ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 11 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 209 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) | กค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ ๒ เท่า ของจำนวนเงินที่บริจาค
สำหรับการบริจาคที่กระทำผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๑
และเพิ่มเติมการยกเว้นภาษีสำหรับการบริจาคทรัพย์สินให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาให้เหมือนกันกับการบริจาคทรัพย์สินให้แก่สถานศึกษา
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย นมและครีม ปี 2566 เพิ่มเติม | กษ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย
นมและครีม ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม ปริมาณ ๑๐,๐๓๑.๕๕ ตัน ในอัตราภาษีร้อยละ ๕ มติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม
ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๖
และเนื่องจากการขอโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม เป็นการพิจารณาจัดสรรให้กับผู้ประกอบการตามความจำเป็นและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
จึงให้ยกเว้นการจัดสรรโควตาตามสัดส่วนผู้ประกอบการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ และเห็นชอบในการเปิดตลาดนำเข้านมและครีม
ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม ปริมาณ ๗๐๐.๑๘ ตัน ในอัตราภาษีร้อยละ ๒๐
มติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๒
กันยายน ๒๕๖๖ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นผู้บริหารการจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย
นมและครีม ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติมดังกล่าว ให้กับผู้ประกอบการตามความจำเป็นและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
โดยต้องนำเข้าให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ และต้องไม่กระทบต่อมาตรการและปริมาณการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปริมาณน้ำนมดิบของไทย เพื่อไม่ให้การเปิดตลาดนำเข้าดังกล่าว
ส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงโคนมของไทย ทั้งนี้ การเปิดตลาดนำเข้าเพิ่มเติมดังกล่าว
สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ที่ไทยผูกพันไว้ การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยนมและครีม ปี ๒๕๖๖
เพิ่มเติม ต้องไม่กระทบต่อมาตรการและปริมาณการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร และควรให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในระยะยาว
โดยนำข้อมูลพยากรณ์อุปสงค์และอุปทานของน้ำนมดิบภายในประเทศมาวางแผนการจัดสรรโควตานำเข้าสินค้าในกลุ่มนมและผลิตภัณฑ์นมให้มีความถูกต้อง
เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการและไม่กระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศ
ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนมของไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
และผู้บริโภคภายในประเทศเป็นผู้บริหารการจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย นมและครีม
ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม
ให้กับผู้ประกอบการตามความจำเป็นและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ทั้งนี้ การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยนมและครีม ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม
ต้องไม่กระทบต่อมาตรการและปริมาณการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ (เรื่อง
ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม)
ที่ให้ทบทวนแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโคนมให้เหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนต่อไป เช่น
การลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตน้ำนมโค การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับอุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์นมของไทย
การจูงใจให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมเพื่อการส่งออกนำน้ำนมดิบจากเกษตรกรโคนมในประเทศมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตทดแทนการนำเข้า
๓.
ให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการเพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมโคนมและเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมภายในประเทศจากการยกเลิกโควตาภาษีสินค้าเกษตรทั้งหมดตามความตกลงต่าง
ๆ เช่น ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) และความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์
(TNZCEP) ในปี ๒๕๖๘ ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... | สธ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท
๒ และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒
และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔
การดำเนินการของผู้รับอนุญาตเพื่อประโยชน์ในการควบคุมกำกับดูแลยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์และการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในเรื่องดังกล่าว
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงคมนาคม สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น ควรพิจารณาให้เพิ่มข้อยกเว้นการปฏิบัติตามร่างกฎกระทรวงฯ
ในการมีมอร์ฟีน (Morphine) ซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่
๒ ไว้ในเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางในระหว่างประเทศตามข้อแนะนำการรักษาพยาบาลในเรือขององค์การอนามัยโลกและองค์กรแรงงานระหว่างประเทศและตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ว่าด้วยการจัดให้มีอุปกรณ์
สิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านการรักษาพยาบาลในห้องพยาบาลบนเรือการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาลบนเรือ
การกำหนดระยะเวลาการแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตตามร่างกฎกระทรวงฯ ข้อ ๑๙ วรรคสอง
ควรกำหนดให้สอดคล้องตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ และการปรับอัตราค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นควรแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการที่ดีขึ้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นางสุดฤทัย เลิศเกษม ฯลฯ จำนวน 4 ราย) | นร.01 | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
จำนวน ๔ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นางสุดฤทัย เลิศเกษม ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ๒. นางทัศนีย์ ผลชานิโก ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๓. นางมาลินี ภาวิไล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๔. นายอุฬาร จิ๋วเจริญ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภูมิภาคแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) วาระปี 2567-2571 | นร.11 สศช | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเสนอชื่อนางสาวดวงฤทัย สุรศักดิ์จินดา เป็นผู้แทนประเทศไทยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภูมิภาคแผนงาน IMT-GT
(Centre for IMT-GT Subregional Cooperation : CIMT) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนงบประมาณรายจ่าย โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (1. นายเกรียงศักดิ์ ปิยกุลมาลา ฯลฯ จำนวน 29 ราย) | สธ. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒๙ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
จำนวน ๒๘ ราย และวันที่มีคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่งที่ได้รับการเสนอแต่งตั้ง
จำนวน ๑ ราย ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑. นายเกรียงศักดิ์
ปิยกุลมาลา ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ ๒. นายจรัญ จันทมัตตุการ ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒o มิถุนายน ๒๕๖๕ ๓. นายพิสิษฐ์ เวชกามา ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรกรรม
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๔. นางสาวสมบัติ ชุติมานุกูล ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่
๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ (วันที่มีคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่ง) ๕. นายประดิษฐ์ ไชยบุตร ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลราชบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๕ ๖. นายชิโนรส ลี้สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์
(นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๗
กันยายน ๒๕๖๕ ๗. นายพรณรงค์ ศรีม่วง ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม) โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๕ ๘. นางสาวหทัยรัตน์ อัจจิมานนท์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ๙. นายชัยวัฒน์
สิงห์หิรัญนุสรณ์ ดำรงตำแหน่งนักวิชาการอาหารและยาทรงคุณวุฒิ
(ด้านอาหารและยา) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ๑๐. นางสาวพินทุสร
เหมพิสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ
(ด้านกำลังคนสาธารณสุข) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ๑๑. นางสุอร ชัยนันท์สมิตย์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม
สาขากุมารเวชกรรม) โรงพยาบาลขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖ ๑๒. นายมงคล ภัทรทิวานนท์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๖ ๑๓. นายปรเมษฐ์ กิ่งโก้ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม) โรงพยาบาลศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๖ ๑๔. นายพิพัฒน์ คงทรัพย์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา) กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลพระปกเกล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๖ ๑๕. นายปรีชา เปรมปรี ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์
(นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๑
พฤษภาคม ๒๕๖๖ ๑๖. นางสายสมร สบู่แก้ว ดำรงตำแหน่งทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านทันตกรรม) กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ ๑๗. นายปราโมทย์ ปรปักษ์ขาม ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) สถาบันโรคทรวงอก
กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๑๘. นายพรภวิษญ์ ศรีภิรมย์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์)
โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ๑๙. นางอดิศร์สุดา เฟื่องฟู ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม)
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๕ ๒๐. นางวีรนันท์ วิชาไทย ดำรงตำแหน่งทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านทันตกรรม) สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๗ มีนาคม
๒๕๖๖ ๒๑. นางสาววรางคณา พิชัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี
กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ ๒๒. นางประภาวรรณ เชาวะวณิช ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม
สาขาตจวิทยา) สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๖ ๒๓. นายมนต์ชัย
ศิริบำรุงวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์
ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ๒๔. นางพู่กลิ่น ตรีสุโกศล ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม) กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๓๑
พฤษภาคม ๒๕๖๖ ๒๕. นางสาวศิริลักษณ์
ไทยเจริญ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค
ตั้งแต่วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ๒๖. นางเบญจมาภรณ์ ภิญโญพรพาณิชย์ ดำรงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ
(ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัย) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ๒๗. นางสุภาพร ภูมิอมร ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เทคโนโลยีชีวภาพ)
(นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่วันที่ ๙
มีนาคม ๒๕๖๖ ๒๘. นายบุรินทร์
สุรอรุณสัมฤทธิ์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ตั้งแต่วันที่
๑๗ มกราคม ๒๕๖๖ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย นมและครีม ปี 2566 เพิ่มเติม | กษ. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เลื่อนการพิจารณา เรื่อง
การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย นมและครีม ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม ออกไปก่อน ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ | นร 05 | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.)
ของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ รวมทั้งหมด ๓๗ ราย
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายชนินทร์
รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๒. นางสาวอรณี
รัตนประเสริฐ นักทัณฑวิทยาชำนาญการ ๓. นายศึกษิษฏ์
ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๔. นายชื่นชอบ
คงอุดม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๕. พลเอก
ธนะศักดิ์ ชื่นอิ่ม รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๖. นางสาวพินทุ์สุดา
ชัยนาม เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง ๗. นายมนตรี
เดชาสกุลสม รองปลัดกระทรวงคมนาคม ๘. นายเวทางศ์
พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๙. นางโสรดา
เลิศอาภาจิตร์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๑๐. นายสมคิด
จันทมฤก รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ๑๑. นายสมาสภ์
ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ๑๒. นางโชติกา
อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๑๓.
นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ๑๔. นายพงศธร พอกเพิ่มดี นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๑๕. นายเอกภัทร
วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ๑๖. นายมงคลชัย
สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๑๗. นางนิชา
หิรัญบูรณะ ธุวธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ๑๘. นางอุดมพร
เอกเอี่ยม รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๑๙.
นางสาวสาวิตรี ชำนาญกิจ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๐. นายวีรศักดิ์
ทิพย์มณเฑียร รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๒๑. นายยุทธนา
สาโยชนกร รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๒๒. นายฉัตรชัย
บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งซาติ ๒๓. นายกิตติศักดิ์ จุลสำรวล กรรมการร่างกฎหมายประจำ
(นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) ๒๔. นายสุวัฒน์ เอื้อเฟื้อ รองเลขาธิการ
ก.พ. ๒๕. นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ
ก.พ.ร. ๒๖. นายนฤชา ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาด้านการลงทุน ๒๗. นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๒๘. นายศุภฤกษ์ ภู่พงศ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ๒๙. นายประเสริฐ ศิรินภาพร รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ๓๐. นางพิชญดา หัศภาค รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ ๓๑. นายศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา
รักษาราชการแทนเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา ๓๒. นายเทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ๓๓. นายธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ๓๔. พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ๓๕. พลเรือตรี จุมพล นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทาง ทะเล ๓๖. นายทศพร แย้มวงษ์ รองเลขาธิการวุฒิสภา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย | นร.04 | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแต่งตั้ง หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร
เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย
ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๕๘/๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย
ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การขอรับความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแสดงเจตจำนงระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศและองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งสมาพันธรัฐสวิส ร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน เพื่อดำเนินความร่วมมือในโครงการลดปัญหาความยากจนโดยการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย การพัฒนาทักษะแรงงาน และการยกระดับโอกาสการเข้าถึงการจ้างงานในประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมา และไทย ระยะที่ 2 | กต. | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างหนังสือแสดงเจตจำนงระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศและองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งสมาพันธรัฐสวิส
ร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน
เพื่อดำเนินความร่วมมือในโครงการลดปัญหาความยากจนโดยการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย การพัฒนาทักษะแรงงาน
และการยกระดับโอกาสการเข้าถึงการจ้างงานในประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เมียนมา และไทย ระยะที่ ๒ และอนุมัติให้อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นผู้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงข้างต้น
โดยร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แรงงานข้ามชาติจากกัมพูชา
สปป.ลาว และเมียนมาในประเทศไทยตลอดจนแรงงานข้ามชาติที่เดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาเดิม
ได้รับการจ้างงานอย่างเหมาะสมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแสดงเจตจำนงระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศและองค์การความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งสมาพันธรัฐสวิส
ร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน
เพื่อดำเนินความร่วมมือในโครงการลดปัญหาความยากจนโดยการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย
การพัฒนาทักษะแรงงาน และการยกระดับโอกาสการเข้าถึงการจ้างงานในประเทศกัมพูชา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมา และไทย ระยะที่ ๒
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการความร่วมมือดังกล่าว
ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนงบประมาณรายจ่าย โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรงบประมาณ แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการเยียวยาแรงงานไทยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | รง. | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงแรงงานใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ภายในกรอบวงเงิน ๗๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเยียวยาแรงงานไทยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ทั้งนี้ ให้กระทรวงแรงงานพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มค่า
และผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณอย่างรอบคอบ
รวมทั้งปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญด้วย
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๘/๖๙๐๐ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๖) ที่เห็นควรดำเนินการกำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการเยียวยาดังกล่าวให้เป็นไปอย่างรัดกุม
พร้อมทั้งเร่งรัดการสื่อสารให้แรงงานกลุ่มเป้าหมายทราบถึงสิทธิและช่องทางการเยียวยาและการช่วยเหลือทั้งทางด้านการจัดหางานและเพิ่มพูนทักษะที่ดำเนินอยู่
เพื่อให้แรงงานสามารถกลับเข้าสู่การจ้างงานและการประกอบอาชีพทั้งในต่างประเทศอันจะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐในระยะยาว
ไปดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... [แนวทางการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2566)] | ปสส. | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันอังคารที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๖ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
พ.ศ. ๒๕๓๔ พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ | นร. | 04/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติว่า
เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศเจริญเติบโตและมีการกระจายตัวอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
จึงมีมติมอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งส่งเสริมการเดินทางการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดต่าง
ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยวรองต่าง ๆ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่เป็น UNSEEN ของแต่ละพื้นที่
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ของการส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัดให้เหมาะสม ชัดเจน
เพื่อใช้ในการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานต่อไป ทั้งนี้
ให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการ/ปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณูปโภค/สาธารณูปการ
และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ที่จำเป็นของแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ดังกล่าว ให้มีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... | ทส. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกในการบริหารจัดการและควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศในทุกมิติ
กำหนดมาตรการการลดและควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด
กำหนดเขตเฝ้าระวังและเขตประสบมลพิษทางอากาศ และศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ
เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเชิงพื้นที่
ตลอดจนการมีเครื่องมือหรือมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการส่งเสริมอื่น ๆ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น กรณีการสนับสนุนงบประมาณให้แผนปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพอากาศตามร่างของพระราชบัญญัติฯ
มาตรา ๓๙ วรรคท้าย นั้น
เห็นสมควรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการเงินการคลังของรัฐและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
การกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติไว้ในร่างกฎหมายดังกล่าว
อาจจะไม่รองรับกับสถานการณ์ หรือเทคโนโลยีที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
และทำให้เป็นอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายจึงเห็นว่าควรนำรายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติดังกล่าว
นำมาจัดทำเป็นกฎหมายลูกบทแทน นอกจากนี้ การกำหนดให้มีระบบคณะกรรมการหลายระดับอาจส่งผลให้การขับเคลื่อนการดำเนินการไม่มีความคล่องตัวและไม่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
จึงเห็นควรพิจารณาปรับปรุงระบบคณะกรรมการให้มีเท่าที่จำเป็น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และเมื่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามแผนดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับโดยเร็วด้วย ๓. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ปัจจุบันมีกฎหมายที่กำหนดกลไกและมาตรการที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางอากาศไว้ในลักษระเดียวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้อยู่แล้ว
ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศจึงไม่ใช่ปัญหาว่าไม่มีกฎหมายบังคับในเรื่องนี้
แต่เป็นกรณีที่การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น
หากทางนโยบายเห็นว่าสมควรมีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ก็สมควรที่จะแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ไปพร้อมกันด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด | ยธ. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
ออกไปอีก ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | มาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย | กค. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย
มีสาระสำคัญเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้จากการใช้จ่ายในประเทศและจากต่างประเทศ
ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม
เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ธุรกิจบริการ สถานบันเทิง โรงแรมที่พัก ผู้ให้บริการขนส่ง
สายการบิน เป็นต้น ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้ในระยะเวลาอันสั้นและสร้างงานให้กับประชาชนได้เพิ่มขึ้น
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงคมนาคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่ากรณีการยกเลิกการอนุญาตให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อขายสำหรับร้านค้าปลอดอากรขาเข้า
รวมถึงการยกเว้นอากรของที่ซื้อจากร้านค้าปลอดอากรสำหรับผู้โดยสารขาเข้า
เพื่อส่งเสริมการบริโภคและการใช้สินค้าภายในประเทศ ควรพิจารณาเงื่อนไขของสินค้าประเภทต่าง
ๆ ในการยกเลิกให้เหมาะสม โดยเน้นการสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยและสนับสนุนชุมชนเป็นหลัก
เพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง และควรมีการประเมินผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบหลังการดำเนินมาตรการ
เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของการดำเนินมาตรการในระยะต่อไป ในการดำเนินการขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัดต่อไป ควรมีการดำเนินการการศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างและอัตราภาษีสรรพสามิตฯ
ทั้งระบบให้ครอบคลุมในทุกมิติเพื่อให้สามารถนำผลการศึกษาไปพัฒนาการจัดเก็บภาษีของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรบูรณาการประเด็นการศึกษามาตรการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ขออนุมัติเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการค่าเช่าที่ดิน EECi อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง | อว. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมวิทยาศาสตร์บริการเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการดังกล่าวข้างต้น
จากวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันไว้เดิม จำนวน ๒๒,๙๑๙,๐๐๐ บาท
เป็นจำนวน ๒๙,๔๒๒,๖๐๐ บาท
ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยข้อ ๗ (๓) ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ซึ่งได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายแล้ว จำนวน ๔,๕๘๓,๘๐๐ บาท ส่วนที่เหลือ จำนวน ๒๔,๘๓๘,๘๐๐ บาท
ให้กรมวิทยาศาสตร์บริการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีรองรับตามความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายในแต่ละปีให้ครบวงเงินตามสัญญาต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เห็นควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ต่าง
ๆ ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ กฎหมาย ระเบียบ
ประกาศ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
เพื่อให้การใช้งบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และให้กรมวิทยาศาสตร์บริการปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การเข้าร่วม Climate Club ของประเทศไทย | ทส. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Club ในนามของประเทศไทย
โดยมีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยดำเนินการ และมอบหมายให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้แทนประเทศไทย ลงนามในหนังสือแสดงความสนใจเข้าร่วม (Letter of
Interest) เป็นสมาชิก Climate Club โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขหนังสือแสดงความสนใจเข้าร่วมหรือการดำเนินการใดในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate
Club หากเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
เห็นควรให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ แล้วแต่กรณี
ส่วนค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป เห็นควรให้จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่าย
รวมทั้งแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (1. นายกุลิศ สมบัติศิริ ฯลฯ จำนวน 10 คน) | นร.53 | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
จำนวน ๑๐ คน แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย)
ประธานกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ ดังนี้ ๑. นายกุลิศ สมบัติศิริ ๒. นายพสุ เดชะรินทร์ ๓. นายเสรี นนทสูติ ๔. นายบุรณิน รัตนสมบัติ ผู้แทนองค์การเอกชน ๕. นายพยุงศักดิ์ ชาญด้วยวิทย์ ผู้แทนองค์การเอกชน ๖. นายกฤษ ศรีฟ้า ผู้แทนองค์การเอกชน
ซึ่งประกอบการในภูมิภาค ๗. นายธนพล ภู่พันธ์ศรี ผู้แทนองค์การเอกชน ซึ่งประกอบการในภูมิภาค ๘. นายวิกรม เตชะธีราวัฒน์ ผู้แทนองค์การเอกชน ซึ่งประกอบการในภูมิภาค ๙. นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ผู้แทนองค์การเอกชน ซึ่งประกอบการในภูมิภาค
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | กำหนดการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 | นร.04 | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบกำหนดการเดินทางไปประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ ณ จังหวัดหนองบัวลำภู
และติดตามการตรวจราชการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน ๑ (บึงกาฬ เลย
หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี) ระหว่างวันที่ ๓-๔ ธันวาคม ๒๕๖๖
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|