ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 102 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 2031 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย (ระยะที่ 2) | กค. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย
ออกไปอีก ๓ ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๘ ภายใต้กรอบงบประมาณการชดเชยดอกเบี้ยที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๙ มกราคม ๒๕๖๑ และเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ จำนวน ๕,๒๕๐ ล้านบาท ขยายระยะเวลาการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีจากรัฐบาลเพื่อชดเชยดอกเบี้ยออกไปอีก
๓ ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๘ เป็นวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๗๑
และเห็นชอบการปรับชื่อโครงการจาก โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย เป็น
โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย (ระยะที่ ๒) โดยขยายขอบเขต วัตถุประสงค์
เพิ่มกลุ่มเป้าหมาย และการดำเนินการตามแนวทาง BCG Model ภายใต้หลัก
SDGs และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือโครงการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งน้ำ
เพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืนภายใต้ความร่วมมือภาครัฐหรือเอกชน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ ให้ความสำคัญกับการประเมินเพื่อหารูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
และทำการขยายผลเพื่อสนับสนุนให้การปรับโครงสร้างการผลิตและบริการภาคเกษตรของไทยไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืนต่อไป
ควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการให้สินเชื่อที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของโครงการ โดยใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณามากขึ้น
เพื่อกำหนดกลุ่มลูกหนี้ที่ควรได้รับสินเชื่อให้ชัดเจน
กำหนดเงื่อนไขการให้สินเชื่อตามวัตถุประสงค์ของลูกหนี้แต่ละกลุ่มที่สามารถวัดผลได้ชัดเจน
และมีกระบวนการในการติดตามผลสัมฤทธิ์
ให้ความสำคัญและกำหนดแนวทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งโดยรวมของลูกหนี้อย่างยั่งยืน
ควบคู่ไปกับการให้สินเชื่อ
ควรประชาสัมพันธ์และสื่อสารทำความเข้าใจกับลูกหนี้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการและเร่งสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่กลุ่มลูกหนี้เป้าหมายตามศักยภาพ
เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว และควรพัฒนาระบบการขอสินเชื่อให้ทันสมัย
และปรับลดระยะเวลาการพิจารณาสินเชื่อให้รวดเร็วขึ้น
โดยให้บริการสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล
และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการขอสินเชื่อ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | (ร่าง) แนวทางปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) | ทส. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ | สช. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
โดยมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น การบูรณาการแรงงานข้ามชาติเข้าสู่นโยบายพัฒนาประเทศ
การพัฒนาหลักประกันสุขภาพที่มีเสถียรภาพครอบคลุมแรงงานข้ามชาติทุกกลุ่ม
โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการพำนักอยู่ในไทย และการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิครอบคลุมแรงงานข้ามชาติ
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น การพัฒนาปรับปรุงมาตรการ หลักเกณฑ์
แนวปฏิบัติการรับรองการเกิดและมาตรการเชิงรุก
การจดทะเบียนครบขั้นตอนทันทีหลังการเกิดเพื่อรองรับสิทธิในสัญชาติ
และการปรับปรุงกฎหมาย และพัฒนาบริการสาธารณสุข
สิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาและออกแบบแหล่งที่มาของเงินสนับสนุนการคุ้มครองและส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ
และระดับความสามารถในการร่วมจ่ายเงินของนายจ้างและกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวตามสมควร ให้หน่วยรับประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
มาดำเนินการในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน
ควรคำนึงถึงการวางแนวทางรองรับผลกระทบที่อาจมีต่อความเสี่ยงทางการคลังของประเทศในระยะยาว
ควรมีการบูรณาการการทำงานและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อมิให้ขัดกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
กฎหมายว่าด้วยการกำหนดสัญชาติ
รวมทั้งควรมีการบูรณาการวางแผนการบริหารจัดการการเงินการคลังด้านสุขภาพภาครัฐให้มีความสมดุล
เพียงพอรองรับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของกลุ่มคนดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และมีความยั่งยืนในอนาคต มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น ประเด็น “การบูรณาการแรงงานข้ามชาติสู่นโยบายพัฒนาประเทศ”
ควรเน้นการวางแผนการจัดการและการบูรณาการในนโยบายพัฒนาประเทศ “ในระยะยาว ระยะกลาง
และระยะสั้น” ภายใต้บริบทที่สังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น ควรพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
รวมถึงระบบสนับสนุนการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (1. นายเดชบุญ มาประเสริฐ ฯลฯ รวม 10 คน) | ทส. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย
รวม ๑๐ คน ตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๖๓ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้ ๑. นายเดชบุญ
มาประเสริฐ ประธานกรรมการ
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๒. รองศาสตราจารย์กำลัง
ชุมพลบัญชร กรรมการด้านสัตวแพทย์/เกษตร/สัตวบาล
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๓. นายสมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา กรรมการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๔. รองศาสตราจารย์เจษฎ์ โทณะวณิก กรรมการด้านกฎหมาย ๕. นายภัทระ คำพิทักษ์ กรรมการด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ๖. นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ กรรมการด้านต่างประเทศ
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ จำรัสจรุงผล กรรมการด้านสถาปัตยกรรม/วิศวกรรม ๘. นายมณเฑียร อินทร์น้อย กรรมการด้านการบริหารจัดการองค์กร/การบริหาร
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ)
ทรัพยากรบุคคล ๙. นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ กรรมการผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๑๐. นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์ กรรมการผู้แทนกระทรวงการคลัง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | รายงานผลการให้บริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและการรถไฟแห่งประเทศไทย และรายงานผลการให้บริการสาธารณะ ประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ 2565 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย | กค. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการให้บริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
(ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) และรายงานผลการให้บริการสาธารณะ
ประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย สรุปสาระสำคัญได้
ดังนี้ (๑) รายงานผลการให้บริการสาธารณะ ขสมก. ปี พ.ศ. ๒๕๖๔
โดยผลการดำเนินการส่วนใหญ่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เช่น
ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่ำกว่าเป้าหมาย และจำนวนกิโลเมตรที่ให้บริการรวม
ต่ำกว่าเป้าหมาย
เนื่องจากมีการปรับแผนการเดินรถอันเกิดจากการชุมนุมทางการเมืองตามจุดต่าง ๆ
ในขณะที่การลดต้นทุนเป็นไปตามเป้าหมาย และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับผลการดำเนินการ เช่น
ควรมีแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการให้บริการสาธารณะที่เป็นรูปธรรม
ในส่วนการรายงานผลฯ ประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ขสมก.ไม่สามารถดำเนินการปิดบัญชีให้เป็นปัจจุบันได้
คณะกรรมการฯ จึงได้มีมติให้นำผลการดำเนินการงวดครึ่งปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ไปรายงานผลตอนสิ้นปี และ (๒) รายงานผลการให้บริการสาธารณะของ รฟท.
แบ่งเป็น ๑) รายงานผลการให้บริการสาธารณะ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
โดยส่วนใหญ่เป็นไปตามเป้าหมาย เช่น ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ การบริหารเวลาเดินรถให้ตรงต่อเวลา
และมีผลการดำเนินการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เช่น จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการ
และต้นทุนการดำเนินงานที่สูง โดยมีผลขาดทุนจากการให้บริการสาธารณะ ๒,๕๓๒.๕๓ ล้านบาท และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับผลการดำเนินการ
เช่น ควรส่งรายงานผลฯ ตามระยะเวลาที่กำหนดและมีข้อมูลครบถ้วน และควรจัดทำแนวทางในการเพิ่มคุณภาพการให้บริการเพื่อเพิ่มระดับความพึงพอใจ
และ ๒) รายงานผลฯ ประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
โดยส่วนใหญ่เป็นไปตามเป้าหมายเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และให้ รฟท.เบิกจ่ายเงินอุดหนุนงวดครึ่งปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๖๕๕.๗๗ ล้านบาท และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับผลการดำเนินการ เช่น
พฤติกรรมผู้บริโภคส่งผลต่อการเดินทางขอผู้โดยสาร ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การดำเนินการตามข้อสังเกต (Concluding Observations) ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ต่อรายงานประเทศฉบับที่ 4-8 ของประเทศไทย | ยธ. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบข้อสังเกต
(Concluding Observations)
ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
ต่อรายงานประเทศฉบับที่ ๔-๘ ของประเทศไทย
และตารางหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ
และพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและข้อเสนอแนะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นว่าการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สามารถเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันคนในสังคมให้หลีกเลี่ยงการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์และโซเซียลมีเดียในทางที่ผิด
หรือนำมาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ Hate Speech และ Hate
Crime ทางเชื้อชาติได้ และในประเด็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบ จำนวน ๓ ประเด็น ประกอบด้วย ๑)
ประเด็นที่ดิน อาณาเขต และทรัพยากรของกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ๒)
ประเด็นการค้ามนุษย์ และ ๓) ประเด็นย่อหน้าที่มีความสำคัญเป็นการเฉพาะ
พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นแรงงานข้ามชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การรับรองกรอบการกำกับดูแลด้านยาของอาเซียน (ASEAN Pharmaceutical Regulatory Framework: APRF) | สธ. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบการกำกับดูแลด้านยาของอาเซียน
(ASEAN Pharmaceutical Regulatory Framework :
APRF) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
ร่วมให้การรับรองกรอบการกำกับดูแลด้านยาของอาเซียนแบบไม่มีการลงนาม โดยกรอบการกำกับดูแลด้านยาของอาเซียน
มีสาระสำคัญเป็นการระบุหลักการ วัตถุประสงค์
และแนวทางดำเนินการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ยา ตลอดจนวงจรชีวิตที่จะนำไปเป็นพื้นฐานของการจัดทำความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลด้านยาที่จะมีผลผูกพันทางกฎหมายต่อไป
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกรอบการกำกับดูแลด้านยาของอาเซียนในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นว่า
กรอบการกำกับดูแลด้านยาของอาเซียน ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม 2565) | ปสส. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ ซึ่งพิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่
๔ ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๒๘
ธันวาคม ๒๕๖๕ และพิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๕
ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงสาธารณรัฐคาซัคสถาน | กต. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงของสาธารณรัฐคาซัคสถาน จาก
กรุงนูร์-ซุลตัน (Nur-Sultan) กลับไปเป็น กรุงอัสตานา (Astana) และการดำเนินการที่จำเป็นในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศเพื่อเปลี่ยนชื่อเป็นสถานเอกอัครราชทูต
ณ กรุงนูร์-ซุลตัน เป็นสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัสตานา
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของการเปลี่ยนแปลงชื่อเมืองหลวงของสาธารณรัฐคาซัคสถานดังกล่าว
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การลงนามร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวิธีการในการผลิตยา (Protocol to Amend the ASEAN Sectoral Mutual Recognition Arrangement for Good Manufacturing Practice (GMP) Inspection of Manufacturers of Medicinal Products) | สธ. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวิธีการในการผลิตยา
[Protocol to Amend the ASEAN Sectoral Mutual
Recognition Arrangement for Good Manufacturing Practice (GMP) Inspection of
Manufacturers of Medicinal Products] มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวิธีการในการผลิตยา
โดยขยายขอบเขตของผลิตภัณฑ์ยาที่นำมาบังคับใช้ เช่น ผลิตภัณฑ์ยาชีววัตถุในรูปแบบยาสำเร็จรูปแต่ไม่รวมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลือด
หรือจากพลาสมา และผลิตภัณฑ์บำบัดด้วยยีน
และสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมที่ใช้ในการผลิตยาและยาชีววัตถุ
แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือรายสาขา
และกำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องนำข้อกำหนดไปดำเนินการภายใน๕
ปีหลังจากพิธีสารฯ
มีผลใช้บังคับโดยประเทศสมาชิกอาเซียนอาจขยายระยะเวลาในการดำเนินการออกไปได้ไม่เกิน
๒ ปี ซึ่งร่างพิธีสารฯ
จะเป็นการลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
และเพิ่มโอกาสของการสงสินค้าจากไทยไปจำหน่ายในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยไม่ต้องตรวจประเมินซ้ำ
เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการส่งออกสำหรับผู้ผลิตในไทยได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบในเชิงลบทางด้านธุรกิจ
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ (เรื่อง
แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเสนอหนังสือสัญญาตามบทบัญญัติมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย) ๒.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามในร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวิธีการในการผลิตยา
เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพิธีสารฯ แล้ว ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญในร่างพิธีสารฯ
ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๓.
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามในร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวิธีการในการผลิตยา
เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพิธีสารฯ แล้ว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่กิจการของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับการให้กู้ยืมเงินตามโครงการสนับสนุน SMEs รายย่อยผ่านกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) | กค. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่กิจกรรมของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
เฉพาะรายรับจากการให้กู้ยืมเงินตามโครงการสนับสนุน SMEs
รายย่อย ผ่านกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๒ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน
๒๕๖๓ ซึ่งเป็นวันที่โครงการเริ่มมีดอกเบี้ยรับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจัดทำข้อมูลดอกเบี้ยรับของโครงการสนับสนุน
SMEs รายย่อย เป็นรายปีจนสิ้นสุดโครงการและนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กระทรวงการคลังทุกสิ้นปีเพื่อประกอบการจัดทำรายงานเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้มีการแยกบันทึกบัญชีโครงการสนับสนุน
SMEs รายย่อยฯ
ออกจากบัญชีปกติของกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | แผนปฏิบัติการการกำกับกิจการพลังงาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน | พน. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนปฏิบัติการกำกับกิจการพลังงาน ระยะ ๕ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ประกอบด้วย ๕ วัตถุประสงค์หลัก เช่น ส่งเสริมให้มีบริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ
มีความมั่นคง ทั่วถึง และมีเป็นธรรมต่อผู้ใช้พลังงานและผู้รับใบอนุญาต
โดยมีระยะเวลาการดำเนิน ๕ ปี กรอบวงเงินรวม ๕,๒๘๖.๐๔๒ ล้านบาท และเห็นชอบแผนการดำเนินงาน
งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ของสำนักงาน กกพ.
วงเงินงบประมาณรายจ่าย ๑,๐๐๐.๒๕๖ ล้านบาท และประมาณการายได้ ๑,๐๐๐.๘๑๘ ล้านบาท ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน
พ.ศ. ๒๕๕๐ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน
(สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/๖๕๑๖
ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เช่น ควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังประกอบการพิจารณาเรื่องดังกล่าวด้วย ควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
ควรรายงานผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการตามแผนฯ
ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและเป้าหมายของแผนย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในแต่ละระดับตามที่กำหนดด้วย
ให้ความสำคัญกับการจัดทำฐานข้อมูล แบบจำลองพยากรณ์
รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับกิจการพลังงานรูปแบบใหม่ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
พร้อมทั้งควรติดตามสถานการการเปลี่ยนแปลงตลาดพลังงานอย่างใกล้ชิด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล (1. รองศาสตราจารย์ธนวรรธน์ พลวิชัย ฯลฯ จำนวน 3 คน) | กค. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล
จำนวน ๓ ราย เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. รองศาสตราจารย์ธนวรรธน์
พลวิชัย กรรมการ ๒. พลเอก
ธนะศักดิ์ ชื่นอิ่ม กรรมการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | มาตรการช่วยเหลือเงินพิเศษแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประจำเดือนมกราคม 2566 | กค. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเงินพิเศษแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ประจำเดือนมกราคม ๒๕๖๖
ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมเสนอ
และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน ๒,๖๔๓,๐๘๘,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลัง (สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง)
โดยกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมตรวจสอบสถานะเงินกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
และประมาณการใช้จ่ายจนถึงสิ้นปีงบประมาณ หากมีเพียงพอให้ใช้จ่ายจากเงินกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมในโอกาสแรก
กรณีไม่เพียงพอเมื่อทราบภาระตามจ่ายจริงแล้ว
ให้ทำความตกลงในการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๒๔๘๘
ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕) ๒.
ให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การดำเนินโครงการบรรพชาอุปสมบท 99 รูป ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา กระทรวงมหาดไทย | มท. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ
หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่เข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท ๙๙ รูป
ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา กระทรวงมหาดไทย ณ วัดที่จังหวัดกำหนด
ทั้ง ๗๖ จังหวัด ภายในเดือนมกราคม ๒๕๖๖ เป็นเวลา ๑๕ วัน โดยไม่ถือเป็นวันลา
เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการและได้รับเงินเดือนตามปกติ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... | นร.09 | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ร่างกฎหมายขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวม 2 ฉบับ [ร่างพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ) และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน)] | กค. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม ๒ ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ)
มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่เกิดจากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตในประเทศตามโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจที่ได้ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
(องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๕๗๐ และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน)
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา
และขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับเงินที่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้บริจาคผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Donation)
ของกรมสรรพากรให้แก่กรมป่าไม้
เพื่อสนับสนุนโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้
และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
ร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจมาตรการภาษี
เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ร่วมทั้งรวมติดตามและประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการนี้ เช่น
มูลค่าเงินลงทุนของโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ
มูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง
และปริมาณกักเก็บคาร์บอนที่ได้
และนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กระทรวงการคลังเป็นรายปีจนสิ้นสุดมาตรการเพื่อประกอบการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับจากการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๓.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่เห็นควรครอบคลุมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดรองด้วย
เพื่อให้เกิดการสร้างแรงจูงใจที่ครอบคลุมภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกดังกล่าว
ส่งเสริมให้ตลาดมีสภาพคล่องมากยิ่งขึ้นอันจะผลักดันให้คาร์บอนเครดิตมีมูลค่าสูงขึ้น
และส่งผลให้เกิดการพัฒนาโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน รายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงดังกล่าว
จนกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จตามนัยมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565 | ดศ. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
พ.ศ. ๒๕๖๕ สรุปได้ ดังนี้ (๑) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พบเห็นและไม่ทราบว่ามีปัญหายาเสพติดในชุมชน/หมู่บ้าน
(ร้อยละ ๕๖.๐) (๒) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พบเห็นแต่ทราบว่ามีการซื้อขายยาเสพติด
(ร้อยละ ๗๓.๙) ไม่พบเห็นแต่ทราบว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ในชุมชน/หมู่บ้าน
(ร้อยละ ๘๔.๑) ยาบ้าเป็นยาเสพติดที่แพร่ระบาดมากที่สุดในชุมชน/หมู่บ้าน (ร้อยละ
๘๒.๔) และผู้ที่มีอายุ ๒๐-๒๔ ปี เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากที่สุด (ร้อยละ ๔๙.๔) (๓)
ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการดำเนินงานในการป้องกัน ปราบปราม
และบำบัดยาเสพติดในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ ๔๙.๓)
มีความเชื่อมั่นต่อนโยบายการป้องกัน ปราบปราม
และบำบัดยาเสพติดในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ ๔๘.๑)
มีความเชื่อมั่นต่อนโยบายยึดทรัพย์ผู้ค้ายาเสพติดสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือลดจำนวนผู้ค้ายาเสพติด
(ร้อยละ ๔๘.๘)
และให้คะแนนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดมาก-มากที่สุด
(ร้อยละ ๖๘.๑) และ (๔) ประชาชนเห็นควรปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง/ต่อเนื่อง
และควรให้กฎหมายลงโทษผู้เกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
เช่น การประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้
และสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถป้องกันตนเองและครอบครัวจากยาเสพติด ผ่านสื่อต่าง ๆ
โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์
สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้แจ้งเบาะแส และติดตามและแก้ไขปัญหาการร้องเรียนอย่างจริงจัง
ตามที่กระทรวงดิจทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2567-2570) | กค. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ ๒๕๖๗-๒๕๗๐) เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บ
หรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านรายรับและรายจ่าย
เพื่อรักษาฐานะด้านการคลังให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ.๒๕๖๑ และในระยะปานกลางควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่าย
ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้
เพื่อให้มีกรอบงบประมาณที่เพียงพอสำหรับการลงทุนและพัฒนาประเทศ
และควรมีการพิจารณากำหนดกรอบงบประมาณรายจ่ายตามโครงสร้างงบประมาณที่จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ
รายจ่ายลงทุน รายจ่ายเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และรายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลัง
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาแนวโน้มการใช้จ่ายภาครัฐในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าป่วยการพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ พ.ศ. .... | นร.09 | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าป่วยการพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ
พ.ศ. .... ที่ตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับค่าป่วยการสำหรับพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญซึ่งเจ้าหน้าที่เรียกมาให้ถ้อยคำหรือทำความเห็นต่อการพิจารณาปกครอง
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|