ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 7 จากทั้งหมด 14 หน้า แสดงรายการที่ 121 - 140 จากข้อมูลทั้งหมด 270 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
121 | ขออนุมัติดำเนินโครงการลงทุนรายการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ | ทส. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
122 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2565 - 2570 | อว. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๗๐ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำร่างแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยร่างแผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์
“ประเทศไทยเกิดระบบนิเวศที่ครบถ้วนและเชื่อมโยงแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในปี พ.ศ. ๒๕๗๐”
และวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
รวมทั้งเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนและดำเนินงานที่สอดคล้องกัน ประกอบด้วย ๕
ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม
กฎหมายและกฎระเบียบสำหรับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (๒)
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(๓) การเพิ่มศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ (๔)
การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ (๕)
การส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงมหาดไทย เช่น
ควรมีการทดลองร่วมกับภาคเอกชนในการนำเทคโนโลยี AI
มาใช้ในลักษณะ Sandbox เพิ่มเติมจากการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างครอบคลุมในทุกมิติ
ซึ่งจะทำให้สามารถเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ได้
และควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำในการขับเคลื่อนและพัฒนา AI โดยภาครัฐทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและสนับสนุนการดำเนินงานของภาคส่วนอื่น ๆ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
123 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข (เพิ่มเติม)] | กค. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบการปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคด้านสาธารณสุขตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ ๒ เท่าของจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค
สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
ของกรมสรรพากร ให้แก่มูลนิธิต่าง ๆ รวม ๓ แห่ง ได้แก่ (๑)
มูลนิธิชัยพัฒนา (๒)
มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
และ (๓) มูลนิธิรามาธิบดี ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี และยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ
และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า
หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่มูลนิธิดังกล่าวที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็น และประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
124 | ขออนุมัติกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ | คค. | 18/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
(ขสมก.) กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ รวมจำนวน ๗,๕๑๖.๙๐๙ ล้านบาท และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
กำหนดวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ในการกู้เงิน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคม ขสมก. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้ ขสมก. เร่งทบทวนแนวทางการปฏิรูป
และจัดทำ (ร่าง) แผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. (ฉบับปรับปรุงใหม่) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
รวมถึงให้รัฐบาลชดเชยผลขาดทุนรายปีให้แก่ ขสมก.
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๑๙ มาตรา ๑๑ ตามจำนวนเท่าที่จำเป็น และดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้เพื่อชดเชยผลขาดทุนดังกล่าวด้วย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
125 | ขออนุมัติดำเนินโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าทั่วไป | อก. | 18/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
126 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 และครั้งที่ 18/2565 | นร.11 สศช | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
127 | หลักการในการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 | นร.12 | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณาให้สอดคล้องกับเรื่องการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาการอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ และรับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และธนาคารแห่งประเทศไทย ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
128 | ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพอากาศ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กห. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวกขึ้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ
โดยมีประวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมกฎหมายและกฎในเรื่องเดียวกัน เกี่ยวข้อง
หรือเกี่ยวเนื่องกัน ไว้ในแหล่งเดียวกัน เข้าไว้ด้วยกัน จัดหมวดหมู่บทบัญญัติส่วนต่าง ๆ
ให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบและเป็นเหตุผล เป็นผล โดยไม่มีการแก้ไขหลักการ
เนื้อความ หรือสาระสำคัญเดิม และใช้บังคับแทนกฎหมาย และกฎที่นำมารวบนั้น
เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
ตามนัยมาตรา ๒๗๐ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป
โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่า
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
129 | การขออนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 | มท. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
130 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2565 | นร.04 | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
(กตน.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ผ่านระบบการประชุมทางไกล และมอบหมายให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุมฯ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยผลการประชุมฯ ประกอบด้วย (๑) การบูรณาการปราบปรามมิจฉาชีพและอาชญากรรมออนไลน์
(เว็บพนันออนไลน์/แก็งคอลเซ็นเตอร์) (๒)
การช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยและบุคคลากรภาครัฐ และ (๓) รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี
และงบประมาณที่เกินกว่า ๑,๐๐๐
ล้านบาทขึ้นไป
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ
และสำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ควรให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาและปราบปรามมิจฉาชีพและอาชญากรรมออนไลน์อย่างจริงจัง
พร้อมสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประชาชนให้รู้เท่าทันมิจฉาชีพไม่ให้ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวง
สูญเสียทรัพย์ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
131 | หนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฮังการีเพื่อการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ ในการได้มาซึ่งที่ดิน อาคาร และห้องชุด สำหรับใช้เป็นที่พำนักและที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลในดินแดนของแต่ละฝ่าย | กต. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนที่เกี่ยวข้องในการซื้อขายที่ดิน
อาคาร และห้องชุด
เพื่อใช้เป็นที่พำนักและที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลในดินแดนของแต่ละฝ่าย
ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฮังการีบนหลักประติบัติต่างตอบแทน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
โดยร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ระบุเกี่ยวกับ (๑)
ให้รัฐบาลแต่ละฝ่ายมีสิทธิที่จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อาคาร
และห้องชุดในดินแดนของอีกฝ่าย และ (๒) แต่ละฝ่ายจะได้รับการยกเว้นภาษี ค่าบำรุง
และค่าธรรมเนียมการโอนทั้งปวง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมึความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณที่เห็นว่า
หากการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคตก็ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ด้วย และหากมีค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เห็นควรให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
132 | ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การกำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีประจำศาลยุติธรรม) | ศย. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(การกำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีประจำศาลยุติธรรม)
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ คุณสมบัติ และวิธีการคัดเลือกเจ้าพนักงานคดี
และแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้สมัครทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน
ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการกำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีประจำศาลยุติธรรมเป็นการกำหนดกรอบอัตรากำลังของตำแหน่งดังกล่าว
เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสอดคล้องของภาระงานและภาระงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคตของศาลอย่างแท้จริง
และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
และจัดทำแผนกรอบอัตรากำลังของตำแหน่งดังกล่าวเท่าที่จำเป็น
โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามภารกิจงาน รายได้
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใดที่ศาลยุติธรรมมีอยู่ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
133 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ) | ศธ. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง
นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ เป็นข้าราชการการเมือง
ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช)] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
134 | ผลการสรรหากรรมการในคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (นายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์) | สขค | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการในคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
จำนวน ๑ คน ได้แก่ นายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์
ตามที่คณะกรรมการการสรรหาได้คัดเลือกไว้แล้ว
แทนรองประธานกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
135 | การแต่งตั้งประธานกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (นายปรเมธี วิมลศิริ) | สบร. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายปรเมธี
วิมลศิริ เป็นประธานกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
แทนประธานกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
136 | ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารฯ สายเฉลิมรัชมงคล สายฉลองรัชธรรม และอัตราค่าโดยสารร่วม รวม 3 ฉบับ | คค. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรายงานว่า
เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระประชาชนจากผลกระทบทางเศรษฐกิจในปัจจุบันตามนโยบายรัฐบาลกระทรวงคมนาคมจะไปเจรจากับ
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) เพื่อชะลอการใช้อัตราค่าโดยสารใหม่สายฉลองรัชธรรม
(สายสีน้ำเงิน) ออกไปก่อน โดยให้คงอัตราค่าโดยสารไว้ราคาเดิมจนถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๖๕ และจะใช้อัตราค่าโดยสารใหม่ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ๒. เห็นชอบในหลักการ ๒.๑ ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารการรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
โดยอัตราค่าโดยสารใหม่จะมีอัตราเริ่มต้นที่ ๑๗ บาท สูงสุด ๔๓ บาท โดยสถานีที่ ๖ , ๙,
๑๑ และ ๑๒ ขึ้นไป จะมีอัตราค่าโดยสารเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ๑ บาท
อีกทั้งยังกำหนดให้คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย อาจประกาศกำหนดผลิตภัณฑ์ของตั๋วโดยสาร
เพื่อส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารเพื่อสนับสนุนกิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาล
หรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ๒.๒
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร
วิธีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร
และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารการรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับให้สอดคล้องกับรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชมงคล โดยไม่มีการปรับอัตราค่าโดยสาร ๒.๓
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารใหม่ตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
และกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมให้ครอบคลุมรถไฟฟ้าสายอื่น รวม ๓ ฉบับ
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยให้กระทรวงคมนาคมแก้ไขร่างข้อบังคับตามข้อ ๒.๓
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
เพื่อให้การดำเนินการตามร่างข้อบังคับดังกล่าวเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
ควรมีมาตรการส่งเสริมการใช้บริการ เช่น การจัดโปรโมชั่น ตั๋วรายเดือน ตั๋วเป็นชุด
พิจารณากำหนดในรูปแบบการให้ส่วนลดค่าโดยสารและยกเลิกการจัดสวัสดิการรถรับ-ส่งพนักงานควบคู่กันไปด้วย
พร้อมทั้งเร่งพิจารณาจัดทำแผนเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม ภายใต้ขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
137 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 9/2565 | นร. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
138 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑ และเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ ๒.
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายสันติ พร้อมพัฒน์) รวมทั้งความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น (๑) ขอให้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหา
กรณีการตรวจสอบพบแนวเขตที่ดินในความรับผิดชอบมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง
ภายหลังจากมติคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
แล้ว รวมทั้งให้กรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมนำไปปฏิรูปที่ดิน
เพื่อกันคืนพื้นที่ให้กรมป่าไม้ และ (๒) ให้หน่วยงานในสังกัด ประกอบด้วย
กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสำนักงานยุติธรรมจังหวัด
เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตรการส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) และแก้ไขปัญหา
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
139 | การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง | นร.11 สศช | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการมอบหมายศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(ศจพ.) ทุกระดับ ทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยงานเจ้าภาพหลักตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี
และภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยบนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์
ตามมติคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(คจพ.) และแนวทางการดำเนินการในระยะต่อไปอย่างเคร่งครัด
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นเพิ่มเติมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รวมถึงความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น (๑) ควรเน้นการสร้างงานและสร้างรายได้
โดยสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรม ตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ (๒)
ควรมีแนวทางหรือมาตรการการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภาวะวิกฤตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
(๓) การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลจากระบบบริหารจัดการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(๔) ควรให้ฝ่ายเลขานุการ คจพ.
พิจารณาจำแนกแบบสอบถามเพื่อการพัฒนาคนทุกช่วงวัยในระดับครัวเรือนและบุคคลตามหมวดหมู่/ภารกิจหน้าที่ของแต่ละกระทรวงเพื่อมอบหมายให้กระทรวงที่มีภารกิจอำนาจหน้าที่สอดคล้องตามแบบสอบถามดำเนินการจัดเก็บข้อมูลต่อไป
และควรพิจารณาจ้างจัดเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามเพื่อการพัฒนาคนทุกช่วงวัยในระดับครัวเรือนและบุคคล
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมกับ ศจพ.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งบูรณาการข้อมูลต่าง ๆ
รวมทั้งข้อมูลของโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ (เรื่อง
การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG)
เพื่อให้ฐานข้อมูลระบบ TPMAP มีความถูกต้องและครบถ้วนมากยิ่งขึ้น |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
140 | การเสนออุทยานธรณีขอนแก่นเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) | ทส. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เสนออุทยานธรณีขอนแก่นเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก
(UNESCO Global Geoparks)
โดยยื่นความจำนงต่อยูเนสโกภายในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕
และส่งใบสมัครในระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
และมอบหมายให้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการเสนออุทยานธรณีโลกของยูเนสโกต่อสำนักเลขาธิการยูเนสโก
ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นควรเพิ่มอำเภอมัญจาคีรี
จังหวัดขอนแก่น ในพื้นที่อุทยานธรณีขอนแก่น และควรคำนึงถึงการบริหารจัดการพื้นที่หากได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของ
UNESCO ด้วย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |