ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 243 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | รายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ | ดศ. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ทั้งนี้
ในส่วนของข้อเสนอที่ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรายงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
(Digital Infrastructure)
ในส่วนของการพัฒนาระบบ Digital ID
ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๒. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในแผนที่ปฏิบัติการของกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗)
จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากสำนักงบประมาณ
และดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบการขับเคลื่อนที่กำหนด
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
โครงการที่ขอการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะต้องอยู่ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | การร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง | พน. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving
Terminal (แห่งที่ ๒) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง
จังหวัดระยอง ในสัดส่วนร้อยละ ๕๐ โดยมีมูลค่าเงินลงทุนตามสัดส่วนดังกล่าวไม่เกิน
๑๖,๓๕๐ ล้านบาท และ กฟผ. ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนตามแผนการประมาณการเบิกจ่ายประจำปี
๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงาน และ กฟผ.
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจที่เห็นควรให้ กฟผ.
กำหนดขอบเขตการดำเนินงานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้
และ กฟผ.
ควรกำกับดูแลบริษัทในเครือให้ดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งเป้าหมายการดำเนินงาน
สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และไม่เป็นภาระทางการเงินกับ กฟผ. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. อนุมัติในหลักการการยกเว้นภาษี
เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้าง
การจัดตั้งบริษัทฯ และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจากการร่วมทุนในบริษัทดังกล่าว
ทั้งนี้
ในส่วนของการลดหย่อนค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนการจำนองให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
และให้กระทรวงพลังงาน และ กฟผ. ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างเคร่งครัด
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนตุลาคม 2565 | นร.11 สศช | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
ณ เดือนตุลาคม ๒๕๖๕ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (๑)
ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (๒)
ความก้าวหน้าการปฏิรูปประเทศ (๓) การติดตาม การตรวจสอบ
และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ และ (๔)
ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | ขอความเห็นชอบในหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 | มท. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
กรณีฉุกเฉิน กรณีอุทกภัย จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี ๒๕๖๕ จำนวน ๑,๐๔๖,๔๖๐
ครัวเรือน วงเงิน ๖,๒๕๘,๕๔๐,๐๐๐ บาท ตามข้อมูลครัวเรือนผู้ประสบภัยเบื้องต้น
ซึ่งเป็นจำนวนครัวเรือนจากการสำรวจเบื้องต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัด ๖๖
จังหวัด ที่อยู่ในพื้นที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยเบื้องต้นหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยรับงบประมาณและจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยผ่านธนาคารออมสิน
ให้เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป
รวมทั้งให้สามารถถัวจ่ายข้ามจังหวัดได้ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๔/๑๒๑๓ ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๕)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๒๕/๖๗๗๖
ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามนัยพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ ตลอดจนกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 จังหวัด | ศธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดให้กรุงเทพมหานคร
จังหวัดจันทบุรี จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสงขลา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหัวดอุบลราชธานี
เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเสนอ
และให้คณะกรรมการนโยบายการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุนและผลประโยชน์
เสถียรภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ สำหรับการจัดสรรงบประมาณให้กับนวัตกรรมการศึกษา
ควรเร่งรัดการดำเนินการที่จะช่วยลดปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาร่วมกัน
อาทิ
การออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่สถานศึกษานำร่องถึงอำนาจตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๒
และการกำหนดบทบาทในการขับเคลื่อนของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาให้มีความชัดเจนมากขึ้น
สำหรับการขอรับจัดสรรงบประมาณให้นำผลประเมินผลการดำเนินงานในช่วง ๓ ปี ตามมาตรา ๔๐
มาประกอบการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
โดยคำนึงถึงศักยภาพและความพร้อมของสถานศึกษาแต่ละพื้นที่ ความคุ้มค่า ความซ้ำซ้อน ความครอบคลุมทุกแหล่งเงิน
รวมถึงการสร้างความรับรู้และความเข้าใจในทุกมิติถึงประโยชน์ที่ทุกภาคส่วนจะได้รับเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | วธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดย (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ
มีสาระสำคัญเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม/การทำความดีที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
เพื่อให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ พัฒนาระบบ และการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรม
และเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนและองค์กรเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน
ก.พ. และข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ควรเพิ่มเติมในเรื่องของนวัตกรรม
ในแนวทางการพัฒนาที่ ๓ ด้วย
เพื่อให้ครอบคลุมการส่งเสริมให้การวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
โดยปรับเป็น “ส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม และพัฒนา...” ให้กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดในการดำเนินการจัดทำแผนจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมในพื้นที่ ตามนโยบาย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร
หรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ให้ทุกหน่วยงานจัดกิจกรรมจิตอาสาส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) | คค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ ๓ วงเงินลงทุน ๓๖,๘๒๙.๔๙๙ ล้านบาท (รวมสำรองราคาเปลี่ยนแปลงร้อยละ
๑๐ ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗ และดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง ๙๒๑.๖ ล้านบาท) ของบริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กองทัพเรือ และกรมท่าอากาศยานรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/๓๙๑๑
ลงวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคุ้มค่าในการลงทุน
รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับคนทั้งมวลควบคู่ไปกับการดำเนินการพัฒนา
ควรหาแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารจัดการท่าอากาศยาน
การพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการ การนำเทคโนโลยีมาช่วยการบริหารจัดการ การบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานต่าง
ๆ
เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นและรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นในอนาคต
ควรดำเนินการส่งแผนผังบริเวณ แบบแปลน
และรายการประกอบแบบแปลนที่ถูกต้องและเป็นไปตามกฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น
หรือประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. ๒๕๒๒ จำนวน ๒ ชุด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนทำการก่อสร้างไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้
ในส่วนของการออกแบบท่าอากาศยานดอนเมืองให้กระทรวงคมนาคม [บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)]
ให้ความสำคัญกับการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับอาคารผู้โดยสารหลังใหม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติด้านความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อยกระดับท่าอากาศยานดอนเมืองให้เป็นท่าอากาศยานชั้นนำของโลก (World
Class Airport) ที่สามารถสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคม [บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)] ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกบูรณาการการใช้ประโยชน์โครงข่ายท่าอากาศยานที่มีอยู่
ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง
และท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่พัฒนาแล้วและที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
เพื่อให้การกระจายตัวของเที่ยวบินและผู้โดยสารเป็นไปตามศักยภาพของแต่ละท่าอากาศยาน
ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมมาตรฐานของระดับการให้บริการ (Level of Service) ของท่าอากาศยานทุกแห่งได้อย่างเหมาะสมด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าบริการตรวจสอบหรือรับรองสำหรับผู้ตรวจสอบเอกชน พ.ศ. .... | อก. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าบริการตรวจสอบหรือรับรองสำหรับผู้ตรวจสอบเอกชน พ.ศ.
.... ของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าตรวจสอบหรือรับรองให้ผู้ตรวจสอบเอกชนที่ดำเนินการตรวจสอบหรือรับรองโรงงานหรือเครื่องจักร
หรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565)] | ปสส. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน
ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | ผลการประชุม Mekong - Korea International Water Forum ครั้งที่ 1 ณ สาธารณรัฐเกาหลี | นร.14 | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุม
Mekong-Korea International
Water Forum ครั้งที่ ๑ ณ สาธารณรัฐเกาหลี โดยรองนายกรัฐมนตรี
(พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายอนุชา นาคาศัย) เข้าร่วมการประชุม Mekong-Korea
International Water Forum ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๕-๖ ตุลาคม
๒๕๖๕ ณ กรุงโซล เกาหลีใต้ ร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม เกาหลีใต้ นายบัน
คีมูน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำเกาหลีใต้ นายปาร์ค
แจฮยอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ K-Water และผู้แทนประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขง
โดยผลการประชุมฯ มีสาระสำคัญ เช่น การกล่าวถ้อยแถลงแสดงความยินดีในพิธีเปิดการประชุมฯ
การเข้าร่วมการอภิปรายในการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง
การหารือกับลาวเพื่อสนับสนุนด้านทรัพยากรน้ำ และมีผลลัพธ์ของการประชุม เช่น
ที่ประชุมฯ ยินดีที่จะร่วมขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-เกาหลี
ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เป็นไปตามปฏิญญาแม่น้ำโขง-แม่น้ำฮัน
รวมถึงการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการบริหารจัดการน้ำโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | ร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ฉบับที่) พ.ศ.
.... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
พ.ศ. ๒๕๐๓
เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจการดำเนินการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้มีความเหมาะสมและปรับปรุงบทนิยาม
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการ กรรมการ และผู้ว่าการ แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปรับปรุงกรอบวงเงินกู้ยืมเงินและการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีให้เหมาะสม
รวมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับระบบบัญชีและการสอบบัญชีที่ล้าสมัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ๓.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงพลังงาน ที่เห็นว่าการให้กู้ยืมเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
แก่บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจัดตั้งหรือถือหุ้น
ต้องกระทำด้วยความรอบคอบ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวมิรา โครานา และนายธนิศ เสริมแก้ว) | สธ. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
จำนวน
๒ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑. นางสาวมินา โครานา ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม
สาขากุมารเวชกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ตั้งแต่วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ ๒. นายธนิศ เสริมแก้ว ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 22 | กต. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแถลงการณ์ธากา
(Dhaka Communique) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Rim Association Council of Ministers : IORA COM) ครั้งที่ ๒๒ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ กรุงธากา
สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างแถลงการณ์ฯ โดยร่างแถลงการณ์ฯ
มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิก ได้แก่
(๑) รับทราบผลการดำเนินงานของกลไกต่าง ๆ
ภายใต้สมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) และการแก้ไขปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (๒)
รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
ฉบับที่สอง (ค.ศ. ๒๐๒๒-๒๐๒๗) (๓)
รับทราบการรับรองคำมั่นว่าด้วยความเท่าเทียมทางเพศของสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียในวันสตรีสากล
(๔) รับรองซาอุดีอาระเบียเป็นหุ้นส่วนคู่เจรจา ลำดับที่ ๑๑ ของสมาคมฯ และ (๕)
เห็นชอบการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการประชุมคณะกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโสและสภารัฐมนตรีสมาคมฯ
และการปรับปรุงการบริหารจัดการของสมาคมฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565-2566 | นร.11 สศช | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี ๒๕๖๕
และแนวโน้มปี ๒๕๖๕-๒๕๖๖ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
สรุปได้ ดังนี้ ๑. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี ๒๕๖๕ ขยายตัวร้อยละ ๔.๕ (%YoY) เร่งขึ้นจากร้อยละ ๒.๓ และร้อยละ
๒.๕ ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่ ๒ ของปี ๒๕๖๕ ตามลำดับ และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี ๒๕๖๕ ขยายตัวร้อยละ ๑.๒ จากไตรมาสที่ ๒ ของปี ๒๕๖๕
(%QoQ)_SA) รวม ๙ เดือนแรกของปี ๒๕๖๕ เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ
๓.๑ ๒. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี ๒๕๖๕ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ ๓.๒
เร่งขึ้นจากร้อยละ ๑.๕ ในปี ๒๕๖๔ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ ๖.๓
และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ ๓.๖ ของ GDP ๓. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี ๒๕๖๖ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ ๓.๐-๔.๐
โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจาก (๑) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว (๒)
การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ (๓)
การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และ (๔)
การขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคเกษตร ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายร้อยละ
๓.๐ ส่วนการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ ๒.๖ และร้อยละ ๒.๔
ตามลำดับ และมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ ๑.๐
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ ๒.๕-๓.๕ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ
๑.๑ ของ GDP
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบและรับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐ (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ ๒ จำนวน ๑๑ จังหวัด และให้หน่วยงานที่มีดินอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่ตามแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จ ภายใน ๓๖๐ วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ตามเหตุผลความจำเป็นแต่ไม่เกิน
๑๘๐ วัน หากมีผู้ใดได้รับผลกระทบดังกล่าว
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
รวดเร็ว เหมาะสม ตามควรแก่กรณี โดยเป็นไปตามกฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีราษฎรถือครองทำกิน พื้นที่ที่มีศักยภาพทำการเกษตรไม่คุ้มค่า
พื้นที่หล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ และพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกันนั้น
ขอให้กันไว้ใช้ในกิจกรรมของกรมป่าไม้ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม
๒๕๓๗ ในการเสนอออกกฎหมายของหน่วยงาน
ควรพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายที่จะให้การรับรองและความคุ้มครองหน่วยงานของรัฐ
เจ้าหน้าที่รัฐ
และผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ
และควรมีการกำกับและติดตามผลการดำเนินการเพื่อให้สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จเป็นไปตามแผนที่วางไว้และเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมพัฒนาที่ดิน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดพิจารณาแนวทางการดำเนินการ
กรณีพื้นที่กันออกจากป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ที่ทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ [เรื่อง
การจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดขอนแก่น (เฉพาะแห่ง)] ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน
ถูกต้อง ตรงกัน รวมทั้งให้เร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวให้แล้วเสร็จและเป็นรูปธรรมโดยเร็วด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี | ทส. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
สมัยที่ ๗ (The Seventh Session of the Committee on
Environment and Development : CED 7) ระดับรัฐมนตรี
เห็นชอบในหลักการต่อร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ และภาคผนวกของปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ (Annex) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙
พฤศจิกายน -๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
และผ่านระบบการประชุมทางไกล มีสาระสำคัญเป็นการสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านมลพิษทางอากาศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
ตามหลักการที่กำหนดไว้ในปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ และอนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ และภาคผนวกของปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการปกป้องโลกของเราผ่านความร่วมมือระดับภูมิภาคและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
และร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยมลพิษอากาศ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าร่างปฏิญญาฯ
แผนการดำเนินงานฯ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐
และให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางสาววันทนา แจ้งประจักษ์) | กก. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาววันทนา แจ้งประจักษ์
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวมิรา โครานา และนายธนิศ เสริมแก้ว) | สธ. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
จำนวน
๒ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑. นางสาวมินา โครานา ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม
สาขากุมารเวชกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ตั้งแต่วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ ๒. นายธนิศ เสริมแก้ว ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 | พณ. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 17 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 สิงหาคม 2565) | นร.04 | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๑๗ (ระหว่างวันที่
๑ มกราคม ๒๕๖๔-๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕) สรุปได้ ดังนี้ (๑) ผลการดำเนินงานตามนโยบายหลัก ๘ ด้าน เช่น
การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
การสร้างความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ การทำนุบำรุงศาสนา
ศิลปะและวัฒนธรรม การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย
การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม เป็นต้น และ (๒) นโยบายเร่งด่วน ๑๐
เรื่อง เช่น การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม การยกระดับศักยภาพแรงงาน
การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|