ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 10 จากทั้งหมด 102 หน้า แสดงรายการที่ 181 - 200 จากข้อมูลทั้งหมด 2031 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
181 | รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวม 2 ฉบับ | กค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา
๑๐ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา
และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ และรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา ๘ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป ๒.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
182 | ผลการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศของกระทรวงกลาโหม | กห. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศของกระทรวงกลาโหม
ประกอบด้วย การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Defence
Minister’ Meeting Retreat : ADMM Retreat) และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา
ครั้งที่ ๙ (9th ASEAN Defence Ministers’ Meeting Plus : 9th
ADMM-Plus) รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๒ ถึงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ เมืองเสียมราฐ
ซึ่งราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
ตลอดจนการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee : GBC) ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ ๑๕ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ ผลการประชุม ADMM Retreat และการประชุม 9th
ADMM-Plus รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เป็นการร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองด้านความมั่นคงของภูมิภาคเพื่อส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจแสวงหาความร่วมมือที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
และรับทราบพัฒนาการการดำเนินงานภายใต้กรอบ ADMM และ ADMM-Plus
รวมทั้งผลักดันประเด็นที่กระทรวงกลาโหมเป็นผู้ริเริ่ม
ตลอดจนเสริมสร้างการปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา
จึงนับว่าการประชุมดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผลการประชุม GBC
ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ ๑๕
เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์และเสริมสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดนร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและครอบคลุมทุกมิติ
ในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพและความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ชายแดนไทยและกัมพูชา
สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทกระทรวงกลาโหมในการเสริมสร้างความร่วมมือและพัฒนาสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศ
ให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในอาเซียนและภูมิภาคต่อไป ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
183 | การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา | ศธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดให้จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดกระบี่ จังหวัดตราด และจังหวัดสระแก้ว
เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นนวัตกรรมการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น การจัดทำหลักสูตรควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างในแต่ละจังหวัด
และควรเร่งออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อความคล่องตัวยิ่งขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
184 | สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2565 | กษ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๕ และเห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองภายใต้กรอบองค์การค้าโลก (World Trade Organization :
WTO) คราวละ ๓ ปี (ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๘) ไม่จำกัดปริมาณ อัตราภาษี
ร้อยละ ๐ และกรอบการค้าอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อผูกพัน
และการบริหารการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง คราวละ ๓ ปี (๒๕๖๖-๒๕๖๘) การเปิดตลาดและบริหารการนำเข้าสินค้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง
มะพร้าว มะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว
ตามพันธกรณีความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO และความตกลงการค้าเสรี
(FTA) อื่น ๆ คราวละ ๓ ปี (ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๘)
โดยจัดสรรปริมาณการนำเข้าในโควตาปีต่อปี การใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special
Safeguard Measure : SSG) ภายใต้ความตกลงเกษตรของ WTO และความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
สำหรับสินค้ามะพร้าวผล ปี ๒๕๖๕
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
และเห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
โดยเพิ่มเติมอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นกรรมการ ตามที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเสนอ และให้คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น การใช้มาตรการป้องกันพิเศษ (Special
Safeguard Measure)
ควรพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและขั้นตอนภายใต้ข้อ ๕
ของความตกลงว่าด้วยการเกษตร (Agreement on Agriculture) ของ WTO
และข้อ ๘๖ ของ ATIGA ควรกำกับดูแลการนำเข้าให้เป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนด
รวมทั้งเข้มงวดกับการป้องกันผู้กระทำความผิดและเฝ้าระวังให้เกิดการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรชนิดต่าง
ๆ อาทิ เมล็ดถั่วเหลือง มะพร้าว น้ำมันปาล์ม
อย่างเคร่งครัดเพื่อมิให้กระทบกับเกษตรกรในประเทศ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
185 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ) | มท. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
186 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางสาวสุนีย์ ศรีสง่าตระกูลเลิศ) | พม. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาวสุนีย์ ศรีสง่าตระกูลเลิศ ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งรองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนกงานปลัดกระทรวง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
187 | แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (1. ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา ฯลฯ จำนวน 8 คน) | สธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
จำนวน ๘ คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕)
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑. ศาสตราจารย์ประสิทธิ์
วัฒนาภา ประธานกรรมการ ๒. ศาสตราจารย์จิรประภา
อัครบวร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๓. รองศาสตราจารย์จิรุตม์
ศรีรัตนบัลล์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๔. รองศาสตราจารย์อภิชาต จิระวุฒิพงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๕. นางกฤษดา แสวงดี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๖. นายก้องเกียรติ เกษเพ็ชร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๗. นายธีรพล โตพันธานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
188 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 | รง. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนเงินทดแทน
สำนักงานประกันสังคม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองแล้วเห็นว่า
ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
189 | รายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะ ตามมาตรา 50 และรายงานสถานะหนี้สาธารณะ หนี้ภาครัฐ และความเสี่ยงทางการคลัง ตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ณ วันสิ้นปีงบประมาณ 2565 | กค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะ ตามมาตรา ๕๐ และรายงานสถานะหนี้สาธารณะ หนี้ภาครัฐ และความเสี่ยงทางการคลัง
ตามมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ
วันสิ้นปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะ ตามมาตรา ๕๐ ได้กำหนดกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะ ดังนี้ ๑)
สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ต้องไม่เกินร้อยละ ๗๐ ๒) สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ
ต้องไม่เกินร้อยละ ๓๕ ๓) สัดส่วนหนี้ภาระสาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด
ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ และ ๔)
สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ
ต้องไม่เกินร้อยละ ๕ และรายงานสถานะหนี้สาธารณะ
หนี้ภาครัฐ และความเสี่ยงทางการคลัง ตามมาตรา ๗๖ ดังนี้ ๑) มีหนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน
๑๐.๓๗ ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๖๐.๔๑ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าจำนวน ๑.๐๔ ล้านล้านบาท ๒)
หนี้เงินกู้คงค้างของหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๗๘๕๐ แห่ง
มีจำนวน ๓.๖๕ หมื่นล้านบาท ธนาคารแห่งประเทศไทย มีจำนวน ๔.๐๒ ล้านล้านบาท เป็นต้น และ ๓) ความเสี่ยงทางการคลัง
พบว่า ยังอยู่ภายใต้กรอบในการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะกรรมการฯ กำหนด
ซึ่งหนี้สาธารณะ จำนวน ๑๐.๓๗ ล้านล้านบาท โดยหนี้ส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๙๘.๒๙)
เป็นหนี้ในประเทศ และร้อยละ ๘๓.๘๐
ของหนี้สาธารณะเป็นหนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณโดยตรง
และหนี้เงินกู้ของหน่วยงานของรัฐที่ไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ ไม่มีผลกระทบต่อภาระทางการคลัง
หรือเงินงบประมาณแผ่นดินในภาพรวม
เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีสถานะการดำเนินงานที่มั่นคงและมีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้เงินกู้ได้เอง
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
190 | ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลทางสังคม แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์เเลนด์เหนือ ว่าด้วยความร่วมมือด้านจีโนมิกส์ | สธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
ประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลทางสังคม
แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์เเลนด์เหนือ ว่าด้วยความร่วมมือด้านจีโนมิกส์ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมความร่วมมือทางจีโนมิกส์ระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายสหราชอาณาจักร อาทิ
การแลกเปลี่ยนข้อมูล การแลกเปลี่ยนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ การจัดฝึกอบรม สัมมนา
และการดำเนินโครงการ รวมทั้งการตั้งคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางจีโนมิกส์
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
ประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลทางสังคม แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์เเลนด์เหนือ
ว่าด้วยความร่วมมือด้านจีโนมิกส์
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
191 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | สว. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซี่งสำนักงานศาลปกครอง
โดยคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้พิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎร
ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพิจารณาดำเนินการให้ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
และพนักงานราชการและลูกจ้างของสำนักงานศาลปกครองซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่พิเศษในศาลปกครองยะลา
ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินสวัสดิการ เงินรางวัลหรือค่าตอบแทนอื่นใด
ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกัน
ตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวเริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่ศาลปกครองยะลาร่วมกับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีแล้ว
เห็นว่าเนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๔
มิได้บัญญัติให้คณะกรรมการบริหารศาลปกครองมีอำนาจออกระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยค่าตอบแทนพิเศษในพื้นที่เสี่ยงภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานในศาลปกครองยะลา พ.ศ. ๒๕๖๔
โดยให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ศาลปกครองยะลาเปิดทำการได้
หากจะดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ดังกล่าว
อาจจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจยังไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการในขณะนี้
สำหรับในประเด็นข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของวุฒิสภา
ที่เกี่ยวกับระเบียบเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนพิเศษรวมทั้งสิทธิและประโยชน์อื่นที่จะออกตามมาตรา
๔๑/๘ (๘)
ควรมีเนื้อหาและกลไกที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ศาลปกครองสามารถพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สำนักงานศาลปกครองได้รายงานว่าปัจจุบันได้มีระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยการปฏิบัติงานในวันหยุดราชการเพื่อเร่งรัดคดีของศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๖๕
เพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว
ซึ่งคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้มีมติให้รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตดังกล่าวไปยังสภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
192 | โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) | คค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ ๓ วงเงินลงทุน ๓๖,๘๒๙.๔๙๙ ล้านบาท (รวมสำรองราคาเปลี่ยนแปลงร้อยละ
๑๐ ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗ และดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง ๙๒๑.๖ ล้านบาท) ของบริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กองทัพเรือ และกรมท่าอากาศยานรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/๓๙๑๑
ลงวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคุ้มค่าในการลงทุน
รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับคนทั้งมวลควบคู่ไปกับการดำเนินการพัฒนา
ควรหาแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารจัดการท่าอากาศยาน
การพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการ การนำเทคโนโลยีมาช่วยการบริหารจัดการ การบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานต่าง
ๆ
เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นและรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นในอนาคต
ควรดำเนินการส่งแผนผังบริเวณ แบบแปลน
และรายการประกอบแบบแปลนที่ถูกต้องและเป็นไปตามกฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น
หรือประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. ๒๕๒๒ จำนวน ๒ ชุด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนทำการก่อสร้างไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้
ในส่วนของการออกแบบท่าอากาศยานดอนเมืองให้กระทรวงคมนาคม [บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)]
ให้ความสำคัญกับการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับอาคารผู้โดยสารหลังใหม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติด้านความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อยกระดับท่าอากาศยานดอนเมืองให้เป็นท่าอากาศยานชั้นนำของโลก (World
Class Airport) ที่สามารถสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคม [บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)] ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกบูรณาการการใช้ประโยชน์โครงข่ายท่าอากาศยานที่มีอยู่
ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง
และท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่พัฒนาแล้วและที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
เพื่อให้การกระจายตัวของเที่ยวบินและผู้โดยสารเป็นไปตามศักยภาพของแต่ละท่าอากาศยาน
ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมมาตรฐานของระดับการให้บริการ (Level of Service) ของท่าอากาศยานทุกแห่งได้อย่างเหมาะสมด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
193 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการฟื้นฟูสภาพทางสังคม พ.ศ. .... | สธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการฟื้นฟูสภาพทางสังคม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการฟื้นฟูสภาพทางสังคม
เพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ติดยาเสพติดหรือผู้เข้ารับการบำบัด
รวมทั้งการติดตาม ดูแล
เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาได้รับการฟื้นฟูสภาพทางสังคม
โดยได้รับบริการด้านสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ที่จำเป็นและเหมาะสม
รวมทั้งช่วยเหลือสนับสนุนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว
เพื่อบุคคลดังกล่าวสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้
โดยไม่กลับมากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีก ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงแรงงานและกระทรวงศึกษาธิการ ที่เห็นควรปรับปรุงถ้อยคำ
เป็น “ผู้ติดยาเสพติดที่ผ่านการฟื้นฟูสภาพทางสังคมหรือผ่านการบำบัดรักษา”
เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีกระบวนการรับรองได้ว่าบุคคลดังกล่าวสามารถกลับเข้าสู่สังคมการทำงาน
โดยไม่มีพฤติกรรมหรือโรคทางจิตและประสาทหรืออาการที่เกิดจากฤทธิ์ของยาเสพติดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคม
และขอให้แก้ไขชื่อส่วนราชการจากกรรมการกากรศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการตามอัธยาศัย
และจากสำนักงานการอาชีวศึกษาเป็นสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาตามร่างข้อ ๓
(๕)(ข)(ค) ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
194 | ผลการประชุม Mekong - Korea International Water Forum ครั้งที่ 1 ณ สาธารณรัฐเกาหลี | นร.14 | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุม
Mekong-Korea International
Water Forum ครั้งที่ ๑ ณ สาธารณรัฐเกาหลี โดยรองนายกรัฐมนตรี
(พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายอนุชา นาคาศัย) เข้าร่วมการประชุม Mekong-Korea
International Water Forum ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๕-๖ ตุลาคม
๒๕๖๕ ณ กรุงโซล เกาหลีใต้ ร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม เกาหลีใต้ นายบัน
คีมูน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำเกาหลีใต้ นายปาร์ค
แจฮยอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ K-Water และผู้แทนประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขง
โดยผลการประชุมฯ มีสาระสำคัญ เช่น การกล่าวถ้อยแถลงแสดงความยินดีในพิธีเปิดการประชุมฯ
การเข้าร่วมการอภิปรายในการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง
การหารือกับลาวเพื่อสนับสนุนด้านทรัพยากรน้ำ และมีผลลัพธ์ของการประชุม เช่น
ที่ประชุมฯ ยินดีที่จะร่วมขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-เกาหลี
ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เป็นไปตามปฏิญญาแม่น้ำโขง-แม่น้ำฮัน
รวมถึงการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการบริหารจัดการน้ำโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
195 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | สผ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซี่งสำนักงานศาลปกครอง
โดยคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้พิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎร
ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพิจารณาดำเนินการให้ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
และพนักงานราชการและลูกจ้างของสำนักงานศาลปกครองซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่พิเศษในศาลปกครองยะลา
ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินสวัสดิการ เงินรางวัลหรือค่าตอบแทนอื่นใด
ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกัน
ตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวเริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่ศาลปกครองยะลาร่วมกับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีแล้ว
เห็นว่าเนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๔
มิได้บัญญัติให้คณะกรรมการบริหารศาลปกครองมีอำนาจออกระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยค่าตอบแทนพิเศษในพื้นที่เสี่ยงภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานในศาลปกครองยะลา พ.ศ. ๒๕๖๔
โดยให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ศาลปกครองยะลาเปิดทำการได้
หากจะดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ดังกล่าว
อาจจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจยังไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการในขณะนี้
สำหรับในประเด็นข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของวุฒิสภา
ที่เกี่ยวกับระเบียบเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนพิเศษรวมทั้งสิทธิและประโยชน์อื่นที่จะออกตามมาตรา
๔๑/๘ (๘)
ควรมีเนื้อหาและกลไกที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ศาลปกครองสามารถพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สำนักงานศาลปกครองได้รายงานว่าปัจจุบันได้มีระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยการปฏิบัติงานในวันหยุดราชการเพื่อเร่งรัดคดีของศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๖๕
เพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว
ซึ่งคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้มีมติให้รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตดังกล่าวไปยังสภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
196 | ผลการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 | นร.53 | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค
ครั้งที่ ๒๘ เมื่อวันที่ ๙-๑๐ กันยายน ๒๕๖๕ ณ จังหวัดภูเก็ต
และผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์)
เป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมจากเขตเศรษฐกิจ ๒๐ ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย
แคนาดา จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) การหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ เช่น
การประยุกต์ใช้ BCG Economy การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลอย่างครอบคลุม
การจัดหาเงินทุนและการปรับโครงสร้างหนี้ (๒) ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับหน่วยงานต่าง
ๆ เช่น ควรจัดทำแพลตฟอร์มกลางเพื่อให้บริการครอบคลุม MSMEs ทุกลุ่มที่มีทักษะด้านดิจิทัล
ซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจให้ตอบสนองต่อความต้องการได้มากขึ้น ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
197 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร.01 | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม บทนิยาม องค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
(กคร.) และคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัด
(กคร. จังหวัด) และกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเผยแพร่บัญชีการรับจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการเรี่ยไรและรายงานการเงินของการเรี่ยไรผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐนั้น
เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฉบับปรับปรุง) และสถานการณ์ปัจจุบัน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เช่น การกำหนดคำนิยามคำว่า
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ”
ควรกำหนดให้ครอบคลุมถึงบุคคลและคณะบุคคลบรรดาซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นในระบบราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐด้วย ควรแก้ไขบทเฉพาะกาลตามร่างข้อ ๙
ให้สอดคล้องกับผู้มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัดด้วย
ควรมีการกำหนดคุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไว้ในระเบียบดังกล่าว
และหากมีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบดังกล่าวต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเรี่ยไร
และกำหนดให้ กคร. มีอำนาจในการควบคุมเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐทั้งหมดอาจทำให้มีกรณีเกิดความล่าช้าและกระทบต่อประโยชน์ทางราชการ
ซึ่งหากมีการแต่งตั้ง กคร. ของกระทรวง/หน่วยงานขึ้นตรง
(ที่รัฐมนตรีกำกับดูแลเป็นประธาน) เป็นเอกเทศ แยกจาก กคร. เดิม ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานลงได้ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
198 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายมนตรี เดชาสกุลสม ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | คค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงคมนาคม
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓ ราย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ ๑. นายมนตรี เดชาสกุลสม ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายสมชาย สุมนัสขจรกุล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นางสาวรัชนีพร ธิติทรัพย์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
199 | ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการวางแผนในอนาคต พ.ศ. 2565 | ดศ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการวางแผนในอนาคต
พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง
และกระทรวงแรงงาน นำข้อมูลไปใช้ในการติดตาม ประเมินผล
และวางแผนกำหนดนโยบาย/มาตรการในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
โดยจัดเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ประชาชน จำนวน ๔๖,๖๐๐ ราย ระหว่างวันที่ ๒๗ มิถุนายน-๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕ สรุปได้ ดังนี้ (๑)
สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการวางแผนในอนาคต พ.ศ. ๒๕๖๕ เช่น
ประชาชนร้อยละ ๗๓.๒ มีวิธีการวางแผนด้านการเงิน ประชาชนร้อยละ ๗๔
มีวิธีการวางแผนด้านการทำงาน/อาชีพ ประชาชนร้อยละ ๗๒.๗
มีวิธีการวางแผนชีวิตครอบครัว ประชาชนร้อยละ ๘๙.๕ มีวิธีการดูแลสุขภาพตนเอง
ประชาชนร้อยละ ๗๖.๕ มีวิธีการวางแผนเพื่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดี
ประชาชนมีความพึงพอใจมากที่สุดในระบบสาธารณูปโภค ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
และความช่วยเหลือจากคนในสังคม
และเรื่องที่ประชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือมากที่สุด คือ ค่าครองชีพ
ส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพเสริมและควรจัดหาอาชีพสำหรับผู้ด้อยโอกาส/ผู้สูงอายุ และ
(๒) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เช่น ให้ความช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ให้กับประชาชนอย่างเร่งด่วน ได้แก่ การลดค่าครองชีพ
ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนในอนาคตด้านต่าง ๆ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสร้างงาน
สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้คนในชุมชน/หมู่บ้าน ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
200 | การรับรองปฏิญญา Fez ของการประชุม Global Forum of the United Nations Alliance of Civilizations (UNAOC) ครั้งที่ 9 | กต. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบปฏิญญา Fez ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ที่มีการรับรองแล้วในการประชุม Global Forum
of the United Nations Alliance of Civilizations (UNAOC) ครั้งที่
๙ ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ เมือง Fez ราชอาณาจักรโมร็อกโก
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงความตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างวัฒนธรรมและศาสนาเพื่อส่งเสริมความเคารพซึ่งกันและกัน
ตลอดจนเน้นย้ำการยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๒. ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|