ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 11 จากทั้งหมด 14 หน้า แสดงรายการที่ 201 - 220 จากข้อมูลทั้งหมด 270 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
201 | การนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว - อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน | ทส. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึงและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูเขียว-อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนเพิ่มเติม
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้แก่ (๑)
การดำเนินการไม่เป็นการจัดทำสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒)
ควรให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการเสนออุทยานเป็นมรดกโลกแห่งอาเซียน
(๓) ค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
เห็นควรให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
และ (๔) การรวมพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
และอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อาจจะมีผลกระทบต่อแผนการพัฒนาทางหลวงหมายเลข ๑๒ ให้เป็น
๔ ช่องจราจร ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
202 | รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2564 | กค. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน
(กนง.) ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. ๒๕๖๔ สรุปสาระสำคัญได้
ดังนี้ (๑) เป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับปี ๒๕๖๕ คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๔ ธันวาคม
๒๕๖๔) อนุมัติให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ ๑-๓ เป็นเป้าหมายนโยบายการเงิน
(๒) การประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและแนวโน้ม โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ ๓ (กรกฎาคม-กันยายน)
ปี ๒๕๖๔ หดตัวร้อยละ ๐.๓ จากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๓ และในไตรมาสที่ ๔
(ตุลาคม-ธันวาคม) ปี ๒๕๖๔ มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่วนเศรษฐกิจไทยปี ๒๕๖๔
คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ ๐.๙ และจะขยายตัวต่อเนื่องในปี ๒๕๖๕ และ ๒๕๖๖
ที่ร้อยละ ๓.๔ และ ๔.๗ ตามลำดับ และอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวยังอยู่ในกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน
อย่างไรก็ตามเสถียรภาพระบบการเงินในช่วงครึ่งหลังของปี ๒๕๖๔
ยังคงเปราะบางจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ หลายระลอก (๓) การดำเนินนโยบายการเงิน
ในช่วงครึ่งหลังของปี ๒๕๖๔ กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ
๐.๕ ต่อปี ส่วนการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน กนง.
เห็นควรผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้มีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กนง.
ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน เช่น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการพักชำระหนี้สำหรับลูกหนี้ SMEs
และรายย่อย และ (๔) ที่ประชุม กนง.
ครั้งที่ ๘/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๔ มีมติให้ปรับจำนวนการประชุม กนง. จาก ๘ ครั้งต่อปี
เป็น ๖ ครั้งต่อปี
เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของของเศรษฐกิจและลดความผันผวนจากการคาดการณ์ของตลาดการเงินต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
203 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. .... | นร.05 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อให้ระบบการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา
สามารถเชื่อมโยงผ่านระบบดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ
ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลและระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
รวมทั้งให้สามารถตอบสนองความต้องการของหน่วยงานของรัฐและประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น
กรณีร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ ๘ และข้อ ๑๑ ซึ่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไขใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ว่า
ก่อนที่จะกำหนดควรมีการรับฟังความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย
ควรมีการกำหนดรูปแบบและวิธีการ
เพื่อความชัดเจนและเป็นมาตรฐานในการดำเนินการของหน่วยงานเจ้าของเรื่อง
ให้ความสำคัญกับความหลากหลายของช่องทางการรับรู้และวิธีการเผยแพร่ที่ประชาชนเข้าถึงได้สะดวก
มีรูปแบบที่เข้าใจได้โดยง่าย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
204 | ผลการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย ครั้งที่ 2 | พณ. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
205 | มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ | พน. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบแนวทางการประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐ
เพื่อให้หน่วยงานราชการนำไปปฏิบัติ และได้ผลประหยัดพลังงานตามเป้าหมายที่กำหนด ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะกำหนดระเบียบหรือหลักเกณฑ์อย่างชัดเจนเพื่อเป็นมาตรฐานในการให้หน่วยงานสามารถนำไปใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ
ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศอย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งดำเนินการตามแนวทางประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐ
ในข้อ ๑ และให้รายงานผลการดำเนินการดังกล่าวในเว็บไซต์ของกระทรวงพลังงาน www.e-report.energy.go.th เป็นประจำทุกเดือน แล้วให้กระทรวงพลังงาน
(สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน)
รวบรวมข้อมูลทั้งหมดในภาพรวมเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาสต่อไป ๓. ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
206 | ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ [ร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....] | สผ. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบข้อสังเกตและผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ
[ร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ เป็นผู้เสนอ] มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารเป็นผู้กระทำผิดกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารเป็นผู้เสียหาย
เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.
๒๔๙๘ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๒. ให้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา กับคณะ
เป็นผู้เสนอ)
ที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการไปยังสภาผู้แทนราษฎรภายในกำหนดเวลา
พร้อมแจ้งข้อสังเกตดังกล่าวไปเพื่อประกอบการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
207 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พ.ศ. .... | นร.01 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา
๑๕ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา
๑๕ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
ให้สอดคล้องกับระดับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปัจจุบัน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น
ควรกำหนดขอบเขตประเภทหรือระดับตำแหน่งของผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้มีความชัดเจน
และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีควรเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุมประเภทและระดับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น
ๆ ด้วย เช่น กองทุนที่เป็นนิติบุคคล หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ สถาบันภายใต้มูลนิธิ
อันจะช่วยให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
ที่เห็นว่ากรณีของรัฐที่มีการจัดตั้งใหม่ เช่น
องค์การมหาชนที่มีการจัดตั้งขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ
มีผลใช้บังคับอาจต้องพิจารณากำหนดหรือปรับปรุงรายชื่อหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นไว้ในร่างกฎกระทรวงฯ
ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
208 | รายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | คค. | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑)
การแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน
และ (๒)
การประชุมคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ ดังนี้ ๑) ผลการตรวจสอบการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การจัดประชุมหารือร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อแก้ไขปัญหาในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
การผลักดันการนำระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินการ การเพิ่มมาตรการการกำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
และ ๒) แนวทาง นโยบาย มาตรการทางกฎหมาย และวิธีการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
209 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2560) | มท. | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
(สีม่วง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)
รวมทั้งปรับปรุงบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. ๒๕๖๐
ตลอดจนปรับปรุงรายการประกอบแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี
พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
และเพื่อการสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
(S-Curve)
และอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (New S-Curve)
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมการก่อสร้างต่าง
ๆ ไม่ให้กีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
จำเป็นต้องมีมาตรการที่เหมาะสม
ควรคำนึงถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และควรคำนึงถึงจำนวนสถานประกอบกิจการต่อพื้นที่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
และสุขลักษณะอาคารไม่ให้เกิดความแออัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
210 | ขอถอนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... (การปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2554) | กค. | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงการคลังถอนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ
พ.ศ. ....
(การปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ
พ.ศ. ๒๕๕๔) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
211 | การขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค (งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) | นร.01 | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
จำนวนทั้งสิ้น ๓๙๕,๑๔๗,๐๙๘ บาท ตามนัยพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๑๖ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงบประมาณ
โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และกำกับ ติดตามการใช้จ่ายเงินอุดหนุนฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด
การพิจารณาเป้าหมาย ประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธิ์ และผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค
ไปดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
ขอให้สภาองค์กรของผู้บริโภครับข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรพิจารณาให้ความสำคัญกับแผนงานโครงการที่ส่งผลต่อการคุ้มครอง พิทักษ์สิทธิ์
ผู้บริโภค และการให้ความรู้แก่ประชาชนโดยตรงเป็นลำดับแรก และพิจารณานำเงินรายได้ของสภาองค์กรผู้บริโภคมาดำเนินการ
รวมทั้งพิจารณาความซ้ำซ้อนของกิจกรรมที่เสนอขอ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
212 | ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากร) | ศย. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากรและให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าว
โดยอนุโลมกำหนดให้การออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการพิจารณาในส่วนคดีอาญาต้องไม่ทำให้สิทธิในการต่อสู้คดีอาญาของจำเลยลดน้อยลงกว่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
แก้ไขเพิ่มเติมการรับทราบกำหนดนัดของศาลในคดีศาลเพ่ง
และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ ฎีกา คำพิพากษา
หรือคำสั่งศาลในคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากร
รวมถึงให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวในศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษและศาลฎีกาโดยอนุโลม
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
เช่น แก้ไขกฎหมายให้มีความครอบคลุม ชัดเจน
และสอดคล้องกับหลักการของกฎหมายภาษีอากรที่ดีมากยิ่งขึ้น เพิ่มเติมถ้อยคำว่า
“เจ้าหน้าที่” ไว้ในมาตรา ๗ (๑) ด้วย หากมีการแก้ไขถ้อยคำในมาตรา ๗ (๑)
ดังกล่าวจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในมาตราอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งในคดีภาษีอากรและคดีอาญาควบคู่กันด้วย
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ๓. ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เช่น ควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๘ โดยตัดข้อความ
“เกี่ยวกับภาษีอากร” ออก
ก็จะส่งผลให้คดีคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวกับภาษีอากรในเรื่องอื่น ๆ
ที่มิใช่การประเมินภาษีอากรนั้นจะต้องผ่านการอุทธรณ์โดยถูกต้องตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองก่อน
จึงจะฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้ การเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจของศาลตามที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้จะไม่กระทบต่อการดำเนินงานตามภารกิจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรม
ควรพิจารณาดำเนินการปรับปรุงอาคารศาลเดิมเป็นสถานที่ทำการแทนการลงทุนก่อสร้างอาคารที่ทำการแห่งใหม่
อันเป็นการคำนึงถึงความคุ้มค่าและต้นทุนที่อาจลดลงได้ พิจารณากรอบอัตรากำลังข้าราชการตุลาการและข้าราชการศาลยุติธรรมเพื่อให้สอดรับกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
พิจารณาเกลี่ยอัตรากำลังที่ปฏิบัติงานในส่วนคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากรจากศาลยุติธรรมอื่นก่อนเป็นลำดับแรก
พิจารณานำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี และการบริหารจัดการคดีของศาลภาษีอากร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการ
และมอบหมายให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม และคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
ร่วมกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
213 | ขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (1. นายพรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ฯลฯ จำนวน 3 คน) | ยธ. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จำนวน ๓ คน ตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑ มีนาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้ ๑. นายพรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ๒.
นายอุทัย สินมา
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
214 | ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 (เรื่อง รายงานผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 41) เพื่อศึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวงหมายเลข 348 เชื่อมโยงอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว - อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ | คค. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมเข้าทำการศึกษา สำรวจ
เก็บข้อมูลในเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘
เพื่อประกอบการพิจารณาทางเลือกในการขยายทางหลวงแผ่นดินเชื่อมโยงอำเภออรัญประเทศ
จังหวัดสระแก้ว กับอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
และเมื่อกระทรวงคมนาคมทำการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว
ให้เร่งแจ้งผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะหน่วยงานหลัก
(Focal point) ที่รับผิดชอบด้านมรดกโลกของประเทศไทยเพื่อดำเนินการแจ้งศูนย์มรดกโลกต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เช่น
การดำเนินการของกระทรวงคมนาคมต้องเป็นการเข้าไปเพื่อทำการศึกษาและสำรวจความเป็นไปได้เท่านั้น
โดยไม่มีนัยในการอนุมัติโครงการใด ๆ กระทรวงคมนาคมควรแจ้งผลการศึกษาให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแจ้งศูนย์มรดกโลกเพื่อทราบและเสนอข้อคิดเห็น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
215 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พ.ศ. .... | กษ. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลทรายขาว
อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลทรายขาว
อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน
ในการสร้างอ่างเก็บน้ำทำนบดิน หัวงาน
และอาคารประกอบตามโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริตำบลทรายขาว
อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ
และความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
216 | รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 | กค. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ เช่น
การปรับโครงสร้างและปรับลดขนาดองค์กร การปรับปรุงฝูงบิน การปรับลดต้นทุน การจำหน่ายทรัพย์สินรอง การหารายได้
การหาแหล่งเงินทุน และ (๒) การขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การขอให้ธนาคารเจ้าหนี้คืนเงินกองทุนบำเหน็จของพนักงาน
บกท. การขอรับการสนับสนุนด้านการจัดสรรงบประมาณหน่วยงานของรัฐในการชำระหนี้คงค้างแก่
บกท. การขอรับการสนับสนุนกระบวนการขออนุญาตโอน (จำหน่าย) อากาศยานแก่ผู้ซื้อ
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
217 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายวิวัฒน์ เขาสกุล) | กค. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายวิวัฒน์ เขาสกุล ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพสามิต ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ภาษีสรรพสามิต (นักวิชาการสรรพสามิตทรงคุณวุฒิ)
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง
ตั้งแต่วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
218 | หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] (ฉบับที่ 8) | สธ. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] (ฉบับที่ ๘) โดยมีการปรับอัตราค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินที่อยู่ในสภาวะอันตรายได้รับสิทธิที่จำเป็นและเหมาะสมต่อการรักษาพยาบาล
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข อัตราที่กำหนด และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
พร้อมกับดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายของกระทรวงการคลังด้วย นอกจากนี้
การปรับลดหลักเกณฑ์ดังกล่าวควรคำนึงถึงคุณภาพการให้บริการเป็นสำคัญ
เพื่อไม่ให้กระทบต่อการรับบริการและการให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลของประชาชนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
219 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. 2564-2568 (Draft ASEAN Work Plan on Youth 2021-2025) | พม. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน
พ.ศ. ๒๕๖๔–๒๕๖๘ (Draft ASEAN Work Plan on Youth
2021-2025) และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่รับผิดชอบงานด้านเยาวชนของประเทศไทยมีหนังสือแจ้งการรับรองร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ
ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน [ASEAN Secretariat (ASEC)] ในโอกาสแรกภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว
โดยร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ มีความสอดคล้องกับมาตรการเชิงกลยุทธ์และผลลัพธ์ของแผนงานประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
๒๐๒๕ และมีวิสัยทัศน์ คือ
มุ่งสู่เยาวชนอาเซียนที่พร้อมรับอนาคตโดยเสริมทักษะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑
และทักษะดิจิทัล และการสร้างสถาบันกลไกของการมีส่วนร่วมของเยาวชน
รวมถึงการกำหนดนโนบายระดับภูมิภาค ซึ่งร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ ประกอบด้วย
ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย ๕ ประเด็นหลัก ๕ ผลลัพธ์ระยะสั้น ๑๓ ผลผลิต และ ๑๔ โครงการ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๘
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนทุกกลุ่มได้มีโอกาสเข้าถึง
มีส่วนร่วม และได้รับประโยชน์จากกิจกรรม/โครงการอย่างทั่วถึง
ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างของเยาวชนอาเซียน และก่อให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเท่าเทียมและยั่งยืน
ให้ความสำคัญในการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการภายใต้ร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ
เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนสามารถบรรลุตามผลลัพธ์และผลผลิตที่กำหนดไว้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
220 | หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] | สธ. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่า
เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องนี้เป็นไปอย่างรอบคอบ เหมาะสม
สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในปัจจุบัน
รวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและประชาชนในทุกภาคส่วนได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างถูกต้อง
ชัดเจน ทั่วถึง และมีความมั่นใจในการรบริหารจัดการการสาธารณสุขของประเทศ
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ ดังนี้ ๑. ให้เลื่อนการพิจารณาเรื่องนี้ออกไปก่อน ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน
กระทรวงการคลัง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการในเรื่องนี้ต่อสาธารณชนให้ถูกต้อง
ชัดเจน ครบถ้วน และทั่วถึง โดยด่วน ๓.
ให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งประสานกระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลรูปแบบต่าง ๆ อาทิ
ศูนย์กักกันแยกในชุมชน (Community Isolation) และโรงพยาบาลสนาม
เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยในแต่ละกรณีให้เพียงพอ ๔. ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทยเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเพิ่มศักยภาพของช่องทางการติดต่อสื่อสารของระบบบริการรักษาพยาบาล (เช่น
โทรสายด่วน สปสช. ๑๓๓๐)
และเพิ่มจำนวนบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถติดต่อและได้รับการดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร)
พิจารณาใช้กลไกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครในการชี้แจงทำความเข้าใจ
รวมทั้งติดต่อประสานงานในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยในแต่ละท้องที่ด้วย ๕. ให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาชะลอการบังคับใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ
กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิ 19 [Coronavirus
Disease 2019 (COVID-19)]
และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติอต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ
กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 19 [Coronavirus Disease
2019 (COVID-19)] การระดมทรัพยากร
และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาและการจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น
ไว้ก่อน ๖.
ให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|