ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 10 จากทั้งหมด 14 หน้า แสดงรายการที่ 181 - 200 จากข้อมูลทั้งหมด 270 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
181 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงานศาลปกครอง | ศป. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ ของสำนักงานศาลปกครอง ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
และงบแสดงผลการดำเนินการทางการเงิน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
182 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)] | กค. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19)] มีสาระสำคัญเป็นการการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(สปน.) ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร
และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการสำหรับการบริจาคสินค้าให้แก่ สปน.
เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่
๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก ตลอดจนติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการ ๒๗ ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
183 | สารบาหลี (Bali Message) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการทูตดิจิทัล | กต. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบสารบาหลี (Bali
Message) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการทูตดิจิทัล
“ถอดหน้ากากการทูตดิจิทัลในยุค New Normal” (Bali Message on International
Cooperation in Digital Diplomacy “Unmasking Digital Diplomacy in the New
Normal”) เพื่อที่จะได้นำผลการพิจารณาแจ้งฝ่ายอินโดนีเซียทราบในโอกาสแรก
โดยสารบาหลีฯ เป็นเอกสารสารผลลัพธ์การประชุม International Conference on
Digital Diplomacy ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ณ
เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในรูปแบบกึ่งออนไลน์ เพื่อให้เกิดการตระหนักร่วมกันเกี่ยวกับความสำคัญของการทูตดิจิทัลที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงและมีส่วนช่วยในการปกป้องผลประโยชน์ร่วมกัน
ทั้งในกระบวนการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ
และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยจะใช้ ๕
ประเด็นหลักในการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเติบโตที่สร้างสรรค์ ครอบคลุม
และยั่งยืน ไปพร้อมกับการเชื่อมโยงความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลระหว่างประเทศต่าง ๆ
ได้แก่ (๑) การพัฒนากรอบนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนการทูตดิจิทัล (๒)
การจัดการวิกฤตผ่านการทูตดิจิทัล (การแลกเปลี่ยนข้อมูล) (๓)
การจัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนการทูตดิจิทัล
(การยกระดับการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ) (๔)
นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ (๕)
การเสริมสร้างขีดความสามารถและการมีส่วนร่วมทางดิจิทัลให้แก่สตรี เด็ก คนชรา
ผู้พิการ และผู้ที่อยู่ชายขอบของทุกประเทศ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ขอแก้ไขถ้อยคำในสารบาหลี
(Bali Message) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการทูตดิจิทัล
“ถอดหน้ากากการทูตดิจิทัลในยุค New Normal” บาหลี, ๑๖
พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๒๑ ฉบับภาษาไทย ในหน้าที่ ๒ และ ๔ จากคำว่า “ผู้พิการ” เป็น
“คนพิการ” ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
184 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการนำเข้ายา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ต้าน COVID-19 สำหรับบริจาคเป็นสาธารณกุศล) | กค. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการนำเข้ายา เวชภัณฑ์
และเครื่องมือแพทย์ต้าน COVID-19 สำหรับบริจาคเป็นสาธารณกุศล)
มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการนำเข้าสินค้าที่ใช้รักษา
วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
เพื่อบริจาคเป็นสาธารณกุศลให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ
หน่วยงานของรัฐ และองค์การหรือสถานสาธารณกุศลหรือสถานพยาบาล ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข)
แห่งประมวลรัษฎากร ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
โดยไม่นำต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับการนำเข้าและบริจาคที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
185 | ร่างพระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแยกสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์เพื่อไปรวมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์
เพื่อให้การบริหารงานของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์มีประสิทธิภาพ คล่องตัว
มีความเป็นอิสระทางวิชาการ การบริหารงาน และการบริหารงบประมาณ
อันจะส่งผลให้สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์สามารถบูรณาการการบริหาร การเรียนการสอน
การวิจัยและนวัตกรรมได้อย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด
และสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๓. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นว่า ควรพิจารณากำหนดข้อบังคับ
ระเบียบ หรือประกาศเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลแต่ละประเภทให้มีความชัดเจน
และสอดคล้องกับรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์กร โดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของพนักงานหรือลูกจ้างในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
เพื่อให้การดำเนินการของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
186 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดทุนทรัพย์การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่น พ.ศ. .... | นร.12 | 19/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดทุนทรัพย์การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่น
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ของการไกล่เกลี่ย
และประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มิใช่ข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดิน มรดก
จากเดิมที่กำหนดจำนวนทุนทรัพย์ไว้ไม่เกินสองแสนบาท เป็น จำนวนไม่เกินสองล้านบาท
ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่นของประชาชน
เพื่อให้การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่นมีความเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ตามที่สำนักงาน
ก.พ.ร. เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม ที่เห็นควรให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาประโยชน์ในกรณีนำพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
พ.ศ. ๒๕๖๒ มาพิจารณาประกอบการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวข้างต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
187 | รายงานประจำครึ่งปี (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564) ของธนาคารแห่งประเทศไทย | กค. | 19/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำครึ่งปี
(กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๔) ของธนาคารแห่งประเทศไทย สรุปได้ ดังนี้ (๑)
เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี ๒๕๖๔ ขยายตัวที่ร้อยละ ๐.๙
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากในช่วงครึ่งแรกของปี การลงทุนภาคเอกชนปรับลดลง
ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐยังขยายตัว
ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในประเทศยังเปราะบาง โดยไตรมาสที่ ๓ ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ที่รุนแรง แต่เริ่มดีขึ้นในไตรมาสที่ ๔ ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ ๑.๕๖
เพิ่มขึ้นจากในช่วงครึ่งแรกของปีที่อยู่ที่ร้อยละ ๐.๘๙
และเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยยังเข้มแข็ง สามารถรองรับความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้
(๒) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการดำเนินการ เช่น การดำเนินนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ย
โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ
๐.๕๐ ต่อปี และประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องแต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งนี้ ภาครัฐมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
การประเมินนโยบายระบบการชำระเงิน พบว่า แนวโน้มการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยอยู่ที่ร้อยละ ๕๔.๓ ส่วนการใช้บริการผ่าน Mobile
Banking/Internet Banking เติบโตขึ้นร้อยละ
๖๗.๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
188 | รายงานผลความคืบหน้าการดำเนินคดีอาญากับผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริตในการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ครั้งที่ 2 | ตช. | 19/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินคดีอาญากับผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริตในการดำเนินงานโครงการต่าง
ๆ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา
และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ครั้งที่ ๒ โดยระหว่างวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๔-๑ มกราคม ๒๕๖๕
มีการดำเนินคดีทั้งสิ้น ๔๓๕ คดี
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อหา/ฐานความผิดเกี่ยวกับร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น
ฉ้อโกง ฉ้อโกงประชาชน ฉ้อโกงและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ ได้แก่ (๑) แยกเป็นโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ๓๒๓ คดี
โครงการคนละครึ่ง ๑๑๐ คดี และโครงการเราชนะ ๒ คดี และ (๒)
แยกเป็นคดีที่อยู่ระหว่างการสอบสวน ๓๖๓ คดี สอบสวนเสร็จส่งพนักงานอัยการ ๓๗ คดี
และอื่น ๆ ๓๕ คดี เช่น ชดเชยค่าเสียหายก่อนร้องทุกข์ และถอนคำร้องทุกข์ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
189 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 | คค. | 19/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓
โดยรายงานดังกล่าวประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุนและงบกระแสเงินสด
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วมีความเห็นว่า
รายงานการเงินดังกล่าวแสดงฐานะการเงินของกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ณ
วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน
โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป ทั้งนี้
ให้กระทรวงคมนาคมนำรายงานในเรื่องนี้ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อรัฐสภาได้รับทราบรายงานดังกล่าวแล้ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
190 | ขอปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 | พน. | 12/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า
(Transmission System Improvement
Project in Eastern Region to Enhance System Security : TIPE) (โครงการ TIPE) และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่
ระยะที่ ๓ (Independent Power Producer 3 : IPP3) (โครงการ IPP3) และอนุมัติวงเงินงบประมาณลงทุนในปี
พ.ศ. ๒๕๖๔ และปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สำหรับโครงการ TIPE และโครงการ IPP3
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๗/๑๘๙๓๙ ลงวันที่๑๕ กันยายน ๒๕๖๔)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่
สกพ ๕๕๐๑/๐๐๓๖ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔) เช่น
ควรศึกษาและพิจารณาแนวทางการดำเนินการไม่ให้มีผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าของประชาชนทั่วประเทศ
ควรกำหนดมาตรการบริหารจัดการเงินและการลงทุนให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และต้องดำเนินการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเร็วเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานได้ตามแผนงานที่วางไว้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานกำกับการดำเนินโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า
และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ระยะที่ ๓
ให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งบริหารความเสี่ยงของโครงการที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อมิให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการเพิ่มเติม
ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนของทั้งสองโครงการเพิ่มขึ้นในอนาคต |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
191 | การกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล | รง. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา
๑๓ (๒) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล
สำหรับลูกจ้างเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินวันละ ๑,๕๐๐ บาท
และสำหรับบุคคลในครอบครัวเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินวันละ ๑,๑๐๐ บาท ซึ่งสิทธิสำหรับบุคคลในครอบครัวจะต้องเป็นสิทธิที่อยู่เดิม
ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐
สิงหาคม ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าในการดำเนินการดังกล่าวแต่ละรัฐวิสาหกิจจะต้องคำนึงถึงสถานะทางการเงิน
ผลการดำเนินงานของกิจการ ขีดความสามารถในการหารายได้
และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมรายจ่ายที่จะเกิดขึ้น
เพื่อมิให้กระทบต่อการใช้จ่ายเงินทุนสำหรับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
192 | ขอความเห็นชอบการจัดสวัสดิการรถจักรยานยนต์เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ให้แก่พนักงาน โดยให้พนักงานกู้เงินจากการประปานครหลวงแบบไม่คิดอัตราดอกเบี้ย ในวงเงินการจัดสวัสดิการ จำนวน 30 ล้านบาท | มท. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดสวัสดิการรถจักรยานยนต์เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ให้แก่พนักงานของการประปานครหลวง
(กปน.) โดยให้พนักงานกู้เงินจาก กปน. แบบไม่คิดอัตราดอกเบี้ย ในวงเงินจัดสวัสดิการ
จำนวน ๓๐ ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทย โดย กปน.
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ในการจัดสวัสดิการดังกล่าวควรพิจารณาค่าใช้จ่ายในภาพรวม
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงิน ผลการดำเนินงานของกิจการ มีการจัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานหรือเพิ่มรายได้อย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและไม่ก่อให้เกิดภาระแก่ประชาชน
และเห็นควรพิจารณาการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานที่จะได้รับสวัสดิการให้สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินงานขององค์กรในปัจจุบันที่บางส่วนได้ปรับปรุงรูปแบบเป็นการจ้างบุคคลภายนอกดำเนินงานแล้ว
ตลอดจนให้ความสำคัญสำหรับการใช้จ่ายเงินขององค์กรอย่างระมัดระวังด้วยความรอบคอบ
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดในภาพรวมขององค์กรประกอบด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
193 | การขอเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) | นร.08 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอดังนี้ ๑.
รับทราบการเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อดำเนินการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่
๕ (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) ระหว่างบ้านดอนยม ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ประเทศไทย
กับ บ้านก้วยอุดม เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทั้งนี้
เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดจะต้องปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวทันที ๒.
มอบให้กระทรวงคมนาคมประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำเงื่อนไขข้อกำหนด
และการควบคุมดูแลไม่ให้มีผลกระทบในด้านต่าง ๆ ๓.
การดำเนินการใด ๆ จะต้องระมัดระวังมิให้เกิดความเสียหายและผลกระทบต่อความมั่นคง
โดยต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๒ เรื่อง
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการก่อสร้างถนนหรือกระทำกิจการใด ๆ ตามบริเวณชายแดน
และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ เรื่อง การระงับการก่อสร้างถนนบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม
จังหวัดสุรินทร์อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามและจัดเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขง
เพื่อเฝ้าระวังผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างสะพาน
และหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากประเทศที่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงร่วมกัน
ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 อย่างเคร่งครัด ควรกำหนดช่วงเวลาเปิด-ปิดจุดผ่านแดนชั่วคราว ในแต่ละวัน รวมทั้งกำหนดประเภทของยานพาหนะ เครื่องจักร/อุปกรณ์
บุคคลเข้าออก และจำกัดอาณาเขตพื้นที่การข้ามแดนให้ชัดเจน
และเร่งรัดการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๕ (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)
ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
194 | ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 8 | กค. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน
ครั้งที่ ๘ (Joint Statement of the 8th ASEAN Finance Ministers’
and Central Bank Governors’ Meeting) ซึ่งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือระหว่างกันของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
ในการขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
195 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545 พ.ศ. .... | นร16 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๕ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ รวม ๒ ฉบับ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
196 | การขอความเห็นชอบการต่อวาระการดำรงตำแหน่งของนายวันชัย รุจนวงศ์ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิเด็ก | พม. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการต่อวาระการดำรงตำแหน่งของนายวันชัย
รุจนวงศ์
ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิเด็ก ต่อไปอีก ๓ ปี (วาระตั้งแต่ ๗ เมษายน ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๘)
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาของประเทศไทย (ASEAN Minister in Charge of Social Welfare and
Development of Thailand) มีหนังสือแจ้งเรื่องการต่อวาระการดำรงตำแหน่งของนายวันชัย
รุจนวงศ์ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิเด็ก ต่อไปอีก ๓ ปี ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน ในโอกาสแรก
ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับความเห็นของสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รายการค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ
ที่เสนอตั้งงบประมาณรองรับไว้แล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณต่อ ๆ
ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
197 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... | รง. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวงอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา ๓ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้างและผู้ประกันตนจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ และให้สอดคล้องกับแนวทางการให้ความช่วยเหลือตามมาตรการเร่งด่วน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ
รวมทั้งวางแผนการดำเนินงานทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
และควรเร่งมาตรการรองรับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพกองทุนและลดภาระทางการคลังของภาครัฐในระยะยาว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
198 | การเลื่อนเวลาการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 12 เมษายน 2565 | นร 05 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีรายงานว่า
เนื่องในวันอังคารที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๕
นายกรัฐมนตรีมีภารกิจสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ
ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ทำให้ไม่สามารถจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีในเวลา
๐๙.๐๐ น. ได้ จึงมีบัญชาให้เลื่อนเวลาการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๕ จากเดิมเวลา ๐๙.๐๐ น เป็นเวลา
๑๐.๐๐ น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล
ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
199 | ขออนุมัติดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จังหวัดระยอง | กษ. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. อนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) ดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จังหวัดระยอง ภายในกรอบวงเงิน
๓,๕๖๑,๖๒๐,๐๐๐ บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ ๔ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕-พ.ศ. ๒๕๖๘)
สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่ดินและการแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้ใช้จ่ายจากรายการค่าซื้อที่ดิน ค่าทดแทน ค่ารื้อย้ายในการจัดหาที่ดิน
จำนวน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และรายการค่าใช้จ่ายตามแผนการป้องกัน แก้ไข
และพัฒนาสิ่งแวดล้อม จำนวน ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท ที่ได้จัดสรรงบประมาณรองรับไว้แล้ว
ส่วนที่เหลือขอให้กรมชลประทานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามความสามารถในการใช้จ่ายและการก่อหนี้ผูกพันภายในปีงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอย่างเคร่งครัด
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความพร้อม ความจำเป็นและเหมาะสม
ตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เช่น (๑)
กรมชลประทานควรวางแผนการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบน้ำที่มีอยู่เดิมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(EEC) กับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จังหวัดระยอง (๒)
กรมชลประทานควรดำเนินการตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ เช่น เร่งรัดออกแบบระบบส่งน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่ชลประทานเต็มศักยภาพ
ศึกษาความเป็นไปได้การเชื่อมโยงกับโครงข่ายน้ำกับพื้นที่ EEC เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) เร่งรัดการดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑
ให้ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการอ่างก็บน้ำคลองโพล้
จังหวัดระยอง ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
200 | ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2565 (ครบ 2 ปี 6 เดือน) และการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal Life) พ.ศ. 2565 | ดศ. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๖๕ (ครบ ๒ ปี ๖ เดือน) และการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal Life) พ.ศ. ๒๕๖๕ เช่น การติดตามข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล ความพึงพอใจในภาพรวมต่อการดำเนินงานของรัฐบาลและนโยบายของรัฐบาล ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ ความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ การปฏิบัติของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ การปรับเปลี่ยนการใช้วิถีชีวิตเป็นแบบ New Normal Life การใช้สื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชัน และนโยบายการให้ประชาชนแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-๑๙ หรือผลการตรวจโรคโควิด-๑๙ เพื่อเข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เช่น การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารหลากหลายช่องทาง การสนับสนุนการเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อความเสี่ยงทางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|