ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 10 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 181 - 200 จากข้อมูลทั้งหมด 243 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
181 | การเพิ่มสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) | พม. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
182 | ร่างพระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแยกสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์เพื่อไปรวมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์
เพื่อให้การบริหารงานของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์มีประสิทธิภาพ คล่องตัว
มีความเป็นอิสระทางวิชาการ การบริหารงาน และการบริหารงบประมาณ
อันจะส่งผลให้สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์สามารถบูรณาการการบริหาร การเรียนการสอน
การวิจัยและนวัตกรรมได้อย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด
และสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๓. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นว่า ควรพิจารณากำหนดข้อบังคับ
ระเบียบ หรือประกาศเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลแต่ละประเภทให้มีความชัดเจน
และสอดคล้องกับรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์กร โดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของพนักงานหรือลูกจ้างในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
เพื่อให้การดำเนินการของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
183 | รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | กค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ดังนี้ ๑.๑ รับทราบรายงานการเงินรวมภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และรายงานการเงินรวมภาครัฐ (บทวิเคราะห์) ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ ๑.๒ ให้หน่วยงานของรัฐตามบัญชีชื่อหน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ พร้อมทั้งรายงานเหตุผล หรือปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขให้กระทรวงเจ้าสังกัดและกระทรวงการคลังภายใน
๖๐ วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
และให้หน่วยงานของรัฐส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณถัดไปให้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด
เพื่อให้การจัดทำรายงานการเงินรวมภาครัฐมีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ๒. ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
184 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข) | กค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข) มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ ๒
เท่าของจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค
สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร ให้แก่มูลนิธิต่าง ๆ
รวม ๖ แห่ง ได้แก่ (๑) มูลนิธิโรคมะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช (๒) มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี
(๓) มูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า (๔) มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (๕)
มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ (๖)
มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กองทัพเรือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์
และยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า
หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่มูลนิธิดังกล่าวที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์
ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการ ๒๗
ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และกฎหมายอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
185 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 | นร16 | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
(คทช.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม
๒๕๖๕ ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบและพิจารณาผลการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ เช่น (๑)
ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ คทช. และคณะอนุกรรมการภายใต้ คทช. (๒) ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนชุมชนเมืองระนอง
(๓) ร่างนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐)
(๔) การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน ๑:๔๐๐๐ (One Map) และแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐของพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่
๒ จำนวน ๑๑ จังหวัด และ (๕) การรับเรื่องร้องเรียนและรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
186 | การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 | กค. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
187 | การกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล | รง. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา
๑๓ (๒) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล
สำหรับลูกจ้างเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินวันละ ๑,๕๐๐ บาท
และสำหรับบุคคลในครอบครัวเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินวันละ ๑,๑๐๐ บาท ซึ่งสิทธิสำหรับบุคคลในครอบครัวจะต้องเป็นสิทธิที่อยู่เดิม
ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐
สิงหาคม ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าในการดำเนินการดังกล่าวแต่ละรัฐวิสาหกิจจะต้องคำนึงถึงสถานะทางการเงิน
ผลการดำเนินงานของกิจการ ขีดความสามารถในการหารายได้
และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมรายจ่ายที่จะเกิดขึ้น
เพื่อมิให้กระทบต่อการใช้จ่ายเงินทุนสำหรับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
188 | ร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
189 | การแต่งตั้งคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า (1. นายวิชัย โภชนกิจ ฯลฯ จำนวน 7 ตน) | พณ. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า รวม ๗ คน
เนื่องจากประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๕ เมษายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ดังนี้ ๑.
นายวิชัย โภชนกิจ ประธานกรรมการ ๒.
นายศรายุทธ ยิ้มยวน รองประธานกรรมการ ๓.
นายมงคล เหล่าวรพงศ์ กรรมการ ๔.
รองศาสตราจารย์อัศม์เดช วานิชชินชัย กรรมการ ๕.
นายสกล กิตติ์นิธิ กรรมการ ๖.
นายคมฤทธิ์ กวินอัครฐิติ กรรมการ
๗.
นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ กรรมการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
190 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... [แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558] | มท. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี
พ.ศ. ๒๕๕๔ และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมรวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะห่างตามแนวขนานริมเขตทาง
ในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงงานริมทางหลวงแผ่นดิน และริมทางรถไฟ
ตลอดจนปรับปรุงบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. ๒๕๕๔
ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
เช่น ควรให้โรงงานมีระยะห่างริมทางหลวงแผ่นดินไม่น้อยกว่า ๕ เมตร คำนึงถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในกรณีใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมที่ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูง
องค์กรปกครองท้องถิ่น ควรควบคุมดูแลสุขลักษณะ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
191 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่กิจการของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน) | กค. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
(ฉบับที่ ๒๔๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยกำหนดเพิ่มเติมให้กิจการของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรกก่อน รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
192 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พ.ศ. .... (แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) | คค. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก
จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย อำเภอภาชี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย
อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน
อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
(ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
เพื่อสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่นตามโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
(ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
โดยให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ตรวจสอบและแก้ไขแผนที่ท้ายของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ก่อนการก่อสร้างขอให้ รฟท.
ให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการระบายน้ำไม่ทันและอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมหรือเกิดอุทกภัย
และควรเร่งดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงที่บริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเร็ว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓. เห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย
โดยให้หน่วยงานของรัฐผู้เสนอร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติตรวจสอบความถูกต้องของท้องที่การปกครอง
แนวเขตการปกครองที่จำเป็นต้องระบุในเนื้อหาของร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติและแผนที่ท้ายอันเป็นข้อเท็จจริง
และรายละเอียดเชิงพื้นที่ให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งต้องมีผลตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองจากกรมการปกครองเสนอคณะรัฐมนตรีมาพร้อมกับร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัตินั้นด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
193 | มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับสินเชื่อภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 | กค. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบในหลักการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ดังนี้ ๑.๑ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะพิเศษ Soft
Loan Extra เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ที่ได้รับสินเชื่อภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่จะครบกำหนดเวลาการชำระหนี้คืนให้ยังคงได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้สามารถประคับประคองกิจการและพยุงการจ้างงานภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอน
สำหรับภาระงบประมาณของโครงการ จำนวน ๑๕,๗๕๐ ล้านบาท ประกอบด้วย
การชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยในอัตราไม่เกินร้อยละ ๑๖ ของวงเงินอนุมัติค้ำประกัน
(ร้อยละ ๑๖ ของวงเงิน ๙๐,๐๐๐ ล้านบาท) จำนวน ๑๔,๔๐๐ ล้านบาท
และค่าชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน (ร้อยละ ๑.๕ ของวงเงิน ๙๐,๐๐๐ ล้านบาท) จำนวน
๑,๓๕๐ ล้านบาท ตลอดอายุโครงการไม่เกิน ๘ ปี
เห็นควรให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
โดยในส่วนของการชดเชยค่าประกันชดเชยรายปี ขอให้ บสย.
ใช้เงินรายได้จากค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อของโครงการก่อน
หากไม่เพียงพอจึงขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ๑.๒
การปรับปรุงการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio
Guarantee Scheme ระยะพิเศษ Soft Loan พลัสเพื่อลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ
SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ Soft Loan พลัส
ให้มีสภาพคล่องเพิ่มเติมในการดำเนินกิจการในช่วงที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง สำหรับภาระงบประมาณของโครงการเป็นการชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน
จำนวน ๑๐๔.๒๗ ล้านบาท (ร้อยละ ๑.๕ ของวงเงิน ๖,๙๕๑ ล้านบาท) เห็นควรให้ บสย.
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
โดยให้ บสย. จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบเพื่อควบคุมสัดส่วนของภาระค้ำประกันที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(Non-Performing Guarantee : NPG) โดยพิจารณาสัดส่วนการชดเชยภาระค้ำประกันและอัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อที่เหมาะสม
และจัดทำประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดอย่างถูกต้องครบถ้วนและเป็นรูปธรรม ๒. ให้กระทรวงการคลัง
โดย บสย. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรการดำเนินมาตรการค้ำประกันสินเชื่อโดยการขอรับการชดเชยจากรัฐบาลภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ และภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๔ ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเห็นควรให้ บสย.
เริ่มดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS ระยะพิเศษ Soft Loan Extra ให้ทันกับการทยอยครบกำหนดเวลาชำระคืนหนี้ที่จะเริ่มครบกำหนดในวันที่
๑๙ เมษายน ๒๕๖๕ ไปดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
194 | รายงานผลการดำเนินการ กรณีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากรของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | สม. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
195 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นางลลิตา สิริพัชรนันท์) | นร.04 | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นางลลิตา สิริพัชรนันท์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
196 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการการบริหารจัดการ Organizational Quarantine (OQ) สำหรับแรงงานต่างด้าว และผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน | ตช. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
197 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2565 เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาอนุมัติร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเข้าใช้ประโยชน์ พ.ศ. ....
และเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน ๔,๐๐๐ ล้านบาท
เพื่อเป็นค่าพัฒนาโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
เห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บริเวณตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จำนวนประมาณ ๑๔,๖๑๙ ไร่
เพื่อการพัฒนาโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะได้ตามนัยมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ ๓.
รับทราบว่า
ปัจจุบันมีเกษตรกรกลุ่มหนึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในบริเวณตำบลห้วยใหญ่
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ยังไม่ยินยอมให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจง
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรกลุ่มดังกล่าว
เพื่อให้สามารถเข้าใช้ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในความครอบครองของเกษตรกรกลุ่มดังกล่าว
เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะได้ต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
198 | การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 4 ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง (In-person) | ทส. | 15/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
199 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... | ทส. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และกระทรวงพลังงาน เช่น ที่ควรเพิ่มเติมข้อความ ข้อ ๑ (๓)
“การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ”
ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้
และความสามารถเพิ่มขึ้น ข้อ ๓ (๑) “การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ”
เพื่อให้การลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้กับสถาบันการศึกษาเอกชน และรัฐวิสาหกิจมีความครอบคลุมยิ่งขึ้น
และเพิ่มเติมในประเด็นข้อกำหนดในข้อ ๔ (๒)
“กิจการวางโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน
กิจการวางท่อประปาเพื่อจำหน่ายให้ประชาชน
สำหรับการดำเนินการบำรุงรักษาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานหรือเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน”
ซึ่งควรกำหนดให้ครอบคลุมกิจการปิโตรเลียม ไปประกอบการพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
200 | การกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ในปี 2565 - 2567 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | พน. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน
ในปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกิน ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยวิธีการจัดหาเงินกู้ในรูปแบบ Term Loan อายุไม่เกิน ๓ ปี ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน
และให้กระทรวงพลังงาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าวงเงินกู้ดังกล่าวของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะต้องได้รับการจัดสรรในการบริหารหนี้สาธารณะก่อน
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจึงจะกู้ได้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|