ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 14 จากทั้งหมด 14 หน้า แสดงรายการที่ 261 - 270 จากข้อมูลทั้งหมด 270 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
261 | ร่างพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. …. | พน. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
และพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
เพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีความชัดเจนและเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ควรใช้ระบบอนุญาตเพียงเท่าที่จำเป็น
โดยสามารถใช้ระบบการแจ้งในเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องควบคุมเข้มงวดได้
การกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับอนุญาต
เป็นการกำจัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเท่านั้น
การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนจึงต้องกำหนดเพดานอัตราค่าธรรมเนียมไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติด้วย
ควรพิจารณาเพิ่มปรับมาตรการบังคับทางปกครองและโทษทางปกครองในกรณีผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการประกาศให้สาธารณชนทราบว่า
ผู้รับอนุญาตผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
เพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจเพื่อใช้
Reputation Risk เป็นเครื่องกำกับให้เกิดการปฏิบัติที่ดีในธุรกิจ
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
๓.
ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรให้กระทรวงพลังงาน
โดยกรมธุรกิจพลังงานดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองของพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้เป็นไปตามแผนการจัดทำกฎหมายลำดับรองภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด
เพื่อช่วยให้หน่วยงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
262 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5 รายการ [โครงการ "เช่ารถบรรทุก (ทดแทน) ขนาด 1 ตัน พร้อมอุปกรณ์ฯ เพื่อใช้ในภารกิจงานสอบสวนของสถานีตำรวจ จำนวน 1,311 คัน"] | ตช. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ รายการ เพื่อเป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์
จำนวน ๙,๒๑๕ คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๔๕๔,๖๗๐,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ จำนวน ๒,๖๙๐,๙๓๔,๒๐๐
บาท และส่วนที่เหลืออีก จำนวน ๑๐,๗๖๓,๗๓๕,๘๐๐
บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
เนื่องจากการเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ในโครงการเช่ารถยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวเป็นรถยนต์ประเภทพิเศษ
ซึ่งแตกต่างไปจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณและอัตราค่าเช่ารถยนต์ไม่เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
จึงต้องขอความตกลงประเภทรถยนต์ และอัตราค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์กับกระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ และวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
263 | รายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ที่จะเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5 รายการ [โครงการ "เช่ารถยนต์บรรทุกเอนกประสงค์ (ทดแทน) ขนาด 1 ตัน พร้อมอุปกรณ์ฯ เพื่อใช้ในภารกิจบรรทุกผู้ต้องหาและการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และการควบคุมฝูงชน กลุ่มผู้ชุมชุนประท้วงของสถานีตำรวจทั่วประเทศ จำนวน 1,482 คัน"] | ตช. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ รายการ เพื่อเป็นค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์
จำนวน ๙,๒๑๕ คัน วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๓,๔๕๔,๖๗๐,๐๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ จำนวน ๒,๖๙๐,๙๓๔,๒๐๐
บาท และส่วนที่เหลืออีก จำนวน ๑๐,๗๖๓,๗๓๕,๘๐๐
บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๐ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ ตลอดจนสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
เนื่องจากการเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์ในโครงการเช่ารถยนต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าวเป็นรถยนต์ประเภทพิเศษ
ซึ่งแตกต่างไปจากบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณและอัตราค่าเช่ารถยนต์ไม่เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
จึงต้องขอความตกลงประเภทรถยนต์ และอัตราค่าเช่ารถยนต์พร้อมอุปกรณ์กับกระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ และวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
264 | รัฐบาลสาธารณรัฐอุซเบกิสถานเสนอแต่งตั้งกงสุลใหญ่สาธารณรัฐอุซเบกิสถานประจำประเทศไทย (นายฟาคริดดิน ซุลตานอฟ) | กต. | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายฟาคริดดิน ซุลตานอฟ (Mr. Fakhriddin Sultanov) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่สาธารณรัฐอุซเบกิสถานประจำประเทศไทย
สืบแทน นายอะซีซ อะลีเยฟ (Mr. Aziz Aliev) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
265 | รัฐบาลสหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิสเสนอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิสประจำประเทศไทย (นายเควิน เอ็ม. ไอแซก) | กต. | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายเควิน เอ็ม. ไอแซก (Mr. Kevin M. Isaac) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิสประจำประเทศไทยคนแรก
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
266 | รัฐบาลนิวซีแลนด์เสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย (นายโจนาทาน เดล คิงส์) | กต. | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายโจนาทาน เดล คิงส์ (Mr. Jonathan Dale Kings)
ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร
สืบแทน นายทาฮาโมอานา ไอเซอา คลูนี แมกเฟอร์ซัน (Mr.
Tahamoana Aisea Cluny Macpherson) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
267 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายวรณัฐ คงเมือง) | นร.08 | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายวรณัฐ คงเมือง ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการระดับสูง) กองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
268 | การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ) | กค. | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ เป็นกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเพิ่มเติมในตำแหน่งที่ว่าง
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๔ มกราคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
269 | รายงานผลการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 และข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานเชิงนโยบาย | วธ. | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑๑ และข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานเชิงนโยบาย ซึ่งจัดในรูปแบบออนไลน์
ภายใต้แนวคิด “คุณธรรมวิถีใหม่ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านคุณธรรมให้กับประชาชน
โดยจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ของกลุ่มเครือข่ายทางสังคมทุกภาคส่วน
จนก่อให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นและข้อเสนอเพิ่มเติมของกระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน
ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรต่อยอดการคิดค้นและพัฒนาระบบเครดิตทางสังคมให้เป็นเครื่องมือในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีงามของคนในสังคมอย่างยั่งยืน
มีการบูรณาการงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
รวมทั้งเพิ่มบทวิเคราะห์และสรุปผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ไว้ในรายงานครั้งต่อไป
นำข้อเสนอเชิงนโยบาย เช่น การส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาคน
การสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างระบบเครดิตทางสังคมไปประกอบการพิจารณาและจัดทำแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และบูรณาการการทำงานกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมของคนในชาติให้เกิดผลในทางปฏิบัติและบรรลุเป้าหมายความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๒.
ให้หน่วยงานของรัฐรับข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
270 | ขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์ หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย และโครงการร้อยใจรักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ | กห. | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้กระทรวงกลาโหมได้รับการผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๒ (เรื่อง ขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
เพื่อก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคง) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
๒๕๓๘ [เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง
การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคตะวันตก ภาคกลาง และลุ่มน้ำป่าสัก
และการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนอื่น ๆ
(ลุ่มน้ำชายแดน)] เพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
ในการดำเนินโครงการพัฒนาดอยดุง จังหวัดเชียงราย และโครงการร้อยใจรักษ์
จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ ให้กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(หนังสือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด่วนที่สุด ที่ ทส ๐๒๒๐.๒/๑
ลงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๕) สำนักงบประมาณ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน
โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ควบคู่กันไป
หากมีความจำเป็นที่จะดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่
กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้โครงการจะต้องปฏิบัติตามข้อเสนอแนะมาตรการการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำ
เช่น การบำรุงรักษาป่าธรรมชาติ
การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่รกร้างว่างเปล่าป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าอย่างเข้มงวด
และบริเวณที่ราษฎรดั้งเดิมให้จัดที่ทำกินให้เป็นการถาวร เพื่อมิให้มีการโยกย้ายและทำลายป่าขยายขอบเขตออกไปอีก
เป็นต้น ตลอดจนควรมีแผนการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามมาตรการและข้อเสนอแนะต่าง
ๆ พร้อมทั้งแผนการบำรุงรักษาและแผนการสร้างจิตสำนึกของชุมชนในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
และให้กองทัพบก กระทรวงกลาโหม ควรประสานการดำเนินงานร่วมกับกรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชนในพื้นที่โครงการต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. สำหรับการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ (เรื่อง การดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า)
เกี่ยวกับการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ นั้น
ให้กระทรวงกลาโหม (กองทัพบก)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปหารือร่วมกับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ชัดเจน
แล้วดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป |