ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 102 หน้า แสดงรายการที่ 101 - 120 จากข้อมูลทั้งหมด 2031 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
101 | การดำเนินโครงการของกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | วธ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการของกระทรวงวัฒนธรรม
เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน ประกอบด้วย ๓ กิจกรรม ได้แก่
(๑) กิจกรรมทางศาสนาเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล (๒) กิจกรรมท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
และ (๓) กิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม ส่งความสุขแบบไทย ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
102 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | นร.01 | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะได้ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน
และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑)
สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่ยื่นผ่านช่องทางการร้องทุกข์ ๑๑๑๑ รวมทั้งสิ้น ๖๗,๙๑๙ เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ ๖๒,๑๑๒ เรื่อง โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับการประสานเรื่องร้องทุกข์ฯ
มากที่สุด (๔,๔๐๕ เรื่อง) (๒)
การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีการติดต่อแจ้งเรื่องร้องทุกข์ ๑๓๔,๕๗๕ ครั้ง ซึ่งน้อยกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๓๓,๑๒๙ ครั้ง (มีการติดต่อแจ้งเรื่องร้องทุกข์ ๑๖๗,๗๐๔
ครั้ง ) ทั้งนี้ ประเด็นที่ประชาชนยื่นเรื่องร้องทุกข์มากที่สุด คือ
การรักษาพยาบาล ๔,๘๙๓ เรื่อง (๓) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์
เช่น ประชาชนยังคงมีความกังวลและต้องการทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนภายใต้แนวทางการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ที่ถูกต้องตามสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไป และเรื่องร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับระบบออนไลน์
ซึ่งเกิดจากการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จหรือข้อมูลที่บิดเบือนไม่เป็นความจริง และ
(๔) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการการปฏิบัติงาน เช่น
ขอให้หน่วยงานประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
ข้อมูลผลการดำเนินงานและข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างทั่งถึง
และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการแก้ไขปัญหาร่วมกับทุกภาคส่วน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
103 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | นร.01 | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนงาน/ดำเนินโครงการ
เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ.
๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) เสนอ
ดังนี้ ๑.
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เสนอการเปิดช่องทางใหม่ “ไลน์สร้างสุข” (@PSC1111)
เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถส่งเรื่องร้องทุกข์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
ด้วยการบริหารจัดการระบบ Traffy Fondue ซึ่งเป็นระบบที่สามารถส่งข้อมูลคำร้องทุกข์ถึงหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ได้ทันที
เป็นช่องทางที่ทันสมัย ใช้งานได้ง่าย และปลอดภัย
สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการส่งเรื่องร้องทุกข์ได้จากทุกที่ ทุกเวลา
สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันของประชาชนที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานของรัฐมากขึ้น ๒.
กรมประชาสัมพันธ์ เสนอการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “ดนตรีในสวน เพื่อสร้างความสุข”
ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกรมประชาสัมพันธ์ โดย
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร และสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา
๑๗.๐๐ น. ณ สวนลุมพินี เป็นการแสดงดนตรี โดยวงดนตรี กรมประชาสัมพันธ์
เพื่อสร้างความสุข
ความบันเทิงให้กับประชาชนสอดแทรกความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในนโยบายรัฐบาล
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
104 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน้ำ | ทส. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐ และวันที่ ๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จากเดิม ที่มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานประสานงานระดับชาติและตั้งงบประมาณสำหรับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
รวมทั้งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็น
ให้กรมทรัพยากรน้ำ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบแทน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้แก้ไขชื่อหน่วยงานในมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ (เรื่อง
การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ เรื่อง
ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทย
และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ) จากเดิม “กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี”
เป็น “กรมเจ้าท่า” ตามความเห็นของกระทรวงคมนาคม รวมทั้งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่เห็นควรปรับรายชื่อหน่วยงานสนับสนุนท้ายมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่ขอทบทวนให้สอดคล้องเป็นปัจจุบัน
และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นเงินบริจาคสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่ได้รับจัดสรรแล้ว
โดยค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป
ขอให้กรมทรัพยากรน้ำจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามอัตราที่กำหนดตามขั้นตอนต่อไป
ควรใช้กลไกที่มีอยู่เพื่อให้การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมความหลากหลายของระบบนิเวศ
เช่น การดำเนินการของสถาบันการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาศักยภาพ
เสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกระทรวง
ตลอดจนประชาชนทั่วไป และพิจารณาวางแผนการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ของพื้นที่ชุ่มน้ำตามลำดับความสำคัญแต่ละแห่งให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
105 | การขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาผลกระทบราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ | พน. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ขยายระยะเวลาโครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย
ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่อไปในเดือนมกราคม ๒๕๖๖ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ทั้งนี้
ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี
๒๕๖๕ ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๖
ให้โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่จะเริ่มให้สิทธิ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
พิจารณากำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากราคาพลังงานอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปในภาพรวม
รวมถึงเร่งศึกษาการกำหนดมาตรการระยะยาว และพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการราคา LNG ในประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
106 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 เรื่อง ร่าง แผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เรื่อง ร่าง แผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
มีสาระสำคัญเป็นการรายงานสรุปผลการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ที่มีมติอนุมัติร่างแผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ซึ่งเป็นการดำเนินการในกรอบหน้าที่และอำนาจของ กพอ. ตามมาตรา ๑๑ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เป็นหลักในการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาค และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด่วนที่สุด
ที่ นร ๑๑๑๐/๕๐๙๘ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕) เช่น
ในการชดเชยผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเดิมควรตระหนักถึงหลักเกณฑ์การชดเชยที่มีความเป็นธรรมต่อผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดินให้มากที่สุด
ควรเน้นสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานภายใต้ร่างแผนปฏิบัติการฯ
เห็นควรให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๖
โดยดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
107 | ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2559 เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยุติการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบ้านจันเดย์ | พน. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๖ มกราคม ๒๕๕๙ (เรื่อง โครงการไฟฟ้าพลังงานบ้านจันเดย์) เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยุติการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบ้านจันเดย์
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่เห็นควรกำกับการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนต่าง
ๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทศไทย ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ให้จัดหาพลังงานไฟฟ้าทดแทนจากแหล่งพลังงานอื่นโดยเฉพาะที่มาจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อประโยชน์ต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า
รวมทั้งเป็นไปและสอดคล้องกับนโยบาย BCG ของรัฐบาลต่อไป และควรยุติโครงการฯ ไว้ก่อน แต่ไม่ควรยกเลิกอย่างสิ้นเชิง
ในระหว่างนี้ให้ติดตามข้อมูลลงทุนความเหมาะสมของการพัฒนาโครงการฯ ในอนาคตต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาทบทวนการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๑ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ให้เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน โดยคำนึงถึงความจำเป็น ความคุ้มค่า
และความเหมาะสมทางเทคนิคที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบและรัดกุมเพื่อให้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ มีความถูกต้อง ชัดเจน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
108 | แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (1. นายอนุชา เศรษฐเสถียร และนางจันทิรา บุรุษพัฒน์) | คค. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
จำนวน ๒ คน เนื่องกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ ๑. นายอนุชา เศรษฐเสถียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๒. นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย
ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (เรื่อง
การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
109 | รายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายศูนย์ราชการสะดวก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | นร.01 | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายศูนย์ราชการสะดวก
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยมีผลการดำเนินงาน ได้แก่ (๑) การกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการประเมิน และการรับรองมาตรฐาน GECC (๒)
การส่งเสริมผลักดันให้หน่วยงานของรัฐมีการพัฒนาการให้บริการประชาชนตามมาตรฐาน GECC
(๓) การตรวจสอบประเมินมาตรฐาน GECC (๔)
ผลการรับรองมาตรฐาน GECC (๕)
การจัดพิธีมอบโล่และตรารับรองมาตรฐาน GECC (๖)
การตรวจประเมินการรักษามาตรฐาน GECC (๗)
ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อน GECC และ (๘) ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
110 | (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 | อว. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงบประมาณ เช่น เห็นควรมุ่งเน้นให้มีการปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลกมีมาตรฐานและรับรองคุณภาพผลงานวิจัย
พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถครอบคลุมในทุกมิติ
เน้นการขับเคลื่อนให้ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มุ่งผลสัมฤทธิ์ ลดช่องว่างของการเข้าถึงโอกาส
ด้านการพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยี นวัตกรรม
สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ
และความไม่เสมอภาคทางสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงความต้องการจำเป็นต่อระบบบริการสาธารณสุขไทยในปัจจุบันและอนาคต
การยกระดับระบบบริการของสังคมสูงวัย การลดอัตราการตายโรคสำคัญ
การเสริมความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ
ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการ โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
111 | การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Startup) | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital
Startup) ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นหน่วยงานจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล
และเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัลและบริการดิจิทัลที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีดิจิทัล
และมอบหมายให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาผลักดันบัญชีบริการดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
และเป็นหนึ่งในหมวดพัสดุที่รัฐต้องส่งเสริมหรือสนับสนุน
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดิจิทัลร่วมพัฒนาระบบราชการไทย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เช่น
ควรคำนึงถึงการลดต้นทุนของการจัดทำบริการดิจิทัลผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น
(Digital Startup) และช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ควรมีผู้แทนของกรมต่าง
ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนร่วม คำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ควรพิจารณากำหนดให้มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลที่ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
อาทิ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดการบูรณาการและประโยชน์จากองค์ความรู้ ฐานข้อมูล
และความเชี่ยวชาญของบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
112 | แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ.2564-2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570 และ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566-2570 | อว. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ (แผนด้านการอุดมศึกษาฯ) และ (ร่าง)
แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
เป็นแผนภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ (แผนด้าน ววน.) จัดทำขึ้นเพื่อใช้ทดแทนนโยบายและยุทธศาสตร์เดิม
โดยกำหนดให้มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดในช่วงเวลาเดียวกัน ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
๑.๑ แผนด้านการอุดมศึกษาฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ประกอบด้วย ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) พัฒนาศักยภาพคน (Capacity Building) (๒) ส่งเสริมระบบนิเวศวิจัยอุดมศึกษา (Research Ecosystem
Building) (๓) จัดระบบอุดมศึกษาใหม่ (Higher Education
Transformation) และมีการขับเคลื่อนสำคัญกำหนดเป็น ๗ นโยบายหลัก (Flagship
Policies) และ ๓ กลไกหลัก (Flagship Mechanisms) ตามความสำคัญเร่งด่วน เช่น กำลังคนระดับสูงที่มีทักษะรองรับอุตสาหกรรมและบริการใหม่แห่งอนาคตเพิ่มขึ้น
การรองรับสังคมสูงวัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยสมบูรณ์
การยกระดับฐานข้อมูลระบบอุดมศึกษาให้มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง แม่นยำ มีเสถียรภาพ
เป็นต้น
๑.๒ (ร่าง) แผนด้าน ววน. พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่
(๑) การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (๒)
การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทาย
และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรม (๓) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุคเพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต
และ (๔) การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน
โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ๒. ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงวัฒนธรรม รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข
เช่น แผนด้านการอุดมศึกษาฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ควรมีความสอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ และควรมีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐในการพัฒนานวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๓. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการดำเนินงาน
และติดตามความก้าวหน้าให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมตามห้วงระยะเวลาที่กำหนดด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
113 | มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565 | ทส. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๕
ประกอบด้วย (๑) รายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
สายชลบุรี-พัทยา ของกรมทางหลวง (๒) ความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหามลพิษกรณี โรงงานของบริษัท วิน โพรเสส จำกัด ตำบลบางบุตร
อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง (๓) ผลการดำเนินงานเพื่อปกป้องการเกิดอุบัติภัยสารเคมี
บทเรียนจากเหตุเพลิงไหม้ กรณีโรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล
จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ (๔) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (๕)
การจัดทำแผนดัชนีสมรรถนะสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance Index :
EPI) ของไทย และ (๖) (ร่าง)
แนวทางการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ระยะที่ ๒
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
114 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙
สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐
เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายการดำเนินงานด้าวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
และรับทราบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศของประเทศ ตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอ ๒. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง)
นโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ มีสาระสำคัญเพื่อเป็นกรอบนโยบายในการจัดสร้างหรือการบริหารจัดการดาวเทียม
และการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมของรัฐ เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานรัฐ และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติที่เหมาะสมที่สุดและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดยให้รับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางประกอบการพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายและพันธกรณีต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
(๑) ให้เร่งรัดดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเกิดผลสำเร็จ
เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป (๒) เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
หากไม่เพียงพอเห็นควรให้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ แล้วแต่กรณี
โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
115 | มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ | นร.04 | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๑๐/๒๕๖๕ เรื่อง
มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ เนื่องจากพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕ มาตรา ๑๔
วรรคหนึ่ง (๒) บัญญัติให้มีคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า
“ก.ต.ช.” ประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ
นายกรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
เป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
116 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 19/2565 | นร.11 สศช | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
117 | รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ยธ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประกอบด้วย (๑)
การดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
(๒) การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการติดตามและตรวจสอบกรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
(๓) การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการเยียวยากรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
(๔) การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการป้องกันการกระทำทรมานและบังคับให้หายสาบสูญ และ
(๕) การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการคัดกรองกรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
118 | โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง | คค. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข ๘๒ สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว
สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
โดยโครงการร่วมลงทุน O&M
มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาสภาพการจราจรที่ติดขัดบนทางหลวงหมายเลข ๓๕
(ถนนพระราม ๒) โดยเฉพาะช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็น
เพิ่มโครงการถนนสายหลักในพื้นที่ตอนล่างของกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง
ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม
กรมทางหลวง และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒
รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่ กค
๐๘๒๐.๑/๔๗๗๐ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๕) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง เช่น ให้กรมทางหลวงพิจารณาแนวทางการเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันและกำหนดเงื่อนไขการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน
และให้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
119 | รายงานผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 - 2564) | อว. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๔)
ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (๑) กรมป่าไม้ได้ออกพระราชบัญญัติป่าไม้
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๒ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๗ เพื่อปลดล็อกไม้หวงห้าม (๒)
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยี
และนวัตกรรมเกี่ยวกับฐานข้อมูล “ชนิดไม้มีค่าที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
และแปลงสาธิตการปลูก” การพัฒนาเทคโนโลยี
และนวัตกรรมแม่นยำทางป่าไม้เพื่อสนับสนุนการจัดการและการประเมินมูลค่าไม้ และ (๓) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มชุมชนไม้มีค่า
จำนวน ๓๒๑ ชุมชน ทำให้มีรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากต้นไม้และป่าไม้ประมาณ ๙๐
ล้านบาท และสนับสนุนชุมชนไม้มีค่าในการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก จำนวน ๖๐ ชุมชน
ได้ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนปริมาณ ๔๖๘,๓๕๕ ตัน คาร์บอนไดออกไซด์
รวมทั้งสนับสนุนเกษตรกรในการใช้ต้นไม้เป็นหลักประกัน
โดยเบื้องต้นได้สนับสนุนเฉพาะในพื้นที่เอกสารสิทธิ์ จำนวน ๒๙๒ ต้น
และให้มูลค่าหลักประกันแก่เกษตรกรที่ใช้ต้นไม้ยื่นกู้ คิดเป็นมูลค่า ๓.๑๐ ล้านบาท
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
120 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. 2566 - 2567 ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี | กก. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
และปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๗
ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
โดยบันทึกความเข้าใจฯ
มีสาระสำคัญเป็นการสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพร่วมกัน
ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|