ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 243 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การดำเนินการตามข้อสังเกต (Concluding Observations) ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ต่อรายงานประเทศฉบับที่ 4-8 ของประเทศไทย | ยธ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบข้อสังเกต
(Concluding Observations)
ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
ต่อรายงานประเทศฉบับที่ ๔-๘ ของประเทศไทย
และตารางหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ
และพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและข้อเสนอแนะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นว่าการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สามารถเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันคนในสังคมให้หลีกเลี่ยงการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์และโซเซียลมีเดียในทางที่ผิด
หรือนำมาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ Hate Speech และ Hate
Crime ทางเชื้อชาติได้ และในประเด็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบ จำนวน ๓ ประเด็น ประกอบด้วย ๑)
ประเด็นที่ดิน อาณาเขต และทรัพยากรของกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ๒)
ประเด็นการค้ามนุษย์ และ ๓) ประเด็นย่อหน้าที่มีความสำคัญเป็นการเฉพาะ
พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นแรงงานข้ามชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา | กก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มทะเลทราบสงขลาขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา [องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)]
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าในการดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ขอให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ควรมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของงบประมาณแผ่นดิน
และคำนึงถึงภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานเป็นหลัก
และการดำเนินงานด้านงบประมาณต้องพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบ
และเป็นไปตามกฎหมายของทางราชการ รวมทั้ง
ไม่ส่งผลต่อวงเงินงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่เป็นสำคัญ
ควรกำหนดเพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาว่า
กรณีเป็นแผนหรือโครงการที่ต้องดำเนินการในเขตโบราณสถาน
จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ก่อนดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการดังกล่าว
และควรกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนฯ ให้มีความชัดเจน
รวมทั้งควรพิจารณาถึงกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
อย่างเคร่งครัดในการจัดตั้งสำนักงานการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของงบประมาณในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอแผนงานยุทธศาสตร์ชาติการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
และดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับการจัดสรรงบประมาณ ๓.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วยว่า
เมื่อการพิจารณาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาตามลำดับในลักษณะ
Bottom Up จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องไปสู่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติแล้ว
ยังสมควรที่จะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการประกาศกำหนดพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่
ประการใด เพื่อพิจารณาทบทวนและแก้ไขพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายพีรพันธ์ คอทอง ฯลฯ จำนวน 12 ราย) | กษ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๑๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑. นายพีรพันธ์ คอทอง ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นางสาวอิงอร ปัญญากิจ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๔. นายชัยวัฒน์ โยธคล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๕. นายชูชาติ รักจิตร ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๖. นายนวนิตย์ พลเคน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๗. นางสาวเสาวลักษณ์ ศุภกมลเสนีย์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๘. นายปรีชา พันธุ์วา ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๙. นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๑๐. นางสาวภัทราภรณ์ โสเจยยะ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๑๑. นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ๑๒. นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2565)] | ปสส. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ของขวัญปีใหม่สำหรับประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2566 ของกระทรวงพลังงาน | พน. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการมอบของขวัญปีใหม่
สำหรับประชาชน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ของกระทรวงพลังงาน ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
ดังนี้ ๑.
เตรียมการขยายระยะเวลาคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซหุงต้ม (Liquefied Petroleum Gas : LPG)
โดยกำหนดราคาขายปลีกอยู่ที่ ๔๐๘ บาท/ถัง ๑๕ กิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ ๑-๓๑ มกราคม
๒๕๖๖ ๒.
ให้ส่วนลดค่าซื้อ LPG แก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
จำนวน ๑๐๐บาท/คน/๓ เดือน และให้แก่กลุ่มร้านค้าหาบเร่ จำนวน ๑๐๐ บาท/คน/เดือน
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม-๓๑มีนาคม ๒๕๖๖ ๓. ตรึงราคาน้ำมันทุกชนิดในช่วงวันที่
๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๕-๓ มกราคม ๒๕๖๖ เพื่อลดค่าใช้จ่ายระหว่างการเดินทางช่วงปีใหม่ ๔.
ตรวจสภาพรถยนต์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่สถานีบริการ FIT
Auto จำนวน ๓๕ รายการ ระหว่างวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๕-๑๕ มกราคม ๒๕๖๖ ๕.
แจกคูปองส่วนลดครึ่งราคาที่พักที่เขื่อนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน ๓๐,๐๐๐ สิทธิ์
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 เรื่อง ร่าง แผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เรื่อง ร่าง แผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
มีสาระสำคัญเป็นการรายงานสรุปผลการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ที่มีมติอนุมัติร่างแผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ซึ่งเป็นการดำเนินการในกรอบหน้าที่และอำนาจของ กพอ. ตามมาตรา ๑๑ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เป็นหลักในการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาค และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด่วนที่สุด
ที่ นร ๑๑๑๐/๕๐๙๘ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕) เช่น
ในการชดเชยผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเดิมควรตระหนักถึงหลักเกณฑ์การชดเชยที่มีความเป็นธรรมต่อผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดินให้มากที่สุด
ควรเน้นสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานภายใต้ร่างแผนปฏิบัติการฯ
เห็นควรให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๖
โดยดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การดำเนินโครงการเพื่่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | กก. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนงาน/โครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน ดังนี้ (๑) ด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ
เพื่อกระจายรายได้และยกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เช่น มาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน
เฟส ๕” และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทย (Tourism Stimulus Package) โดยมุ่งใช้ Soft
Power การจัดหลักสูตร
“การให้บริการแก่นักท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ”
ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมการท่องเที่ยว โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
โครงการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย
ด้วยการประชาสัมพันธ์และรณรงค์สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย
และโครงการพัฒนาระบบสายตรวจจักรยานอัจฉริยะและการฝึกอบรมยุทธวิธีการสายตรวจจักรยานระบบ
E-Learning และกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
และ (๒) ด้านกีฬา ได้แก่
การปรับลดอัตราค่าบริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายที่ตั้งในอาคารนิมิบุตร
สนามกีฬาแห่งชาติ และศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ณ
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ๖๐ พรรษา
จังหวัดปทุมธานี การส่งเสริมสุขภาพผู้ออกกำลังกาย โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์กการกีฬาพร้อมให้บริการ
“Safe Stadium” ณ สนามกีฬาหัวหมาก ศูนย์กีฬาแห่งชาติ
และสนามกีฬาจังหวัด และโครงการ ๑ จังหวัด ๑ Sport Event เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานในท้องถิ่นด้วยการใช้กลไกการท่องเที่ยวเชิงกีฬา
ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | กค. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบและรับทราบมาตรการและการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่พ.ศ.
๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒.
เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
เห็นชอบ ๓.๑
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ๓.๒
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
พ.ศ. .... ๓.๓
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายห้องชุดเพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
พ.ศ. …. ๓.๔
ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๓.๕
ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ใบอนุญาตขายยาสูบ และใบอนุญาตขายไพ่
ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....รวม ๕ ฉบับ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๔.
การจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี
๒๕๖๖ ให้เป็นไปตามความเห็นสำนักงบประมาณ ๕.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งความโปร่งใสในการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐ
และประชาชนเป็นสำคัญ ควรกำหนดมาตรการที่ชัดเจน เพื่อให้ อปท. มีรายได้เพียงพอสำหรับการจัดบริการสาธารณะและการลงทุนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในระยะต่อไป
นอกเหนือจากการลดอัตราภาษีน้ำมันแล้ว
ภาครัฐควรเร่งดำเนินมาตรการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้กลับมาอยู่ในระดับก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
โดยเร็ว และให้หน่วยงานผู้ดำเนินโครงการให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงต่อไป
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | กต. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. การให้บริการทำหนังสือเดินทางด่วนภายในวันเดียว (ทำเช้า รับบ่าย) โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเล่มด่วน
ตั้งแต่วันที่ ๓-๑๓ มกราคม ๒๕๖๖ (ยกเว้นวันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดราชการ) ๒. การให้บริการหนังสือเดินทางในวันหยุดสุดสัปดาห์ (วันเสาร์-วันอาทิตย์)
ตลอดปี ๒๕๖๖ ณ สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวปทุมวัน (MBK Center)
และบางใหญ่ (Central Plaza West Gate)
ทั้งในรูปแบบบูธปกติและเครื่องทำหนังสือเดินทางด้วยตนเอง (kiosk) จำนวน ๒๐ เครื่อง ๓. การให้บริการกงสุลสัญจร “ของขวัญตลอดปี”
เพื่อให้บริการหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ เดือนละ ๑
ครั้ง รวม ๑๒ ครั้ง ตลอดปี ๒๕๖๖ เพื่อบริการประชาชนในพื้นที่จังหวัดที่ไม่มีสาขาสำนักงานหนังสือเดินทางตั้งอยู่ ๔. การให้บริการแปลเอกสารภาษาอังกฤษ โดยไม่คิดค่าบริการ (จำกัดคนละ ๑
เอกสาร) โดยต้องเป็นเอกสารของตัวเอง และเอกสารนั้นแปลเพื่อทำนิติกรณ์เอกสารเท่านั้น)
ตั้งแต่วันที่ ๓-๓๑ มกราคม ๒๕๖๖ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) ณ กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวภูเก็ต และเชียงใหม่
เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ประชาชนในการจัดจ้างเอกชนแปลภาษา
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | แผนงาน/โครงการเพื่่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พุทธศักราช 2566 ให้แก่ประชาชน | กห. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนงาน/โครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พุทธศักราช
๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน ตามโครงการ “เติมความสุขให้คนไทย ตามแนวทางวิถีชีวิตใหม่
จากใจทหาร” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการในห้วงเทศกาลปีใหม่
และกิจกรรมที่จะดำเนินการตลอดห้วงปีพุทธศักราช ประกอบด้วย (๑)
กิจกรรมระหว่างการเดินทาง เช่น จัดตั้งจุดบริการช่วยเหลือประชาชนและนักท่องเที่ยว
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและเส้นทางการจราจรต่าง ๆ (๒) กิจกรรม ณ จุดหมายปลายทาง
เช่น จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนและนักท่องเที่ยวทางทะเลใน ๔ พื้นที่
เปิดแหล่งท่องเที่ยวและพิพิธภัณฑ์
ให้บริการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการเกษตรผสมผสานตามแนวทางศาสตร์พระราชาในเขตทหารทั่วประเทศ
๓๔๖ แห่ง โดยไม่คิดค่าบริการ และ (๓) กิจกรรมที่ดำเนินการตลอดห้วงปี ๒๕๖๖ เช่น
จัดกำลังเตรียมพร้อมเพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนในพื้นที่ตามแนวชายแดนและพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านความมั่นคงของประเทศ
เป็นต้น ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน ของกระทรวงศึกษาธิการ | ศธ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน ของกระทรวงศึกษาธิการ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้ ๑.
ตั้งธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ (Credit Bank) เพื่อเพิ่มทักษะ (Upskill) และพัฒนาทักษะใหม่ (Reskill) โดยการสะสมหน่วยการเรียนรู้นำไปสู่การยกระดับวิชาชีพ
เชื่อมโยงทุกระบบการศึกษา เกิดการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๒.
เพิ่มอัตราค่าอาหารกลางวัน ๓.
เพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวตามความจำเป็นพื้นฐาน ๔.
อาชีวะอาสา ช่วยประชาชน ๕.
ปักหมุด พาน้องกลับมาเรียน ๖.
สัปดาห์สร้างสุข สร้างงาน สร้างอาชีพ ๗.
ฉลาดคิด พิชิตยุคดิจิทัล (Coding
for All) ๘.
ส่งความสุข ปันน้ำใจ จากพี่สู่น้อง นอกจากนี้
ยังมีโครงการจัดส่วนลด ๙ บริษัท ๔ โรงพยาบาล ช่วยลดค่าครองชีพวันปีใหม่
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์) | นร.14 | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาจังหวัดนนบุรีให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย
มีคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดีมีการพัฒนาบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐาน
และมีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการผลิต การค้า การบริการและการลงทุน
ตลอดจนดำรงรักษาพื้นที่เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น
และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
โดยมีแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาจังหวัดนนทบุรีให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวม จำแนกออกเป็น ๑๔
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไห้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติกฎหมาย
กฎ หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึงกฎ ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการตั้งสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
ประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... ฉบับนี้ ลำดับที่ ๓๔ (๒)
ให้พิจารณากำหนดให้ตั้งในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขาพของประชาชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | โครงการของขวัญปีใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2566 กระทรวงสาธารณสุข | สธ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบโครงการของขวัญปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อมอบเป็นของขวัญให้แก่ประชาชน ของกระทรวงสาธารณสุข ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
ดังนี้ ๑.
โครงการออกแบบคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุทั้งร่างกายและจิตใจ ๒.
โครงการคัดกรองผู้สูงอายุโดย อสม. ๓.
โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุในสถานบริการสุขภาพ
แต่ละระดับเพื่อผู้สูงอายุได้รับการดูแลรักษาส่งต่ออย่างความเหมาะสม ๔.
โครงการสนับสนุนการตรวจคัดกรองสายตาและปัญหาด้านการมองเห็นสำหรับผู้สูงอายุ ๕.
โครงการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงหรือบุคคลมีภาวะปัญหากลั้นปัสสาวะอุจาระไม่อยู่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างทั่วถึง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ของขวัญปีใหม่ของกระทรวงแรงงาน ปี 2566 | รง. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการมอบของขวัญปีใหม่ ปี ๒๕๖๖
ของกระทรวงแรงงาน ให้แก่ผู้ใช้แรงงานทั่งประเทศ ภายใต้โครงการ “ให้ ฟรี ลด
แรงงานสุขใจ” ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้ ๑. ให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม
ตามมาตรา ๓๓ ดอกเบี้ยต่ำ ไม่เกินรายละ ๒ ล้านบาท วงเงิน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ๒. ให้เข้าถึงสิทธิการรักษา ๕ โรค ตามโรงพยาบาลที่กำหนด ๗,๕๐๐ แห่ง ๓. ให้งานทำ “ต้องการทำงาน ต้องได้งานทำ” ๔. ฟรี ค้นหาความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจในสถานประกอบการใน ๗
จังหวัดนำร่อง ได้แก่ สมุทรปราการ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี ระยอง พระนครศรีอยุธยา
และสมุทรสาคร ๕. ฟรี
อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ ๑๐,๐๐๐ คน ๖. ลดอัตราค่าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
คงเหลือ ๑-๓ บาท นาน ๓ เดือน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ.2564-2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570 และ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566-2570 | อว. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ (แผนด้านการอุดมศึกษาฯ) และ (ร่าง)
แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
เป็นแผนภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ (แผนด้าน ววน.) จัดทำขึ้นเพื่อใช้ทดแทนนโยบายและยุทธศาสตร์เดิม
โดยกำหนดให้มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดในช่วงเวลาเดียวกัน ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
๑.๑ แผนด้านการอุดมศึกษาฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ประกอบด้วย ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) พัฒนาศักยภาพคน (Capacity Building) (๒) ส่งเสริมระบบนิเวศวิจัยอุดมศึกษา (Research Ecosystem
Building) (๓) จัดระบบอุดมศึกษาใหม่ (Higher Education
Transformation) และมีการขับเคลื่อนสำคัญกำหนดเป็น ๗ นโยบายหลัก (Flagship
Policies) และ ๓ กลไกหลัก (Flagship Mechanisms) ตามความสำคัญเร่งด่วน เช่น กำลังคนระดับสูงที่มีทักษะรองรับอุตสาหกรรมและบริการใหม่แห่งอนาคตเพิ่มขึ้น
การรองรับสังคมสูงวัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยสมบูรณ์
การยกระดับฐานข้อมูลระบบอุดมศึกษาให้มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง แม่นยำ มีเสถียรภาพ
เป็นต้น
๑.๒ (ร่าง) แผนด้าน ววน. พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่
(๑) การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (๒)
การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทาย
และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรม (๓) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุคเพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต
และ (๔) การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน
โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ๒. ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงวัฒนธรรม รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข
เช่น แผนด้านการอุดมศึกษาฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ควรมีความสอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ และควรมีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐในการพัฒนานวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๓. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการดำเนินงาน
และติดตามความก้าวหน้าให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมตามห้วงระยะเวลาที่กำหนดด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 28 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | คค. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน
(ASEAN
Transport Ministers Meeting : ATM) ครั้งที่ ๒๘ และการประชุมอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๑๕-๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ)
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑. การประชุม ATM ครั้งที่ ๒๘ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๕
โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประธาน มีผลลัพธ์การประชุมที่สำคัญ
เช่น (๑) รับทราบการดำเนินการตามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนผ่านระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน
และ (๒)
รับรองหลักการสำหรับการจัดทำกฎระเบียบว่าด้วยการบริการด้านการขนส่งโดยใช้แอปพลิเคชันสำหรับการขนส่งผู้โดยสารในอาเซียน ๒. การประชุม ATM-จีน ครั้งที่ ๒๑ เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๕ ที่ประชุมได้รับทราบเรื่องต่าง
ๆ เช่น (๑) ความคืบหน้าการดำเนินโครงการใบรับรองเรือแบบอิเล็กทรอนิกส์/ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจสำหรับการนำเข้า
ส่งออก และโลจิสติกส์ทางน้ำ และ (๒) ความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-จีน
ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๘ ๓. การประชุม ATM-ญี่ปุ่น ครั้งที่ ๒๐ เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๕
มีผลลัพธ์การประชุมที่สำคัญ เช่น (๑) รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการ จำนวน ๒๗
โครงการ ภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-ญี่ปุ่น ปี ๒๕๖๓-๒๕๖๔ และ (๒)
รับทราบความคืบหน้าการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงด้านการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ๔. การประชุม ATM-เกาหลี ครั้งที่ ๑๓ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๕ มีผลลัพธ์การประชุมที่สำคัญ
เช่น (๑) รับทราบผลการประชุมความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-เกาหลี ครั้งที่ ๑๒
เพื่อมุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืนและปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และ (๒)
รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการ/กิจกรรมภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน-เกาหลี
ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๘ ๕. การรับรองถ้อยแถลงประธานการประชุม
รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนได้รับรอง (๑)
ถ้อยแถลงประธานการประชุม ATM
ครั้งที่ ๒๘ (๒) ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุม ATM-จีน ครั้งที่ ๒๑ (๓) ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุม ATM-ญี่ปุ่น ครั้งที่ ๒๐ และ (๔) ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุม ATM-เกาหลี ครั้งที่ ๑๓ โดยมีการแก้ไขถ้อยคำและปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาให้มีความถูกต้องในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้เมื่อวันที่
๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ๖. การลงนามความตกลง ๒ ฉบับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(นายอธิรัฐฯ) ลงนามความตกลง ๒ ฉบับ ได้แก่ (๑) ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป
เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป และ (๒) ความตกลงอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเล
เพื่อพัฒนาเสริมสร้างความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 | อว. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงบประมาณ เช่น เห็นควรมุ่งเน้นให้มีการปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลกมีมาตรฐานและรับรองคุณภาพผลงานวิจัย
พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถครอบคลุมในทุกมิติ
เน้นการขับเคลื่อนให้ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มุ่งผลสัมฤทธิ์ ลดช่องว่างของการเข้าถึงโอกาส
ด้านการพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยี นวัตกรรม
สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ
และความไม่เสมอภาคทางสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงความต้องการจำเป็นต่อระบบบริการสาธารณสุขไทยในปัจจุบันและอนาคต
การยกระดับระบบบริการของสังคมสูงวัย การลดอัตราการตายโรคสำคัญ
การเสริมความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ
ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการ โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙
สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐
เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายการดำเนินงานด้าวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
และรับทราบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศของประเทศ ตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอ ๒. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง)
นโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ มีสาระสำคัญเพื่อเป็นกรอบนโยบายในการจัดสร้างหรือการบริหารจัดการดาวเทียม
และการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมของรัฐ เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานรัฐ และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติที่เหมาะสมที่สุดและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดยให้รับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางประกอบการพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายและพันธกรณีต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
(๑) ให้เร่งรัดดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเกิดผลสำเร็จ
เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป (๒) เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
หากไม่เพียงพอเห็นควรให้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ แล้วแต่กรณี
โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ | กค. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบการขยายกรอบการดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ กรณีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
รูปแบบโครงการเช่าระยะสั้น (Rental) บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่
กท. ๕๐๕๐ และ ส.กท. ๘๒๗ (บางส่วน) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ออกไปอีก ๓
ปี ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลโดยเคร่งครัดต่อไป ควรติดตามและเร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ขยายกรอบในการดำเนินโครงการไว้เพื่อสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนมีความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย
และสามารถใช้ประโยชน์บนที่ดินราชพัสดุได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ควรมีกระบวนการคัดกรองลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม
บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด
และติดตามผลการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. เห็นชอบให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินแยกบัญชีโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ
เป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาล (PSA)
และไม่นับรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs)
ที่เกิดจากการดำเนินโครงการเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของธนาคาร
รวมทั้งให้สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐบวกกับกำไรสุทธิเพื่อการคำนวณโบนัสพนักงานได้
|