ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 102 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 2031 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | มาตรการช่วยเหลือเงินพิเศษแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประจำเดือนมกราคม 2566 | กค. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเงินพิเศษแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ประจำเดือนมกราคม ๒๕๖๖
ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมเสนอ
และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน ๒,๖๔๓,๐๘๘,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลัง (สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง)
โดยกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมตรวจสอบสถานะเงินกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
และประมาณการใช้จ่ายจนถึงสิ้นปีงบประมาณ หากมีเพียงพอให้ใช้จ่ายจากเงินกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมในโอกาสแรก
กรณีไม่เพียงพอเมื่อทราบภาระตามจ่ายจริงแล้ว
ให้ทำความตกลงในการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๒๔๘๘
ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕) ๒.
ให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | การดำเนินโครงการบรรพชาอุปสมบท 99 รูป ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา กระทรวงมหาดไทย | มท. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ
หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่เข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท ๙๙ รูป
ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา กระทรวงมหาดไทย ณ วัดที่จังหวัดกำหนด
ทั้ง ๗๖ จังหวัด ภายในเดือนมกราคม ๒๕๖๖ เป็นเวลา ๑๕ วัน โดยไม่ถือเป็นวันลา
เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการและได้รับเงินเดือนตามปกติ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... | นร.09 | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | ร่างกฎหมายขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวม 2 ฉบับ [ร่างพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ) และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน)] | กค. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม ๒ ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ)
มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่เกิดจากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตในประเทศตามโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจที่ได้ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
(องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๕๗๐ และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน)
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา
และขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับเงินที่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้บริจาคผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Donation)
ของกรมสรรพากรให้แก่กรมป่าไม้
เพื่อสนับสนุนโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้
และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
ร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจมาตรการภาษี
เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ร่วมทั้งรวมติดตามและประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการนี้ เช่น
มูลค่าเงินลงทุนของโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ
มูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง
และปริมาณกักเก็บคาร์บอนที่ได้
และนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กระทรวงการคลังเป็นรายปีจนสิ้นสุดมาตรการเพื่อประกอบการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับจากการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๓.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่เห็นควรครอบคลุมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดรองด้วย
เพื่อให้เกิดการสร้างแรงจูงใจที่ครอบคลุมภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกดังกล่าว
ส่งเสริมให้ตลาดมีสภาพคล่องมากยิ่งขึ้นอันจะผลักดันให้คาร์บอนเครดิตมีมูลค่าสูงขึ้น
และส่งผลให้เกิดการพัฒนาโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน รายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงดังกล่าว
จนกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จตามนัยมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565 | ดศ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
พ.ศ. ๒๕๖๕ สรุปได้ ดังนี้ (๑) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พบเห็นและไม่ทราบว่ามีปัญหายาเสพติดในชุมชน/หมู่บ้าน
(ร้อยละ ๕๖.๐) (๒) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พบเห็นแต่ทราบว่ามีการซื้อขายยาเสพติด
(ร้อยละ ๗๓.๙) ไม่พบเห็นแต่ทราบว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ในชุมชน/หมู่บ้าน
(ร้อยละ ๘๔.๑) ยาบ้าเป็นยาเสพติดที่แพร่ระบาดมากที่สุดในชุมชน/หมู่บ้าน (ร้อยละ
๘๒.๔) และผู้ที่มีอายุ ๒๐-๒๔ ปี เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากที่สุด (ร้อยละ ๔๙.๔) (๓)
ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการดำเนินงานในการป้องกัน ปราบปราม
และบำบัดยาเสพติดในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ ๔๙.๓)
มีความเชื่อมั่นต่อนโยบายการป้องกัน ปราบปราม
และบำบัดยาเสพติดในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ ๔๘.๑)
มีความเชื่อมั่นต่อนโยบายยึดทรัพย์ผู้ค้ายาเสพติดสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือลดจำนวนผู้ค้ายาเสพติด
(ร้อยละ ๔๘.๘)
และให้คะแนนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดมาก-มากที่สุด
(ร้อยละ ๖๘.๑) และ (๔) ประชาชนเห็นควรปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง/ต่อเนื่อง
และควรให้กฎหมายลงโทษผู้เกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
เช่น การประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้
และสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถป้องกันตนเองและครอบครัวจากยาเสพติด ผ่านสื่อต่าง ๆ
โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์
สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้แจ้งเบาะแส และติดตามและแก้ไขปัญหาการร้องเรียนอย่างจริงจัง
ตามที่กระทรวงดิจทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2567-2570) | กค. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ ๒๕๖๗-๒๕๗๐) เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บ
หรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านรายรับและรายจ่าย
เพื่อรักษาฐานะด้านการคลังให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ.๒๕๖๑ และในระยะปานกลางควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่าย
ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้
เพื่อให้มีกรอบงบประมาณที่เพียงพอสำหรับการลงทุนและพัฒนาประเทศ
และควรมีการพิจารณากำหนดกรอบงบประมาณรายจ่ายตามโครงสร้างงบประมาณที่จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ
รายจ่ายลงทุน รายจ่ายเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และรายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลัง
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาแนวโน้มการใช้จ่ายภาครัฐในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าป่วยการพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ พ.ศ. .... | นร.09 | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าป่วยการพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ
พ.ศ. .... ที่ตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับค่าป่วยการสำหรับพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญซึ่งเจ้าหน้าที่เรียกมาให้ถ้อยคำหรือทำความเห็นต่อการพิจารณาปกครอง
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 1/2565 | อก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
(กอช.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ในฐานะรองประธาน กอช. เป็นประธานการประชุม
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติที่ประชุม กอช. ดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๑) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน
และมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองภายในปี ๒๕๗๐ โดยมีแนวทางดำเนินงาน ๓ มาตรการหลัก
ได้แก่ ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดิม
กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ และสร้างและพัฒนาระบบนิเวศสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ๒)
(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรมแห่งอาเซียนภายใน ๕ ปี
มีแนวทางดำเนินงาน ๔ มาตรการหลัก ได้แก่
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่กัญชง
ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมด้านการตลาด
และสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการประกอบการ และ ๓)
การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
มีแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ
๕ ปี (๒๕๖๖-๒๕๗๐)
จัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เข่น ควรคำนึงถึงความยั่งยืนในการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงพาณิชย์
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานอย่างครบวงจรเพื่อเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชนทั้งในภาคเกษตร
อุตสาหกรรมและบริการ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ และกฎระเบียบอย่างอื่นอย่างเคร่งครัด
ควรติดตามผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กอช. เพื่อเสนอต่อ กอช.
และคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ การพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ควรให้ความสำคัญกับความต้องการของตลาดเป็นหลักจึงจะสามารถรองรับความผันผวนของราคาได้
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายพีรพันธ์ คอทอง ฯลฯ จำนวน 12 ราย) | กษ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๑๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑. นายพีรพันธ์ คอทอง ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นางสาวอิงอร ปัญญากิจ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๔. นายชัยวัฒน์ โยธคล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๕. นายชูชาติ รักจิตร ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๖. นายนวนิตย์ พลเคน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๗. นางสาวเสาวลักษณ์ ศุภกมลเสนีย์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๘. นายปรีชา พันธุ์วา ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๙. นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๑๐. นางสาวภัทราภรณ์ โสเจยยะ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๑๑. นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ๑๒. นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | สถานะของรัฐวิสาหกิจตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 9 ตุลาคม 2555 (เรื่อง กรอบและงบประมาณของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2556) | นร.11 สศช | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า โดยที่พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๑
ส่งผลให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจประการหนึ่งในการจัดทำข้อเสนองบประมาณประจำปีของรัฐวิสาหกิจเฉพาะรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งมิใช่บริษัทมหาชนจำกัด ดังนั้น
เพื่อให้เกิดความชัดเจนและความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันเกี่ยวกับสถานะของรัฐวิสาหกิจตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ (เรื่อง กรอบและงบประมาณของรัฐวิสาหกิจ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖)
จึงขอแจ้งยืนยันให้คณะรัฐมนตรีทราบว่า รัฐวิสาหกิจตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙
ตุลาคม ๒๕๕๕ ดังกล่าว ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจซึ่งมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติรับทราบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงาน
และมอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแจ้งให้ส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมตามมาตรการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2565 | ดศ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมตามมาตรการปฏิรูปประเทศ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งได้มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘
ปีขึ้นไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน ๙,๘๘๐ คน ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕
สรุปได้ ดังนี้ (๑) แหล่งข้อมูลที่รับรู้ข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐ
ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้ข่าวสารจากโทรทัศน์ (ร้อยละ ๘๔.๙) (๒)
การมีบทบาทของประชาชนในพื้นที่/ชุมชน/หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีบทบาทในพื้นที่/ชุมชน/หมู่บ้าน
(ร้อยละ ๘๗.๓) (๓) การมีส่วนร่วมในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการใช้สิทธิเลือกตั้งในช่วงเวลาที่ผ่านมาทุกครั้ง
(ร้อยละ ๖๕.๔) (๔) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในรอบปี ๒๕๖๔
พบว่าประชาชนส่วนใหญ่พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองในกลุ่มเพื่อน/ญาติ/คนในครอบครัว/คนรู้จัก
(ร้อยละ๘๔.๑) (๕) ความเชื่อมั่นต่อระบบธรรมาภิบาลในภาพรวม
ประชาชนส่วนใหญ่ค่อนข้างเชื่อมั่น (ร้อยละ ๓๙.๖) (๖) การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง-มากที่สุด
(ร้อยละ ๖๒.๓) (๗) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศ
โดยประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง-มากที่สุด (ร้อยละ ๖๕.๑) และ
(๘) ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานภาครัฐในการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดในเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกระดับมากขึ้น
(ร้อยละ ๔๕.๑) ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | การมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบติดตามและเร่งรัดการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ | นร.04 | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีเห็นว่า
ในระยะที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์และการกระทำผิดกฎหมายในหลายกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญอยู่ในความสนใจของสาธารณชน
และปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
สมควรที่หน่วยงานรับผิดชอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งติดตามการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้มีความคืบหน้า
ชัดเจน และเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในแต่ละกรณี ดังนี้ ๑.
กรณีเรือหลวงสุโขทัยประสบเหตุอับปาง ให้กระทรวงกลาโหม
โดยกองทัพเรือระดมสรรพกำลังค้นหากำลังพลที่ประสบเหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปางในอ่าวไทย
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเร่งให้ความช่วยเหลือเยียวยากำลังพลที่ประสบเหตุบาดเจ็บ
เสียชีวิต หรือสูญหายให้เป็นไปตามกฎระเบียบของทางราชการ
รวมทั้งเร่งตรวจสอบสาเหตุของการอับปางให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนโดยเร็ว ๒.
กรณีครูโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยมีพฤติกรรมจาบจ้วงบุคคลสำคัญและปลูกฝังการรับรู้ของเด็กนักเรียนด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ
ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว
ซึ่งมีพฤติกรรมจาบจ้วงบุคคลสำคัญ เช่น พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ และปลูกฝังความเชื่อที่ถูกบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงให้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง
จนอาจก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือขัดแย้งในสังคมในวงกว้าง ๓. กรณีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือบอส ต้องคดีข้อหาขับรถโดยประมาท
เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่แล้วหลบหนีไป
ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งรัดติดตามผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างหลบหนีไปพำนักในต่างประเทศ
รวมทั้งเร่งตรวจสอบเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือผู้กระทำความผิดเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดทั้งหมดมาดำเนินคดีตามกฎหมายให้ทันเวลาก่อนคดีจะหมดอายุความ ๔. กรณีการตรวจและจับกุมเครือข่ายกลุ่มทุนต่างชาติที่ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย
(คดีเครือข่ายธุรกิจกลุ่มทุนจีนสีเทา)
ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดตรวจสอบและดำเนินคดีกับกลุ่มทุนจีนสีเทากับพวก
ซึ่งมีพฤติกรรมกระทำความผิดในลักษณะอาชญากรรมข้ามชาติ
โดยให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างเต็มกำลังความสามารถ ทั้งนี้
ให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวข้างต้นรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการในแต่ละกรณี
ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่ (อาจ) เกิดขึ้น ให้นายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะทุก ๑๕ วัน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 19 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 ตุลาคม 2565) | นร.04 | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๑๙ (ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๔-๓๐
ตุลาคม ๒๕๖๕) สรุปได้ ดังนี้ (๑) ผลการดำเนินงานตามนโยบายหลัก ๑๐ ด้าน เช่น การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ
การทำนุบำรุงศาสนา การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก
การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย
การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย
การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม
การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ
การป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและกระบวนการยุติธรรม และ (๒)
นโยบายเร่งด่วน ๗ เรื่อง เช่น การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม การยกระดับศักยภาพแรงงาน
การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต คนไทยสู่ศตวรรษที่ ๒๑
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | ขอความเห็นชอบการปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงขององค์การเภสัชกรรม | สธ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบการขยายเพดานอัตราค่าจ้างขั้นสูงของพนักงานองค์การเภสัชกรรม
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑.๑ ระดับ ๙ จากอัตรา ๙๕,๘๑๐ บาท เป็นอัตรา ๑๑๘,๐๒๐ บาท ๑.๒ ระดับ ๑๐ จากอัตรา ๑๐๔,๓๑๐ บาท เป็นอัตรา
๑๒๗,๐๒๐ บาท ๑.๓ ระดับ ๑๑ จากอัตรา ๑๑๓,๕๒๐ บาท เป็นอัตรา
๑๓๘,๒๗๐ บาท ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุข
(องค์การเภสัชกรรม) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณที่เห็นควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐประกอบด้วย
และควรพิจารณาค่าใช้จ่ายบุคลากรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างรอบคอบ
จัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานหรือการเพิ่มรายได้
รวมทั้งแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณและเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน
รวมถึงฐานะทางการเงินในอนาคต
โดยคำนึงถึงหลักความคุ้มค่าและประหยัดในการใช้จ่ายงบประมาณอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | การจัดประกันภัยฟรีสำหรับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2566 | นร.04 | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการจัดประกันภัยฟรีสำหรับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในช่วงเทศกาลปีใหม่
ปี ๒๕๖๖ ที่บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ได้นำเสนอประกันภัยฟรีอุบัติเหตุกลุ่ม ระยะสั้น ทิพย เพื่อคุณ (ไมโครอินชัวรันส์)
คุ้มครอง ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยให้สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วประเทศในช่วงเทศกาลปีใหม่
ปี ๒๕๖๖ สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ฟรี ตั้งแต่วันที่ ๒๕-๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕
ระยะเวลาประกัน ๓๐ วัน นับจากวันที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์
ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | การกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสำหรับปี 2566 | กค. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน
ประจำปี ๒๕๖๖ พร้อมข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง
และเป้าหมายสำหรับปี ๒๕๖๖
ซึ่งกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินไว้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ ๑-๓
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง คณะกรรมการนโยบายการเงิน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ในระยะถัดไปยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรติดตามและเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือกับปัจจัยเสี่ยงต่าง
ๆ ดังกล่าว อย่างใกล้ชิด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | การประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา | กก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มทะเลทราบสงขลาขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา [องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)]
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าในการดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ขอให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ควรมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของงบประมาณแผ่นดิน
และคำนึงถึงภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานเป็นหลัก
และการดำเนินงานด้านงบประมาณต้องพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบ
และเป็นไปตามกฎหมายของทางราชการ รวมทั้ง
ไม่ส่งผลต่อวงเงินงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่เป็นสำคัญ
ควรกำหนดเพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาว่า
กรณีเป็นแผนหรือโครงการที่ต้องดำเนินการในเขตโบราณสถาน
จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ก่อนดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการดังกล่าว
และควรกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนฯ ให้มีความชัดเจน
รวมทั้งควรพิจารณาถึงกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
อย่างเคร่งครัดในการจัดตั้งสำนักงานการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของงบประมาณในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอแผนงานยุทธศาสตร์ชาติการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
และดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับการจัดสรรงบประมาณ ๓.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วยว่า
เมื่อการพิจารณาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาตามลำดับในลักษณะ
Bottom Up จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องไปสู่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติแล้ว
ยังสมควรที่จะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการประกาศกำหนดพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่
ประการใด เพื่อพิจารณาทบทวนและแก้ไขพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | พณ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๖
ให้แก่ประชาชน โดยมีกิจกรรมสำคัญ จำนวน ๘ กิจกรรม
ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๖๕-พฤษภาคม ๒๕๖๖ ได้แก่ ๑) ประกันรายได้เกษตรกร ๒) ลดค่าครองชีพประชาชน
“New Year Grand Sale 2023” ๓) บริการออนไลน์ ๔) ขยายเวลาให้บริการประชาชน นอกเวลาทำการ ๕)
ลดค่าธรรมเนียม/ให้ส่วนลด/มอบของสมนาคุณ ๖) ให้บริการฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ๗)
จัดกิจกรรม/งานแสดงและจำหน่ายสินค้า และ ๘) อบรม/เสวนา
เสริมความรู้ในการประกอบธุรกิจ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) | กค. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน
๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม ๑,๒๕๐ ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน
๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่)
พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยในส่วนของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระต่องบประมาณนั้น
ให้ธนาคารออมสินดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
เพื่อใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้วย
ควรมีการติดตามการใช้วงเงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ควรประชาสัมพันธ์และสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
และเร่งพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น | พน. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๓๐๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท
ให้กรมธุรกิจพลังงาน โดยให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้อนุมัติและดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน
ผ่านวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณแทนกัน
และให้กระทรวงพลังงานดำเนินมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน (กรมธุรกิจพลังงาน)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร
๐๗๐๘/๒๑๔๐ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕) โดยให้กรมธุรกิจพลังงานดำเนินการใช้จ่ายจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและมีเหลือจ่ายในลำดับแรกก่อน
โดยเบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป
ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ
ปี ๒๕๖๕ ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๖
ให้โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่จะเริ่มใช้สิทธิ ต่อไป ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรเร่งรัดการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐปี
๒๕๖๕ เพื่อให้รัฐสามารถจัดสวัสดิการให้ความช่วยเหลือประชาชนแบบมุ่งเป้า
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๓.
ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตี) ในการเสนอเรื่องนี้
|