ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 14 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 270 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ (1. พลตรี เจียรนัย วงศ์สอาด ฯลฯ รวม 10 คน) | พม. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ รวม ๑๐ คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ๑. พลตรี เจียรนัย
วงศ์สอาด ประธานกรรมการ ๒. นางพัชรี อาระยะกุล กรรมการ ๓. นายรณชัย จิตรวิเศษ กรรมการ ๔. นายจเรรัฐ ปิงคลาศัย กรรมการ ๕. นายอัครพล
ลีลาจินดามัย กรรมการ ๖. นายธีรภัทร
ประยูรสิทธิ กรรมการ ๗. นายชยงการ ภมรมาศ กรรมการ ๘. พลเอก สุวิชา
แก้วรุ่งเรือง กรรมการ ๙. นายอนุกูล ปีดแก้ว กรรมการ
(ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) ๑๐. นางศุกร์ศิริ
บุญญเศรษฐ์ กรรมการ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | การกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (เพิ่มเติม) | นร. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่า
เพื่อให้การดำเนินการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจพิเศษเอเปค ครั้งที่ ๒๙ และกิจกรรมต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศ
และกระทบต่อการเดินทางและการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนให้น้อยที่สุด คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเพิ่มเติมให้ชัดเจน
รวมทั้งให้ประชาสัมพันธ์เพื่อขอความร่วมมือภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปด้วย ดังนี้ ๑. ในช่วงการประชุมฯ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
จะมีการปิดการจราจรในเส้นทางโดยรอบศูนย์การประชุมสิริกิติ์ รวมทั้งให้งดใช้สวนเบญจกิติ ๒. การให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) ในช่วงวันที่ ๑๖-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
เปิดให้บริการปกติแต่จะงดจอดรับ-ส่งผู้โดยสารเฉพาะสถานีศูนย์การประชุมสิริกิติ์
จนกว่าการจัดการประชุมฯ จะเสร็จสิ้น ๓. ในส่วนของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ดังกล่าว ที่อาจได้รับผลกระทบจากการปิดการจราจรให้โรงเรียนและสถาบันการศึกษานั้น ๆ
พิจารณางดการจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมใด ๆ ในช่วงวันที่ ๑๖-๑๘
พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ยกเว้นในกรณีที่โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษานั้น ๆ
มีภารกิจสำคัญที่จำเป็นต้องดำเนินการในช่วงวันดังกล่าวอันมิอาจเหลีกเลี่ยงหรือเลื่อนออกไปก่อนได้ ๔. ในช่วงค่ำของวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
จะมีการจัดเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้นำเอเปคที่หอประชุมกองทัพเรือ
ซึ่งจะมีการเดินทางไป-กลับของผู้นำประเทศและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากหลายเส้นทาง
จึงขอความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วนในการอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้นำประเทศและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้วย
โดยขอให้หลีกเลี่ยงหรืองดใช้รถใช้ถนนในเส้นทางที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งการสัญจรทางเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งจะมีการปิดการจราจรทางน้ำในวันที่ ๑๘
พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | ขอผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน-บ้านโคกพยอม ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล | มท. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน-บ้านโคกพยอม ตำบลคลองขุด
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓
กรกฎาคม ๒๕๓๔ (เรื่อง
รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม
๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๔๓ เรื่อง
การแก้ปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยให้กระทรวงมหาดไทย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล)
ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ (เรื่อง
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน ประเทศไทย) ด้วย ทั้งนี้
ให้กระทรวงมหาดไทย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล)
รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรให้หน่วยงานดำเนินการตามมาตรา ๖๒ “ห้ามมิให้ผู้ใดทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ให้ผิดไปจากสภาพที่เป็นอยู่เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่”
เพื่อให้การพัฒนาโครงการถูกต้องตามบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
หากมีการดำเนินการใด ๆ ในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบทะเล
หรือบนชายหาดของทะเลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๕๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขอให้ปฏิบัติตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรให้เทศบาลตำบลคลองขุดเร่งดำเนินโครงการฯ
ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
พร้อมทั้งจัดทำและเสนอรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ครบถ้วน อย่างเคร่งครัดต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
44 | รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | นร.02 | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ
ตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติเสนอ ดังนี้ ๑. รับทราบสรุปรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีสาระสำคัญ ได้แก่ (๑)
สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญ (๒)
สร้างความตระหนักรู้ ทัศนคติเชิงบวกและการมีส่วนร่วมของประชาชนไทยและชาวต่างประเทศต่อการต่างประเทศ
(๓) บริหารจัดการข้อมูลข่าวสารพัฒนาสื่อสร้างสรรค์สร้างการรู้เท่าทันและการมีส่วนร่วม
(๔) พัฒนาคลังข้อมูลข่าวสารอัจฉริยะ (๕)
ยกระดับบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ และ (๖)
ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติระดับจังหวัดตามแนวทางการพัฒนาทั้ง
๔ แนวทาง ๒. มอบหมายหน่วยงานภาครัฐรับข้อเสนอของประชาชนไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงยุติธรรม สำนักนายกรัฐมนตรี และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ๓. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยเน้นย้ำผู้ว่าราชการจังหวัด
๗๖ จังหวัด
ให้ความสำคัญกับงานประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนในพื้นที่และสั่งการให้หน่วยงานในระดับจังหวัดสนับสนุนและประสานการดำเนินงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนางานประชาสัมพันธ์ในภาพรวมของประเทศให้เกิดประสิทธิภาพ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 28/2565 | นร.11 สศช | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | ร่างแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2566-2570 | กค. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
โดยร่างแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจฯ มีสาระสำคัญเพื่อกำหนดเป้าหมาย นโยบาย
และทิศทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยุทธศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐)
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ และแผนพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ โดยให้กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบนโยบายการพัฒนาและทิศทางการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
และมีวิสัยทัศน์เพื่อยกระดับขีดความสามารถรัฐวิสาหกิจไทยมุ่งสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ
และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งได้กำหนดบทบาทของรัฐวิสาหกิจโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การจัดตั้ง
รวมถึงแนวทางการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีความสอดคล้องกับแผนต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
และกำหนดทิศทางหลักในการพัฒนารัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งให้เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ ทั้ง ๑๓ หมุดหมาย
ซึ่งรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะดำเนินการตามบทบาทและภารกิจขององค์กร ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเสนอ
และให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจรับไปพิจารณาปรับปรุงทิศทางหลักในการพัฒนารัฐวิสาหกิจรายสาขา
โดยเพิ่มการส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพและมีผลประกอบการดีเข้ามามีบทบาทในการร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศให้มากขึ้นด้วย ๒.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงเจ้าสังกัด รัฐวิสาหกิจ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเจ้าสังกัด
รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้
ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะอย่างเหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนภารกิจได้ตามเป้าหมาย
แจ้งให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจทราบล่วงหน้า
ในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจมีข้อเสนอหรือแนวทางแก้ไขที่จำเป็นเร่งด่วนที่ค้นพบจากการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจ
เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถบริหารจัดการหรือแก้ไขปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา | สว. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา โดยมีผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๑,๘๓๕.๔๔๗
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๖๙ และมีผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดใน ๒ ยุทธศาสตร์
ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการได้สำเร็จเกินค่าเป้าหมายที่กำหนด ตามที่สำนักเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | การปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของการท่าเรือแห่งประเทศไทย | คค. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ (๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕) ดังนี้ ๑)
ระดับ ๑๖ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการ จากอัตรา ๑๑๓,๕๒๐ บาท เป็นอัตรา ๑๔๒,๘๓๐ บาท ๒) ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ ๑๐๔,๓๑๐ บาท
เป็นอัตรา ๑๓๓,๗๗๐ บาท และ ๓) ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่าย
จากอัตรา ๙๕,๘๑๐ บาท เป็นอัตรา ๑๒๔,๗๗๐
บาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม
(การท่าเรือแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น
การท่าเรือแห่งประเทศไทยควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์
เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐประกอบการพิจารณาเรื่องดังกล่าว
ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายบุคลากรให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
และควรบริหารค่าใช้จ่ายด้วยความรอบคอบโดยเฉพาะการปรับขึ้นอัตราเงินเดือนควรสะท้อนกับผลการปฏิบัติงานได้ชัดเจน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการแห่งสาธารณรัฐเกาหลีว่าด้วย ความร่วมมือด้านสาธารณสุข | สธ. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 | นร.11 สศช | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับวิสาหกิจชุมชน) | กค. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ซึ่งมีเงินได้ปีละไม่เกิน ๑.๘ ล้านบาท ออกไปอีกเป็นระยะเวลา ๓ ปี ทั้งนี้
สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับแต่งตั้งวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๖๘ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. เห็นชอบมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ซึ่งรับผิดชอบจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจในมาตรการภาษี
เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งร่วมติดตามและประเมินประโยชน์ที่จะได้รับจากมาตรการนี้
เพื่อการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่จะได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | ผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประจำปี 2565 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | กค. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ประจำปี ๒๕๖๕ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างวันที่ ๑๐-๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๕
ณ กรุงวิชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
53 | ขอความเห็นชอบร่างจรรยาบรรณสำหรับกระบวนการระงับข้อพิพาทตามบทที่ 14 ของความตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐชิลีและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย | พณ. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.07 | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณใช้เป็นแนวทางประกอบการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดแผนปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับช่วงวาระการดำเนินงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
๒.
ให้สำนักงบประมาณได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | รายงานผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 55 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | กค. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย
(Asian Development Bank : ADB) ครั้งที่ ๕๕ และการประชุมอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๒๗-๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ณ สำนักงานใหญ่ ADB กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าคณะ
และผู้แทนกระทรวงการคลังเข้าร่วมประชุมฯ โดยในที่ประชุมฯ
ได้มีการมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการรับมือและแก้ไขปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
(COVID-19)
และผู้ว่าการของประเทศสมาชิกได้แลกเปลี่ยนความเห็นและแนวนโยบายการดำเนินงานของ ADB
ภายใต้แนวคิด “Positioning Climate Resilient Green Economy
for the Post COVID-19 World” ซึ่งได้เรียกร้องให้ ADB ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวจากผลกระทบของ
COVID-19 ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งเสนอให้
ADB สนับสนุนประเทศสมาชิกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสหภาพภูมิอากาศ
และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สผ. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า ๑)
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเตรียมการรองรับการบังคับใช้กฎหมายโดยการออกประกาศที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการนำส่งข้อมูล
การเปิดเผยข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการประมวลผลข้อมูลเครดิต
การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อต้องปฏิบัติ
และการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อ ๒)
ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะหน่วยงานในกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล
[peer to peer lending platform : P2P (การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์)] ได้มีข้อกำหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ผู้ประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล
จะต้องยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนเพื่อป้องกันการทุจริต และ ๓)
กรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลสหกรณ์ได้สนับสนุนส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์
และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเข้าเป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิต เป็นต้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | การขออนุมัติดำเนินงานก่อสร้างโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา ตำบลเกาะกลาง-ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ของกรมทางหลวงชนบท | คค. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการก่อสร้างโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา
ตำบลเกาะกลาง-ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ภายในกรอบวงเงิน ๑,๘๔๙.๕
ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง จำนวน ๑,๘๐๐ ล้านบาท ในอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้เงินงบประมาณ
๗๐:๓๐ และค่าควบคุมงาน ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ จำนวน ๔๙.๕
ล้านบาท ในอัตราร้อยละ ๒.๗๕ ของวงเงินค่าก่อสร้าง
โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและแหล่งเงินกู้ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมสำหรับวงเงินงบประมาณขอให้กรมทางหลวงชนบทเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณรองรับตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
โดยในส่วนของแหล่งเงินกู้ให้ใช้เงินกู้ต่างประเทศตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงชนบท) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
เพื่อจัดทำแนวทางการบรรเทาผลกระทบให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental
and Social Standard : ESS)
ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เร่งรัดการดำเนินการตามกฎหมาย
และระเบียบที่เกี่ยวข้อง อาทิ การขออนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี การห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน
และการขออนุญาตเข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
และการขอความเห็นชอบการขอใช้ที่ดินของส่วนราชการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เพื่อให้สามารถก่อสร้างโครงการฯ ได้ตามแผนการดำเนินงานต่อไป กรมทางหลวงชนบท
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พิจารณากำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในการใช้ทางร่วมกันของยานพาหนะต่าง ๆ อาทิ
การติดตั้งป้ายกำหนดความเร็วในบริเวณเขตชุมชนและจุดเสี่ยงในการสัญจร
เพื่อรองรับปริมาณการสัญจรทางถนนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการดำเนินโครงการฯ เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | หลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ | นร.10 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามมติคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมและสำนักงาน ก.พ.
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาประเด็นในหลักสูตรการอบรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่ได้จัดทำอยู่แล้ว
และกำหนดแนวทางการนำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับหน่วยงานแต่ละประเภทด้วย
จึงจะเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีมาตรฐานจริยธรรมในระดับเดียวกันได้
ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางดำเนินการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
แล้วให้แจ้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล
และองค์กรอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
59 | ขออนุมัติผ่อนผันให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อก่อสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้า | พน. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓
กรกฎาคม ๒๕๒๗ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔ วันที่ ๒๒ สิงหาคม
๒๕๔๓ และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหยง
ท้องที่จังหวัดพังงา และป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองมะพร้าว ท้องที่จังหวัดภูเก็ต
รวมทั้งสิ้นจำนวน ๒ ป่า เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถเข้าใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบโครงข่ายไฟฟ้า
๕๐๐ กิโลโวลต์ จุดเชื่อมพังงา ๒-ภูเก็ต ๓
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน
(การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการดำเนินการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๙
มกราคม ๒๕๕๖ ให้จัดสรรงบประมาณให้กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทน
เพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมไม่น้อยกว่า ๒๐ เท่าของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ว่าด้วยการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมกรณีการดำเนินการโครงการใด
ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน พ.ศ.
๒๕๕๖ และปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
60 | การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย | นร.01 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย (๑)
พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ (๒)
ด้านกลไกและวิธีการจัดการเรื่องร้องทุกข์ (๓) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์
ดังนี้ (๑)
ขอความร่วมมือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์
เพื่อให้ประชาชนทราบถึงระยะเวลาในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
ซึ่งจะช่วยให้ลดเวลารอคอยและลดการติดตามเรื่องกับผู้ปฏิบัติงาน
และผลักดันให้เกิดการขยายผลและเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการจัดการเรื่องร้องทุกข์ไปยังระดับภูมิภาคและท้องถิ่น
เพื่อให้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการดูแลแก้ไขอย่างครอบคลุมและเป็นธรรม ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ.ร.
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณหรือรางวัลให้แก่หน่วยงานที่สามารถจัดการเรื่องร้องทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของหน่วยงานในภาพรวมให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงในหลายช่องทางด้วย
ควรมีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนให้ทุกส่วนราชการปฏิบัติ
โดยมีกลไกในการแจ้งความคืบหน้าให้แก่ผู้ร้อง และควรขยายผลการรับเรื่องผ่านไลน์สร้างสุข
(@psc1111) และ
Traffy Fondue (@traffyfondue) ไปยังส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลทั่วประเทศ
เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องร้องทุกข์
อีกทั้งยกระดับมาตรฐานการรับเรื่องและบริหารจัดการปัญหาและข้อร้องเรียนของภาครัฐ
ไปพิจารณาดำเนินการให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |