ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 102 จากทั้งหมด 102 หน้า แสดงรายการที่ 2021 - 2031 จากข้อมูลทั้งหมด 2031 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2021 | รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน | นร.01 | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทานประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน
๒๕๖๔ โดยมีผลการดำเนินงานของคณะกรรมการผู้ประสานงานโครงการจิตอาสาพระราชทานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น (๑) กระทรวงกลาโหม จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา
จิตอาสาภัยพิบัติและจิตอาสาเฉพาะกิจ (๒) กระทรวงการคลัง
จัดกิจกรรมจิตอาสาร่วมบริจาคโลหิตให้กับสภากาชาดไทย และกิจกรรมสร้างงานสร้างอาชีพภายใต้แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความสุขของชุมชนสำคัญ
(๓) กระทรวงพาณิชย์ จัดกิจกรรมมอบของจำเป็นภายใต้โครงการ “DNT ร่วมใจ สู้ภัย โควิด”
และกิจกรรมพาณิชย์ร่วมใจ ห่วงใยสิ่งแวดล้อม บริจาคสิ่งของใช้แล้ว (๔)
กระทรวงมหาดไทย
จัดฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
และจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในโอกาสวันสำคัญของชาติไทย
และ (๕) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งศูนย์พักคอยและสถานที่กักตัวในชุมชน
และการเร่งตรวจเชิงรุกให้แก่ประชาชน
และเตรียมการวางแผนปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยา ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2022 | แนวทางการยกร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. .... | นร.09 | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแนวทางการยกร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ.
.... ของคณะกรรมการกฤษฎีกา
(คณะที่ ๒) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกในการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร
เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน
รวมทั้งกำหนดกลไกในการกำกับดูแลการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรให้เป็นไปอย่างเปิดเผย
โปร่งใส และเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ยกร่างไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายตามมาตรา
๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๓.
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เช่น ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับหน้าที่และอำนาจ
ตลอดจนภารกิจหลักของหน่วยงานนั้น ๆ เป็นสำคัญ กำหนดกลไกการกำกับดูแลให้เปิดเผย
โปร่งใส สนับสนุนหลักการ “การส่งเสริมและพัฒนาและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร”
เพื่อการพัฒนาประเทศร่วมกับราชการและภาคส่วนอื่น รวมทั้งกำหนดให้มีการจดแจ้งแหล่งเงินทุน
บัญชีธนาคารที่จะรับเงิน จำนวนเงินที่จะได้รับ และวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงิน เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2023 | รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย – แคนาดา | คค. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบบันทึกข้อตกลงระหว่างไทย - แคนาดา เห็นชอบร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งแคนาดาและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย
ขอให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งแคนาดาและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการขนส่งทางอากาศและให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full
Powers) ให้แก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวด้วย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2024 | ขออนุมัติกรอบงบประมาณและผู้มีอานาจลงนามโครงการประมูลสิทธิ์งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 | กษ. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติกรอบงบประมาณและผู้มีอำนาจลงนามโครงการประมูลสิทธิ์งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. ๒๕๖๙ วงเงินงบประมาณ ๒,๕๐๐
ล้านบาท และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ๒๕๗๒ วงเงินงบประมาณ ๔,๒๘๑
ล้านบาท และเห็นชอบผู้ลงนามการยื่นเสนอตัวประมูลสิทธิ์ ตามข้อกำหนดของ AIPH
โดยมีรายละเอียดเอกสาร จำนวน ๕ ฉบับ ดังนี้ ๑.๑ หนังสือแสดงเจตจำนงการเป็นเจ้าภาพการจัดงาน
(Formal Letter requesting approval from the
organization or authority making the application) ของ ๒ จังหวัด
ได้แก่ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๑.๒ แบบสอบถาม International Horticultural Exhibitions Questionnarie จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร (AIPH Member) จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา อธิบดีกรมวิชาการเกษตร (AIPH Member) ๑.๓
หนังสือยืนยันการสนับสนุนการจัดงานและงบประมาณจัดงานจากรัฐบาลไทย (Formal Letter of Support from National
Govermment & Financial Confirmation) จังหวัดอุดรธานี ได้แก่
ปลัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ นายกรัฐมนตรี ๑.๔ หนังสือสนับสนุนการจัดงานจากสมาชิก AIPH (Formal
Letter of Support from (AIPH Member) ของทั้ง ๒ จังหวัด ได้แก่
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ๑.๕
หนังสือยืนยันการสนับสนุนค่าประกันสิทธิ์และค่าลิขสิทธิ์การจัดงานการจัดงาน ( Financial Guarantee and License Fee) ของทั้ง ๒
จังหวัด ได้แก่ ผู้อำนวยการ สสปน. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ยกเว้นในส่วนของผู้ลงนามในเอกสารการยื่นเสนอตัวประมูลสิทธิ์ฯ จำนวน ๒ ฉบับ
ให้เป็นไปตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ควรพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือโอนจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงภารกิจความจำเป็น
ความคุ้มค่า ความประหยัด
และสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการและสนับสนุนค่าใช้จ่ายร่วมกับภาครัฐด้วย
ควรจัดทำข้อมูลและขั้นตอนแสดงถึงการเตรียมความพร้อมในการเข้าใช้พื้นที่ป่าสาธารณประโยชน์โคกหนองรังกา
ตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา และควรมีแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวหลังจากเสร็จสิ้นการจัดงานพืชสวนโลกด้วย
ควรพิจารณาหัวข้อด้าน BCG ในการจัดสัมมนาวิชาการ
สัมมนาเชิงปฏิบัติการด้วย โดยอาจสอดแทรกหัวข้อสัมมนาต่าง ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสม
เพื่อสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2025 | การเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 | ทส. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทยเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๔๖ และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำ
(ร่าง) ข้อเสนอโครงการ รายละเอียดแผนงานและกิจกรรม
และประมาณการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจัดส่งให้ศูนย์มรดกโลก
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรคำนึงถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำข้อมูลผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม
เพื่อแสดงความคุ้มค่าในการเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมดังกล่าว
รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ความประหยัด และประโยชน์สูงสุด คำนึงถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมและควรมีการติดตามประเมินผลหลังจากการประชุมเสร็จสิ้น
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับความคุ้มค่าในการดำเนินการจัดประชุมระดับนานาชาติลักษณะเดียวกันในครั้งต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2026 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายวรณัฐ คงเมือง) | นร.08 | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายวรณัฐ คงเมือง ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการระดับสูง) กองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2027 | การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 เรื่อง ขออนุมัติดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่า | นร.01 | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๒ ในการมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบการเสนอขอตั้งงบประมาณการดำเนินโครงการพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ
และหอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ดังนี้ (๑) ให้กองทัพบก เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเสนอขอตั้งงบประมาณโครงการจัดสร้างหอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติเฉลิมพระเกียรติ
ในส่วนที่กองทัพบกได้มีการก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว
และส่วนคงเหลืองบประมาณที่ต้องเสนอขอตามภาระหนี้ผูกพันและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
ทั้งนี้
รวมถึงงบประมาณในการบริหารจัดการและบำรุงรักษารายปีภายหลังจากที่โครงการแล้วเสร็จด้วย
และ (๒) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเสนอขอตั้งงบประมาณโครงการพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ
ตั้งแต่ปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป จนกว่าจะแล้วเสร็จ
รวมทั้งงบประมาณในการบริหารจัดการและบำรุงรักษารายปีต่อไป ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้กระทรวงกลาโหม (กองทัพบก) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่เห็นว่าการดำเนินงานยังคงอยู่ภายใต้กรอบวงเงินภาระผูกพันเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้
เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ จึงไม่เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณตามนัยมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2028 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 2,125.56 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย (จำนวน 17 จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท | คค. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน ๒,๑๒๕.๕๖ ล้านบาท ประกอบด้วย กรมทางหลวง
จำนวน ๑,๖๔๙.๑๒ ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท จำนวน ๔๗๖.๔๔ ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
(จำนวน ๑๗ จังหวัด) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท)
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม
กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2029 | กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ | อว. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑๑๔,๖๓๔.๗๖๘๒ ล้านบาท และกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๒๙,๑๐๐ ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ และให้สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับข้อเสนอของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรพิจารณาถึงข้อกำหนดทางด้านการคลังของประเทศในระยะต่อไป
และควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการร่วมลงทุนจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น
ควรกำหนดบทเฉพาะกาลประเด็นที่มีความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและกำหนดหลักเกณฑ์
และรูปแบบการดำเนินงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้มีความชัดเจน และควรมีการจัดทำแนวทางการพัฒนา
(Roadmap) การพัฒนาวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมขั้นแนวหน้า (Frontier) เพื่อสร้างความชัดเจนในการส่งเสริมภาคเอกชนในการร่วมลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2030 | รายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ ประจำเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2564 | นร.02 | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง
โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี
และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์
ประจำเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ๒๕๖๔ และมอบให้โฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี
แถลงข่าวและชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์
ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ได้มีการประชาสัมพันธ์และชี้แจงในประเด็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙)
และมาตรการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-๑๙
ตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2031 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | กษ. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
จำนวน ๓ ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑. นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|