ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 243 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) | กก. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||
82 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นายนราพัฒน์ แก้วทอง) | นร.04 | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายนราพัฒน์ แก้วทอง เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี
(พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบด้วยแล้ว ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
83 | ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และการสมัครเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ภายใต้กรรมสารเจนีวา ค.ศ. 1999 | พณ. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||
84 | ร่างข้อตกลงว่าด้วยการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย | กต. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างข้อตกลงว่าด้วยการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย
และมอบหมายให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในร่างข้อตกลงว่าด้วยการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย
โดยร่างข้อตกลงฯ มีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี
ระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายมีประโยชน์ร่วมกัน
โดยมิได้มีการใช้ถ้อยคำที่มุ่งหมายให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างกันตามกฎหมายต่างประเทศ
กรณีนี้จึงไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อตกลงว่าด้วยการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||
85 | กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2566-2569 | ยธ. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๙
ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทสังคมและแนวทางการจัดทำข้อเสนอวิจัยตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกอบด้วย (๑) กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา
เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอย่างสงบสุข (๒)
กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง ปกครอง
เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอย่างสงบสุข (๓)
กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากฎหมายให้กฎหมายมีความทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและภาวะวิกฤติ
(๔) กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการยุติธรรม
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรม ทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
และภาวะวิกฤติ และ (๕) กรอบการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
ให้มีระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
และภาวะวิกฤติ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติเสนอ
และให้คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานศาลปกครอง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
86 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2568 | อว. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||
87 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายวัชระ เสือดี) | กษ. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายวัชระ เสือดี ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งวิศวกรชลประทานเชี่ยวชาญ
กรมชลประทาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) (วิศวกรชลประทานทรงคุณวุฒิ)
กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๔
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
88 | การดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 2610 (ค.ศ. 2021) เรื่อง การต่อต้านการก่อการร้าย | กต. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและการดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Security Council : UNSC) ที่ ๒๖๑๐ (ค.ศ. ๒๐๒๑) เรื่อง
การต่อต้านการก่อการร้าย และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ
และแจ้งผลการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
หรือข้อขัดข้องหรืออุปสรรคในการปฏิบัติตามข้อมติดังกล่าวให้กระทรวงการต่างประเทศทราบ
เพื่อประโยชน์ในการรายงานต่อ UN ต่อไป โดยข้อยุติ UNSC ที่ ๒๖๑๐ (ค.ศ. ๒๐๒๑)
เป็นการกำหนดให้ประเทศสมาชิกของ UN ดำเนินการตามมาตรการในด้านต่าง
ๆ
เพื่อเป็นการป้องกันและตอบสนองต่อสถานการณ์การก่อการร้ายระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปต่อกลุ่มอัลกออิดะห์
(AL-Oaida) และกลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนท์ (ISIL) และบุคคลหรือกลุ่มก่อการร้ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
การดำเนินการด้านการเงิน การคว่ำบาตรทางอาวุธและการดำเนินการด้านเทคโนโลยี
การห้ามเดินทาง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงคมนาคม
ที่เห็นควรให้เพิ่มการเฝ้าระวังเพื่อการป้องปราบการกระทำที่เกี่ยวกับการก่อการร้าย
และยึดหลักการส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชนของทุกคน และให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
89 | แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายปารเมศ โพธารากุล) | กษ. | 13/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายปารเมศ โพธารากุล
เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
|
||||||||||||||||||||||||
90 | ขออนุมัติการจัดทำและลงนามร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการเมืองยางพาราและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยาง แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) | กษ. | 13/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจโครงการเมืองยางพาราและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยาง
แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามฝ่าย อินโดนีเซีย–มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ และอนุมัติให้
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย
เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU)
โครงการเมืองยางพาราและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยาง
แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามฝ่าย อินโดนีเซีย–มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Powers) ให้ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย
เป็นผู้ลงนามเอกสารดังกล่าวข้างต้น โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเป็นความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
Northern Corridor Implementation Authority (NCIA) ประเทศมาเลเซีย และการยางแห่งประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเข้าใจความเข้มแข็งของห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมยางพารา
โดยจะร่วมมือกันกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาง
การเสริมสร้างศักยภาพของเมืองยางพารา (Rubber Cities) ของทั้งสามประเทศสมาชิกความร่วมมือด้านงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ยาง
นวัตกรรม และเทคโนโลยีความร่วมมือด้านมาตรฐานและการรับรอง
การแสวงหาและเสนอความร่วมมือผ่านเครือข่ายเมืองยางพาราระหว่างอนุภูมิภาค IMT-GT
และภูมิภาคอาเซียน (ASEAN)
ตลอดจนความร่วมมือด้านธุรกิจ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจโครงการเมืองยางพาราและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยางแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามฝ่าย
อินโดนีเซีย–มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||
91 | ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... | ยธ. | 13/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับเพิ่มและยกเลิกคดีความผิดทางอาญาที่ต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
จากร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยให้ ๑) คงคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๓ ฉบับ
เป็นคดีพเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา
และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร ๒) เพิ่มเติมคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๓
ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
และคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก และ ๓)
ยกเลิกคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๒ ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่
คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นควรให้กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณาเพิ่มเติมความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทางทะเลและชายฝั่ง
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ในร่างกฎกระทรวงนี้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
92 | ร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ | ทส. | 13/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้และทรัพยากรป่าไม้
ตลอดจนพัฒนาระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ
มีเป้าหมายคือเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศอย่างน้อยร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ประเทศ
ประกอบด้วย ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ
๒๕ ระยะเวลาของแผนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐ โดยร่างแผนแม่บทฯ ได้กำหนดมาตรการไว้ ๓
ด้าน ตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ได้แก่ ด้านการจัดการป่าไม้
ด้านการใช้ประโยชน์ผลิตผลและการบริการจากป่าไม้และอุตสาหกรรมป่าไม้
และด้านการพัฒนาระบบบริหารและองค์กรเกี่ยวกับการป่าไม้ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น
ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรใช้ประโยชน์จากการจัดทำและการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ ต่อยอดมิติเศรษฐกิจด้านภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของไทยที่ได้มาตรฐาน
มีธรรมาภิบาล ตอบโจทย์ความยั่งยืนทั้งห่วงโซ่อุปทาน
เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในภาวะตลาดโลกที่มีเงื่อนไขและการแข่งขันสูงในปัจจุบัน
การดำเนินบทบาทตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ
ควรกำหนดหน่วยงานหรือคณะบุคคลผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และเหมาะสม
รวมถึงควรบูรณาการฐานข้อมูลสารสนเทศในภาพรวมทั้งในระดับประเทศ และระดับพื้นที่
ตลอดจนการดำเนินการระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้ประสานสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
ควรเพิ่มการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในประเด็นเรื่องของ
“การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” เพิ่มเติมนอกจากการอนุรักษ์
การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน ในส่วนที่ ๕ ข้อ ๕.๑ ประการที่ ๖
และควรคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่ครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่เดิม
โดยอาจมีมาตรการเยียวยาหรือช่วยเหลือที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อภาคประชาชน ในส่วนที่
๕ ข้อ ๕.๑ ประการที่ ๙ ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้แต่ละประเภทให้มีความเหมาะสม
ชัดเจน สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
และเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
แล้วให้จัดทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน (Handbook)
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการขอทบทวน
ปรับปรุงหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องที่อาจมีความซ้ำซ้อนหรือไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
93 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายวรณัฐ คงเมือง) | นร.08 | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายวรณัฐ คงเมือง ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
94 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี | พม. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นเงินทั้งสิ้น
๒๗๙,๓๘๑,๐๐๐ บาท
เพื่อเป็นเงินอุดหนุนสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี
ที่ค้างจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวนทั้งสิ้น ๙๓,๑๒๗ ราย
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
95 | ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร พ.ศ. .... | ศย. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร วันจันทร์ที่
๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕
ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.
.... ต่อรัฐสภาเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
96 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 รวม 59 วัน (ห้วงที่ 5-6) | ตช. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน ๑๔๖,๙๓๙,๗๐๐ บาท
สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ระหว่างวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ รวม ๕๙ วัน
หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาจัดอัตรากำลังพลในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19)
ให้มีความเหมาะสม
ประหยัดและสอดคล้องกับสถานการณ์การชุมนุมสาธารณะที่มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นด้วย
|
||||||||||||||||||||||||
97 | การร่วมรับรองเอกสารชุดเครื่องมือการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสตรีวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ในระดับชาติ (Strengthening Women's Entrepreneurship in National MSME Policies and Action Plans Toolkit for Policymakers) | นร.53 | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||
98 | การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ยธ. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ในอัตราไม่เกิน ๑๒,๓๐๙ อัตรา
โดยแบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง
และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ดังนี้ ๑)
ให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ระดับดีเด่นไม่เกินร้อยละ ๒.๕
ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง ๓๔๓,๙๖๘
อัตรา คิดเป็นอัตราไม่เกิน ๘,๕๙๙ อัตรา ๒) ให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ระดับดีเด่นไม่เกินร้อยละ ๑.๕
ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน ๒๔๗,๓๒๗ อัตรา คิดเป็นอัตราไม่เกิน ๓,๗๑๐ อัตรา และ ๓)
สำหรับงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการต้นสังกัดเป็นลำดับแรกก่อน
หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้เบิกจ่ายจากงบกลางรายการเงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการเป็นลำดับต่อไป ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรพิจารณากำหนดกรอบอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษฯ
อย่างเคร่งครัด โดยการทบทวนปรับลดการพิจารณาบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดประเภทเกื้อกูลเท่าที่จำเป็น
รวมทั้งควรมีการพิจารณาคัดเลือก และจัดสรรอัตราบำเหน็จความชอบที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||
99 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสมศรี หอกันยา) | ดศ. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสมศรี
หอกันยา ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน
(วิชาการคอมพิวเตอร์) ระดับสูง] ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กลุ่มที่ปรึกษา
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม
๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
100 | การร่วมลงนาม รับรอง และให้ความเห็นชอบเอกสาร รวมถึงท่าทีในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister: AEM) ครั้งที่ 54 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||
|