให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้มีการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการให้ครบถ้วนรอบด้านในทุกมิติ
เพื่อมิให้เกิดปัญหาการดำเนินงานล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ |
|||||||||||||||||||||
156 | แจ้งผลคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ.713 - 732/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1366-1385/2564 ระหว่างนายทัศพงศ์ บุญภักดี กับพวก 25 คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย | อส. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
ในคดีหมายเลขดำที่ อ.๗๑๓-๗๓๒/๒๕๕๘ คดีหมายเลขแดงที่ อ.๑๓๖๖-๑๓๘๕/๒๕๖๔ ระหว่างนายทัศพงศ์ บุญภักดี
กับพวก ๒๕ คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน
ผู้ถูกฟ้องคดี (คณะรัฐมนตรีผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๖) เรื่อง
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นให้ยกฟ้องคดี ทำให้คดีนี้ถึงที่สุดแล้ว
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
157 | โครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำเรียนฟรี มีอาชีพ) | ศธ. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการโครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน
เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ)
และให้กระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
ดำเนินโครงการนำร่องในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนว ๘๘
แห่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (ระยะที่ ๑) ก่อน แล้วให้กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการฯ
(ระยะที่ ๑) อย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินโครงการฯ เสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
และประกอบการพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการขยายผลการดำเนินโครงการฯ ในระยะต่อไป
อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการฯ ในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้กระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ให้กระทรวงศึกษาธิการ
(สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) รับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณารวบรวมข้อมูลและติดตามเยาวชนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาในลักษณะของภาคีเครือข่าย
ควรจัดทำหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมดิจิทัลในอนาคต
ควรพิจารณาความซ้ำซ้อนของสถานศึกษาอาชีวในโครงการฯ กับโครงการอาชีวพระดาบส
ทั้งด้านการก่อสร้างหอพัก และการจ้างและจ่ายค่าตอบแทนดูแลหอพัก
เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการและแบ่งปันการใช้ทรัพยากรเพื่อการดูแลผู้เรียนร่วมกัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||
158 | (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570) | นร.08 | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ (ร่าง)
นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการดำเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข
หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ
โดยให้หน่วยงานของรัฐนำไปถ่ายทอดและจัดทำแผนระดับที่ ๓
ที่จะเริ่มดำเนินการพร้อมกันในห้วงที่ ๒ ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ระหว่าง
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๗๐ ได้อย่างสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในการจัดทำ
(ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ได้ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประชุม
การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ทางเว็บไซต์ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงสาธารณสุข
เช่น
ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาที่แต่ละหน่วยงานยังคงจัดทำแผนงานตามภารกิจและบริหารงบประมาณและทรัพยากรของแต่ละหน่วยงานเอง
ควรมีการปรับถ้อยคำตัวชี้ววัดในบางรายการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงการปรับปรุงในส่วนของนโยบายและแผนความมั่นคงที่
๖ การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง และนโยบายและแผนความมั่นคงที่ ๑๓
การบริหารจัดการความเสี่ยงโรคติดต่ออุบัติใหม่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||
159 | ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 26 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 8 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | กค. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers’ Meeting : AFMM)
ครั้งที่ ๒๖
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN
Finance Ministers’ and Central Bank Governots’ Meeting : AFMGM)
ครั้งที่ ๘ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๗-๘
เมษายน ๒๕๖๕ ผ่านระบบการประชุมทางไกล
ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน
และแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ ๘
โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง
ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประธานการประชุม โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น
ความร่วมมือทางด้านการเงินอาเซียน การยกระดับด้านการเงินที่ยั่งยืน
แผนงานการบูรณาการทางการเงินของอาเซียน การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ เป็นต้น
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||
160 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2502 เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด เพื่อให้บริษัท ขนส่ง จำกัด มีภารกิจด้านการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ | คค. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๑ ตุลาคม ๒๕๐๒ เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด จากเดิมให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
(บขส.) รับภาระเดินเฉพาะรถโดยสาร เป็นให้ บขส. มีภารกิจด้านการขนส่งผู้โดยสาร
และการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคมและบริษัท
ขนส่ง จำกัด รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
เช่น
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นภารกิจหลักขององค์กรเป็นลำดับแรก
ควรทบทวนโครงสร้างอุตสาหกรรมการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง
ควรพิจารณาความเหมาะสมและความพร้อมของ บขส.
ในการเข้าไปดำเนินธุรกิจในลักษณะที่ต้องเข้าไปแข่งขันกับเอกชน
และพิจารณาความสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๕ (๔) ควรดำเนินการภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่และไม่ลงทุนเพิ่ม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
หารือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด อย่างละเอียดรอบคอบ
เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ร่วมกันอย่างเหมาะสมเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
โดยไม่เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนของขอบเขตภารกิจและการลงทุน แล้วให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
เร่งปรับปรุงแผนวิสาหกิจและแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนต่อไป |