ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 9 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 161 - 180 จากข้อมูลทั้งหมด 260 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
161 | การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยเชิง จังหวัดสุรินทร์ | กษ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
162 | ขอความเห็นชอบการปรับปรุงชื่อ องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น | อว. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
163 | โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8 - 9 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | พน. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ ๘-๙
ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา ๖๐๐ เมกะวัตต์ พร้อมระบบส่งไฟฟ้า
ในวงเงินรวมทั้งสิ้น ๔๗,๔๗๐ ล้านบาท ๑.๒ อนุมัติงบประมาณประจำปี ๒๕๖๕ ตามแผนประมาณการเบิกจ่ายสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่
๘-๙ จำนวนเงินทั้งสิ้น ๓,๗๙๕ ล้านบาท ๒.
ให้กระทรวงพลังงานและ กฟผ. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น (๑)
การดำเนินโครงการฯ
ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับร่างแผนพลังงานแห่งชาติซึ่งสนับสนุนให้ไทยสามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
(๒) กฟผ. ควรจัดทำรายงานการติดตามและประเมินผลการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เพื่อชี้แจงให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ (๓) กฟผ.
ควรดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่าตามมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ และ (๔) กระทรวงพลังงานควรกำกับดูแลให้ กฟผ.
ดำเนินโครงการฯ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้มีการขอปรับเพิ่มเงินลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการในภายหลัง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
164 | รัฐบาลสาธารณรัฐฟิจิเสนอขอให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟิจิประจำสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีเขตอาณาครอบครุมประเทศไทย และแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐฟิจิประจำประเทศไทย (นายอะเมนาตาเว วากาซาวูวังกา เยาโวลี) | กต. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ดังนี้ ๑.ให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟิจิประจำสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ๒. แต่งตั้ง นายอะเมนาตาเว วากาซาวูวังกา เยาโววี (Mr. Amenatave Vakasavuwaqa Yauvoli) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐฟิจิประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สืบแทน นายโกลีนีโอ กาตา
ตากาลี (Mr. Kolinio Gata Takali)
ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
165 | การสิ้นสุดหน้าที่ของกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำกรุงซันโตโดมิงโก และการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงซันโตโดมิงโก สาธารณรัฐโดมินิกัน (นางมาเรียโฮเซ ตูรุย มาโยล) | กต. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. รับทราบการสิ้นสุดหน้าที่ของ นายกุสตาโว เอนริเก ตูรุย ดูเบรย์ล (Mr. Gustavo Enrique Turull Du’Breil) กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำกรุงซันโตโดมิงโก สาธารณรัฐโดมินิกัน เนื่องจากถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๙ ๒. อนุมัติแต่งตั้ง นางมาเรียโฮเซ ตูรุย มาโยล (Mrs. Mariajose Turull Mayol)
ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงซันโตโดมิงโก สาธารณรัฐโดมินิกัน คนใหม่
โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมสาธารณรัฐโดมินิกัน
สืบแทน นายนายกุสตาโว เอนริเก ตูรุย ดูเบรย์ล ทั้งนี้
โดยคงสถานะของสถานทำการทางกงสุล เป็น สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ กรุงซันโตโดมิงโก
ไว้เช่นเดิม
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
166 | ขออนุมัติกรอบวงเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 เพิ่มเติม | พณ. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบการเพิ่มกรอบวงเงินงบประมาณโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต ๒๕๖๔/๖๕ จากเดิม
๕๔,๙๗๒.๗๒
ล้านบาท เป็น ๕๕,๕๖๗.๓๖ ล้านบาท จำแนกเป็น ๑.๑ วงเงินที่จ่ายให้เกษตรกร จากเดิม จำนวน
๕๓,๘๗๑.๘๔ ล้านบาท เพิ่มขึ้น
๕๘๓.๑๐ ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔,๔๕๔.๙๔ ล้านบาท ๑.๒ ค่าชดเชยต้นทุนเงิน จากเดิม จำนวน ๑,๐๗๗.๔๔ ล้านบาท เพิ่มขึ้น ๑๑.๕๔ ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น
๑,๐๘๘.๙๘ ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะใช้จ่ายจากงบประมาณคงเหลือจากโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปี ๒๕๖๔/๖๕ (โครงการประกันรายได้ฯ) ๒.
รับทราบการขยายระยะเวลาตามที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติเห็นชอบแล้ว
ดังนี้ ๒.๑ ขยายระยะเวลาการจ่ายเงิน จากเดิม
สิ้นสุดวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕ เป็น สิ้นสุดวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๒.๒ ขยายระยะเวลาโครงการ จากเดิม
สิ้นสุดวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เป็น สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ เช่น
ควรมีการวางระบบที่สามารถตรวจสอบและประมาณการจำนวนครัวเรือนเกษตรกรทั้งพื้นที่ขึ้นทะเบียนที่ถูกต้อง
รัดกุมให้เป็นไปตามข้อเท็จจริง มีกระบวนการตรวจสอบและรับสิทธิ
การสำรวจพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมย่างรัดกุมตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการรับสิทธิ และคุ้มค่ากับงบประมาณในการดำเนินโครงการ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
167 | การต่ออายุความตกลงว่าด้วยการก่อตั้งศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น (ASEAN - Japan Centre : AJC) | พณ. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการต่ออายุความตกลงว่าด้วยการก่อตั้งศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น
(The Agreement
Establishing the ASEAN Promotion Centre on Trade, Investment and Tourism) ออกไปอีก ๕ ปี [๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ (ค.ศ. ๒๐๒๒)-๒๔ พฤษภาคม ๒๕๗๐ (ค.ศ. ๒๐๒๗)]
และมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งเป็นผู้แทนประเทศไทยในสมาชิกคณะมนตรีของศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น
เป็นผู้แทนในการลงนามให้การรับรองการต่ออายุความตกลงฯ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
168 | ข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส (Implementing Agreement to the Paris Agreement between the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation) | ทส. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส
(Implementing Agreement to the Paris Agreement
between the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation)
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจลงนามในข้อตกลงฯ
โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full powers) เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงนามในข้อตกลงฯ
มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานตามข้อตกลงนี้ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
(องค์การมหาชน) ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานของกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกและระบบทะเบียน
โดยข้อตกลงฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือโดยสมัครใจในการดำเนินงานและการยอมรับการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ
เพื่อใช้สำหรับการดำเนินการตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ที่ควรเน้นย้ำถึงความโปร่งใส
และการไม่นับซ้ำของคาร์บอนเครดิตที่ลดได้พร้อมทั้งความช่วยเหลือในการดำเนินงานของภาคกิจกรรมที่เข้าร่วมในภาคการตกลงต่อไป
ให้ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) พิจารณาดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑ กำหนดโครงการหรือกิจกรรมตามข้อตกลงฯ
ที่จะดำเนินการในประเทศไทยอย่างละเอียดรอบคอบ เหมาะสม
โดยคำนึงถึงผลกระทบและประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ ๒.๒
ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
เพื่อใช้ในการกำกับติดตาม การบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตของประเทศ
รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายใต้ข้อตกลงฯ (เช่น
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ เกณฑ์ในการคำนวณประมาณคาร์บอนเครดิต เป็นต้น)
ให้มีความชัดเจน ครบถ้วน
เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องโดยเร็วด้วย ๒.๓
ร่วมมือ/กำกับติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(Nationally Determined Contribution : NDC)
ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
169 | แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) | พม. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐)
มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท
เพิ่มคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้เพิ่มพูนศักยภาพของตนเองอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติ รองรับสังคมสูงวัยเชิงรุก ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นข้อเสนอแนะ
และข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณสำนักงาน ก.พ.
และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น ควรกำหนดบทบาทของหน่วยงานรับผิดชอบหลัก/หน่วยงานรับผิดชอบร่วมในรูปของผังกระบวนงานหรือ
Work Flow ให้ชัดเจน
ควรมีแนวทางในการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการที่ชัดเจน
อาจเพิ่มตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการเสริมสร้างพลังให้กับผู้สูงวัย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงสาธารณสุข
และกระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ที่เห็นว่าในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ
ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐) นั้น เห็นควรมอบหมายเพิ่มเติมให้กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อส่งเสริมการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยอาจร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย
เพื่อผลิตสิ่งอำนวยความสะดวก/อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
และให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม
รวมทั้งอาจพิจารณาผลิตสิ่งอำนวยความสะดวก/อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อการส่งออกอีกด้วย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
170 | รัฐบาลสหสาธารณรัฐแทนซาเนียเสนอขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สหสาธารณรัฐแทนซาเนียประจำประเทศไทย (นายฟลอเรียน รเวฮุมบีซา ลอเรียน) | กต. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายฟลอเรียน
รเวฮุมบีซา ลอเรียน (Mr. Florean Rwehumbiza
Laurean) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์สหสาธารณรัฐแทนซาเนียประจำประเทศไทย
สืบแทน นายวัฒนา เขียววิมล ซึ่งถึงแก่กรรม ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
171 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565 | นร.11 สศช | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
172 | การเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2563/64 ของเกษตรกรที่มีวันเพาะปลูกก่อน 1 เมษายน 2563 และเก็บเกี่ยวหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2563 (เพิ่มเติม) | พณ. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรับทราบความคืบหน้าผลการดำเนินการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังและมาตรการคู่ขนาน
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ๒.
เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง
โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง และมาตรการคู่ขนาน)
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ เดิม
“เห็นชอบการให้สิทธิเกษตรกรกลุ่มที่แจ้งปลูกตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒-๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓
และมีช่วงเก็บเกี่ยวตั้งแต่ ๘-๑๒ เดือน
รวมทั้งยังไม่เคยได้รับสิทธิในโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี
๒๕๖๒/๖๓ จำนวนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น ๘๔,๑๘๖ ครัวเรือน พื้นที่ ๘๕๖,๕๗๘ ไร่
เข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี ๒๕๖๓/๖๔ โดยได้รับการชดเชยส่วนต่างตามรอบระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวกับกรมส่งเสริมการเกษตร
ภายใต้กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๓”
(ตามหนังสือกระทรวงพาณิชย์ ด่วนที่สุดที่ พณ ๐๔๐๔/๔๑๑๙ ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๔
หน้า ๕ ข้อ ๕.๔) เป็น
“เห็นชอบการให้สิทธิเกษตรกรกลุ่มที่แจ้งปลูกตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒-๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓
และมีช่วงเก็บเกี่ยวตั้งแต่ ๘-๑๒ เดือน และไม่ซ้ำแปลง จำนวน ๒๐๔,๓๓๔ ครัวเรือน (เดิมจำนวน
๘๔,๑๘๖ ครัวเรือน และเพิ่มเติมอีกจำนวน ๑๒๐,๑๔๘ ครัวเรือน) ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการตรวจสอบสิทธิแล้ว
เข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี ๒๕๖๓/๖๔ ภายใต้กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่
๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๓
โดยให้กรมส่งเสริมการเกษตรและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตรวจสอบคุณสมบัติเกษตรกรก่อนการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง
ปี ๒๕๖๓/๖๔” ๓.
ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ควรสอบทานการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างให้แก่กลุ่มเกษตรกรอย่างถูกต้องเหมาะสม
โดยใช้กลไกการตรวจสอบแบบเดียวกับหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการที่ผ่านมา ควรกำหนดมาตรการตรวจสอบย้อนกลับที่มาของมันสำปะหลังในพื้นที่ผิดกฎหมายหรือการลักลอบนำเข้ามาสวมสิทธิ์จากชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
173 | (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ โดยร่างแผนพัฒนาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพลิกโฉมไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า
เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” และมีเป้าหมาย เช่น
การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่
และการเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน โดยได้กำหนดหมุดหมาย จำนวน ๑๓
หมุดหมาย เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจน เช่น
หมุดหมายที่ ๑ ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
หมุดหมายที่ ๗ ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง
และสามารถแข่งขันได้ เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุข เช่น คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น
ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม และฐานะทางการคลัง
มีการสร้างความรู้ความเข้าใจในวงกว้าง เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมหมุดหมาย
พิจารณากำหนดค่าเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของเป้าหมายหลักและเป้าหมายในระดับหมุดหมายเป็นรายปี
ไปพิจารณาดำเนินการ แล้วให้นำ (ร่าง) แผนแผนพัฒนาฯ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบ
ก่อนกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
174 | รายงานสรุปคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี | อส. | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดีที่สำนักงานอัยการสูงสุดจัดทำขึ้น
ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการรายงานผลการพิจารณาชี้ขาดการดำเนินคดีระหว่างส่วนราชการกับเอกชน
และข้อพิพาทระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจด้วยกันเอง รวม ๒๗
เรื่อง เพื่อให้เป็นไปตามข้อ ๒๐
แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี
ตามที่คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
175 | แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (1. นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ฯลฯ รวม 5 คน) | กสศ. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา รวม ๕ คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิม จะครบวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี
ในวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ทั้งนี้ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๐ กรกฎาคม๒๕๖๕
เป็นต้นไป ตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเสนอ ดังนี้ ๑. นายประสาน
ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ ๒. นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปารีณา ศรีวนิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมาย
ภาควิชาการ ๔. นายชาลี จันทนยิ่งยง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคเอกชน ๕. รองศาสตราจารย์ดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
176 | รายงานประจำปี 2564 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ | พปส. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๔ ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
มีสาระสำคัญประกอบด้วย (๑) ผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ประจำปี ๒๕๖๔ โดยกองทุนฯ
ได้ใช้จ่ายเงินงบประมาณ ประจำปี ๒๕๖๔ จำนวน ๕๕๔.๑๗ ล้านบาท
ภายใต้วงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน ๕๘๘.๘๖ ล้านบาท
และภาพรวมการดำเนินงานของกองทุนฯ โดยได้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของกองทุนฯ ๔
ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตและเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ในการพัฒนาสื่อและนิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดกลไกและกระบวนการคัดกรอง เฝ้าระวัง
และรู้เท่าทันสื่อ และยุทธศาสตร์ที่ ๔
การส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการสื่อสารเพื่อสังคมให้เกิดการรับรู้
และมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคี (๒) รายงานของคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ
พบว่า ผลการประเมินการดำเนินงานของกองทุนฯ มีคะแนน ๔.๗๙๘๕ (จากคะแนนเต็ม ๕ คะแนน)
และ (๓) รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๔ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน โดยผู้สอบบัญชี (จากผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก)
เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
177 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)] | กค. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19)] มีสาระสำคัญเป็นการการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(สปน.) ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร
และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการสำหรับการบริจาคสินค้าให้แก่ สปน.
เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่
๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก ตลอดจนติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการ ๒๗ ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
178 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สว. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยกระทรวงการคลังได้ดำเนินการ เช่น
จัดทำกฎหมายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านภาษีของประเทศสมาชิกโดยเป็นไปตามมาตรฐานสากล
จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตามพันธกรณีระหว่างประเทศเพื่อปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับภารกิจระหว่างประเทศโดยเฉพาะ
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
โดยมีอธิบดีกรมสรรพากรเป็นประธาน เพื่อเตรียมการด้านต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความลับของข้อมูลในการแลกเปลี่ยนให้เป็นมาตรฐานสากล
และจัดอบรมสัมมนาเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติที่ต้องดำเนินการเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์สูงสุดในการบริหารการจัดเก็บภาษี
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
179 | รายงานประจำครึ่งปี (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564) ของธนาคารแห่งประเทศไทย | กค. | 19/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำครึ่งปี
(กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๔) ของธนาคารแห่งประเทศไทย สรุปได้ ดังนี้ (๑)
เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี ๒๕๖๔ ขยายตัวที่ร้อยละ ๐.๙
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากในช่วงครึ่งแรกของปี การลงทุนภาคเอกชนปรับลดลง
ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐยังขยายตัว
ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในประเทศยังเปราะบาง โดยไตรมาสที่ ๓ ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ที่รุนแรง แต่เริ่มดีขึ้นในไตรมาสที่ ๔ ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ ๑.๕๖
เพิ่มขึ้นจากในช่วงครึ่งแรกของปีที่อยู่ที่ร้อยละ ๐.๘๙
และเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยยังเข้มแข็ง สามารถรองรับความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้
(๒) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการดำเนินการ เช่น การดำเนินนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ย
โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ
๐.๕๐ ต่อปี และประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องแต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งนี้ ภาครัฐมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
การประเมินนโยบายระบบการชำระเงิน พบว่า แนวโน้มการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยอยู่ที่ร้อยละ ๕๔.๓ ส่วนการใช้บริการผ่าน Mobile
Banking/Internet Banking เติบโตขึ้นร้อยละ
๖๗.๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
180 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดทุนทรัพย์การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่น พ.ศ. .... | นร.12 | 19/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดทุนทรัพย์การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่น
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ของการไกล่เกลี่ย
และประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มิใช่ข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดิน มรดก
จากเดิมที่กำหนดจำนวนทุนทรัพย์ไว้ไม่เกินสองแสนบาท เป็น จำนวนไม่เกินสองล้านบาท
ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่นของประชาชน
เพื่อให้การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่นมีความเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ตามที่สำนักงาน
ก.พ.ร. เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม ที่เห็นควรให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาประโยชน์ในกรณีนำพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
พ.ศ. ๒๕๖๒ มาพิจารณาประกอบการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวข้างต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|