ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 14 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 270 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต (1. ศาสตราจารย์สหธน รัตนไพจิตร ฯลฯ จำนวน 5 คน) | กค. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต จำนวน ๕ คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๕) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ดังนี้ ๑. ศาสตราจารย์
ดร. สหธน รัตนไพจิตร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ๒. นางสุนทรีย์
ส่งเสริม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ๓. นายชาญชัย
บุญญฤทธิ์ไชยศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการเงินการธนาคาร ๔. นางประราลี รัตน์ประสาทพร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านคอมพิวเตอร์
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าบริการตรวจสอบหรือรับรองสำหรับผู้ตรวจสอบเอกชน พ.ศ. .... | อก. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าบริการตรวจสอบหรือรับรองสำหรับผู้ตรวจสอบเอกชน พ.ศ.
.... ของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าตรวจสอบหรือรับรองให้ผู้ตรวจสอบเอกชนที่ดำเนินการตรวจสอบหรือรับรองโรงงานหรือเครื่องจักร
หรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | ขอความเห็นชอบการจัดทำเอกสาร Flag State Notification | กษ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการจัดทำเอกสาร Flag State Notification เพื่อยืนยันการดำเนินการควบคุมการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน
ยับยั้ง และขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU
Fishing) ซึ่งในส่วนของการแจ้งข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ และตราประทับ
ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งมีอำนาจในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรมประมงและกรมเจ้าท่าตามข้อกฎหมาย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเอกสาร Flag State Notification ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | สว. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซี่งสำนักงานศาลปกครอง
โดยคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้พิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎร
ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพิจารณาดำเนินการให้ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
และพนักงานราชการและลูกจ้างของสำนักงานศาลปกครองซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่พิเศษในศาลปกครองยะลา
ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินสวัสดิการ เงินรางวัลหรือค่าตอบแทนอื่นใด
ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกัน
ตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวเริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่ศาลปกครองยะลาร่วมกับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีแล้ว
เห็นว่าเนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๔
มิได้บัญญัติให้คณะกรรมการบริหารศาลปกครองมีอำนาจออกระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยค่าตอบแทนพิเศษในพื้นที่เสี่ยงภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานในศาลปกครองยะลา พ.ศ. ๒๕๖๔
โดยให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ศาลปกครองยะลาเปิดทำการได้
หากจะดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ดังกล่าว
อาจจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจยังไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการในขณะนี้
สำหรับในประเด็นข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของวุฒิสภา
ที่เกี่ยวกับระเบียบเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนพิเศษรวมทั้งสิทธิและประโยชน์อื่นที่จะออกตามมาตรา
๔๑/๘ (๘)
ควรมีเนื้อหาและกลไกที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ศาลปกครองสามารถพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สำนักงานศาลปกครองได้รายงานว่าปัจจุบันได้มีระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยการปฏิบัติงานในวันหยุดราชการเพื่อเร่งรัดคดีของศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๖๕
เพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว
ซึ่งคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้มีมติให้รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตดังกล่าวไปยังสภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2565 | นร.04 | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
(กตน.) ครั้งที่ ๕/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕
ผ่านระบบการประชุมทางไกล และมอบหมายให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุมฯ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยผลการประชุมฯ ประกอบด้วย (๑) การติดตามสถานการณ์อุทกภัย
(๒) การขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเกษตรมูลค่าสูงเพื่อความมั่นคงทางอาหาร (๓)
รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ และงบประมาณที่เกินกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป (๔) รายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมกับประชาชนภายใต้
กตน.และ (๕) การพัฒนาระบบติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | วธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดย (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ
มีสาระสำคัญเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม/การทำความดีที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
เพื่อให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ พัฒนาระบบ และการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรม
และเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนและองค์กรเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน
ก.พ. และข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ควรเพิ่มเติมในเรื่องของนวัตกรรม
ในแนวทางการพัฒนาที่ ๓ ด้วย
เพื่อให้ครอบคลุมการส่งเสริมให้การวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
โดยปรับเป็น “ส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม และพัฒนา...” ให้กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดในการดำเนินการจัดทำแผนจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมในพื้นที่ ตามนโยบาย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร
หรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ให้ทุกหน่วยงานจัดกิจกรรมจิตอาสาส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | ร่าง แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | ปช. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2566-2580) | นร16 | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐) โดย (ร่าง) นโยบายและแผนฯ
มีนโยบายหลัก ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) การสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
และการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ (๒)
การใช้ที่ดินและทรัพยากรที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด (๓)
การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และ
(๔) การบูรณาการและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินอย่างมีเอกภาพ
และมีตัวชี้วัดรวมทั้งหมด ๑๙ ตัวชี้วัด มี ๑๑ แนวทางการพัฒนาหลัก และ ๑๗
แผนงานที่สำคัญ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม และข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย เช่น ควรมีการประเมินความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งของภาครัฐ
เอกชน รวมถึงประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายของ คทช.
เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแผนการดำเนินงานต่อไป ให้ความสำคัญกับการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายต่าง
ๆ และควรให้ภาคประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนร่วม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ ..... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ | อว. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
รวม ๔ ฉบับ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
ให้สอดคล้องกับผลการประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๕ แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติ รวม ๔
ฉบับ ดังกล่าวเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด ๑๖
การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมปรับปรุงแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ให้สอดคล้องกับผลการพิจารณาทบทวนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว
แล้วส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรม | กค. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
(Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply
Chain ของโรงแรม
เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium
Enterprises : SMEs) ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมให้มีเงินทุนเพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับปรุงระยะเวลาชำระเงินกู้กรณีให้สินเชื่อเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมสถานประกอบกิจการและลงทุนในอุปกรณ์ต่าง
ๆ จากเดิมไม่เกิน ๗ ปี เป็นไม่เกิน ๑๐ ปี
รวมทั้งให้พิจารณาขยายคุณสมบัติของผู้กู้ให้ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการรายย่อยในแต่ละท้องถิ่นที่ประกอบกิจการอาหารหรือกิจการอื่นที่มีเอกลักษณ์/อัตลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น
ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างยั่งยืนต่อไป ๒.
ให้กระทรวงการคลัง ธนาคารออมสิน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น
ควรมีการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินโครงการ
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงมาตรฐานการสนับสนุนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ต่อไป ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการและโครงการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลาง
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานการดำเนินงานตามมาตรการและโครงการดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ควรเร่งประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนด
และควรเร่งพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์
เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการฟื้นฟูรายได้ในช่วงที่ภาคการท่องเที่ยวกำลังฟื้นตัว ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2564 | นร.12 | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการพัฒนาระบบราชการ
ประจำปี ๒๕๖๔ เป็นการายงานผลการดำเนินงานที่สำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
ประจำปี ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ ข้อมูลภาพรวมเกี่ยวกับคณะกรรมการที่สำนักงาน
ก.พ.ร. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ.
๒๕๖๔-๒๕๖๕) และสรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ ส่วนที่ ๒
ข้อมูลผลการดำเนินงานที่สำคัญในแต่ละยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการของภาครัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ รวมทั้งได้จัดทำสรุปผลการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี ๒๕๖๔ รายกระทรวง
เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหน่วยงานต่อไป ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.
เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
รับข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทัศนคติของบุคลากรภาครัฐทุกระดับ
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ หน่วยงานควรเลือกเข้าชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง
ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลและสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ในระยะยาวและควรเร่งการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ในวงกว้างถึงความก้าวหน้าที่สำคัญของการดำเนินการที่ผ่านมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการพัฒนาเร่งระบบ e-Service และการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | รายงานสรุปผลการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ณ เดือนตุลาคม 2565 | นร.11 สศช | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓
และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ณ เดือนตุลาคม ๒๕๖๕
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ สรุปได้ ดังนี้ ๑.
การบริหารกรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ.
๒๕๖๔ โดยกรอบวงเงินกู้แผนงานด้านฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-๑๙
ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่แผนงานด้านการแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิด-๑๙
สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
และแผนงานด้านการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ ๒.
ภาพรวมการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินกู้ โดยพระราชกำหนดฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ วงเงินกู้
๑,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว ๙๕๐,๑๙๓.๗๒๒๕ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๗๓
และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ วงเงินกู้ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว
๔๒๗,๑๒๒.๙๗๘๙ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๔๓ ๓.
ผลการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ ได้แก่ ด้านการแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิด-๑๙
เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มีผลการเบิกจ่าย ๖,๒๒๒.๑๓๙๕ ล้านบาท
ด้านการเยียวยาและช่วยเหลือประชาชน เช่น การบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค
(ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา) มีผลการเบิกจ่าย ๗๕๓,๖๐๓.๗๐๑๙ ล้านบาท
และด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เช่น การสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรให้เข้าถึงปัจจัยการผลิต
มีผลการเบิกจ่าย ๒๓,๓๕๖.๘๘๓๖ ล้านบาท ๔.
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เช่น ความล่าช้าในการดำเนินโครงการ ๕. ผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจประเทศโดยรวม เช่น การรักษากำลังซื้อของประเทศ และการพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | ร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย-จีนเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น ในโอกาสการเยือนไทยของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในห้วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค | กต. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย-จีนเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง
มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น (Joint Statement
between the Kingdom of Thailand and the People’s Republic of China on Working
towards a Thailand-China Community with a Shared Future for Enhanced Stability,
Prosperity and Sustainability) ในโอกาสการเยือนไทยของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในห้วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีร่วมกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
โดยไม่มีการลงนาม โดยร่างถ้อยแถลงร่วมฯ สะท้อนสาะสำคัญของผลการหารือข้อราชการระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในประเด็นต่าง
ๆ เช่น การขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
การย้ำท่าทีทางการเมืองในการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของกันและกัน
การส่งเสริมการค้า การลงทุน และความเชื่อมโยง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานร่างแผนความร่วมมือฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | อว. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านการลงทุนและเศรษฐกิจระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพาณิชย์สาธารณรัฐประชาชนจีน | อก. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | ร่างกรอบท่าทีของประเทศไทยต่อวาระการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19) | ทส. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกรอบท่าทีของประเทศไทยต่อวาระการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
ครั้งที่ ๑๙ (CITES CoP19) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๔-๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ ปานามา
คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ กรุงปานามา ซิตี้ สาธารณรัฐปานามา โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดท่าทีของประเทศไทยที่มีต่อข้อเสนอ
(Proposals)
ของประเทศต่าง ๆ ที่จะขอเปลี่ยนแปลงบัญชีรายการตามบัญชีท้ายอนุสัญญาฯ
และท่าทีต่อเอกสารการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ (Working Document) โดยยังไม่มีการทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างกัน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นว่าหากมีความจำเป็นต้องปรับปรับปรุงแก้ไขร่างกรอบท่าทีฯ
ก็ควรเป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติและคำนึงถึงพันธกรณีของประเทศไทยต่อความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
และหากความตกลงระหว่างรัฐบาลของรัฐภาคีมีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ก็จะเข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หากการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาต้องมีการออกพระราชบัญญัติ
หรือหนังสือสัญญานั้นอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม
หรือการค้าหรือการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวางตามมาตรา ๑๗๘ วรรคสอง
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก็ต้องเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | ขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน | ศธ. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 14 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT) และผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงาน IMT-GT | นร.11 สศช | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 (The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible for Forestry : MMRF5) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง | ทส. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปค
ด้านป่าไม้ ครั้งที่ ๕ (The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible
for Forestry : MMRF5) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่
๒๓-๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ จังหวัดเชียงใหม่ มีสาระสำคัญ เช่น
รูปแบบการประชุมเป็นแบบผสมผสาน การประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเอเปค
ด้านป่าไม้ ครั้งที่ ๕ (The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible
for Forestry : MMRF5)
โดยมีการพิจารณาร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ด้านป่าไม้ ครั้งที่ ๕ “ถ้อยแถลงเชียงใหม่)”
เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปค
การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการค้าไม้ที่ผิดกฎหมายและการค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง
เป็นต้น ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | การขอความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นเกี่ยวกับการให้เอกสิทธิ์ การยกเว้น และสิทธิประโยชน์แก่ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นที่ดำเนินโครงการภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับรัฐบาลญี่ปุ่น | กต. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|