ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 9 จากทั้งหมด 14 หน้า แสดงรายการที่ 161 - 180 จากข้อมูลทั้งหมด 270 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
161 | แจ้งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ. 9-25/2559 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1430-1446/2564 ระหว่างเด็กชายภูบดินทร์ สังฆมิตกล โดยนางสาวอารีรัตน์ แก้วนวล ผู้แทนโดยชอบธรรม กับพวกรวม 17 คน ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย | อส. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ. ๙-๒๕/๒๕๕๙ คดีหมายเลขแดงที่ อ.๑๔๓๐-๑๔๔๖/๒๕๖๔ ระหว่างเด็กชายภูบดินทร์
สังฆมิตกล โดยนางสาวอารีรัตน์ แก้วนวล ผู้แทนโดยชอบธรรม กับพวกรวม ๑๗ คน ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี (คณะรัฐมนตรีผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๖)
เรื่อง
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นให้ยกฟ้องคดี ทำให้คดีนี้ถึงที่สุดแล้ว
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
162 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายพุ่งพงษ์ สุวรรณเลิศ) | นร.06 | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพุ่งพงษ์
สุวรรณเลิศ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านข่าวกรองความมั่นคงและสถาบันหลัก (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ)
กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
ให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
163 | ขอความเห็นชอบท่าทีไทยเพิ่มเติมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลกสมัยสามัญครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
164 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | อก. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไนทรัสออกไซด์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมออกซิเจนทางการแพทย์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. .... รวม ๒ ฉบับ มีสารสำคัญเป็นกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไนทรัสออกไซด์
ออกซิเจนทางการแพทย์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานอ้างอิง
การพัฒนาเทคโนโลยี รวมทั้งการทำและการใช้ภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
165 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวชุลีพร จิระพงษา และนางสาววันทนา ปวีณกิตติพร) (นางสาวชุลีพร จิระพงษา) | สธ. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑. นางสาวชุลีพร จิระพงษา ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๔
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
166 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวชุลีพร จิระพงษา และนางสาววันทนา ปวีณกิตติพร) | สธ. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑. นางสาวชุลีพร จิระพงษา ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน)
กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๔
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
167 | โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565 - 2567 | อก. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(PM 2.5) ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗
โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย
กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร สถาบันชาวไร่อ้อย กลุ่มบุคคล และวิสาหกิจชุมชน
วงเงินปีละ ๒,๐๐๐ ล้านบาท รวม ๖,๐๐๐
ล้านบาท และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับการบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน ๗๘๙.๗๕
ล้านบาท ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการชดเชยดอกเบี้ยภายในกรอบวงเงินงบประมาณ ๗๘๙.๗๕
ล้านบาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามผลการดำเนินการจริง
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
และให้ความสำคัญในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นลำดับแรก ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ อย่างใกล้ชิด
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ควรมีการนำข้อมูลแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกมาประกอบการพิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกอ้อยและพัฒนาแหล่งงน้ำ
ให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำและเครื่องจักรกลทางการเกษตรในการยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตอ้อย
และควรมีการรายงานผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการลดต้นทุนการผลิตของชาวไร่อ้อยและการลดลงของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
ที่สามารถลดได้จากการดำเนินโครงการ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
168 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมืองและด่านศุลกากรหนองคาย) | กค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... (สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมืองและด่านศุลกากรหนองคาย)
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากร พ.ศ ๒๕๖๐
โดยกำหนดให้สนามบินดอนเมืองเป็นสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมือง (เดิมอยู่ภายใต้สำนักงานศุลกากร
กรุงเทพ) และกำหนดเพิ่มเติมให้บริเวณด่านศุลกากรหนองคายและสถานีรถไฟหนองคายเป็นเขตศุลกากร
ด่านศุลกากรหนองคาย (เดิมไม่ได้กำหนดไว้) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไป ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจปล่อยสินค้าผ่านระบบ
NSW เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งและ โลจิสติกส์ในภาพรวมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
169 | โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8 - 9 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | พน. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ ๘-๙
ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา ๖๐๐ เมกะวัตต์ พร้อมระบบส่งไฟฟ้า
ในวงเงินรวมทั้งสิ้น ๔๗,๔๗๐ ล้านบาท ๑.๒ อนุมัติงบประมาณประจำปี ๒๕๖๕ ตามแผนประมาณการเบิกจ่ายสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่
๘-๙ จำนวนเงินทั้งสิ้น ๓,๗๙๕ ล้านบาท ๒.
ให้กระทรวงพลังงานและ กฟผ. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น (๑)
การดำเนินโครงการฯ
ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับร่างแผนพลังงานแห่งชาติซึ่งสนับสนุนให้ไทยสามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
(๒) กฟผ. ควรจัดทำรายงานการติดตามและประเมินผลการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เพื่อชี้แจงให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ (๓) กฟผ.
ควรดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่าตามมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ และ (๔) กระทรวงพลังงานควรกำกับดูแลให้ กฟผ.
ดำเนินโครงการฯ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้มีการขอปรับเพิ่มเงินลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการในภายหลัง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
170 | รายงานประจำปี 2564 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | ศธ. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๔ ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(สสวท.) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ผลการดำเนินงานของ สสวท. ประจำปี ๒๕๖๔ ใน ๕
ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ๑) การพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้
ที่เน้นการปฏิบัติการและการสร้างความเข้าใจในระดับที่เหมาะสมกับหนักเรียนแต่ละกลุ่มโดยใช้เทคโนโลยีต่าง
ๆ ๒) การขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
และเทคโนโลยีและสถานศึกษา ผ่านเครือข่าย สสวท. ให้มีคุณภาพทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ
๓) การขับเคลื่อนกระบวนการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ให้เน้นความเข้าใจลงมือปฏิบัติการ และสามารถนำไปใช้จริงทั้งในและนอกระบบตามแนวทาง
สสวท. ๔) การเร่งรัดพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อเป็นกำลังใจในการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและนวัตกรรมตามนโยบายของประเทศไทย ๔.๐ และ ๕) การส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพิ่มการยอมรับ สสวท. ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีของเยาวชนให้ทันสมัย และ (๒)
รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของ สสวท. สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน
๒๕๖๔ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
171 | รายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | นร.12 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ยุบเลิกสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ขอให้มอบหมายคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
ดำเนินการเพื่อยุบเลิกหน่วยงานและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
พ.ศ. .... และการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวของคณะรัฐมนตรีให้นำรายงานการประเมินความคุ้มค่า
บทเรียน ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนไปประกอบการพิจารณาด้วย ๒.
ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความละเอียด รอบคอบ ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมาย
และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเกษตรกรและผู้ยากจนที่เข้าร่วมโครงการ
รวมทั้งบุคลากรและทรัพยากรของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ควรเข้ามาเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการแก้ปัญหาที่ดินทั้งประเทศโดยไม่ควรเป็นหน่วยงานที่สำนักงานในทุกจังหวัด
และไม่ควรซื้อที่ดินเอกชนมาดำเนินการเอง ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
172 | ขออนุมัติกรอบวงเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 เพิ่มเติม | พณ. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบการเพิ่มกรอบวงเงินงบประมาณโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต ๒๕๖๔/๖๕ จากเดิม
๕๔,๙๗๒.๗๒
ล้านบาท เป็น ๕๕,๕๖๗.๓๖ ล้านบาท จำแนกเป็น ๑.๑ วงเงินที่จ่ายให้เกษตรกร จากเดิม จำนวน
๕๓,๘๗๑.๘๔ ล้านบาท เพิ่มขึ้น
๕๘๓.๑๐ ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔,๔๕๔.๙๔ ล้านบาท ๑.๒ ค่าชดเชยต้นทุนเงิน จากเดิม จำนวน ๑,๐๗๗.๔๔ ล้านบาท เพิ่มขึ้น ๑๑.๕๔ ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น
๑,๐๘๘.๙๘ ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะใช้จ่ายจากงบประมาณคงเหลือจากโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปี ๒๕๖๔/๖๕ (โครงการประกันรายได้ฯ) ๒.
รับทราบการขยายระยะเวลาตามที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติเห็นชอบแล้ว
ดังนี้ ๒.๑ ขยายระยะเวลาการจ่ายเงิน จากเดิม
สิ้นสุดวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕ เป็น สิ้นสุดวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๒.๒ ขยายระยะเวลาโครงการ จากเดิม
สิ้นสุดวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เป็น สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ เช่น
ควรมีการวางระบบที่สามารถตรวจสอบและประมาณการจำนวนครัวเรือนเกษตรกรทั้งพื้นที่ขึ้นทะเบียนที่ถูกต้อง
รัดกุมให้เป็นไปตามข้อเท็จจริง มีกระบวนการตรวจสอบและรับสิทธิ
การสำรวจพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมย่างรัดกุมตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการรับสิทธิ และคุ้มค่ากับงบประมาณในการดำเนินโครงการ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
173 | (ร่าง) แผนการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมระดับชาติ (พ.ศ. 2564 - 2580) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายใต้แผนฯ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 -2565) และระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | สธ. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบ (ร่าง) แผนการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมระดับชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๘๐) ตามที่คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมเสนอ และรับทราบแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายใต้แผนการเฝ้าระวัง การป้องกันระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๕) และระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖–๒๕๗๐) ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดย (ร่าง) แผนฯ และแผนปฏิบัติการ ภายใต้แผนฯ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานในการสื่อสารสร้างความเข้าใจระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน NGOs และภาคประชาชนในการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้ประกอบอาชีพและผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ด้วยการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงการให้บริการอาชีวเวชกรรมและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ๒.
มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนการเฝ้าระวังฯ และแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมเสนอ ทั้งนี้
ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และในปีต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๓.
ให้คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน
และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เช่น พิจารณาเพิ่มเติมแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกัน เฝ้าระวัง
และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือน ด้านนโยบาย/มาตรการทางการเงินการคลัง
โครงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคเชิงรุกในสถานประกอบการ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
174 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565 | นร.11 สศช | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
175 | การเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2563/64 ของเกษตรกรที่มีวันเพาะปลูกก่อน 1 เมษายน 2563 และเก็บเกี่ยวหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2563 (เพิ่มเติม) | พณ. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรับทราบความคืบหน้าผลการดำเนินการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังและมาตรการคู่ขนาน
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ๒.
เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง
โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง และมาตรการคู่ขนาน)
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ เดิม
“เห็นชอบการให้สิทธิเกษตรกรกลุ่มที่แจ้งปลูกตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒-๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓
และมีช่วงเก็บเกี่ยวตั้งแต่ ๘-๑๒ เดือน
รวมทั้งยังไม่เคยได้รับสิทธิในโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี
๒๕๖๒/๖๓ จำนวนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น ๘๔,๑๘๖ ครัวเรือน พื้นที่ ๘๕๖,๕๗๘ ไร่
เข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี ๒๕๖๓/๖๔ โดยได้รับการชดเชยส่วนต่างตามรอบระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวกับกรมส่งเสริมการเกษตร
ภายใต้กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๓”
(ตามหนังสือกระทรวงพาณิชย์ ด่วนที่สุดที่ พณ ๐๔๐๔/๔๑๑๙ ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๔
หน้า ๕ ข้อ ๕.๔) เป็น
“เห็นชอบการให้สิทธิเกษตรกรกลุ่มที่แจ้งปลูกตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒-๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓
และมีช่วงเก็บเกี่ยวตั้งแต่ ๘-๑๒ เดือน และไม่ซ้ำแปลง จำนวน ๒๐๔,๓๓๔ ครัวเรือน (เดิมจำนวน
๘๔,๑๘๖ ครัวเรือน และเพิ่มเติมอีกจำนวน ๑๒๐,๑๔๘ ครัวเรือน) ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการตรวจสอบสิทธิแล้ว
เข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี ๒๕๖๓/๖๔ ภายใต้กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่
๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๓
โดยให้กรมส่งเสริมการเกษตรและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตรวจสอบคุณสมบัติเกษตรกรก่อนการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง
ปี ๒๕๖๓/๖๔” ๓.
ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ควรสอบทานการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างให้แก่กลุ่มเกษตรกรอย่างถูกต้องเหมาะสม
โดยใช้กลไกการตรวจสอบแบบเดียวกับหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการที่ผ่านมา ควรกำหนดมาตรการตรวจสอบย้อนกลับที่มาของมันสำปะหลังในพื้นที่ผิดกฎหมายหรือการลักลอบนำเข้ามาสวมสิทธิ์จากชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
176 | ผลการพิจารณาญัตติด่วนขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษากรณีการไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงผลการเจรจาปัญหาระหว่างกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นกับผู้แทนรัฐบาลและตรวจสอบกรณีการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการสลายการชุมนุมต่อกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ของสภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีรับทราบผลการพิจารณาญัตติด่วนขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษากรณีการไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงผลการเจรจาปัญหาระหว่างกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นกับผู้แทนรัฐบาลและตรวจสอบกรณีการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการสลายการชุมนุมต่อกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
ของสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สรุปผลการพิจารณาได้ว่า (๑)
ประเด็นด้านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการดำเนินงานของโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการที่สำคัญโดยเฉพาะการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ริเริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน
ภายใต้การบริหารจัดการของหน่วยงานและกลไกทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (๒)
ประเด็นกรณีที่รัฐบาลไม่ได้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลง หรือ MOU กับผู้ชุมนุมเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น (๓) ประเด็นการสลายการชุมนุม
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบังคับการตำรวจนครบาล ๑ ชี้แจงว่า
การชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘ นั้น
ไม่สามารถกระทำการได้เนื่องจากในขณะนั้นมีการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนแล้ว ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
177 | การดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย | นร.13 | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
178 | ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม
พ.ศ. ๒๕๓๓ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของคณะกรรมการประกันสังคม
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาและคณะกรรมการการแพทย์
แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการประกันสังคมมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการบริหารพนักงานและลูกจ้าง
รวมทั้งการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๙
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้ประกันตนเกี่ยวกับสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
การให้ผู้รับบำนาญสามารถกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน สิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรโดยเป็นการเหมาจ่าย รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราการได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ
ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ หลักเกณฑ์การรับเงินบำนาญชราภาพ
และหลักเกณฑ์การได้รับประโยชน์ทดแทน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงาน ก.พ. เช่น
มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ให้ความสำคัญกับประเด็นกลุ่มแรงงานนอกระบบให้ได้รับการคุ้มครองของระบบประกันสังคมเพิ่มมากขึ้น
กำหนดอายุทดแทนกรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนที่มีอายุห้าสิบปีบริบูรณ์แต่ไม่ถึงหกสิบห้าปีบริบูรณ์ให้สอดคล้องกับการจ้างงาน
และควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณา
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพทางการเงินการคลังของกองทุนประกันสังคมต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงบประมาณ
และสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว ควรคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางรายได้ยามชราภาพของผู้ประกันตน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
179 | รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ไตรมาสที่ 2) | นร.07 | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ
และผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ (ไตรมาสที่ ๒) ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ สรุปได้ ดังนี้ ๑. ผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ (ไตรมาสที่ ๒) ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น ๓,๑๐๐,๐๐๐.๐๐๐๐ ล้านบาท
มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน ๑๕๙๓,๕๕๑.๓๓๙๑ ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๔๐ มีการก่อหนี้แล้ว จำนวน ๑,๘๒๐,๖๘๐.๙๒๙๘ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๕๘.๗๓
สูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ ๐.๔๐ และ ๒.๔๙
(เป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้ ร้อยละ ๕๑.๐๐ และ ๕๖.๒๔
ตามลำดับ) ๒. ปัญหาและอุปสรรค เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ยังคงยึดเยื้อและรุนแรง ประกอบกับสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
และความแปรปรวนของสภาพอากาศทำให้เกิดภัยพิบัติในหลายพื้นที่ของประเทศ
ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ รวมถึงการขาดแคลนแรงงาน
เป็นต้น ๓.
ข้อเสนอแนะ เช่น
หน่วยรับงบประมาณควรเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายและหรือแผนที่กำหนดไว้
และให้หัวหน้าส่วนราชการกำกับดูแลการรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ
รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขโดยเคร่งครัด เป็นต้น
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
180 | (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ โดยร่างแผนพัฒนาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพลิกโฉมไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า
เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” และมีเป้าหมาย เช่น
การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่
และการเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน โดยได้กำหนดหมุดหมาย จำนวน ๑๓
หมุดหมาย เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจน เช่น
หมุดหมายที่ ๑ ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
หมุดหมายที่ ๗ ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง
และสามารถแข่งขันได้ เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุข เช่น คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น
ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม และฐานะทางการคลัง
มีการสร้างความรู้ความเข้าใจในวงกว้าง เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมหมุดหมาย
พิจารณากำหนดค่าเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของเป้าหมายหลักและเป้าหมายในระดับหมุดหมายเป็นรายปี
ไปพิจารณาดำเนินการ แล้วให้นำ (ร่าง) แผนแผนพัฒนาฯ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบ
ก่อนกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป |