ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 18 จากข้อมูลทั้งหมด 18 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ของขวัญปีใหม่ ปี 2566 (จำนวน 19 หน่วยงาน) (โครงการส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2566) | กษ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการจัดโครงการของขวัญปีใหม่ของกระทรวงมหาดไทย เพื่อมอบให้ประชาชน
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ รวม ๓ ด้าน ๙ โครงการ ได้แก่
(๑) ด้านเศรษฐกิจ จำนวน ๔ โครงการ (๒) ด้านพัฒนาบริการดิจิทัล จำนวน ๓
โครงการ และ (๓) ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน ๒ โครงการ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... | มท. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหันคา
ตำบลวังไก่เถื่อน และตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหันคา ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ดำรงรักษาเมืองและรักษาพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม
ส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม เป็นศูนย์กลางการผลิต
การซื้อขายและบริการทางการเกษตรระดับชุมชน
โดยการจัดการด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค
การบริการสาธารณะ และรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในเขตผังเมืองรวมชุมชนหันคา
จังหวัดชัยนาท
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๘
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภท หรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
คำนึงถึงการควบคุมและกำกับดูแลเพื่อป้องกันการกระจายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมและคงเจตนารมณ์ของการกำหนดที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมไว้
คำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และเป็นไปตามกฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อมที่ดีของชุมชนให้คงอยู่ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 เรื่อง ขออนุมัติโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก | สกพอ. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(สกพอ.) ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) เสนอ ดังนี้ ๑.๑ รับทราบมติ กพอ. ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕
ในการให้กองทัพเรือเป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ (Implementing
Agency) สำหรับโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ ๒
(โครงการทางวิ่งและทางขับที่ ๒)
โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (โครงการสนามบินอู่ตะเภา)
ทั้งนี้ ทางวิ่งและทางขับที่ ๒ เป็นทรัพย์สินราชพัสดุ
เมื่อกองทัพเรือดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ให้ส่งมอบสิทธิการใช้ประโยชน์ให้กับ
สกพอ. เพื่อดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุนต่อไป
โดยหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น
ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหรือเห็นชอบตามมติ กพอ. ๑.๒ พิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ เรื่อง ขออนุมัติโครงการสนามบินอู่ตะเภา จากเดิม
“อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณจำนวน ๑๗,๗๖๘ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการสนามบินอู่ตะเภา
และให้กองทัพเรือดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณต่อไป” เป็น
“อนุมัติกรอบวงเงินจำนวน ๑๗,๗๖๘ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการสนามบินอู่ตะเภา
และให้กองทัพเรือดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณต่อไป ทั้งนี้
สำหรับแหล่งเงินเพื่อการดำเนินงานการก่อสร้างโครงการทางวิ่งและทางขับที่ ๒
โครงการสนามบินอู่ตะเภา อนุมัติให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินกู้ตามมาตรา ๒๒
แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ในกรอบวงเงิน ๑๖,๒๑๐ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือ
โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสมทบในอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้และเงินงบประมาณเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังตกลงกับแหล่งเงินกู้ ๒. ให้
สกพอ. ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของ กพอ. และกองทัพเรือรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เช่น (๑)
ให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ
พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในกรอบวงเงิน ๑๖,๒๑๐.๙๐ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือ
(๒) ให้กองทัพเรือ และ สกพอ. จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามเงื่อนไขในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ของแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ
และ (๓) ให้กองทัพเรือจัดเตรียมงบประมาณสำหรับโครงการทางวิ่งและทางขับที่ ๒
รวมทั้งจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินในแต่ละปีส่งให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้
ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร | กค. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นอากรสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร จำนวน ๓ รายการ ได้แก่
๑) รถตัดอ้อยที่มีขนาด ๓๐๐ แรงม้าขึ้นไป ๒) เครื่องอัดใบอ้อย และ ๓)
เครื่องกวาดใบอ้อย โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาจนถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติของมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็น
และประโยชน์ที่จะได้รับให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย | นร.01 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย (๑)
พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ (๒)
ด้านกลไกและวิธีการจัดการเรื่องร้องทุกข์ (๓) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์
ดังนี้ (๑)
ขอความร่วมมือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์
เพื่อให้ประชาชนทราบถึงระยะเวลาในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
ซึ่งจะช่วยให้ลดเวลารอคอยและลดการติดตามเรื่องกับผู้ปฏิบัติงาน
และผลักดันให้เกิดการขยายผลและเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการจัดการเรื่องร้องทุกข์ไปยังระดับภูมิภาคและท้องถิ่น
เพื่อให้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการดูแลแก้ไขอย่างครอบคลุมและเป็นธรรม ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ.ร.
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณหรือรางวัลให้แก่หน่วยงานที่สามารถจัดการเรื่องร้องทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของหน่วยงานในภาพรวมให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงในหลายช่องทางด้วย
ควรมีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนให้ทุกส่วนราชการปฏิบัติ
โดยมีกลไกในการแจ้งความคืบหน้าให้แก่ผู้ร้อง และควรขยายผลการรับเรื่องผ่านไลน์สร้างสุข
(@psc1111) และ
Traffy Fondue (@traffyfondue) ไปยังส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลทั่วประเทศ
เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องร้องทุกข์
อีกทั้งยกระดับมาตรฐานการรับเรื่องและบริหารจัดการปัญหาและข้อร้องเรียนของภาครัฐ
ไปพิจารณาดำเนินการให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 พ.ศ. .... | กค. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค
ครั้งที่ ๒๙ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระองค์ท่าน ให้แผ่ไพศาลไปทั้งภายในประเทศและนานาประเทศ
และเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสสำคัญของประเทศ
และเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักแก่ชาวต่างประเทศทั้งในส่วนผู้เข้าร่วมประชุมและนักท่องเที่ยวทั่วไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน | มท. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในวงเงิน ๒,๒๕๗,๙๘๙,๖๐๐ บาท ให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
ใช้จ่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานสูงขึ้น
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๕/๑๖๘๓๐
ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๕) และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพลังงาน
และหน่วยงานรับผิดชอบรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรเร่งรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขออนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกรมการขนส่งแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Memorandum of Understanding on the International Ship and Port Facility Security Code Between the Ministry of Transport of the Kingdom of Thailand and the Department for Transport of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) | คค. | 30/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ
ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกรมการขนส่งแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เป็นการกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศไทยในการพัฒนาและสร้างกฎระเบียบภายในประเทศ
สนับสนุนงานในมิติทางด้านความมั่นคงเพื่อยกระดับมาตรฐานความมั่นคงทางทะเลระหว่างประเทศ
โดยอาจจัดให้มีโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้อง เช่น
การเยี่ยมชมท่าเรือ/สิ่งอำนวยความสะดวกท่าเรือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ
การให้คำที่ปรึกษาเกี่ยวกับขอบเขตการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางทะเลและท่าเรือ การแลกเปลี่ยนสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
และฐานข้อมูล เป็นต้น และอนุมัติให้อธิบดีกรมเจ้าท่า หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ
ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกรมการขนส่งแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 | นร.14 | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายใต้กรอบวงเงิน
๔,๐๑๙.๗๙๙๓ ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน
ปี ๒๕๖๕ และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๕/๒๕๖๖ จำนวน ๑,๓๖๑ รายการ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๗/๑๐๘๕๗ ลงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม
๒๕๖๕) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การดำเนินโครงการดังกล่าว
ให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
ให้หน่วยรับงบประมาณเร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น | กต. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในฐานะแขกของรัฐบาล
ระหว่างวันที่ ๑-๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ โดยนายกรัฐมนตรีได้หารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นทั้งในประเด็นทวิภาคีความร่วมมือในกรอบภูมิภาคและอนุภูมิภาค
ประเด็นสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ
รวมทั้งนายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้เป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงและหนังสือแลกเปลี่ยน
๓ ฉบับ ได้แก่ (๑) ความตกลงว่าด้วยการมอบโอนยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศระหว่างรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
(๒)
หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
และ (๓) หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความช่วยเหลือแบบให้เปล่าของรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้โครงการ
The Programme for COVID-19 Crisis
Response Emergency Support ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามตารางติดตามผลการเยือนไทยฯ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เช่น
การแลกเปลี่ยนข่าวกรองและองค์ความรู้ทางเทคนิค
เพื่อเสริมความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศ
ความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานหลัก
การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงและการรักษาความปลอดภัยเทคโนโลยีที่อ่อนไหวต่อความมั่นคงแห่งชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565 - 2567 | อก. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(PM 2.5) ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗
โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย
กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร สถาบันชาวไร่อ้อย กลุ่มบุคคล และวิสาหกิจชุมชน
วงเงินปีละ ๒,๐๐๐ ล้านบาท รวม ๖,๐๐๐
ล้านบาท และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับการบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน ๗๘๙.๗๕
ล้านบาท ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการชดเชยดอกเบี้ยภายในกรอบวงเงินงบประมาณ ๗๘๙.๗๕
ล้านบาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามผลการดำเนินการจริง
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
และให้ความสำคัญในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นลำดับแรก ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ อย่างใกล้ชิด
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ควรมีการนำข้อมูลแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกมาประกอบการพิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกอ้อยและพัฒนาแหล่งงน้ำ
ให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำและเครื่องจักรกลทางการเกษตรในการยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตอ้อย
และควรมีการรายงานผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการลดต้นทุนการผลิตของชาวไร่อ้อยและการลดลงของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
ที่สามารถลดได้จากการดำเนินโครงการ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)] | กค. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19)] มีสาระสำคัญเป็นการการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(สปน.) ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร
และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการสำหรับการบริจาคสินค้าให้แก่ สปน.
เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่
๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก ตลอดจนติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการ ๒๗ ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. .... | นร.05 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อให้ระบบการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา
สามารถเชื่อมโยงผ่านระบบดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ
ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลและระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
รวมทั้งให้สามารถตอบสนองความต้องการของหน่วยงานของรัฐและประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น
กรณีร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ ๘ และข้อ ๑๑ ซึ่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไขใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ว่า
ก่อนที่จะกำหนดควรมีการรับฟังความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย
ควรมีการกำหนดรูปแบบและวิธีการ
เพื่อความชัดเจนและเป็นมาตรฐานในการดำเนินการของหน่วยงานเจ้าของเรื่อง
ให้ความสำคัญกับความหลากหลายของช่องทางการรับรู้และวิธีการเผยแพร่ที่ประชาชนเข้าถึงได้สะดวก
มีรูปแบบที่เข้าใจได้โดยง่าย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ขอขยายระยะเวลาโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ (Greening Industry Through Low Carbon Technology Application for SMEs) | อก. | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาดำเนินโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ
(Greening Industry Through Low Carbon Technology Application for
SMEs) ออกไปถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฯ
ให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งและสิ่งแวดล้อม
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งความคืบหน้า
รวมถึงปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินโครงการฯ
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทราบ
ในฐานะหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global
Environment Facility : GEF) และให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาปรับวิธีดำเนินโครงการฯ
ให้สามารถดำเนินโครงการฯ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ โดยเร่งรัดการขยายระยะเวลาโครงการฯ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
และติดตามประเมินผลความสำเร็จของโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง
สำหรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการขยายระยะเวลา ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณโครงการฯ
ที่ได้รับการสนับสนุนจาก GEF ที่คงเหลือ จำนวน ๑.๑
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 | นร.11 สศช | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 1 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบการเพิ่มเติม “วนอุทยาน” “สวนพฤกษศาสตร์” “สวนรุกขชาติ”
ในหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙
ธันวาคม ๒๕๕๘ (เรื่อง หลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ) ๒.
เห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน ๑ :
๔๐๐๐ (One Map)
และรับรองเส้นแนวเขตที่ดินของรัฐ กลุ่มจังหวัดที่ ๑ จำนวน ๑๑ จังหวัด และให้หน่วยงานที่มีที่ดินของรัฐอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) โดยใช้แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วแทนแผนที่แนบท้ายกฎหมาย
และใช้เป็นแนวเขตที่ดินของรัฐตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวัน
โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ตามเหตุผล ความจำเป็น
แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ รวมทั้งให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้อง
หรือให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้รวดเร็ว เหมาะสมตามแต่กรณี
โดยดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ การคุ้มครองและรับรองการดำเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา | สว. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง ระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาดังกล่าว
โดยสรุปผลการพิจารณาว่าการสำรวจและการศึกษาวิจัยในเขตป่าเพื่อจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้มีการดำเนินการที่ชัดเจน
และเป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติได้จัดทำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. .... เพื่อแบ่งประเภทของแผนที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
รวมทั้งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำแผนเป็นผู้จัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ข้อกำหนดและคำสั่งที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 รวม 3 ฉบับ | นร.05 | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ รวม ๓ ฉบับ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑.
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๑) ลงวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์และการกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม
โดยขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรคภายใต้มาตรการข้อกำหนดฯ
(ฉบับที่ ๓๗) ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป รวมทั้งดำเนินมาตรการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งหน่วยงานหรือสถานประกอบการ
(Work From Home) ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้น ๒.
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ที่ ๑/๒๕๖๕ เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม
และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๘ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๖๕
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดระดับของพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ
ได้แก่ ยกเลิกพื้นที่เฝ้าระวังสูง และกำหนดพื้นที่ควบคุม รวมทั้งสิ้น ๖๙ จังหวัด
และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งสิ้น ๒๖ จังหวัด (พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว
ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดกระบี่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชลบุรี
จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต) ๓.
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ที่ ๒/๒๕๖๕ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๑)
ลงวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ มีสาระสำคัญเป็นการระงับการลงทะเบียนการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
ยกเว้นกรณีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
และรับการลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรในพื้นที่จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะเต่า เกะพะงัน และเกาะสมุย)
ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป
โดยให้มีหลักฐานการชำระค่าที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนดอย่างน้อย ๗
วัน เป็นต้น
|