ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 3 จากข้อมูลทั้งหมด 3 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2566 - 2570 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 | สธ. | 14/11/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง)
แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นแผนต่อเนื่องฉบับที่ ๓
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบการดำเนินงาน ป้องกัน
และควบคุมโรคติดต่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งในระดับประเทศและในระดับพื้นที่
โดย (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย (๑) การพัฒนานโยบาย มาตรการกฎหมาย
และกลไกการบริหารจัดการการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ (๒) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
และยกระดับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ (๓) การยกระดับการจัดการภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อ
(๔) การพัฒนากำลังคนและเครือข่ายความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ และ (๕)
การพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงและระบบสนับสนุนการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเสนอ
และให้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงศึกษาธิการ เช่น ขอให้พิจารณาแก้ไขข้อมูลหน้า
๓๕ หัวข้อนโยบายการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ข้อ ๓. และหน้า ๑๐๕
ข้อ ๓๑. โดยแก้ไขจากคำว่า “โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน” เป็น “โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน”
เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่กล่าวถึงโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนในส่วนอื่น ๆ ของ
(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจความจำเป็นและเหมาะสม
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และ/หรือพิจารณาเงินนอกงบประมาณ รวมถึงรายได้ หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่
หรือสามารถนำมาใช้จ่ายสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ระยะต่อไป ควรพิจารณาผนวกรวมกับแผนปฏิบัติการด้านเตรียมความพร้อม
ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ และแผนต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดไว้เป็นแผนเดียวกัน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือ ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน
รวมทั้งอาจพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของระบบการเฝ้าระวังโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
(vaccine preventable diseases) ในประเทศไทย
รวมถึงการเคลื่อนย้ายของแรงงานจากประเทศใกล้เคียงปกติ และในสถานการณ์การระบาด
เนื่องจากการติดตามประวัติการฉีดวัคซีน และสถานะสุขภาพอาจจะต้องมีระบบเพื่อรองรับ
และควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy)
เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อหรือโรคระบาดในภาคประชาชนและในภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
โดยเฉพาะภาคการศึกษา เน้นพัฒนาเครื่องมือและสารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสารที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||
2 | ขออนุมัติหลักการการสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" โดยการสนับสนุนงบประมาณอุดหนุนให้กับมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | นร.52 | 28/02/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการการสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้"
และเห็นชอบให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี
เป็นเงินอุดหนุนให้แก่มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ภายในกรอบวงเงิน ๑๑,๐๘๒,๐๐๐ บาท ต่อปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
เห็นควรให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานที่ได้รับมอบภารกิจให้ร่วมจัดโครงการดังกล่าวเพิ่มขึ้น
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการในแต่ละปีได้แลกเปลี่ยน
เรียนรู้ ถอดบทเรียน สะท้อนความคิดเห็น และถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจไปยังกลุ่มเยาวชนอื่น
ๆ ที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นการสร้างแรงกระตุ้น
แรงบันดาลใจในการเรียนและการปฏิบัติตนให้กับเด็กและเยาวชน
พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ต่อไป พิจารณาจัดทำฐานข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการรายบุคคลในมิติต่าง ๆ
อย่างเป็นระบบ เพื่อติดตามผลของการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เร่งรัดการดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ (เรื่อง
ขออนุมัติหลักการโครงการส่งเสริมการสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนาที่ถูกต้องเพื่อสืบสานและรักษาสังคมพหุวัฒนธรรมที่ดีงามของจังหวัดชายแดนภาคใต้
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป |
||||||||||||||||||
3 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ และนางสาวเจนจิรา รัตนเพียร) | สธ. | 21/02/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๒ ราย ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖)
เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑. นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ๒. นางสาวเจนจิรา รัตนเพียร ดำรงตำแหน่งที่ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
|