ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 16 จากข้อมูลทั้งหมด 16 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน สำหรับปี 2567 ถึงปี 2569 พ.ศ. .... | พณ. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี ๒๕๖๗
ถึงปี ๒๕๖๙ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการนำเข้าข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี
พ.ศ. ๒๕๖๗ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๙ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้แก้ไขชื่อร่างประกาศและกำหนดระยะเวลาการใช้บังคับของร่างประกาศดังกล่าวให้เป็นไปตามความเห็นของคณะรัฐมนตรี
และให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าคณะรัฐมนตรีสามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบได้ตามที่เห็นสมควร
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานความก้าวหน้าของคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ | กษ. | 28/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความก้าวหน้าของคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
โดยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๖๖ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม
๒๕๖๖ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) เป็นประธาน มีสาระสำคัญสรุปได้
เช่น (๑) รับทราบหลักการและเป้าหมายการทำงานของคณะกรรมการนโยบายฯ และคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเล
เพื่อฟื้นฟูการประมงและอุตสาหกรรมการประมง (๒)
ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายฯ จำนวน ๘ คณะ
(๓)
มอบหมายให้กรมประมงไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๖ เช่น
ส่งเสริมกองเรือประมงนอกน่านน้ำใหม่และให้มีคณะทำงานศึกษาและดำเนินการในเรื่องการจัดตั้งระบบ
One Stop Service เพื่อความรวดเร็วในการอนุญาตทำการประมง ตามที่คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | มาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ปี 2566/67 | พณ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบสถานการณ์การผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง ปี
๒๕๖๖/๖๗ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการ นบมส.
และช่วยเหลือสภาพคล่องของสถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการรับซื้อมันสำปะหลังโดยไม่เร่งระบายผลผลิตรวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกและสร้างศักยภาพการแปรรูปของเกษตรกร
ในการเพื่อรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลังโดยเฉพาะในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ซึ่งจะส่งผลให้ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ๒.
อนุมัติในหลักการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำะหลัง ปี ๒๕๖๖/๖๗
และโครงการภายใต้มาตรการดังกล่าวของกรมการค้าภายในและของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและให้ดำเนินการ
ดังนี้ ๒.๑ โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกมันสำปะหลังปี
๒๕๖๖/๖๗ วงเงิน ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทรวงพาณิชย์
โดยกรมการค้าภายในใช้จ่ายจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในโอกาสแรกก่อน หากไม่เพียงพอให้กระทรวงพาณิชย์เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.๒
โครงการยกระดับศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง
ให้กรมการค้าภายในพิจารณาถึงหน้าที่และอำนาจและภารกิจของหน่วยดำเนินการ และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจและภารกิจหลักให้เป็นผู้ดำเนินการ
เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรด้านปัจจัยการผลิต
ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ลดภาระค่าใช้จ่ายและความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.๓
โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี
๒๕๖๖/๖๗ วงเงิน ๑๙,๒๕๐,๐๐๐ บาท
และ ๒.๔ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลังปี
๒๕๖๖/๖๗ วงเงิน ๔๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณร่ายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริง
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
โครงการในส่วนที่ใช้เงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและรัฐบาลได้มีการชดเชยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในการดำเนินโครงการดังกล่าวให้กระทรวงพาณิชย์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรร่วมกันพิจารณาอัตราการชดเชยให้สอดคล้องกับภาระต้นทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างแท้จริง
โดยอยู่ในอัตราที่เท่ากันกับอัตราการชดเชยของมาตรการที่มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกันในสินค้าเกษตรอื่นและไม่ควรมากกว่าอัตราการชดเชยในอดีตที่ผ่านมาของโครงการในลักษณะเดียวกันเพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐในภาพรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ๓.
ให้กำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินโครงการของโครงการต่าง ๆ
ดังกล่าวข้างต้นเป็นตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม | กษ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเพิ่มเติมว่า
เนื่องจากสถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในตลาดโลกรวมถึงค่าบริหารและขนส่งมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้เกษตรกรโคนมรายย่อย (ฟาร์มขนาดเล็ก) ต้องรับภาระต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
จึงเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรโคนมกลุ่มดังกล่าว
แทนการปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบจะเป็นผลดีกับกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า
รวมทั้งจะช่วยผลกระทบกับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม)
โรงเรียนด้วย และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม)
พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | รายงานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเล เพื่อฟื้นฟูการประมงทะเลและอุตสาหกรรมการประมง ครั้งที่ 1/2566 | กษ. | 24/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเล
เพื่อฟื้นฟูการประมงทะเลและอุตสาหกรรมการประมง ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๖ ซึ่งจะเป็นแนวทางการดำเนินการและกลไกในการพิจารณาเตรียมการในการแก้ไขปัญหาการประมงทะเลเพื่อฟื้นฟูการประมงทะเลและอุตสาหกรรมการประมง
และเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบผลการประชุม
และพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำมาตรการ แผนงาน โครงการ รองรับ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการบรรเทาผลกระทบที่มีต่อชาวประมงและพัฒนาเศรษฐกิจในภาคประมง
ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเล
เพื่อฟื้นฟูการประมงทะเลและอุตสาหกรรมการประมงทะเลเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน และนายมนตรี เดชาสกุลสม) | คค. | 26/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงคมนาคม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๒ ราย
เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ ๑. นายพิศักดิ์
จิตวิริยะวศิน ดำรงตำแหน่งที่อธิบดีกรมท่าอากาศยาน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. .... และร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | นร.10 | 15/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติร่างกฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎ
ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่ง และระดับตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยปรับปรุงชื่อตำแหน่งให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และปรับรูปแบบการเขียนชื่อตำแหน่งของประเภทบริหาร และประเภทอำนวยการ
จากเดิมที่ระบุชื่อตำแหน่งเป็นการเฉพาะเจาะจง เป็นการกำหนดคำนิยามของตำแหน่งแทน และร่างกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับเงินประจำตำแหน่งของระดับชำนาญการ
(ประเภทวิชาชีพเฉพาะ เช่น สายงานแพทย์ สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์ โดยได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา
๓,๕๐๐ บาท)
และขั้นตอนการกำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ
และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นของส่วนราชการ รวม ๒ ฉบับ ตามที่สำนักงาน
ก.พ. เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงาน ก.พ. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
ที่เห็นควรคำนึงงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์
เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. .... | ทส. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ
จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้พื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง
อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เป็นพื้นที่ที่ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้มีมาตรการแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าในปัจจุบันประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฉบับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ในเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ.
๒๕๖๖
และมีการกำหนดเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแยกเป็นรายจังหวัด
กรมเจ้าท่ามีประเด็นข้อสังเกต ตามข้อ ๑๕ ของร่างประกาศฯ ดังกล่าว กำหนดว่า
“ในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ ก่อนการดำเนินโครงการ หรือประกอบกิจการ
รวมทั้งขั้นตอนการขยายขนาดของโครงการ หรือกิจการ
ให้จัดทำและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรณี (ง) ท่าเทียบเรือสาธารณะสำหรับเรือประมงหรือเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว
ที่มีพื้นที่รวมของท่าเทียบเรือตั้งแต่ ๑๐๐ ตารางเมตร แต่ไม่ถึง ๑,๐๐๐ ตารางเมตร และ (จ) ท่าเทียบเรือสำราญกีฬาที่รองรับได้ตั้งแต่
๕ ลำ แต่ไม่ถึง ๕๐ ลำ หรือมีพื้นที่ ตั้งแต่ ๑๐๐ ตารางเมตร แต่ไม่ถึง ๑,๐๐๐ ตารางเมตร” ซึ่งเป็นการกระทบต่อภารกิจของกรมเจ้าท่าในการปลูกสร้างท่าเทียบเรือเพื่อส่งเสริม
และพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี
จึงให้ยกเว้นไม่ต้องดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว
กรณีเป็นโครงการปลูกสร้างท่าเทียบเรือของส่วนราชการ ไปประกอบการพิจารณาต่อไปด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. .... | มท. | 18/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนกำแพงแสน
จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลกำแพงแสน
ตำบลรางพิกุล ตำบลวังน้ำเขียว และตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาชุมชนกำแพงแสนให้เป็นเมืองน่าอยู่
เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัย และการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
พัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูป การคมนาคมขนส่ง บริการสาธารณะ และเมืองพักอาศัยน่าอยู่
เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร
การปกครอง และพาณิชยกรรมในระดับอำเภอ
การส่งเสริมและการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยและสนับสนุนเทคโนโลยีด้านการเกษตรควบคู่กับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของพื้นที่
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎ หรือระเบียบและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ควรคำนึงถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย
ควรให้ร่างประกาศผลดังกล่าวไม่ให้มีผลใช้บังคับกับกิจกรรมการผลิตปิโตรเลียมที่มีอยู่ก่อนที่จะมีการบังคับใช้ประกาศฉบับดังกล่าว
การพิจารณาอนุญาตกิจการต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
ให้พิจารณาทบทวนหรือกำหนดข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยในประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่
๒๒ (๒) การทอหรือการเตรียมเส้นด้ายยืนสำหรับการทอให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง กำหนดจำนวน ขนาด
และประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไม่ให้ตั้งหรือขยายในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ.
๒๕๕๐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่และเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยด้านการเกษตรที่ยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การเพิ่มมูลค่าสมุนไพรด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง/เวชสำอาง ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา | สว. | 13/06/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การเพิ่มมูลค่าสมุนไพรด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง/เวชสำอาง
ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์เป็นหน่วยงานบริหารจัดการทุนด้านการแพทย์และสุขภาพ
มีการจัดสรรทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมสารสกัดสมุนไพรและเวชสำอางสมุนไพร
เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็น Hub ของ Herbal
Extracts สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรเครื่องสำอาง/เวชสำอางแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
และมีโครงการที่ดำเนินการวิจัยการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรเครื่องสำอาง/เวชสำอางที่พร้อมถ่ายทอดในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
และกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมผู้ประกอบการสมุนไพร
และได้จัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ผลิตสมุนไพร และผู้ผลิตผติตภัณฑ์สมุนไพร
และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนดำเนินการให้คำปรึกษาและการส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้านต่าง
ๆ ทั้งในด้านคุณภาพการผลิตในการจัดการ และการตลาด ความร่วมมือกันของผู้ประกอบการ
กับภาคธุรกิจ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้แจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566-2570 ฉบับทบทวน แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และข้อเสนอโครงการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570 | นร.11 สศช | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการเสนอ
ดังนี้ ๑.๑ อนุมัติแผนพัฒนาจังหวัด ๗๖ จังหวัด
และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ๑๘ กลุ่มจังหวัด พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ฉบับทบทวน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดนำความเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในระยะต่อไป ๑.๒ อนุมัติแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ของจังหวัด ๗๖ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ๑๘ กลุ่มจังหวัด ประกอบด้วย (๑)
เห็นควรสนับสนุนในกรอบวงเงิน (Y๑)
จำนวน ๑,๓๔๖ โครงการ งบประมาณ ๒๙,๓๑๔,๕๑๐,๙๐๐ บาท (๒)
เห็นควรสนับสนุนเกินกรอบวงเงิน (Y๒) จำนวน
๔๐๑ โครงการ งบประมาณ ๑๒,๕๘๘,๙๕๐,๗๕๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๑,๗๔๗ โครงการ งบประมาณรวม
๔๑,๙๐๓,๔๖๑,๖๕๐ บาท ๑.๓ อนุมัติข้อเสนอโครงการของส่วนราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค พ.ศ.
๒๕๖๖-๒๕๗๐ รวมจำนวน ๓๖๔ โครงการ ทั้งนี้ ขอให้สำนักงบประมาณให้ความสำคัญและพิจารณาสนับสนุนงบประมาณโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคเป็นลำดับแรก
เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม
สอดคล้องตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ
และมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปดำเนินการประสานสำนักงบประมาณ
เพื่อดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒. ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณ รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่เห็นว่า ในการขับเคลื่อนแผนงานโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน และพิจารณาตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน อีกทั้งควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดสรรงบประมาณ สำหรับข้อเสนอโครงการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ควรให้ความสำคัญและสนับสนุนงบประมาณโครงการที่มีผลกระทบต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคสูงอย่างมีระบบและครอบคลุม สอดคล้องกับศักยภาพและพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขออนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ เพื่อจัดตั้งวัดอนาลโยทิพยาราม จังหวัดพะเยา | พศ. | 07/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น
๑ เอ ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๕ ไร่ เพื่อจัดตั้งวัดอนาลโยทิพยาราม
ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยที่ขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 | สธ. | 31/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การสร้างหลักประกันความเป็นธรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ | ยธ. | 31/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ.ร.
รับไปพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการดำเนินการเรื่องนี้ให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง
โดยให้คำนึงถึงกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้บังคับอยู่แล้วในปัจจุบัน
รวมทั้งบริบทแวดล้อมอื่น ๆ ให้ครอบคลุม ครบถ้วนในทุกมิติ ตลอดจนภาระงบประมาณที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
โดยให้รับความเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคระกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานคระกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
และประธานกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วให้กระทรวงยุติธรรมนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติพิจารณาในภาพรวม
ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การพิจารณาแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร (1. นายพิศุทธิ์ สุขุม ฯลฯ จำนวน 5 ราย) | มท. | 17/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร
จำนวน ๕ คน ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
ทั้งนี้ วันเริ่มต้นวาระของการอยู่ในตำแหน่งของกรรมการดังกล่าวเป็นไปตามนัยมาตรา
๒๕ แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนี้ ๑. นายพิศุทธิ์ สุขุม ๒. นายประเสริฐ วรปัญญา ๓. นายสมเกียรติ ศิลวัฒนาวงศ์ ๔. นายอเนก ศิริพานิชกร
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2565 | ทส. | 10/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ครั้งที่ ๔/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕
จำนวน ๒ เรื่อง ประกอบด้วย (๑) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงาน EIA) จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่ โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกอน อำเภอเชียงกลาง
จังหวัดน่าน (กรมชลประทาน) โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน (กรมชลประทาน) และโครงการโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ
(ส่วนเพิ่ม) ระยะที่ ๑ (การไฟฟ้าฝ่ายผลิต) และ (๒)
การกำหนดมาตรฐานคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน โดยกรมควบคุมมลพิษได้จัดทำ (ร่าง)
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง
กำหนดมาตรฐานคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน พ.ศ. ....
ซึ่งได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนแล้ว
ทั้งนี้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้รับรองรายงานการประชุมดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่
๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|