ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 3 จากข้อมูลทั้งหมด 3 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า | พณ. | 11/12/2567 | ||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
จำนวน ๑๒ คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ๑. นายสมศักดิ์ พณิชยกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ภาคเอกชน) ๒. นายชัยณรงค์ โชไชย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ภาคเอกชน) ๓. นางภาณุมาศ สิทธิเวคิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ภาคเอกชน) ๔. นางสาวอุรวี เงารุ่งเรือง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ภาคเอกชน) ๕. นายภูสิต รัตนกุล
เสรีเริงฤทธิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ภาคเอกชน) ๖. นายวัชระ เปียแก้ว กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ภาคเอกชน) ๗. นายพิเศษ จียาศักดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ภาคเอกชน) ๘. นางสาววัชรี วัฒนพรพรหม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคเอกชน) ๙. นายธนัญชัย ลิมปิพิพัฒนากร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคเอกชน) ๑๐. นายพินัย ณ นคร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ภาคราชการ) ๑๑. นางสาวอรพรรณ พนัสพัฒนา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคราชการ) ๑๒. นางพัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคราชการ)
|
|||||||||||||||
2 | การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำที่ดินในความครอบครองของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐมาสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชน | นร. | 05/11/2567 | ||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า โดยที่ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ไม่มีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ
ในขณะที่ยังมีที่ดินในความครอบครองของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ให้กับประชาชนในด้านที่อยู่อาศัยได้
ดังนั้น จึงขอมอบหมายการดำเนินการ ดังนี้ ๑. ให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งคณะทำงานขึ้น
เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำที่ดินในความครอบครองของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐมาสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนโดยกำหนดให้กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของรัฐ
รวมถึงการอนุญาตให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์อิงสิทธิได้เป็นระยะเวลายาวนานมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เพื่อเพิ่มโอกาสที่สถาบันการเงินจะพิจารณาให้สินเชื่อกับประชาชนกลุ่มดังกล่าวได้มากยิ่งขึ้น
|
|||||||||||||||
3 | การปรับปรุงแก้ไขความตกลงว่าด้วยน้ำตาลระหว่างประเทศ (International Sugar Agreement : ISA) ฉบับปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) | อก. | 03/03/2567 | ||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงแก้ไขความตกลงว่าด้วยน้ำตาลระหว่างประเทศ
(International Sugar Agreement :
ISA) ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. ๑๙๙๒) และให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในตราสารการยอมรับการแก้ไขเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยน้ำตาลระหว่างประเทศ
โดยการปรับปรุงแก้ไขความตกลงฯ มีวัตถุประสงค์ตามความตกลงฯ เป็นไปตามข้อมติที่ ๙๓
(๔) รับรองโดยที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ประกอบด้วย (๑) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านน้ำตาลโลกและสารทำความหวานอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพลังงานชีวภาพ และเชื้อเพลิงเอทานอลจากพืชน้ำตาล (๒) เพื่อเป็นเวทีในการหารือระหว่างประเทศด้านตลาดน้ำตาลและสารให้ความหวาน
รวมถึงผลพลอยได้ที่เกิดจากการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำตาลและเชื้อเพลิงเอทานอล (๓)
เพื่ออำนวยความสะดวกการค้า ชีวภาพ และเชื้อเพลิงเอทานอลที่ผลิตจากน้ำตาล และ (๔)
เพื่อเพิ่มปริมาณการอุปสงค์ของน้ำตาลและพืชน้ำตาล โดยเฉพาะที่มิใช่การนำมาบริโภค ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรใช้โอกาสจากการปรับปรุงข้อตกลงดังกล่าว กำหนดแนวทางการผลิต การแปรรูป และการส่งออกผลิตภัณฑ์และผลพลอยได้ในอุตสาหกรรมน้ำตาล
เชื้อเพลิงชีวภาพ และเชื้อเพลิงเอทานอล
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมน้ำตาล
โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เพื่อการอุปโภคของประเทศไทย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|