ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 102 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 160 จากข้อมูลทั้งหมด 2031 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 16 (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2565) | นร.11 สศช | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา
๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ ๑๖ (เดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๕) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.)
ในฐานะสำนักงานเลขานุการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑. สรุปภาพรวมการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) สศช.
ได้รวบรวมและประมวลผลข้อมูลการดำเนินการปฏิรูปประเทศทั้ง ๑๓ ด้าน ประกอบด้วย
กิจกรรมปฏิรูปประเทศที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) รวมทั้งสิ้น ๖๒ กิจกรรม และกฎหมายที่จัดทำ/ปรับปรุงใหม่ รวม ๔๕
ฉบับ สำหรับรายงานความคืบหน้าฯ รอบเดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๕
มีสถานะการดำเนินการของกิจกรรม Big Rock
เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ร้อยละ
๘๕.๕ และกิจกรรม Big Rock ร้อยละ ๑๔.๕ อยู่ระหว่างการเร่งรัด
กำกับ
ติดตามการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของแผนการปฏิรูปประเทศตามกรอบระยะเวลาของแผนที่กำหนดไว้ต่อไป
๒. ความคืบหน้ากฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ณ
สิ้นเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ รวม ๔๕ ฉบับ ประกอบด้วย และ (๑)
กฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ๗ ฉบับ และ (๒) กฎหมายที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ๓๘
ฉบับ (ซึ่งมีความคืบหน้ากว่ารอบที่ผ่านมา) ๓. ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ สศช.
ได้สรุปรายงานตามประเด็นอภิปรายที่ได้จากคณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ
และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศและการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
และเสนอต่อที่ประชุมสมาชิกวุฒิสภาสมัยสามัญประจำปีครั้งที่ ๑ ทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่
๑ และสัปดาห์ที่ ๓ ของเดือน รวมทั้งสรุปรายงานสถานะของกฎหมายทั้ง ๑๐ ฉบับ
ที่สมาชิกวุฒิสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำกับติดตาม
และเร่งรัดการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
142 | ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ครั้งที่ 54 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุม ๑. ผลการประชุม AEM ครั้งที่ ๕๔ มีสาระสำคัญ เช่น ดำเนินการเกี่ยวกับประเด็นด้านเศรษฐกิจที่กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี
๒๕๖๕ (Priority Economic Deliverables : PEDs) แล้วเสร็จ ๔
ประเด็น จาก ๙ ประเด็น เช่น การประกาศการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน
และรับทราบแผนการจัดทำความตกลงกรอบเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในช่วงกลางปี
๒๕๖๖ และคาดว่าอาเซียนจะสามารถเริ่มตนเจรจาความตกลงฯ ได้ในช่วงปลายปี ๒๕๖๖
หรือต้นปี ๒๕๖๗ ๒.
การหารือของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค เช่น อาเซียน-จีน
โดยเห็นชอบผลการศึกษายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน
ซึ่งครอบคลุมการเปิดเสรีเพิ่มเติมด้านการค้าสินค้า อาเซียน-แคนาดา
หารือประเด็นเจรจาต่าง ๆ เช่น การค้าสินค้าและบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการแข่งขันทางการค้า
และรับทราบสถานะล่าสุดของการมีผลใช้บังคับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
(Regional
Comprehensive Economic Partnership : RCEP)
๓.
การหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ เช่น ไทย-ติมอร์-เลสเต ผลการพิจารณาบันทึกความตกลงว่าด้วยการค้าข้าวรัฐต่อรัฐระหว่างไทยกับติมอร์-เลสเต
อยู่ระหว่างการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย ไทย-รัสเซีย
ผลักดันให้การค้าทั้งสองฝ่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น ๑ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยเน้นสินค้าเกษตรและอาหาร พลังงาน ปุ๋ย และยางพารา เป็นต้น ไทย-ฮ่องกง โดยฮ่องกงขอให้ไทยสนับสนุนการเป็นสมาชิก
RCEP
ซึ่งฮ่องกงได้ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนแล้ว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
143 | ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนตุลาคม 2565 | นร.11 สศช | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
ณ เดือนตุลาคม ๒๕๖๕ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (๑)
ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (๒)
ความก้าวหน้าการปฏิรูปประเทศ (๓) การติดตาม การตรวจสอบ
และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ และ (๔)
ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
144 | ขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน | กษ. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม
โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน เพิ่มขึ้นถุงหรือกล่องละ ๐.๓๑ บาท ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๖ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
สำหรับภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
หากยังมีงบประมาณไม่เพียงพอให้เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดการดำเนินการตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕
การพิจารณาทบทวนการกำหนดราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบให้สอดคล้องกับสถานการณ์
และหากจะมีการปรับเพิ่มหรือลดราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมและคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน)
พิจารณาผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นให้รอบคอบ ครบถ้วน
แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป ๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น
ควรมุ่งเน้นการพัฒนายกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
และผู้ที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางการปรับราคากลางนมโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม
เร่งขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านโคนมและผลิตภัณฑ์โคนม ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐)
ที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งให้พิจารณาเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความต้องการบริโภคนมโรงเรียนที่มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากนักเรียนเข้าใหม่มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง
เช่น การทยอยปรับลดกำลังการผลิต นมโรงเรียน การแปรรูปนมโคเป็นผลิตภัณฑ์อื่นให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
เป็นต้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
145 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง บทวิเคราะห์กฎหมายว่าด้วยความผิดกรณีการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม ของคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา | สว. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง
บทวิเคราะห์กฎหมายว่าด้วยความผิดกรณีการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
ของคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา สรุปผลการพิจารณาได้ว่า
การมีกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมจะสามารถนำไปสู่การป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ได้
ซึ่งปัจจุบันสำนักงาน ป.ป.ช. และเครือข่ายของสำนักงาน ป.ป.ช.
จังหวัดได้ทำหน้าที่ให้ความรู้แก่หน่วยงานภายนอก
รวมทั้งการจัดอบรมแก่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ กระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุ เรื่อง
การขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict
of Interest) ไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์เรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนแก่หน่วยงานในสังกัดได้รับทราบ
นอกจากนี้ ปัจจุบันมีประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม
พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งหมด ๓๖ ประมวล ซึ่งขณะนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน ๒๑
ประมวล สำหรับแนวทางในการปฏิบัติตนของบุคลากรภายในหน่วยงาน (Do &
Don’t) ได้ออกเป็นข้อกำหนดจริยธรรมอันสอดคล้องกับลักษณะพฤติกรรมสำคัญ
๙ ประการ ที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดไว้ ตลอดจนหน่วยงานอิสระ เช่น องค์กรอัยการ
องค์กรตุลาการ ฯลฯ ได้บัญญัติประมวลจริยธรรมของหน่วยงานไว้โดยเฉพาะด้วยเชนกัน อนึ่ง
สำนักงาน ป.ป.ช. ถือเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
พ.ศ. .... โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
พ.ศ. .... ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณายกร่างกฎหมาย ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
146 | การประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 25 | นร.11 สศช | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
๖ ประเทศ (Greater
Mekong Subregion economic cooperation program : GMS) ครั้งที่ ๒๕
ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ ได้แก่ (๑) ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS
ครั้งที่ ๒๕ (๒) ยุทธศาสตร์ความเท่าเทียมทางเพศ GMS (๓) กรอบการประเมินผลลัพธ์สำหรับกรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS พ.ศ. ๒๕๗๓ (๔) ข้อริเริ่มความร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัล GMS และ (๕) กรอบการลงทุนของภูมิภาค ฉบับใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๘
โดยอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
และปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐมนตรีประจำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
๖ ประทศ (GMS Minister หรือรัฐมนตรีประจำแผนงาน GMS) ในการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ ๒๕
ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายได้ร่วมกับรัฐมนตรีของประเทศลุ่มแม่น้ำโขงให้การรับรองเอกสารดังกล่าว
โดยไม่มีการลงนาม ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
147 | รายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา | กสศ. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ในรอบสามปีที่หนึ่ง (ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๑-๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕ โดยรายงานฯ
มีสาระสำคัญประกอบด้วย (๑) ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
(๒) ผลการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
(๓) รายงานข้อจำกัดหรืออุปสรรคของการดำเนินกิจการของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
และ (๔) ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง ตามที่คณะกรรมการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
148 | รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2565 | กค. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่
๓ ปี ๒๕๖๕ ประกอบด้วย (๑) การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน
โดยเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง
และดอกเบี้ยธนาคารโลกทั่วไปปรับตัวสูงขึ้นเพื่อชะลอเงินเฟ้อ
และเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น
อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ในปี ๒๕๖๖
เนื่องจากราคาพลังงานมีแนวโน้มลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม
ราคาอาหารและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามการผลักภาระต้นทุนให้แก่ผู้บริโภค
ส่วนการส่งออกของไทยมีแนวโน้มขยายตัวในปี ๒๕๖๕ และคาดว่าจะชะลอตัวลงในปี ๒๕๖๖
ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า (๒) ภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงิน
มีแนวโน้มผ่อนคลายเพียงเล็กน้อยเนื่องจากยังคงมีความกังวลจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก
ค่าเงินบาทในไตรมาสที่ ๓ ปี ๒๕๖๕ ยังคงอ่อนค่าลงจากไตรมาสที่ ๒
เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ
และระบบการเงินของไทยยังคงมีเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม
ผู้ประกอบการ SMEs
ในบางสาขาธุรกิจยังคงฟื้นตัวช้าและครัวเรือนรายได้น้อยยังคงได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
และ (๓) การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ ๓ ปี ๒๕๖๕
คณะกรรมการนโยบายการเงินได้มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ย ๒ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ ๑ มติคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่
๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ปรับขึ้นดอกเบี้ยจากร้อยละ ๐.๕๐ ต่อปี เป็นร้อยละ ๐.๗๕ ต่อปี
และครั้งที่ ๒ มติคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๕
ปรับขึ้นดอกเบี้ยจากร้อยละ ๐.๗๕ ต่อปี เป็นร้อยละ ๑ ต่อปี
โดยปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
149 | การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา | ทส. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
๑.๑ เห็นชอบกรอบท่าทีเจรจาของประเทศไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ ๑๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ ๒ (The Fifteenth meeting of the
Conference of the Parties to Convention on Biological Diversity : COP15 Part 2)
ที่มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๗-๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ นครมอนทรีออล
ประเทศแคนาดา โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดท่าทีของประเทศไทยสำหรับการประชุมฯ
โดยอยู่บนพื้นฐานหลักการในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่
การให้ความเห็นชอบในหลักการต่อร่างกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ.
๒๐๒๐ (Post-2020 Global Biodiversity Framework : Post-2020 GBF) ซึ่งเป็นผลลัพธ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการประชุมฯ
การสนับสนุนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพฉบับใหม่
และการให้ความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มพื้นที่ที่มีการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพตามข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และวิชาการที่ชัดเจน
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงกรอบท่าทีเจรจาฯ
ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่อีกครั้ง
๑.๒
รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ ๑๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ ๒ รวม ๗ คน ประกอบด้วย
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็ฯเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
150 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. .... | นร.09 | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
กระทรวงแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
151 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร.09 | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงพลังงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการภายในของสำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงพลังงาน โดยปรับปรุงโครงสร้างและเปลี่ยนชื่อจาก
“กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน” เป็น “กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค”
และปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงพลังงาน รวมทั้งกำหนดหน้าที่และอำนาจกองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค
โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน มีหน้าที่และอำนาจในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือทุกระดับเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน
ส่วนกองยุทธศาสตร์และแผนงาน
กำหนดเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผนการปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการ แผนงาน
และโครงการของกระทรวง และสำนักงานปลัดกระทรวง และกองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค
ให้มีอำนาจและหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์
และจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานและพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน
ตลอดจนพลังงานรูปแบบอื่น ๆ
เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป
อันจะทำให้การปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่และอำนาจมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
152 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (1. นางสาวทัศนีย์ พิศาลรัตนคุณ ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | ศธ. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
จำนวน
๓ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
ดังนี้ ๑. นางสาวทัศนีย์ พิศาลรัตนคุณ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ ๒. นายวิทวัต ปัจมะวัต ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๕
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
153 | ผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2566 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล) | ดศ. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. ๒๕๖๖ (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล)
ได้แก่ (๑)
เรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลือเร่งด่วนเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ในปี
๒๕๖๖ มากที่สุด คือ ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค ร้อยละ ๙๑.๑ (๒)
มาตรการ/โครงการที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในชุมชน/หมู่บ้านมากที่สุด คือ
โครงการคนละครึ่ง ร้อยละ ๗๕.๘ (๓)
ความพึงพอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลที่ผ่านมาประชาชนส่วนมากมีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุด
ร้อยละ ๔๒.๑ (๔)
ความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
ประชาชนส่วนมากมีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ ๓๕.๔ และ (๕) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เช่น
ควรมีมาตรการ/โครงการช่วยเหลือและลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
ควรเร่งแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศอย่างจริงจัง
และควรเร่งสร้างความร่วมมือ เครือข่าย
และกระบวนการป้องกันไม่ให้คนในสังคมเข้าไปเกี่ยวข้องหรือเข้าไปสู่วงจรของยาเสพติด
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
154 | การร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง | พน. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving
Terminal (แห่งที่ ๒) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง
จังหวัดระยอง ในสัดส่วนร้อยละ ๕๐ โดยมีมูลค่าเงินลงทุนตามสัดส่วนดังกล่าวไม่เกิน
๑๖,๓๕๐ ล้านบาท และ กฟผ. ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนตามแผนการประมาณการเบิกจ่ายประจำปี
๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงาน และ กฟผ.
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจที่เห็นควรให้ กฟผ.
กำหนดขอบเขตการดำเนินงานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้
และ กฟผ.
ควรกำกับดูแลบริษัทในเครือให้ดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งเป้าหมายการดำเนินงาน
สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และไม่เป็นภาระทางการเงินกับ กฟผ. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. อนุมัติในหลักการการยกเว้นภาษี
เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้าง
การจัดตั้งบริษัทฯ และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจากการร่วมทุนในบริษัทดังกล่าว
ทั้งนี้
ในส่วนของการลดหย่อนค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนการจำนองให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
และให้กระทรวงพลังงาน และ กฟผ. ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างเคร่งครัด
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
155 | มาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม | ปช. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น
(๑) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานจัดเก็บภาษี
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออก และหน่วยงานด้านการจดทะเบียนพาณิชย์ (๒)
ควรมีระบบการแจ้งเบาะแสที่มีประสิทธิผล (๓)
ควรกำหนดมาตรการให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (๔)
ควรเพิ่มกลไก การตรวจสอบ ถ่วงดุล สอบยันในหน่วยจัดเก็บภาษี (๕)
ควรให้มีการส่งเรื่องให้ตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งออก (๖)
ควรเพิ่มกลไกการตรวจสอบเพิ่มเติมจากมาตรฐานที่มีอยู่ และ (๗)
ควรมีการตรวจสอบเกี่ยวกับผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ ๒. รับทราบผลการพิจารณาต่อมาตรการดังกล่าวของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้แจ้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
156 | การดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ | กค. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบการขยายกรอบการดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ กรณีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
รูปแบบโครงการเช่าระยะสั้น (Rental) บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่
กท. ๕๐๕๐ และ ส.กท. ๘๒๗ (บางส่วน) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ออกไปอีก ๓
ปี ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลโดยเคร่งครัดต่อไป ควรติดตามและเร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ขยายกรอบในการดำเนินโครงการไว้เพื่อสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนมีความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย
และสามารถใช้ประโยชน์บนที่ดินราชพัสดุได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ควรมีกระบวนการคัดกรองลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม
บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด
และติดตามผลการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. เห็นชอบให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินแยกบัญชีโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ
เป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาล (PSA)
และไม่นับรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs)
ที่เกิดจากการดำเนินโครงการเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของธนาคาร
รวมทั้งให้สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐบวกกับกำไรสุทธิเพื่อการคำนวณโบนัสพนักงานได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
157 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายพงศธร ศิริอ่อน) | กษ. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพงศธร ศิริอ่อน
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งวิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ กรมชลประทาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา
(ด้านสำรวจและหรือออกแบบ) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่งตั้งวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
158 | แนวทางการประชุมร่วมกันของรัฐสภาและการประชุมสภาผู้แทนราษฎร | ปสส. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการประชุมร่วมกันของรัฐสภาและการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่สอง) วันพุธที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๕
และระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๐
(สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ และปีที่ ๔ ครั้งที่
๑๑ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๕
ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
159 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... | มท. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหันคา
ตำบลวังไก่เถื่อน และตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหันคา ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ดำรงรักษาเมืองและรักษาพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม
ส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม เป็นศูนย์กลางการผลิต
การซื้อขายและบริการทางการเกษตรระดับชุมชน
โดยการจัดการด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค
การบริการสาธารณะ และรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในเขตผังเมืองรวมชุมชนหันคา
จังหวัดชัยนาท
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๘
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภท หรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
คำนึงถึงการควบคุมและกำกับดูแลเพื่อป้องกันการกระจายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมและคงเจตนารมณ์ของการกำหนดที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมไว้
คำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และเป็นไปตามกฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อมที่ดีของชุมชนให้คงอยู่ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
160 | รายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ | ดศ. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ทั้งนี้
ในส่วนของข้อเสนอที่ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรายงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
(Digital Infrastructure)
ในส่วนของการพัฒนาระบบ Digital ID
ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๒. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในแผนที่ปฏิบัติการของกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗)
จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากสำนักงบประมาณ
และดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบการขับเคลื่อนที่กำหนด
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
โครงการที่ขอการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะต้องอยู่ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา |