ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 243 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และน้ำมันอื่น ๆ
ที่คล้ายกัน ในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่
๐๑.๐๕ รายการน้ำมันดีเซลที่มีกำมะถัน
และรายการน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลที่สะท้อนต้นทุนตามข้อเท็จจริง เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงภาระการชดเชยต้นทุนส่วนต่าง
ตลอดจนความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรเสนอมาตรการจัดหารายได้เพื่อชดเชยการสูญเสียรายได้ที่เกิดจากการลดภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่น
ๆ ที่คล้ายกันให้มีความชัดเจน หรืออาจทยอยผ่อนคลายการดำเนินมาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการช่วยเหลือประชาชนในมิติอื่น
เพื่อบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนที่จะปรับตัวสูงขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 18/2565 | นร.11 สศช | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
ที่มีมติเกี่ยวกับแนวทางการเตรียมแหล่งเงินรองรับกรณีการตรวจสอบเหตุทุจริตของโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ และการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ กรณีโครงการภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ของกระทรวงมหาดไทย ให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการ จำนวน ๒
โครงการ และให้จังหวัดชัยนาทเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการ จำนวน ๑ โครงการ
ยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน ๒ โครงการ และ ๑ กิจกรรม ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น (๑)
ให้หน่วยงานเร่งรัดการดำเนินการแผนงาน/โครงการตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติไว้
(๒)
ให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการในการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
(๓) โครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบและส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมของการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส | กต. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
44 | ร่างแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 | กต. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่
๒๑ (Cooperation Plan between the Government of
the Kingdom of Thailand and the Government of the People’s Republic of China on
Jointly Promoting the Silk Road Economic Belt and the 21st Century
Maritime Silk Road) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างแผนความร่วมมือฯ โดยร่างแผนความร่วมมือฯ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายในประเด็นต่าง ๆ
ตามแนวคิดหลักของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative :
BRI) อาทิ การค้าอย่างไร้อุปสรรค (Unimpeded Trade) และการบูรณาการทางการเงิน (Financial Integration) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนความร่วมมือฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
รวมทั้งต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานร่างแผนความร่วมมือฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | ร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย-จีนเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น ในโอกาสการเยือนไทยของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในห้วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค | กต. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย-จีนเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง
มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น (Joint Statement
between the Kingdom of Thailand and the People’s Republic of China on Working
towards a Thailand-China Community with a Shared Future for Enhanced Stability,
Prosperity and Sustainability) ในโอกาสการเยือนไทยของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในห้วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีร่วมกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
โดยไม่มีการลงนาม โดยร่างถ้อยแถลงร่วมฯ สะท้อนสาะสำคัญของผลการหารือข้อราชการระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในประเด็นต่าง
ๆ เช่น การขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
การย้ำท่าทีทางการเมืองในการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของกันและกัน
การส่งเสริมการค้า การลงทุน และความเชื่อมโยง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานร่างแผนความร่วมมือฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านการลงทุนและเศรษฐกิจระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพาณิชย์สาธารณรัฐประชาชนจีน | อก. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (ร้อยตำรวจเอก ไพรัตน์ เทศพานิช) | ปปง. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
ร้อยตำรวจเอก ไพรัตน์ เทศพานิช ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งเลขานุการกรม
สำนักงานเลขานุการกรม สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ตั้งแต่วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | ขอความเห็นชอบต่อการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (Convention on the International Maritime Organization : IMO Convention) | คค. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
(Convention on the International Maritime
Organization : IMO Convention)
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทเกี่ยวกับองค์ประกอบ วาระการดำรงตำแหน่ง
องค์ประชุมของคณะมนตรี และภาษาที่ใช้ในการจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
ซึ่งที่ประชุมสมัชชา IMO ได้มีมติเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๔
รับรองการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาดังกล่าวแล้ว โดยจะมีผลใช้บังคับภายใน ๑๒ เดือน
กับสมาชิกทั้งหมด หลังจากที่สมาชิก IMO มีสมาชิกรวม ๑๗๕
ประเทศ ไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓
ยอมรับการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาดังกล่าวด้วยการนำส่งตราสารยอมรับต่อเลขาธิการ IMO
โดยไทยในฐานะรัฐภาคีจะต้องส่งตราสารยอมรับการแก้ไขซึ่งเป็นการแสดงเจตนาให้การแก้ไขเพิ่มเติมมีผลผูกพันรัฐภาคีตามเนื้อหาที่แก้ไข
และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ
จัดทำตราสารยอมรับการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาดังกล่าว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะศึกษาด้านการบริหารและค้นคว้าทางภาษีอากรแห่งเอเชียแปซิฟิก (Study Group on Asia-Pacific Tax Administration and Research : SGATAR) ครั้งที่ 52 | กค. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณซึ่งเห็นชอบในหลักการให้กรมสรรพากรเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะศึกษาด้านการบริหารและค้นคว้าทางภาษีอากรแห่งเอเชียแปซิฟิก
(Study Group on Asia-Pacific Tax
Administration and Research : SGATAR) ครั้งที่ ๕๒ ณ จังหวัดภูเก็ต
และเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน ๑๔,๕๘๔,๙๐๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการประชุม SGATAR ครั้งที่ ๕๒
และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นขอให้กระทรวงการคลัง
โดยกรมสรรพากรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก - ม่วงเจ็ดต้น จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... | มท. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก-ม่วงเจ็ดต้น
จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลบ้านม่วงเจ็ดต้น และตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ
และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชนบ้านโคก-ม่วงเจ็ดต้น
ให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง การค้าตามแนวชายแดน ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ
รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยได้มีการกำหนดแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดข้อบังคับลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึง กฎ ระเบียบ
ที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินกิจการโรงงานตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ
ของผังเมืองรวมดังกล่าวให้ได้มาตรฐานอย่างเคร่งครัด
เพื่อป้องกันผลกระทบต่อธรรมชาติ ระบบนิเวศ และสุขภาพของชุมชน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (ASEAN Joint Statement on Climate Change to UNFCCC COP27) | ทส. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สมัยที่ ๒๗ (ASEAN Joint Statement on Climate Change to
UNFCCC COP27) และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ความเห็นชอบ
(Endorsement) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ
และมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรอง (Adoption)
ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป โดยร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงจุดยืนและความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน
และประเด็นที่ประสงค์จะผลักดันร่วมกัน
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๘ หรือไม่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | ขอความเห็นชอบร่างจรรยาบรรณสำหรับกระบวนการระงับข้อพิพาทตามบทที่ 14 ของความตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐชิลีและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย | พณ. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
53 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. .... | มท. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลข่วงเปา ตำบลบ้านหลวง ตำบลจอมทอง ตำบลดอยแก้ว และตำบลสบเตี๊ยะ
อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมือง
และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง ซึ่งกำหนดให้เป็น
“แหล่งโบราณพุทธศาสนา ล้ำค่าประเพณี สิ่งแวดล้อมดี สาธารณูปโภคพร้อม”
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๑๓
ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ
รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภทตลอดจนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึง กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์
สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | ร่างแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2566-2570 | กค. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
โดยร่างแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจฯ มีสาระสำคัญเพื่อกำหนดเป้าหมาย นโยบาย
และทิศทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยุทธศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐)
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ และแผนพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ โดยให้กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบนโยบายการพัฒนาและทิศทางการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
และมีวิสัยทัศน์เพื่อยกระดับขีดความสามารถรัฐวิสาหกิจไทยมุ่งสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ
และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งได้กำหนดบทบาทของรัฐวิสาหกิจโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การจัดตั้ง
รวมถึงแนวทางการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีความสอดคล้องกับแผนต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
และกำหนดทิศทางหลักในการพัฒนารัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งให้เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ ทั้ง ๑๓ หมุดหมาย
ซึ่งรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะดำเนินการตามบทบาทและภารกิจขององค์กร ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเสนอ
และให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจรับไปพิจารณาปรับปรุงทิศทางหลักในการพัฒนารัฐวิสาหกิจรายสาขา
โดยเพิ่มการส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพและมีผลประกอบการดีเข้ามามีบทบาทในการร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศให้มากขึ้นด้วย ๒.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงเจ้าสังกัด รัฐวิสาหกิจ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเจ้าสังกัด
รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้
ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะอย่างเหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนภารกิจได้ตามเป้าหมาย
แจ้งให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจทราบล่วงหน้า
ในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจมีข้อเสนอหรือแนวทางแก้ไขที่จำเป็นเร่งด่วนที่ค้นพบจากการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจ
เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถบริหารจัดการหรือแก้ไขปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | การจัดทำร่างสัญญา IUCN Advisory Mission to the World Heritage property : Kaeng Krachan Forest Complex (THAILAND) | ทส. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการจัดทำร่างสัญญา
IUCN Advisory Mission to the World Heritage
property : Kaeng Krachan Forest Complex (THAILAND) โดยให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุพืช หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญา IUCN
Advisory Mission to the World Heritage property : Kaeng Krachan Forest Complex
(THAILAND) ร่วมกับผู้ประสานงานศูนย์มรดกโลกองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ
(IUCN) โดยร่างสัญญาฯ จัดทำขึ้นระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ IUCN มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดขอบเขตงานตามภารกิจการให้คำปรึกษาในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก
โดยผู้เชี่ยวชาญ IUCN กลุ่มป่าแก่งกระจาน (ประเทศไทย)
ประกอบด้วย การประเมินสภาพการอนุรักษ์พื้นที่มรดกโลก
การจัดให้มีการหารือกับเจ้าหน้าที่ของประเทศไทยทั้งในระดับชาติ อำเภอ และระดับท้องถิ่น
รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ และผู้มีส่วนได้เสีย
การจัดทำรายงานข้อเสนอแนะหลังจากเสร็จสิ้นการลงพื้นที่ภาคสนาม
ตลอดจนการระบุค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของผู้เชี่ยวชาญ IUCN ที่ประเทศไทยต้องรับผิดชอบ
โดยมีแนวทางการสนับสนุนให้รัฐภาคีเพิ่มกระบวนการปรึกษาและหารือร่วมกันกับ IUCN
ในการเตรียมพร้อมสำหรับการทบทวนสภาพทั่วไปของการอนุรักษ์
รวมถึงการมาปฏิบัติภารกิจของผู้เชี่ยวชาญ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างสัญญาฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด
เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับการมาปฏิบัติภารกิจในประเทศไทยของผู้เชี่ยวชาญจาก IUCN
ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง
และควรเตรียมการเพื่อรองรับการปฏิบัติภารกิจของผู้เชี่ยวชาญจาก IUCN ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาอย่างครบถ้วนเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุด
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งประสานและติดตามการดำเนินภารกิจให้คำปรึกษาในการเตรียมการทบทวนสถานภาพทั่วไปในการอนุรักษ์ของแหล่งมรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจานของผู้เชี่ยวชาญจาก
IUCN อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรายงานผลการดำเนินการดังกล่าวแก่คณะกรรมการมรดกโลกได้ทันภายในระยะที่กำหนดไว้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | ดศ. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์
โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล
ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย
และกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย
เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านไปรษณีย์
โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างสองกระทรวง
โดยกำหนดรูปแบบความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูล
การแลกเปลี่ยนการเยือนของเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนการจัดนิทรรศการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสัมมนา ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๘ หรือไม่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น | พน. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๓๐๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้กรมธุรกิจพลังงาน
โดยให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้อนุมัติและดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน
ผ่านวิธีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแทนกัน
และให้กระทรวงพลังงานดำเนินมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง)
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบการใช้สิทธิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
รวมถึงเร่งรัดการลงทะเบียนผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อให้รัฐสามารถจัดสวัสดิการให้ความช่วยเหลือประชาชนแบบมุ่งเป้า
ซึ่งจะช่วยให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และเกิดประโยชน์สูงสุด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งกองทุนพัฒนาวิสาหกิจและกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน | กค. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาการขอจัดตั้งกองทุนพัฒนาวิสาหกิจ
ตามร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาวิสาหกิจ พ.ศ. ....
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน
และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับวิสาหกิจที่มีศักยภาพ
โดยมุ่งเน้นการให้กู้ยืมและให้ความช่วยเหลือแก่ SMEs ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายและเป็นนิติบุคคลที่ไม่ใช่คนต่างด้าวให้มีประสิทธิภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
และกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ตามร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ ..
พ.ศ. .... มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม ศึกษา วิจัย และพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้เป็นไปตามนโยบายของประเทศในด้านเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมทั้งรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อย
โรงงาน และผู้บริโภค เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอ
และให้กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
รวมทั้งให้รับข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์และความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่เห็นว่ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้องค์การการค้าโลกด้วยงบประมาณจากภาครัฐ
และกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และกลุ่มเป้าหมายในการให้เงินทุนสนับสนุนให้ชัดเจน
ไปพิจารณาดำเนินการด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
59 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน เพื่อดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี | กร | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔
(เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ) วันที่
๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง
มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๔๓ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
เพื่อเข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติคุ้งกระเบน และป่าอ่าวแขมหนู
ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
รอบที่ ๒ เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปลูกไม้ยืนต้นรอบอ่าวคุ้งกระเบนในท้องที่ดังกล่าว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้
ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ให้สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหารือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณาข้อยกเว้นค่าใช้จ่ายดังกล่าวต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
60 | โครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน | อว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามันของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และให้ดำเนินการให้ถูกต้อง
เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๓๕ ตลอดจนกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ รวมถึงควรเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั่วถึง
เท่าเทียม และมีประสิทธิภาพ ควรมีการทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผ่านสื่อที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง
ให้นำความเห็นของหน่วยงานโดยเฉพาะสำนักงบประมาณไปดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการ
ขั้นตอนของระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง
และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณเป็นหลัก ควรพิจารณาการใช้เงินนอกงบประมาณที่รวมรายได้หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่
หรือสามารถนำมาใช้จ่ายสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ นอกเหนือจากงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ |